การบริหารงานคุณภาพมีความสําคัญอย่างไร

🍅องค์ประกอบของการบริหาร (Management Component)

การบริหารงานทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ จำเป้นต้องใช้ปัจจัยและทรัพยากรพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมการผลิตการบริหารจะมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ

🍦 เป้าหมาย(Goal) หรือวัตถุประสงค์ที่แน่นอนในการบริหารองค์การ ผู้บริหารจะต้องมีการกำหนดทิศทางหรือวัตถุประสงค์ของการทำงานได้อย่างชัดเจน

🍦ปัจจัยการบริหาร (Factor of Management) ที่สำคัญได้แก่

🍩 คน (Man)

การบริหารงานคุณภาพมีความสําคัญอย่างไร

🍩 เงิน ( Money) 

🍩วัสดุ (Material)

🍩เทคนิควิธี ( Method)

🍩 เครื่องจักร (Machine)

🌳ปัจจัยการบริหารต้องคำนึงถึงผลหลายๆ ด้านดังนั้นนักบริหารจึงให้ความสำคัญกับการตลาด(Marketing) และถือว่าเป็นปัจจัยการบริหารอีกตัวหนึ่งก็ได้

🍦 ลักษณะของการบริหาร (Management Style) การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ผู้บริหารจะต้องนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อองค์การ


🍉กระบวนการบริหาร

ลูเธอร์ กลูวิลค์ ( Luther Gulick ) ได้จำแนกหน้าที่ของการบริหาร(Function of management) ที่เรียกว่า การบริหารแบบ Posdcore Model มีรายละเอียดดังนี้

               🌹 P = Planning การวางแผน หมายถึง การจัดวางโครงการและแผนการปฎิบัติงานขององค์การไว้ล่วงหน้าว่าจะต้องทำอะไรบ้างและทำอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

               🌹O = Organizing การจัดองค์การ หมายถึง การกำหนดโครงสร้างขององค์การ การแบ่งส่วนงาน การจัดสายงาน การกำหนดตำแหน่งและหน้าที่ของงานต่างๆ อย่างชัดเจน

               🌹S = Staffing การจัดตัวบุคคล หมายถึง การบริหารงานบุคคลในด้านต่างๆ ขององค์การ ได้แก่ การวิเคราะห์อัตรากำลัง การจัดอัตรากำลัง การสรรหา การพัฒนาบุคคล การบำรุงรักษาบุคคลให้มีประสิทธิภาพ

               🌹D = Directing การอำนวยการ หมายถึง การวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารองค์การ ในการตัดสินใจ  การควบคุมบังคับบัญชาและควบคุมการปฎิบัติงาน

               🌹Co = Co-ordinating การประสานงาน หมายถึง การติดต่อประสานงานที่เชื่อมโยงงานของทุกคน ทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้งานดำเนินไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้

               🌹R = Reporting การรายงาน หมายถึง การรายงานผลการปฎิบัติงานของหน่วยงานให้ผู้บริหารและสมาชิกขององค์การได้ทราบความเคลื่อนไหวและความเป็นไปของหน่วยงาน

               🌹B = Budgeting การงบประมาณ หมายถึง การจัดทำงบประมาณ การทำบัญชี การใช้จ่ายเงินและการควบคุมตรวจสอบด้านการเงินและทรัพย์สินของ

🍖องค์การคุณภาพ

องค์การคุณภาพเกิดจากการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง สมาชิกทุกคนขององค์การเลือกรับเอาคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของงานและเป็นวัฒนธรรมขององค์การด้วย ถึงแม้ว่าองค์การยังไม่มีปัญหา ธุรกิจจะดำเนินไปด้วยดีและความผิดพลาดมีน้อยก็ตามแต่องค์การก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพและจะต้องพัฒนาให้ดีขึ้นมากกว่าคู่แข่งขัน สิ่งที่ผลักดันให้ทุกองค์การต้องเข้าสู่คุณภาพ คือ

