ปัจจัย ใด เป็น จุด เน้น ที่สุด หาก ผู้ ประกอบ การ อยาก จะ ประสบความสำเร็จ ในการทำ ธุรกิจ

ความสำเร็จ เป็นสิ่งสำคัญที่บรรดานักบริหารตัวยงต่างไขว่คว้า แต่การประสบความสำเร็จได้ด้วยตนเองกลับเป็นสิ่งที่ท้าทายกว่า เพราะจะได้รับการยอมรับเป็นวงกว้าง อีกทั้งนำพามาซึ่งเกียรติยศที่จะได้รับการกล่าวถึงไปอีกนาน
กิจการจะมั่นคงได้ต้องมาจากรากฐานที่มั่นคงที่ผู้ประกอบการเป็นผู้สร้างขึ้น
หลายคนมักจะตีความและคิดกันไปเองว่าธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว ต้องอาศัยและพึ่งการอุปถัมภ์ค้ำชูจากภายนอกเสมอไป ซึ่งสำหรับยุคปัจจุบันนี้ทฤษฏีดังกล่าวได้ถูกหักล้างความเชื่อในเรื่องนี้ไป ได้มากพอสมควรแล้ว เพราะการสร้างธุรกิจใหม่ให้เจริญเติบโตและประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้อง อาศัยแรงบวกจากภายนอกแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ด้วยตัวของผู้ประกอบการเอง โดยเคล็ดลับ 9 วิธีสร้างความสำเร็จด้วยตนเองมีดังต่อไปนี้

1. มุ่งไปที่กระแสเงินสด กำไรเป็นเรื่องรอง
นักธุรกิจมักจะถูกสอนให้คิดในเรื่องของกำไรต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งจริงๆแล้วควรลองเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่และมุ่งสนใจไปที่กระแสเงินสดหมุน เวียนภายในบริษัทแทน อย่าลืมว่าต้องใช้เงินสดจ่ายบิล ถ้า เกิดมียอดเงินหมุนเวียนอยู่ภายในบริษัทตลอดและมีการจ่ายชำระหนี้ตรงตามเวลา พยายามให้มีการเรียกเก็บเงินระยะสั้นๆ ปิดยอดได้ไวๆ เมื่อนั้นก็จะได้ผลกำไรตอบแทนกลับมาเอง

2. ประมาณการความต้องการและกำลังผลิตอย่างต่ำ
ผู้ประกอบการต้องทำการประเมินแนวโน้มความต้องการของตลาดเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา จากนั้นจึงทำการกำหนดสัดส่วนความต้องการของธุรกิจบริษัท เช่น ถ้าบริษัทผลิตเกี่ยวกับเครื่องสำอางสตรีที่กลุ่มตลาดเป้าหมายที่ใช้เป็น ประจำอยู่ที่ 1 ล้านคน ประมาณการส่วนแบ่งการตลาดขั้นต่ำที่ต้องการได้คือ 10% นั่นหมายถึง 100,000 คน แล้วนำมาคิดด้วยกำลังการผลิตขั้นต่ำของทางบริษัทว่าสามารถทำได้อย่างน้อยกี่ ชิ้้นต่อวันแล้วนำไปหักลบกันให้เรียบร้อยเพื่อหากำลังการผลิตว่าสามารถตอบ สนองได้หรือไม่นั่นเอง

3. วางแผนการทดสอบ
ผลิตภัณฑ์ที่ดีต้องมีการ ทดสอบอย่างรอบด้าน ผู้ประกอบการควรออกแบบสร้างแผนทดสอบผลิตภัณฑ์ของบริษัทตนเองโดยเริ่มทดสอบใน ส่วนของคุณสมบัติส่วนตัวและแนวทางการจัดวางจำหน่ายเพื่อจะหาวิธีที่ดีที่สุด ในการทำตลาดและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจจะเลือกจากจุดเด่นที่ได้มาจากการทดสอบนำมาเป็นแผนแม่บทในการพัฒนาก็ได้

