ได้ เรียน รู้ อะไร จาก ที่ ทำงาน เก่า

ทำอย่างไรดีเมื่อรู้สึกผูกพันกับที่ทำงานเก่า หนึ่งในปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อต้องย้ายงานในขณะที่รู้สึกว่างานเก่าก็ไม่ได้แย่อะไร โดยเฉพาะใครที่อยู่ที่เดิมมานานจนรู้สึกผูกพันกับสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย แต่การกลับไปทำงานที่เก่าก็อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีเช่นกัน Adecco เลยอยากชวนคุณมาลองปรับวิธีคิดเพื่อให้พร้อมก้าวไปต่อกับงานใหม่อย่างมีความสุขกันครับ

อย่าเสียใจกับการตัดสินใจ

การที่เรารู้สึกเครียด เหนื่อย กังวลกับงานปัจจุบัน หรือรู้สึกว่างานที่เก่าไม่ได้เครียดขนาดนี้ เป็นความรู้สึกปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะเราเพิ่งออกจาก comfort zone ที่เราคุ้นเคย แต่นั่นไม่ได้แปลว่าเราตัดสินใจผิด

ถ้าใครตัดสินใจลาออกจากงานเก่าด้วยตัวเอง ลองกลับไปย้อนนึกดูว่าเพราะอะไรเราถึงตัดสินใจแบบนั้น อาจจะมีบางอย่างหรือหลายอย่างในงานเก่าที่เราก็ไม่ได้พอใจซะทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน เนื้องาน การเดินทางไปทำงาน หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่เรารุ้สึกว่าเป็นปัญหา และทำให้เราทุกข์มากกว่าสุขจนเลือกที่จะเดินออกมา

แต่ถ้าใครไม่ได้เลือกที่จะออกมาด้วยตัวเอง แต่ต้องออกมาเพราะสถานการณ์บังคับ ให้ลองมองว่านี่คือโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ เจออะไรใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะช่วยให้เราค้นพบศักยภาพของตัวเองมากขึ้นจากโอกาสใหม่นี้

จำไว้ว่าความรู้สึกยากในช่วงแรกเป็นเรื่องปกติ

ปฏิเสธไม่ได้ว่างานคือส่วนสำคัญในชีวิต เพราะโดยทั่วไปแล้วเราใช้เวลาเกือบครึ่งหนึ่งของเวลาที่เราตื่นไปกับการทำงาน หรืออาจจะมากกว่านั้นด้วยซ้ำ จึงไม่แปลกถ้าเราจะรู้สึกว่ามันยากเหลือเกิน ที่จะปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เราอาจจะรู้สึกท้อหรืออึดอัดได้ในช่วงแรก แต่อย่าเพิ่งถอย ลองให้เวลาตัวเองอย่างน้อย 6 เดือนในการปรับตัวเข้ากับที่ทำงานใหม่ โฟกัสไปที่การเรียนรู้ตัวงาน หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน และควรหยุดคิดถึงที่ทำงานในอุดมคติไปก่อน เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเจอที่ทำงานที่สมบูรณ์พร้อมตามความต้องการของเราทั้งหมด

เอาเป้าหมายในการทำงานเป็นที่ตั้ง

เป้าหมายในการทำงานคือแรงผลักดันชั้นเยี่ยมที่จะทำให้เรามองไปข้างหน้า ให้ลองกำหนดแนวทางการทำงานในปัจจุบันให้ชัดเจน เช่น หลายคนอยากเติบโตไปเป็นหัวหน้างาน บางคนอาจจะอยากมีผลงานเป็นที่รู้จักของผู้คนในวงกว้าง ลองพิจารณาดูว่างานที่ใหม่นี้ทำให้เราเข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้นใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ก็ควรลุยไปข้างหน้าให้เต็มที่ แทนที่จะหันหลังกลับไปอยู่จุดเดิม

แต่ถ้าใครที่ยังไม่มีเป้าหมาย ก็ควรลองตั้งมันขึ้นมา อาจจะเป็นเป้าหมายระยะสั้นในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า เช่น skill ที่อยากพัฒนาเป็นพิเศษ โปรเจกต์ที่อยากลองทำ หรือจำนวนยอดขายที่อยากทำให้ได้ แล้วขยับมาเป็นเป้าหมายในระยะยาว 3-5 ปีหรือมากกว่านั้น ไม่จะว่าเป็นความก้าวหน้าในตำแหน่งงานหรือเงินเดือน เป้าหมายจะทำให้เรามีกำลังใจในการทำงานมากขึ้นอย่างแน่นอน  