🍡 ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) ลูกค้าเป็นผู้ที่มีอำนาจการซื้อและมีอิสระในการเลือกสินค้าและบริการจากผู้ผลิตหรือผู้ขายรายใดรายก็ได้ ปัจจุบันข่าวสาร ข้อมูลมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ลูกค้ามีรสนิยมและความทันสมัยมากขึ้น การผลิตสินค้าที่ด้อยคุณภาพก็เสื่อมสภาพความต้องการอย่างรวดเร็ว ดังนั้นลูกค้าจึงเป็นผู้กำหนดการผลิตขององค์การที่จะต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของลูกค้า ไม่ใช่บริษทของผู้ผลิตเป็นผู้ตัดสินใจได้อีกต่อไปสินค้าที่คุณภาพลูกค้าจะเป็นผู้ชี้ขาด ความพอใจของลูกค้า คือ เหตุผลที่ทำให้ลูกค้าเลือกซื้อหรือใช้บริการ ถ้าองค์การไม่สามารถผลิตสินค้าที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า องค์การก็ขายสินค้าหรือบริการนั้นไม่ได้

🍡ลดต้นทุน ( Cost Reduction ) การลดต้นทุนการผลิตซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนและรวดเร็วนั้น คือการลดการสูญเสียต่างๆ ในกระบวนการผลิต ถ้าองค์การผู้ผลิต ผลิตแต่สินค้าที่มีคุณภาพโดยที่ไม่มีของเสียก็จะทำให้การผลิตต่ำและไม่ต้องมีการแก้ไขงาน( Rework ) หรือสูญเสียวัตถุดิบไปในการผลิต การผลิตสินค้าและการบริการจึงควรทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรกหรือที่เรียกว่า “ Do it Right Firth Time “ การผลิตสินค้าที่มีข้อบกพร่องไม่ได้คุณภาพ ผลก็คือ

🍷เสียเวลาและแรงงานที่ใช้ไปในการผลิต ทำให้สูญเสียต้นทุน

🍷 เสียเวลาและแรงงานในการแก้ไขสินค้าและผลิตภัณฑ์ ที่ต้องนำมาแก้ไขใหม่โดยไม่จำเป็น                     ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

🍷 การผลิตสินค้าที่ไม่ได้ขนาดตามต้องการ จะต้องนำกลับเข้ากระบวนการการผลิตใหม่อีกครั้ง

🍷 สินค้ามีตำนิ ถ้านำไปขายจะขายไม่ได้ราคาและถ้าขายโดยขาดการชี้แจ้งจะทำให้ลูกค้าขาด                     ความเชื่อถือ

🍷 เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบสินค้าที่มีข้อบกพร่อง ถ้าส่งมอบให้ลูกค้าจะส่งผลให้

                   - ลูกค้าไม่พอใจสินค้า อาจขอเปลี่ยนหรือแจ้งให้ทำการแก้ไข สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดค่าใช้จ่าย

          และต้นทุนทั้งสิ้น

                   - ลูกค้าขาดความเชื่อถือและอาจเป็นสาเหตุทำให้เปลี่ยนไปซื้อสินค้าจากผู้ผลิตรายอื่น

🍡 คู่แข่ง ( Compotitor ) นโยบายของรัฐที่เปิดให้ธุรกิจมีการแข่งขันกันอย่างเสรี ทำให้ไม่อาจปิดกั้นการมีคู่แข่งได้คู่แข่งไม่เพียงแต่จะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นแต่ยังได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตของตนเองอีกด้วย ดังนั้นสภาพการแข่งขันจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ลูกค้าจะยอมจ่ายเพื่อสิ่งที่ดีและพอใจโดยไม่จำเป็นจะต้องราคาถูก

ข้อสังเกตุ

สินค้าที่ราคาเท่ากัน ลูกค้าจะเลือกสิ่งที่สนองตอบความต้องการได้มากกว่า

สินค้าที่ราคาต่างกัน ถ้าลูกค้าเชื่อว่าสินค้านั้นมีคุณภาพดีกว่า ลูกค้าจะไม่รู้สึกว่าสินค้าที่ราคาสูงนั้น  แพงกว่า

🍡 วิกฤตการณ์ (Crisis) การสร้างองค์การที่คุณภาพ จะต้องเริ่มจากผู้บริหารระดับสูงกำหนดนโยบายอย่างชัดเจน จากนั้นจึงจัดลำดับสายงานความรับผิดชอบ จนถึงผู้ปฎิบัติงานระดับล่างเพื่อสร้างวัฒนธรรมทางคุณภาพให้เกิดทั่วทั้งองค์การ องค์การที่มีคุณภาพ จะมีระบบบริหารงานที่มีการป้องกันมากกว่าการแก้ไข องค์การจึงสามารถปรับสถานการณ์หรือจัดการกับวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้ เนื่องจากมีการป้องกันและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