4. ผลิตภัณฑ์สามารถพิสูจน์และยอมรับได้จริง
เป็นเรื่องสำคัญที่ ผลิตภัณฑ์ที่จะนำออกวางจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคนั้น จะต้องสามารถพิสูจน์ได้จริงในเชิงประจักษ์โดยผ่านการทดสอบจากทีมงานผู้ เชี่ยวชาญเสียก่อน นอกจากนี้การยอมรับจากสถาบันวิจัยสำคัญยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการของผู้ประกอบการอีกด้วย

5. เริ่มต้นจากการเป็นธุรกิจบริการ
ธุรกิจบริการจะมีข้อดีตรง ที่สามารถรับฟังความคิดเห็นของผู้บริโภคได้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งนั่นเป็นข้อได้เปรียบในเรื่องของข้อมูลข่าวสารอย่างมหาศาล โดยผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลดังกล่าวพัฒนาออกมาเป็นตัวผลิตภัณฑ์ที่ตรงตาม ความต้องการของผู้ใช้งานได้ เช่น บริษัทที่ผลิตแชมพูสระผมบางส่วนก็มีที่มาจากการเป็นร้านให้บริการในเรื่องการตัดแต่งและสระผมมาก่อนด้วยกันทั้งนั้น

6. มุ่งเน้นไปที่ประโยชน์การใช้งานไม่ใช่รูปแบบ
ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าก็ ต่อเมื่อมันสามารถตอบสนองต่อความต้องการของเขาได้จริงๆไม่ใช่มองแค่รูป ลักษณ์ภายนอกเท่านั้น ดังนั้นการมุ่งพัฒนาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มตลาด เป้าหมาย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอันจะทำให้ธุรกิจของผู้ประกอบการสามารถสร้างรายได้ เป็นกอบเป็นกำกลับคืนมาสู่ธุรกิจของบริษัทภายในเวลาอันรวดเร็ว

7. จัดหาพนักงานให้เพียงพอ
บ่อยครั้งที่ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจากการทำธุรกิจค่อนข้างที่จะน่าผิดหวัง เพราะมีที่มาจากจำนวนพนักงานที่ไม่เพียงพอบวกกับไม่มีความรู้ความสามารถโดย ตรงกับงานที่กำหนดไว้ ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องจัดหาพนักงานที่มีความรู้ และมีจำนวนพนักงานที่เพียงพอสำหรับรองรับการทำงานที่พร้อมจะเติบโตต่อไปในอนาคตด้วย

8. ใช้วิธีขายตรงเป็นตัวเบิกทาง
การขายตรงเป็นวิธีการค้า ขายที่เก่าแก่มากที่สุดในโลก ควรทดลองใช้วิธีดังกล่าวเป็นอันดับแรกในการทำตลาด เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถสัมผัสได้อย่างแท้จริงถึงปัญหาของผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับจากกระแสตอบรับของผู้บริโภคโดยตรง และยังเป็นการตัดขั้นตอนในส่วนของพ่อค้าคนกลางที่เรียกรับผลประโยชน์ออกไป จึงทำให้ผู้ประกอบการได้กำไรที่เพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้การค้าขายผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่า E Commerce ก็เป็นวิธีการขายตรงรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจอยู่มิใช่น้อยในปัจจุบัน

9. จัดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในตลาด
ถ้าผู้ประกอบการสามารถจัด อันดับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทตนเองได้นั่นจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำ ธุรกิจ เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเลือกซื้อสินค้าที่เหมาะสมกับสถานะของตน เช่น ลูกค้าที่มีรายได้ต่างกันก็จะเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาต่างกัน เป็นต้น ดังนั้นการจัดตำแหน่งผลิตภัณฑ์จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการสมควรจะต้องพึง กระทำเพราะจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ขายได้ง่ายและในเวลาที่รวดเร็วมากขึ้นนั่นเอง