คิดถึงสิ่งไหนก็สร้างสิ่งนั้นขึ้นมาใหม่

ถ้าเราคิดถึงบรรยากาศและสังคมการทำงานแบบเดิม หรือรู้สึกว่าตัวเองเข้ากับเพื่อนที่ทำงานใหม่ได้ไม่ดีเท่าที่เก่า จริง ๆ แล้วอาจจะเป็นเพียงเพราะต่างคนต่างยังไม่สนิทกันก็ได้ ฉะนั้นให้เราลองสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นมาทั้งกับเพื่อนร่วมงานและเจ้านายใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยเรื่องทั่วไปอย่างกิจกรรมยามว่างที่ชอบ สัตว์เลี้ยงที่ชอบ หรือไปทานข้าวกลางวันด้วยกัน ใช้โอกาสนี้สร้างความสนิทสนมให้มากขึ้น เรื่องนี้อาจต้องใช้เวลาสักหน่อย แต่อย่างน้อยการได้พูดคุยกับเพื่อนใหม่ก็ช่วยให้ชีวิตในทีทำงานไม่เหงาจนเกินไป และไม่แน่ว่าเราอาจจะได้เพื่อนดี ๆ เพิ่มเข้ามาในชีวิตก็ได้

มองหาข้อดีในที่ทำงานใหม่

สุดท้ายแล้ว ให้เราลองนั่งลิสต์ข้อดีของที่ทำงานใหม่ออกมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเนื้องาน รูปแบบการทำงาน สังคม สภาพแวดล้อม หรือสวัสดิการดี ๆ ที่บริษัทมีให้ รวมถึงอาจจะลองแชร์เรื่องราวต่าง ๆ ให้คนใกล้ชิดฟัง แล้วเราอาจจะได้เห็นข้อดีในมุมมองอื่น ๆ ที่เราคาดไม่ถึง ทำให้เรามีพลังบวกมากขึ้น

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือลองเปิดใจให้กับงานใหม่แบบไม่มีอคติ ลองเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และใช้สิทธิประโยชน์ที่บริษัทมีให้ เช่น ห้องฟิตเนส อาหารและเครื่องดื่มฟรี แล้วเราอาจจะพบว่าตัวเองเริ่มตกหลุมรักงานใหม่เข้าให้แล้วก็ได้

ไม่แปลกที่บางครั้งเราจะคิดถึง good old days เพราะมันทำให้เรารู้สึกดี แต่อย่าลืมว่างานดี ๆ ไม่ได้มีแค่ครั้งเดียวในชีวิต ความเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวไปข้างหน้าเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตทั้งในแง่การทำงานและชีวิต ลองโฟกัสที่ปัจจุบันและอนาคตเป็นหลัก ไม่แน่ว่างานปัจจุบันที่เรากำลังทำอยู่อาจจะกลายเป็นงานที่ดีที่สุด สนุกที่สุดและนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ก็เป็นได้

อ้างอิง:

https://www.forbes.com/sites/jacquelynsmith/2013/01/31/hate-your-new-job-and-want-to-go-back-heres-what-to-do/?sh=c5f6c37647a8

กระแสการลาออกครั้งใหญ่ หรือ The Great Resignation ในระดับโลก เกิดขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว ลากยาวมาจนถึงปีนี้ ส่งผลให้คนทำงานหลายคนอยากลาออกจากงาน บางคนขอแค่ได้หยุดพักสักหน่อยจากปีที่เหนื่อยล้า หรือบางคนบอกว่าขอเปลี่ยนสายอาชีพไปเลยก็ไม่น้อย

บทความนี้จะโฟกัสไปที่ ‘การลาออก’ โดยเฉพาะ สำหรับใครที่กำลังคิดเรื่องการโยกย้ายบริษัท ลาออกจากงาน TODAY Bizview สรุป 5 สัญญาณมาให้แล้วว่า ถ้ามีครบตามนี้ ก็ควรลาออกจากงานกันเถอะ!

1) ไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากงานนี้เลย

เป็นเรื่องปกติที่บริษัทที่เราทำงานอยู่ จะเกิดสภาวะสลับไปสลับมาระหว่าง ‘ช่วงที่เติบโตอย่างหวือหวา’ กับ ‘ช่วงที่ธุรกิจมั่นคงราบรื่นแต่ขาดความท้าทาย’ 

และหลายคน ‘อาจ’ รู้สึกว่า ที่นี่ไม่มีอะไรใหม่ๆ ให้เรียนรู้ 

สิ่งสำคัญคือ หากรู้สึกว่าถ้าทำงานที่นี่ต่อไป แล้วไม่มีเส้นทางให้เติบโต ก็อาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องโยกย้ายงาน 

เพราะต้องไม่ลืมว่า การทำงานที่ไร้ความท้าทาย 3 ปี ก็ไม่ต่างอะไรกับการทำงาน 1 ปี ซ้ำกันสามครั้ง

ดังนั้น ก่อนจะออกจากงานจริงๆ อาจจะลองคุยกับหัวหน้าเรื่องโอกาสเติบโตดูก่อน ว่า ในบริษัทมีโอกาสใหม่ๆ อะไรให้เราทำอีกหรือไม่ จากนั้นค่อยลองมาชั่งน้ำหนักดูว่า ถ้าเทียบกับการลาออกไปหาความท้าทายใหม่ อันไหนมันจะดีกว่ากัน

2) ต้องเสียเวลานั่งรับมือกับปัญหาในองค์กร มากกว่าฝึกฝนทักษะใหม่ๆ

หลายๆ บริษัทอาจมีอะไรให้เรียนรู้เยอะแยะมากมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกเรื่องในองค์กรที่จะควรค่าแก่การเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาภายในองค์กร

หลายครั้งที่สิ่งแวดล้อมภายในบริษัท ไม่ได้ตรงกับนิสัยหรือวิถีการทำงานของเรา จนแทนที่จะได้ทุ่มเวลาไปกับการพัฒนาเรื่องงานจริงๆ กลับต้องไปพัฒนาในสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น ทำรายงานมากเกินเหตุ ต้องเสียเวลามานั่งรับมือกับการเมืองในองค์กร หรือต้องทนทุกข์อยู่กับเพื่อนร่วมงานที่ Toxic หรือเป็นมีนิสัยเป็นพิษมากๆ

คิดๆ ดูแล้ว ถ้างานที่เรากำลังทำเข้าข่ายที่ว่ามา ก็อาจจะถึงเวลาที่ต้องลองคุยหรือปรึกษากับคนอื่นๆ ดูว่า ในมุมของคนนอก สิ่งที่เรามองว่าเป็นปัญหาภายใน มันคือปัญหาภายในจริงๆ หรือมันแค่เป็นที่เรานั้นตื่นตระหนกจนเกินไป (ยิ่งถ้าเป็นคนนอกบริษัทและทำงานในธุรกิจเดียวกันกับเราก็ยิ่งดี เพราะจะเทียบได้ใกล้เคียงมากขึ้น)

และถ้าสุดท้าย จบลงที่ว่า นี่คือปัญหาขององค์กรจริงๆ การตัดสินใจลองหางานใหม่ก็อาจเป็นหนทางที่ดี เพราะจะทำให้เราไม่ต้องมานั่งเสียเวลากับปัญหาภายในองค์กรแบบเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

3) เริ่มรู้สึกว่า ไม่อยากแนะนำให้ใครเข้ามาทำงานที่นี่

“หนีไป” น่าจะเป็นคำอธิบายที่ดีที่สุด 

ลองจินตนาการว่า ถ้าเพื่อนอยากมาสมัครงานที่บริษัทเรา แต่คำปรึกษาที่เราให้เพื่อนได้ มีเพียงแค่ถ้อยคำเดียวคือ “หนีไป” ชัดเจนว่านี่ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่า เราเองก็ควรหนีไปเหมือนกัน

แต่ที่ต้องระวังไว้ก็คือ คนที่ทำงานกับบริษัทเดิมมานานๆ บางครั้งก็จะมีอาการอิ่มตัวกับที่เดิม อะไรที่เคยแฮปปี้ในบริษัท มาวันนี้ก็ไม่แฮปปี้อีกแล้ว เข้าสำนวนของฝรั่งที่ว่า ‘สนามหญ้าบ้านของคนอื่น เขียวกว่าบ้านตัวเองเสมอ’ (The Grass is always Greener on the Other Side)

บางครั้ง คำแนะนำที่ว่า “หนีไป” อาจไม่ได้เกิดจากบริษัทไม่ดี แต่เกิดจากความอิ่มตัว เพราะฉะนั้น ทางแก้คือลองไปคุยกับหัวหน้าเกี่ยวกับความท้าทายใหม่ๆ หรือลองหาโอกาสพักเบรกสักหน่อย แล้วค่อยๆ คิดดูอีกครั้งก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี

4) ยิ่งอยู่ ยิ่งขาดความมั่นใจ

นอกจากช่วยทำให้พนักงานได้เรียนรู้ บริษัทที่ดียังต้องทำให้พนักงานมีความมั่นใจในตัวเอง เห็นคุณค่าในสิ่งที่พนักงานทำ กล้าให้งานใหญ่ที่เหมาะสมกับศักยภาพ