🌴ต้นทุนคุณภาพ

ต้นทุนคุณภาพ ( Cost ) หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่องค์การได้จ่ายไปเพื่อดำเนินการผลิตสินค้าหรือบริการ ตลอดจนภาระต่างๆ ภายหลังจากการขายสินค้าให้กับลูกค้าตามข้อตกลง ต้นทุนจะเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต จัดเก็บ ขนส่ง จนกระทั้งส่งมอบให้กับลูกค้า ดังนั้น ต้นทุนในที่นี้จึงหมายถึงต้นทุนการดำเนินการ (Operating) ที่เกี่ยวข้องกับทุกๆขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วย

🍼 ต้นทุนวัตถุดิบ หมายถึง ค่าวัตถุดิบที่องค์การจัดซื้อมาจากหน่วยงานภายนอก เพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าหรือบริการ ตลอดจนค่าวัสดุต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องใช้ในการผลิต

🍼 ต้นทุนของเครื่องจักร หมายถึง ต้นทุนการทำงานของเครื่องจักรเพื่อทำการผลิตผลิตภัณฑ์ ได้แก่   ค่าพลังงานและเชื่อเพลิงที่ใช้ในการขับเครื่องจักร ตลอดจนค่าซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร

🍼 ต้นทุงแรงงาน หมายถึง ค่าจ้างพลังงานในสายการผลิตและเพื่อมาทำหน้าที่ต่างๆ เช่น การตรวจสอบคุณภาพสินค้า การวางแผนการผลิต เป็นต้น

การดำเนินธุรกิจสิ่งที่ผู้ประกอบการและพนักงานที่อยู่ในองค์การการผลิตคาดหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนการดำเนินงานก็คือ “กำไร” เพราะกำไรที่จะได้นำไปลงทุนในด้านต่างๆ ขององค์การ เช่น

การปรับปรุงอาคารสถานที่ทำงาน ระบบการผลิต รวมทั้งการเพิ่มสวัสดิการให้แก่พนักงาน ตลอดจนเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ฯลฯ

การดำเนินการขององค์การไม่มีกำไรจากการทำธุรกิจแล้ว ทั้งผู้ประกอบการและสำนักงานจะได้รับผลกระทบโดยตรง กำไรจึงมีความสัมพันธ์กับราคาขายและต้นทุน การบริหารการผลิตจึงมีความสัมคัญอย่างมาก สมการพื้นฐานของต้นทุนและกำไร สามารถสร้างได้ ดังนี้

ต้นทุน + กำไร = ราคาขาย--------------------(1) 

ราคาขาย - ต้นทุน = กำไร-------------------------(2) 


ถ้าพิจารณาความถูกต้องทางคณิตศาตร์แล้ว สองสมการข้างต้นจะไม่แตกต่างกันเลย แต่ในความหมายด้านการบริหารด้านการผลิตแล้ว แต่ละสมการจะให้แนวคิดที่แตกต่างกันมาก

ต้นทุน + กำไร = ราคาขาย 

ราคาขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จากสมการนี้ จะถูกกำหนดขึ้นโดยการนำต้นทุนทั้งหมดของการผลิตบวกกำไรที่ต้องการ วิธีการตั้งราคาขายเช่นนี้เรียกว่า Cost-Pluse Method วิธีการนี้จะต้องรู้หรือประมาณการต้นทุนเพื่อการผลิตให้ได้ก่อน ปัจจุบันมักเรียกวิธีนี้ว่า การตั้งราคาแบบ โปรดักด์เอาต์ (Product-Out Pricing)    ซึ่งเป็นแนวความคิดที่พยายามจะยัดเยียดสินค้าให้แก่ผู้ซื้อตามความต้องการของผู้ผลิต

 ราคาขาย - ต้นทุน = กำไร 

องค์การจะคำนึงถึงราคาขายเป็นอันดับแรก เนื่องจากราคาขายจะคงที่และถูกกำหนดโดยภาวะการตลาดหรือคู่แข่ง กำไรของกิจการจะเกิดขึ้นจากส่วนต่างๆจากราคาขายหักด้วยต้นทุนทั้งหมด กำไรที่จะได้รับจะมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับต้นทุน ถ้าต้นทุนสูง กำไรที่ได้จะลดน้อยลง ดังนั้น เมื่อต้องการให้มีกำไรมากขึ้น ผู้บริหารจึงต้องหาวิธีการลดต้นทุนให้ต่ำลง และเพิ่มผลผลิตให้ได้มากขึ้น การลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำ หรือให้ต้นทุนคงที่นั้น ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับวัตถุดิบที่จะใช้ผลิต วิธีการผลิตและจำนวนพนักงานที่จะต้องใช้แนวคิดตามสมาการนี้ เป็นการนำเอาความต้องการทางการตลาดเป็นจุดเริ่มต้น เรียกว่า การตั้งราคาแบบมาร์เก็ดอิน (Market-In Pricing) เป็นแนวความคิดที่จะผลิตสินค้าโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ซื้อเป็นเกณฑ์

วิธีในการเพิ่มกำไรหรือคงระดับกำไรไว้จะทำได้ 2 วิธี คือ การเพิ่มราคาขายให้สูงขึ้น และการลดต้นทุนลงให้ต่ำลง

🍓 การเพิ่มราคาขายให้สูงขึ้น ผู้ประกอบการจะต้องทำการศึกษาและวิเคราะห์ถึงผลที่จะตามมาให้รอบคอบเสียก่อนที่จะทำการขึ้นราคาขาย เพราะถ้าราคาขายต่อหน่วยสูงขึ้น แต่ทำให้ยอดขายลดลง ลูกค้าเปลี่ยนไปซื้อสินค้าจากผู้ผลิตรายอื่นที่ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน แต่ขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่า กำไรต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ผลกำไรรวมสูงขึ้นไปด้วยหรือไม่เพราะ

กำไรรวม = กำไรต่อหน่วย × ยอดขาย

ตัวอย่าง   เดิมองค์การขายสินค้าในราคา 8 บาท/ชิ้น โดยที่ต้นทุนของสินค้า 5 บาท/ชิ้น และมียอดเป็น 5,000 ชิ้น/สัปดาห์ ต่อมาบริษัทเพิ่มราคาขายเป็น 10 บาท/ชิ้น โดยที่ต้นทุนยังคงที่ แต่มียอดขายเพียง 2,500 ชิ้น/สัปดาห์ สามารถเปรียบเทียบกำไรขององค์การได้ดังนี้

ก่อนชึ้นราคา กำไร/ชิ้น เป็น 8 – 5 = 3 บาท

กำไรรวม เป็น 5,000 × 3 = 15,000 บาท/สัปดาห์

หลังขึ้นราคา กำไร/ชิ้น เป็น 10 -5 = 5 บาท

กำไรรวม เป็น 5 × 2,500 = 12,500 บาท/สัปดาห์

แสดงให้เห็นว่า การที่ขึ้นราคาสินค้าโดยการขาดการวิเคราะห์อย่างรอบคอบแล้วนอกจากผลกำไร

จะไม่เพิ่มขึ้นตามที่ต้องการแล้ว ยังทำให้กำไรรวมลดลงอีกด้วย

🍹 การลดต้นทุนให้ต่ำลง วิธีการนี้เหมาะที่จะใช้ได้ในทุกสถานะการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีการแข่งขันในทุกวันนี้ และทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทุกองค์การจำเป็นที่จะต้องช่วยกันประหยัดอนุรักษ์ทรัพยากรต่างๆ โดยการใช่อย่างคุ้มค่า การลดต้นทุนมีหลายแนวทาง ที่สำคัญองค์การจะต้องคำนึงถึง

คุณภาพควบคู่ไปกับการลดต้นทุนด้วย มิฉะนั้นอาจจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นในกระบวนการผลิต เช่น การลดต้นทุนวัตถุดิบโดยการซื้อวัตถุดิยราคาถูกโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของวัตถุดิบ ถ้าวัตถุดิบมีคุณภาพต่ำเมื่อนำมาผ่านกระบวนการผลิตอาจทำให้เกิดของเสีย ทำให้ต้นททุนวัตถุดิบ เวลา แรงงาน การใช้เครื่องจักรเพื่อทำการผลิตในส่วนนั้นสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนั้นยังต้องเสียเวลาและแรงงานในการแยกและการแก้ไขชิ้นงานอีกด้วย

