บาร์ที่อิตาลีออกแบบขึ้นมาและได้รับความนิยมมากในแถบยุโรป หมายถึงข้อใด

บาร์ (BAR) คำนี้เกิดขึ้นที่ทวีปอเมริกาเหนือ มีความหมายถึง คอก (Cage) , รั้ว (Fence) หรือฝากั้น (Cross) ใช้สำหรับผสมหรือจัดเตรียมเครื่องดื่มต่างๆ แต่จริงๆ แล้ว ในธุรกิจเครื่องดื่ม จะมีความหมายถึง สถานที่ที่จำหน่ายเครื่องดื่ม ที่มีทั้งแอลกอฮอล์ (Hard Drinks) และไม่มีแอลกอฮอล์ (Soft Drinks)

รูปแบบบาร์เหล้า Bar แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

America Bar : เป็นบาร์เคาน์เตอร์ ที่มีที่นั่งดื่มอยู่หน้าบาร์ และมีเคาน์เตอร์ด้านหลังบาร์มีที่วางโชว์เหล้า แก้ว และอุปกรณ์ต่างๆ
Expresso Bar : เป็นบาร์ในแถบยุโรป บริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยน โดยเฉพาะในประเทศอิตาลี เป็นบาร์ที่มีเคาน์เตอร์ วางเครื่องทำกาแฟ Expresso รวมทั้งผลไม้ ไอศกรีม และเครื่องดื่มต่างๆ และเหล้าที่ดื่มก่อนเสิร์ฟอาหาร พวก Dessert Wine และในอิตาลี ยังมีบาร์ที่ขายอาหารในบาร์ ควบคู่กับเครื่องดื่มได้ โดยแยกออกเป็น 2 แบบ คือ บาร์ร้อน (Hot Bar) เป็นบาร์ที่สามารถประกอบ หรือปรุง หรือทำอาหารในบาร์ได้เลย และบาร์เย็น (Cool Bar) เป็นบาร์ที่ห้ามประกอบอาหารในบาร์ ถ้าจะขายอาหาร จะต้องเป็นแค่อาหารแช่แข็ง แล้วนำมาเข้าไมโครเวฟอุ่นเท่านั้น
Dancing Bar : เป็นบาร์ที่มีพื้นที่สำหรับเต้นรำ เปิดไฟสลัวๆ มีวงดนตรีเล็กๆ บรรเลง จะคล้ายกับอเมริกันบาร์ มักเรยกกันว่า “Night Club” มักมีจำหน่ายบุหรี่ ออร์เดิฟ กับแกล้มเหล้าด้วย
Milk Bar or Soda Fountain : เป็นบาร์ที่มีขายอาหารเบาๆ พวกเบอร์เกอรี่ แซนด์วิช ฮ็อทด็อก และไอศกรีม นม น้ำผลไม้หรือน้ำชากาแฟด้วย แต่ไม่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

(ภาพจากโรงเรียนสอนผสมเครื่องดื่มค็อกเทลในประเทศอังกฤษ และร้านขายค็อกเทลในสิงคโปร์ , ฮ่องกง)

การจัดระบบโครงสร้างภายในบาร์ (Bar Structure)
การวางแผนสำหรับพื้นที่ใช้งานภายในบาร์ให้ถูกต้อง ง่าย และสะดวกในการทำงาน รวมถึงการบริหารงานบาร์ จำเป็นที่จะต้องมีการวางโครงสร้าง ของพื้นที่เพื่อประโยชน์ในการใช้งานไม่มากก็น้อย และต้องเข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อให้การทำงานได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมีหลายประการ เช่น

เคาเตอร์ บาร์ (Counter Ber) เป็นพื้นที่ในการให้บริการลูกค้า สำหรับวางเครื่องดื่ม และอาหารว่าง ขนมคบเขี้ยว (Snack) หน้าบาร์น่าจะมีเก้าอี้ทรงสูง หมุนได้ (Stool Bar) วางไว้เพื่อให้ลูกค้านั่งหน้าบาร์ได้ด้วย

พื้นที่ที่ใช้ผสมเครื่องดื่ม (Station Rail) เป็นพื้นที่สำหรับการผสมเครื่องดื่ม สามารถให้ลูกค้ามองเห็นเราได้ในขณะที่กำลังผสมเครื่องดื่มอยู่ เพราะลูกค้าบางท่านเขาทราบสูตรเหล้า ก็จะพยายามดูว่าเราใช้ตัวเหล้า และวิธีการผสมถูกต้องหรือไม่