ต่อให้ธุรกิจของผู้ ประกอบการจะมีผู้อุปถัมภ์ค้ำชูที่ยอดเยี่ยมสักเพียงใดก็ตาม ที่สุดแล้วธุรกิจของผู้ประกอบการจะประสบความสำเร็จได้ก็ต้องยืนอยู่บนลำแข้ง ของตัวเองให้ได้เสียก่อน เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงคงไม่มีใครที่จะคอยสนับสนุนธุรกิจอื่นๆไปได้โดย ตลอดอย่างแน่นอน ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องเป็นผู้สร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับกิจการนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก incquity.com

ในช่วงภาวะวิกฤตที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่คาดเดาไม่ได้ ผู้ประกอบการ SME หลายท่านปรับตัวไม่ทัน กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็เสียหายไปมากแล้ว หลายธุรกิจจึงต้องโบกมือลาไปอย่างน่าเสียดาย แต่ในภาวะเช่นนี้ใช่ว่าจะไม่มีทางรอด บทความนี้มีคำแนะนำดีๆ จาก ดร. วศิน อาจารย์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ธุรกิจ SME มาดูกันว่า ธุรกิจของคุณกำลังเผชิญกับ 10 สาเหตุธุรกิจล้มเหลวหรือไม่ กลยุทธ์ใดที่ช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดและไปต่อได้ในภาะวิกฤต

10 สาเหตุธุรกิจล้มเหลว

1.ขาดการวางแผนทางการเงิน

สาเหตุธุรกิจล้มเหลวที่สำคัญอย่างแรกคือ ขาดการวางแผนด้านการเงิน มีผู้ประกอบการหลายราย เริ่มต้นธุรกิจด้วยการใช้บัตรกดเงินสด รูดบัตรเครดิต โดยปราศจากการวางแผน เมื่อเกิดปัญหาทางการเงินขึ้น หนี้เก่ายังเคลียร์ไม่หมด หนี้ใหม่ก็เพิ่มเข้ามา กลายเป็นปัญหาที่ดูเหมือนไม่สิ้นสุด แม้แต่บางรายที่เน้นการทำโปรโมชั่น โดยไม่วิเคราะห์ต้นทุนให้ดีเสียก่อน กลายเป็นว่ายิ่งขายดี ยิ่งขาดทุน

2.ไม่สนใจทำการตลาด

ทุ่มไปกับกระบวนการทางธุรกิจมากเกินไป เช่น งบการผลิต แรงงาน โดยไม่สนใจการตลาด ขาดการโปรโมทอย่างเหมาะสม เพราะเชื่อมั่นว่ายังไงสินค้าก็ต้องขายได้

3.เลือกขายสินค้าตามคนอื่น

สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ บางคนทำธุรกิจตามกระแส สินค้าอะไรที่ว่าดัง เห็นคนอื่นขายดี ก็อยากขายสินค้านั้นบ้าง เมื่อเจอกับคู่แข่งจำนวนมาก ก็ไปไม่รอด ถ้าจะเข้าตลาดที่มีการแข่งขันสูง ต้องศึกษาให้เยอะ  และต้องมีศักยภาพทางการเงินที่ดีมาก

4.ขาดการตั้งเป้าหมายทางธุรกิจ

หลายคนที่ทำธุรกิจมักจะโฟกัสไปที่อยากรวย อยากประสบความสำเร็จเร็ว จริงๆ แล้วควรตั้งเป้าหมายไปที่ยอดขาย อยากได้ยอดขายเท่าไหร่ ภายในระยะเวลาเท่าไหร่ ให้กำหนดเป้าหมายเป็นตัวเลขไปเลย เป้าหมายที่ชัดเจนจะนำมาซึ่งกลยุทธ์ และนำไปสู่แผนธุรกิจ

5.เลือกกลุ่มเป้าหมายผิด

หากเลือกกลุ่มเป้าหมายผิดตั้งแต่แรก ย่อมส่งผลต่อการกำหนดทิศทางการตลาดผิดไปด้วย เช่น ขายของเล่นส่งเสริมพัฒนาการเด็ก แน่นอนว่าผู้ใช้คือเด็ก แต่ลูกค้าคือผู้ปกครองที่มีกำลังซื้อ มีฐานะค่อนข้างดี ก็ต้องทำการตลาดให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