การบริหารงานคุณภาพมีความสําคัญอย่างไร


🍁ประโยชน์ที่องค์การได้รับจากการลดต้นทุน

🍳เพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับหน่วยงาน

🍳 ปรับปรุงประสิทฺภาพและประสิทธิผลการผลิต

🍳 ลดการใช้ทรัพยากรลงได้จากการควบคุมที่มีคุณภาพ

🍳 ลูกค้าสามารถซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการที่มีคุณภาพดี ราคาถูก


🍀ประเภทต้นทุนคุณภาพ

ต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality) หมายถึง ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการ แบ่งต้นทุนคุณภาพออกเป็น 3 ชนิดดังนี้

🍨 ต้นทุนการป้องกัน (Cost of Prevention ) หมายถึง ต้นทุนในการบริหารคุณภาพ กระบวนการ วิจัยข้อมูลคุณภาพ การฝึกอบรม เป็นต้น

🍨ต้นทุนการประเมิน (Cost of Inspection ) หมายถึง ต้นทุนในการตรวจอบ การสอบเทียบและต้นทุนการบำรุงรักษาอุปกรณ์ตรวจสอบ การทดสอบการผลิต ต้นทุนการทดสอบพิเศษและต้นทุนการตรวจสอบติดตามคุณภาพ

🍨 ต้นทุนความล้มเหลว ( Cost of Failure ) แบ่งออกเป็น

            🍵 ต้นทุนความล้มเหลวภายในองค์การ ได้แก่ ต้นทุนของเสีย การทำงานซ้ำในกระบวนการผลิตการทำงานซ้ำงานอื่นๆ และต้นทุนการปฎิบัติการแก้ไข

            🍵 ต้นทุนความล้มเหลวภายนอก ได้แก่ ต้นทุนในการจ่ายเงินชดเชยต่างๆ เป็นต้น

การบริหารงานคุณภาพมีความสําคัญอย่างไร

🍪แนวทางการลดต้นทุน

การลดต้นทุน ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นการลดต้นทุนในทุกวิถีทางในทุกสัดส่วนของกำไรเพิ่มขึ้น ขณะที่คุณภาพของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะต้องมีการเพิ่มยอดขายหรือเพิ่มส่วนแบ่งของตลาด การลดต้นทุนจะทำให้องค์การสามารถยืนหยัดอยู่ได้ การที่จะเลือกผลิตสินค้าหรือการให้บริการใดๆ การผลิตหรือบริการนั้นจะต้องมีคุณภาพเท่านั้น จึงจะอยู่รอดในสภาพของการแข่งขัน องค์การการผลิตได้ทำการวิเคาระห์และกำหนดแนวทางในการลดต้นทุน 3 ประการดังนี้

🐥ต้นทุนวัตถุดิบ การลดต้นทุนการผลิตทำได้ดังนี้

            🍫การใช้หลักวิศวกรรมคุณค่า ( Value - Engineering ) การผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์จำเป็นที่องค์การจะต้องทำการวิเคราะห์การใช้วัตถุดิบว่ามีเหมาะสมหรือไม่ และสามารถใช้วัตถุดิบอื่นที่มีคุณสมบัติทัดเทียมหรือดีกว่าใช้แทนได้อย่างไร วัตถุดิบเหล่านี้มีวิธีการอย่างไร เมื่อนำไปใช้จะทำให้เกิดความสูญเสียในกระบวนการผลิตน้อยลง ทำให้การผลิตเป็นไปอย่างมรประสิทธิภาพ

🍫 ขจัดการสูญเสียของวัตถุ การลดต้นทุนลักษณะนี้อาจทำได้โดยการเปลี่ยนวิธีการผลิตเพื่อให้ของเสียจากกระบวนการผลิตลดลง โดยการจัดระบบต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดการคั่งค้างของวัสดุคงคลัง ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการตรวจเช็กปริมาณวัสดุเสื่อมคุณภาพที่อาจตกค้างทำให้สะดวกต่อการทำงานของพนักงาน

🐥 ต้นทุนการทำงานของเครื่องจักร เครื่องจักรโดยทั่วไปจะมีกำหนดอายุการทำงานการบำรุงรักษาเครื่องจักร ต้องเป็นร่วมมือระหว่างพนักงานควบคุมเครื่องกัยฝ่ายซ่อมบำรุงโดยพนักงานผู้ควบคุมเครื่องจะต้องบำรุงรักษาเครื่องจักรในเบื้องต้น เช่น การตรวจสอบน้ำมันหล่อลื่นตามกำหนด ดูแลสังเกตการทำงานของเครื่องว่าปกติหรือไม่ ถ้าพบว่ามีสิ่งผิดปกติ ก็ควรจะทำการตรวจหาสาเหตุ และเสนอรายงานให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบได้รับรู้เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆเพื่อหาทางแก้ไข  ฝ่ายซ่อมบำรุงจะต้องวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่ดี และไม่ปล่อยให้เครื่องจักรเดินโดยไม่ได้ทำการผลิต เพราะจะทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น การบำรุงรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่ดี มีผลดังนี้

🍐 ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นผลให้ตนทุนต่ำลง

                   🍕ผลิตสินค้าได้อย่างต่อเนื่องตรงตามกำหนดการผลิต (Production Schedution )

🍐 ส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตรงตามเวลาที่ลูกค้าต้องการ

                    🍕ลดของเสียลงได้เนื่องจากเครื่องจักรอยู่ในสภาพที่ดี

🍍 ต้นทุนค่าจ้างของพนักงาน การลดต้นทุนค่าจ้างของพนักงานไม่ใช่การลดค่าจ้างของพนักงานหรือปลดพนักงานออก แต่เป็นการปรับปรุงพัฒนาพนักงานให้ปฎิบัติงานอย่างมีประสิทธิผลสูงขึ้นโดยการฝึกอบรมและสอนงานให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะการทำงาน ซึ่งจะสามารถลดเวลาการผลิตงานแต่ละชิ้นให้สั้นลงได้ ทำให้ผลิตชิ้นงานได้มากขึ้น ลดปัญหาการแก้ไขงานที่เสียลงไปได้อีกด้วย  พนักงานควรมีทักษะการทำงานหลายๆ ด้าน ( Multi – Skilled ) และสามารถทำงานทดแทนกันได้เมื่อพนักงานขาดงานการลดต้นทุนค่าจ้างทำได้จากการปรับปรุงพัฒนาความสามารถในการทำงานพนักงาน ไม่ใช่การลดค่าจ้างหรือปลดพนักงานออก ตามที่กล่าว

การบริหารงานคุณภาพมีความสําคัญอย่างไร

ขอขอบคุณ......https://www.gotoknow.org/

สืบค้น วันที่ 29 พฤศจิกายน 2561

การบริหารคุณภาพมีความสําคัญอย่างไรกับการเรียนในปัจจุบัน

การจัดการคุณภาพการศึกษามีความสำคัญคือ ช่วยให้การดำเนินการทางด้านการจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เป็นที่พอใจของผู้รับบริการ ความหมายของคุณภาพ ลักษณะความดี , ลักษณะประจำบุคคล หรือสิ่งของ ที่ลูกค้าหรือผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจ

การบริหารงานคุณภาพมีจุดมุ่งหมายอย่างไร

2. ความหมายของการบริหารงานคุณภาพ (Quality Management) การบริหารงานคุณภาพ หมายถึง กระบวนการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายคุณภาพขององค์การประกอบด้วยนโยบายและวัตถุประสงค์เชิงคุณภาพ การจัดการโครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน โดยมีเป้าหมายให้เกิดคุณภาพที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ในนิยาม ...

การบริหารงานคุณภาพมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร

ประโยชน์ของมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ก่อให้เกิดโอกาสในการเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า จัดการความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับบริบทและวัตถุประสงค์ขององค์กร เพิ่มผลิตภาพและประสิทธิผลในการทำงาน นำไปสู่การลดต้นทุน ส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กร เพิ่มความน่าเชื่อถือ และเพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ๆ

การบริหารคุณภาพเป็นอย่างไร

การบริหารคุณภาพโดยรวม” คือ แนวทางการบริหารองค์กรที่ยึดถือคุณภาพเป็น ศูนย์กลาง และอาศัยการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุก ๆ คนในองค์กรโดยมุ่งเป้าหมายไปที่ ความสำเร็จระยะยาวขององค์กร จากการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า และเอื้อประโยชน์ ต่อสมาชิกทุกคนในองค์กร และต่อสังคม