ถ้าเมื่อไหร่ เราเริ่มรู้สึกว่ารู้สึกถูกมองข้าม ไม่มีใครเห็นคุณค่า ได้รับผิดชอบงานไม่สมฐานะ จนเริ่มสงสัยในตัวเอง ความมั่นใจหดหาย 

นี่อาจเป็นสัญญานว่าควรต้องย้ายงาน เพราะนี่คือเรื่องใหญ่ที่พอๆ กับ การทำงานโดยไม่เกิดการเรียนรู้

แต่ก่อนจะตัดสินใจลาออก แนะนำว่าให้ลองประเมินอย่างรอบด้านและไม่อคติดูว่า สิ่งที่บ่อนเซาะความมั่นใจของเราลงไป อย่างเช่น การโดนตำหนิอย่างรุนแรงจากหัวหน้างาน ถึงที่สุดแล้ว สาเหตุของมันเกิดจากอคติที่พุ่งโจมตีตัวเรา หรือเอาเข้าจริงมันเกิดจากเนื้องานที่เราทำจริงๆ 

เพราะคำวิจารณ์ในเนื้องานที่เป็นประโยชน์ แต่อาจจะรุนแรงไปบ้าง อาจทำให้เรามองข้ามไปได้ในบางโอกาส เพราะสนใจที่เนื้องานจริงๆ แต่จะติดก็ตรงที่ว่า หากการวิจารณ์นั้นๆ ไม่ได้มีประโยชน์กับเนื้องาน แถมยังทำให้เราขาดความมั่นใจในการใช้ชีวิต นั่นก็จะนับเป็นการกระทำที่กลวงเปล่า และรังแต่จะทำลายตัวตนของเรา การเดินออกมาจากสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษแบบนั้น น่าจะเป็นทางออกที่สมเหตตุสมผลที่สุด

5) งานเริ่มทำร้ายร่างกาย สุขภาพย่ำแย่

บอกเลยว่า “งานหนักไม่เคยทำร้ายใคร” ไม่ใช่เรื่องจริง อย่างในปี 2016 องค์การอนามัยโลกประเมินเอาไว้ว่ามีคนเสียชีวิตจากการทำงานหนักกว่า 7.45 แสนคน

ยังไม่รวมคนที่ต้องเจ็บป่วยจากความเครียด เช่น ภาวะซึมเศร้า หรือทำงานหนักจนรักษาสมดุลด้านอื่น เช่น ครอบครัว เอาไว้ไม่ได้

ถ้างานหนักส่งผลถึงสุขภาพแล้ว นี่คือสัญญานสีแดงที่บ่งบอกว่าบางทีถึงเวลาที่ต้องย้ายงานแล้วก็ได้ 

ก่อนคิดจะลาออก อาจลองประเมินดูก่อนก็ได้ว่า “ถ้าจะพยายามสร้างสมดุลให้กับชีวิตด้านอื่น ด้วยการทำงานหนักน้อยลง สร้างเส้นแบ่งชัดเจนขึ้น ภายใต้วัฒนธรรมองค์กรที่เราทำงานอยู่ จะเป็นไปได้หรือไม่?” 

เพราะ Work-Life Balance หลายครั้งก็ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว องค์กรก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ถ้าสุขภาพคุณย่ำแย่เพราะงาน แต่องค์กรก็ยังชมชอบทำงานหนัก สมดุลชีวิตก็ไม่เกิด

สรุป

เราทำงานกัน 8 ชั่วโมงต่อวัน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือง่ายๆ ก็คือ ใช้เวลากว่า 1 ใน 3 ไปกับงาน

เพราะฉะนั้น ถ้าเช็ก 5 สัญญาณเหล่านี้ แล้วรู้สึกว่ากำลังเจอกับสภาวะเหล่านี้อยู่ นั่นก็อาจหมายความว่า เราใช้เวลาชีวิตกว่า 1 ใน 3 ไปกับการไม่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือเรียนรู้แต่สิ่งที่ไม่จำเป็น แถมยังทำลายความมั่นใจ และไม่ได้สร้างความก้าวหน้าในชีวิตการทำงาน จนบางรายก็ส่งผลร้ายไปถึงเรื่องสุขภาพ

ถ้าสัญญาณเหล่านี้เป็นจริงขึ้นเรื่อยๆ เราก็อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหน้าคุยถึงโอกาสใหม่ๆ ความรับผิดชอบใหม่ๆ