6.เลือกใช้เครื่องมือทำการตลาดออนไลน์โดยไม่มีความรู้

ยุคสมัยเปลี่ยน แนวทางการตลาดเปลี่ยน ผู้ประกอบการต้องรู้จักปรับตัว เมื่อก่อนหลายคนขายดีในFacebook  แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ที่ขายไม่ได้เพราะไม่เข้าใจในวิธีการ หลายคนเน้นยิง Ads เพียงอย่างเดียว แต่ละเลยการสร้างแบรนด์ ทำ Storytelling

7.ไม่ทำ CSR

เมื่อพูดถึง “CSR” หรือ Corporate Social Responsibility ผู้ประกอบการหลายคนมักจะเข้าใจว่าเหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น ซึ่งการทำกิจกรรมบางอย่างเพื่อสังคม แบรนด์เล็กๆ สามารถทำได้เช่นกัน เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารทางการตลาด การทำ CSR ไม่ใช่เพื่อยอดขาย แต่คือ การสร้างแบรนด์อย่างหนึ่ง

8.มองไปที่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว

ผู้ประกอบการบางคน พอเริ่มทำธุรกิจมักจะโฟกัสไปที่กำไรก่อน คิดว่าทำอย่างไรจึงจะมีกำไรมากที่สุด อย่าลืมว่าในปัจุบันลูกค้ามีตัวเลือกเยอะขึ้น สินค้าและแบรนด์มีหลากหลายขึ้น การทำธุรกิจเพื่อหวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว จนละเลยคุณภาพและบริการที่ดี ส่งผลให้ลูกค้าเลือกที่จะเมินสินค้าของเรา

9.ทำคนเดียว ลุยคนเดียว โดยปราศจากทีม

เป็นเรื่องยากที่ธุรกิจจะดำเนินและเติบโตไปได้ด้วยคนเพียงคนเดียว เพราะเมื่อถึงจุดที่งานเยอะ ยอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ก็จะทำไม่ไหว ส่งผลให้ธุรกิจติดขัด บางเรื่องก็ต้องยอมใช้เงินเพื่อสร้างทีมงานขึ้นมา เพื่อธุรกิจจะได้เติบโต ในส่วนนี้ก็ต้องมองกลับไปที่โมเดลธุรกิจ การตั้งราคาขายเหมาะสมหรือไม่ เพราะถ้าตั้งราคาต่ำเกินไป กำไรที่ได้มาก็จะพอสำหรับเราคนเดียว ไม่เหลือไปจ้างใคร

10.ไม่ปรับตัว

สาเหตุธุรกิจล้มเหลวที่สำคัญที่สุดคือ การไม่ปรับตัว เรากำลังทำการตลาดเพื่อเข้าถึงคนจำนวนมาก ภายใต้การแข่งขันที่สูงขึ้น  Ecommerce Marketing จึงไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอด ต้องใช้กลวิธีทางการตลาดออนไลน์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง เพื่อช่วยเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจ ในส่วนของ Digital Transformation ก็มีความสำคัญเช่นกัน  หากผู้ประกอบการ SME ไม่ยอมปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ก็ยากที่จะแข่งขันในยุคที่มีการต่อสู้กันอย่างดุเดือดได้