ชั้นสำหรับวางโชว์เหล้าหลัก (Speed Rack) จะเป็นชั้นวาง หรือช่องวางของก็ได้ ส่วนใหญ่คือพื้นด้านหลังบาร์ มีไว้สำหรับวางเหล้าหลักที่ใช้งานเป็นประจำ (House Brandes) เพื่อสะดวกในการหยิบใช้ และเพื่อโชว์ให้ลูกค้าเห็นด้วย ว่าเราใช้เหล้าได้ตามมาตรฐานไหม หรือเราใช้เหล้ายี่ห้ออะไร เพราะบาร์แต่ละแห่งนั้นจะมีการเลือกใช้เหล้าหลัก ต่างยี่ห้อกัน เช่น Gin ยี่ห้อ Gordon , Tanquiley , Bombey , Gibbey เป็นต้น Vodka ยี่ห้อ Sminoff , Absolut , Sky เป็นต้น Rum ยี่ห้อ Barcardi , Havana Club , Capton Morgan เป็นต้น Scotch Whisky ยี่ห้อ Jonhnies Red Label , J&B , White Horse , 100 Piper , Sprey , Ballentines’ Finest เป็นต้น การเลือกใช้ยี่ห้อต่างๆ ก็จะมีผลต่อ การควบคุมต้นทุนในบาร์ด้วย

ทางระบายน้ำ (Drain Board) จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมไว้สำหรับการวางภาชนะต่างๆ มิฉะนั้นอาจจะมีน้ำไหลตลอดเวลา น่าจะทำที่รองไว้สำหรับการคว่ำแก้ว หรือภาชนะอื่นๆ ด้วยหลังจากที่ล้างเสร็จแล้ว เพื่อน้ำที่ตกค้างจะได้ไหลลงสู่ท่อน้ำทิ้งได้ จะได้ไม่ชื้นเฉอแฉะ

อ่างล้างมือและอุปกรณ์ต่าง (Wash Sink) อ่างน้ำสำหรับล้างอุปกรณ์ แก้ว น่าจะมีน้ำอุ่นด้วย เพื่ออนามัย และความสะอาด อาจจะแบ่งเป็น 2 ช่องยิ่งดี ไว้สำหรับล้างน้ำแรกและน้ำสุดท้าย และควรวางไว้ด้านซ้ายของผู้ผสมจะดีกว่า

ที่วางแก้ว (Glass Place) มีไว้สำหรับวางแก้วที่แห้งสนิท และพร้อมจะใช้งานได้ทุกเมื่อ ควรจะมีทั้งแบบวางคว่ำไว้ในถาดคว่ำที่วางข้างล่าง และแบบที่เป็นรางสำหรับห้อยแขวน

ที่วางขวดน้ำเชื่อมและอุปกรณ์ต่างๆ (Cocktail Unit) ไว้สำหรับวางอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นในการผสมเครื่องดื่ม เช่น เช็คเกอร์ , จิกเกอร์ที่ตวงเหล้า , ที่คนเหล้า , ที่คีบน้ำแข็ง , ถังใส่น้ำแข็ง , ที่รองแก้ว , มีด , เขียง เป็นต้น หรือสำหรับวางเครื่องดื่มอื่นๆ ที่ใช้เป็นประจำ เช่น น้ำเชื่อม , น้ำผลไม้ , ขวดเกลือ-น้ำตาลทราย , พริกไทย , เครื่องเทศ เป็นต้น ควรจัดวางให้เป็นระเบียบ เพื่อหยิบใช้งานได้สะดวก

ตู้แช่เย็น หรือถังน้ำแข็ง มีไว้สำหรับแช่ของต่างๆ หรือใส่น้ำแข็งเพื่อใช้งาน ควรวางไว้ด้านขวาของผู้ผสมมากกว่า

สำหรับการจัดเตรียมเหล้า และอุปกรณ์ที่ใช้ในแต่ละวัน (Stocking a Homebar)
การจัดเตรียมเหล้า อุปกรณ์และเครื่องใช้ภายในบาร์ ต้องประมาณการณ์ คาดการณ์ว่าในแต่ละวัน จะขายสินค้าได้เท่าไร ต้องของหรืออุปกรณ์แค่ไหน ถือเป็นขั้นพื้นฐานที่ทุกๆ บาร์ต้องจัดเตรียม เพื่อความพร้อมภายในบาร์ ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก และต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย เช่น

1.ต้องคำนึงถึงยอดขายในแต่ละวัน ว่าต้องใช้สิ่งใดบ้าง มากน้อยแค่ไหน จำเป็นต้องเบิกของจากสโตร์ไหม ควรจัดเตรียมไว้ให้ใช้งานได้พอเพียงในแต่ละวัน หรือสัก 2 – 3 วัน แล้วแต่สะดวก

2.ต้องจัดเตรียมไว้ให้ลงตัวกับรายการเครื่องดื่ม (Drink List) ที่มีไว้บริการลูกค้าด้วย ว่ามีกี่รายการ และควรจะต้องจัดเตรียมให้ครบทุกรายการด้วย

3.ต้องคำนึงถึงช่วงที่จัดทำโปรโมชั่นด้วย และต้องเตรียมของไว้ให้มากหน่อย เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ

4.ต้องคำนึงถึงช่วงเทศกาล วันหยุดต่างๆ เพราะลูกค้าอาจจะมาใช้บริการมากกว่าปกติด้วย

บาร์ที่อิตาลีออกแบบขึ้นมาและได้รับความนิยมมากในแถบยุโรป หมายถึงข้อใด