กลยุทธ์ทำธุรกิจให้สำเร็จในภาวะวิกฤต

1.อย่ายึดติดกับวิธีการเดิมๆ

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสำหรับการทำธุรกิจนั้น คนที่มีเงินย่อมได้เปรียบกว่า ส่วนคนที่ทุนน้อย ในช่วงเริ่มต้น มักจะเหนื่อยหน่อย ต้องคิดให้เยอะ ออกแรงให้มาก สินค้าที่ผลิตเองหรือนำมาขาย ต้องมีความแตกต่างอย่างชัดเจน ถ้ายังไม่มีต้องหาให้เจอ ในขณะเดียวกันก็ต้องนำเสนอคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สินค้าเป็นที่รู้จักและขายได้ อย่าจำกัดอยู่แค่การยิง Ads เพียงอย่างเดียว ให้ลองทำอย่างอื่นบ้าง อย่างการไลฟ์ขายของ ในช่วงแรกอาจจะมีคนดูน้อย แต่หากทำอย่างสม่ำเสมอยอดเข้าชมก็จะเพิ่มขึ้น ถ้า Content ในไลฟ์น่าติดตามก็สามารถเพิ่มฐานคนดูได้มากขึ้นเช่นกัน

2.ใช้แพลตฟอร์มให้หลากหลาย

พยายามโปรโมทสินค้าในหลากหลายช่องทาง เช่น Fanpage เพื่อใช้สำหรับสร้างแบรนด์ ใช้ Line OA เพื่อขายและช่วยดูแลลูกค้าง่ายขึ้น แม้แต่ใน TikTok ก็ไม่ควรพลาด ส่วนจะเน้นการโปรโมทผ่านแพลตฟอร์มใด ขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายส่วนใหญ่ใช้ช่องทางออนไลน์ไหน ถ้าสินค้าเน้นขาย E-commerce  ช่วงแรกอาจใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ก่อน แล้วค่อยสร้างแพลตฟอร์มของตัวเองอย่างเช่นเว็บไซต์

3.สร้าง Brand Story ให้กับธุรกิจ

การทำธุรกิจในยุคนี้จะมาขายกันตรงๆ คงไม่โดนใจ แถมยังดูน่าเบื่อ ลองเปลี่ยนวิธีการนำเสนอให้ธุรกิจดูมีความน่าสนใจมากขึ้น เริ่มสร้าง Brand Story อย่างจริงจัง บอกเล่าที่มาของสินค้า มีคุณค่าอย่างไร อะไรคือความโดดเด่น อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับจากแบรนด์ การบอกเล่าเรื่องราวก็เพื่อให้ผู้คนจดจำแบรนด์ได้

4.ใช้กลยุทธ์การตลาดแบบ Personalization

อีกหนึ่งกลยุทธ์ของการทำการตลาด ที่แบรนด์สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นรายบุคคลเพื่อเพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ผ่านการนำเสนอคอนเทนต์ สินค้า บริการ ราคา ที่เหมาะกับคนๆ นั้น การที่จะสื่อสารกับลูกค้าได้นั้น ต้องมีข้อมูลลูกค้าอยู่ในมือก่อน การเก็บ Data จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องเก็บให้ครบหรือให้ได้มากที่สุด

การทำธุรกิจในช่วงวิกฤต จะให้รอดอย่างเดียวคงไม่พอ แต่ต้องวางแผนเพื่อให้เติบโตไปด้วย หากธุรกิจกำลังประสบปัญหาอยู่ ให้ถอยออกมาหนึ่งก้าว ดูว่าธุรกิจตอนนี้เป็นอย่างไร สำคัญคือ ต้องยอมรับความจริง แล้วค่อยๆ ปรับตัว หากปัญหาอยู่ที่ตัวสินค้า อันไหนขายไม่ดีให้ตัดทิ้งไป สินค้าไหนมีแนวโน้มขายได้ให้ดูว่าจะทำให้ดีขึ้นได้หรือไม่ หากระบบการจัดการมีปัญหาก็ให้รีบแก้ไข ทางเลือกในการแก้ไขปัญหามีเยอะ เลือกทางให้เหมาะกับธุรกิจ เรียนรู้ให้มาก ลงมือทำให้มากกว่า เพื่อช่วยให้ผ่านพ้นช่วงเวลายากลำบากนี้ไปได้

บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์  ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ  Content  Marketing,การโฆษณา  Facebook,การโฆษณา  Tiktok,การตลาด  Line  OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai