แรงบันดาลใจในการทํางาน สัมภาษณ์

แม้ว่าผู้สมัครงานส่วนใหญ่มักคิดว่า คำถามที่พบได้บ่อยที่สุดในระหว่างการสัมภาษณ์งาน คือ การแนะนำตัวเอง อย่างไรก็ตาม “ทำไมคุณถึงอยากทำงานที่นี่” นับเป็นอีกคำถามที่สำคัญไม่แพ้กันทีเดียว

ผู้สัมภาษณ์งานอาจถามคำถามนี้ด้วยถ้อยคำที่แตกต่างกันออกไป เช่น

  • “ทำไมต้องเป็นบริษัทนี้?”
  • “อะไรเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คุณมาสมัครงานที่บริษัทนี้? เพราะอะไร?”
  • “ทำไมคุณถึงสนใจที่จะสมัครงานกับบริษัทของเรา?”

J.T. O’Donnell ผู้ก่อตั้งและ CEO จาก Work It Daily สื่อออนไลน์ชื่อดัง ที่นำเสนอและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำงาน กล่าวว่า ในฐานะที่เธอเป็นทั้ง ผู้ให้คำปรึกษาทางด้านอาชีพการงานและผู้สัมภาษณ์งานมากมากกว่า 15 ปี เธอเห็นผู้สมัครงานมากมาย ต้องเผชิญกับคำถามลักษณะนี้และบ่อยครั้งที่ผู้สมัครงานไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ดีนัก

ถ้าอย่างนั้น เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เราควรเริ่มจากสิ่งที่ไม่ควรกล่าวในการตอบคำถามนี้เป็นอันดับแรก

  • “ผมพร้อมที่จะรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย และคิดว่า การทำงานที่นี่น่าจะเป็นก้าวสำคัญสำหรับเส้นทางอาชีพของผมในอนาคต” คำตอบนี้อาจจะฟังเหมือนดูดี แต่ในอีกนัยหนึ่ง มันกลับสื่อให้เห็นว่า คุณต้องการแค่การเลื่อนตำแหน่งงานที่สูงขึ้นเท่านั้น ยิ่งกว่านั้นผู้สัมภาษณ์งานอาจคิดว่า คุณไม่ได้ให้ใจในการทำงานกับบริษัทนี้ และมีทีท่าว่าจะออกจากงานไป ในทันทีมี “โอกาสที่ดีกว่า”รออยู่ตรงหน้า
  • “ผมได้ยินว่า ที่นี่เป็นบริษัทที่ดีมาก แถมสวัสดิการก็ดีอีกด้วย” คำตอบนี้นับว่าเป็นคำตอบที่ดาษดื่นและจะทำให้คุณพลาดโอกาสในการได้งาน เนื่องจาก มันแสดงให้เห็นว่า แรงจูงใจที่ทำให้คุณสนใจงานในตำแหน่งนี้ ขึ้นอยู่กับเงินและผลประโยชน์เท่านั้น ไม่ใช่ความกระตือรือร้นที่อยากจะช่วยให้บริษัทเจริญก้าวหน้าแต่อย่างใด

ตอบคำถามด้วย ‘การเชื่อมโยงคำตอบเข้ากับเรื่องราวและประสบการณ์ที่คุณมี’

J.T. O’Donnell มักจะกล่าวกับผู้สมัครงานเสมอว่า ผู้สัมภาษณ์งานไม่ได้ต้องการที่จะทราบว่า คุณมีประสบการณ์ในการทำงานมามากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์งานต้องการทราบจากคำถามนี้ คือ คุณศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับบริษัทที่คุณสมัครมามากแค่ไหนเสียมากกว่า ซึ่งนั่นจะแสดงให้เห็นว่า คุณต้องการที่จะทำงานกับบริษัทนั้นจริงๆ และวิธีที่ดีที่สุดในการแสดงให้เห็นถึง ความตั้งใจที่จะเข้าทำงานกับบริษัทเหล่านั้น คือ “การเชื่อมโยงคำตอบเข้ากับเรื่องราวและประสบการณ์ที่คุณมี” 

เรื่องราวและประสบการณ์ส่วนตัวของคุณที่ควรแชร์ให้กับผู้สัมภาษณ์งาน ได้แก่ คุณค่าในตัวคุณที่สอดคล้องกับคุณค่าขององค์กร และ ตำแหน่งที่คุณสมัครจะช่วยพัฒนาทักษะอาชีพและชีวิตส่วนตัวของคุณอย่างไร (เนื่องจาก ยิ่งคุณเห็นเชื่อมโยงเข้ากับชีวิตของคุณมากเท่าไหร่ คุณยิ่งผูกพันกับงานมากเท่านั้น)

และนี่ คือ 3 ตัวอย่างการตอบคำถามสัมภาษณ์งานนี้ ที่ช่วยให้ผู้สัมภาษณ์งานประสบความสำเร็จ

  • สำหรับตำแหน่ง marketing associate ของธุรกิจเสื้อผ้าค้าปลีก “ผมรู้สึกประทับใจต่อแนวคิดในการเป็นผู้ให้ของทางบริษัทเป็นอย่างมาก เมื่อผมอ่านข่าวและพบว่า บริษัทของคุณกำลังร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ เพื่อที่จะผลิตหน้ากากอนามัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขท้องถิ่น ผมคิดว่า “นี่แหละเป็นบริษัทที่ผมอยากร่วมงานด้วย” การเป็นผู้ให้ เป็นคติประจำใจที่สำคัญมากในการใช้ชีวิตผม และผมคิดว่า บริษัทของคุณก็คงคิดตรงกัน
  • สำหรับตำแหน่ง account manager ของบริษัทผลิตภัณฑ์เสริมความงาม “ดิฉันใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทคุณมาหลายปีและรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก จนกระทั่งดิฉันต้องนำผลิตภัณฑ์ไปแนะนำให้เพื่อนและคนรู้จักใช้ตาม ดังนั้นดิฉันจึงรู้สึกดีใจมากที่ทางบริษัทเปิดรับสมัครตำแหน่งที่เหมาะสมกับทักษะและความสามารถที่ดิฉันมี ดิฉันเชื่อว่า หัวใจสำคัญที่จะทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จ คือ การทำให้ลูกค้ามีความสุข และจากประสบการณ์ที่ดิฉันมี ดิฉันรับรองได้เลยว่า ดิฉันสามารถทำงานนี้ได้เป็นอย่างดี”
  • สำหรับตำแหน่ง wealth advisor ของบริษัทบริการด้านการเงิน “ในช่วงเวลากว่า X ปีที่ผมทำงานในธุรกิจด้านการเงิน ผมมีโอกาสได้ร่วมงานกับผู้คนมากมายจากบริษัทของคุณ และผมรู้สึกประทับใจทุกครั้งในความจริงใจ และความรอบรู้ที่พวกเขามี มันทำให้ผมคิดว่า ลูกค้าที่ใช้บริการจากบริษัทของคุณ ต่างรู้สึกไว้ใจให้คุณเป็นผู้ดูแลด้านการเงินของพวกเขาอย่างเต็มใจ ดังนั้นผมจึงอยากจะเข้ามาทำงานในบริษัทนี้ ไม่ใช่เพียงแค่ช่วยให้คนเข้าใจสถานะทางการเงินของเขาให้ดีขึ้น แต่ยังช่วยให้พวกเขารู้สึกมั่นคงและสบายใจต่อสถานะทางการเงินของพวกเขาได้อย่างแท้จริง”

อ้างอิง: CNBC

สำหรับผู้อ่านท่านใดที่สนใจบทความเกี่ยวกับชีวิตการทำงาน ทักษะที่จำเป็นในอนาคต สามารถลงทะเบียนเพื่อรับอัพเดทข้อมูลข่าวสาร และบทความในอนาคต จาก Techsauce Thailand ได้ ที่นี่

ผู้สัมภาษณ์งานควรกำหนดคำถามในการสัมภาษณ์งาน เพื่อบังคับทิศทางที่ถูกต้อง เริ่มตั้งแต่เปิดการสนทนา ล้วงลึกถึงแรงจูงใจในการสมัครงาน ผลการทำงานโดดเด่นที่ผ่านมา ทักษะการตัดสินใจและจัดลำดับความสำคัญของงาน ไปจนถึงคำถามที่ใช้ปิดการสนทนา เพื่อให้รู้จักผู้สมัครงานดียิ่งขึ้น และคัดเลือกผู้สมัครงานที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานได้อย่างแม่นยำ ด้วยคำถามต่อไปนี้

1. “ออฟฟิศของเราหายากไหมคะ” หรือ “เคยมาแถวนี้มาก่อนหรือเปล่าคะ”

วัตถุประสงค์: สร้างความเป็นกันเอง ลดความตึงเครียดของผู้สมัครงาน

ควรใช้เวลาอย่างน้อย 5 นาทีในการพูดคุยเรื่องทั่ว ๆ ไปที่ไม่เกี่ยวกับงาน เพื่อลดความตื่นเต้นของผู้สมัครงาน และช่วยให้ผู้สมัครงานสามารถตอบคำถามสัมภาษณ์งานได้ดีขึ้น

2. “อะไรทำให้คุณสนใจตำแหน่งงานนี้” หรือ “ถ้าคุณจะโน้มน้าวให้เพื่อนมาสมัครงานตำแหน่งนี้คุณจะพูดว่าอย่างไร”

วัตถุประสงค์: พิจารณาว่าผู้สมัครงานรู้สึกอย่างไรกับตำแหน่งงานและบริษัทของคุณ

นอกเหนือไปจากเหตุผลหลักแล้ว คนเรายังมีอีกหลายเหตุผลในการสมัครงาน คุณต้องถามผู้สมัครงานให้รู้ถึงแรงจูงใจที่แท้จริงของเขา อาจเป็นเหตุผลส่วนตัว หรือเชื่อมโยงไปถึงบริษัท ไม่มีคำตอบที่ผิด หากเป็นเหตุผลส่วนตัวแสดงให้เห็นว่าเขามีความเชื่อ แต่หากเป็นเพราะชื่อเสียงของบริษัทแสดงว่าเขามีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ของคุณ

3. “ช่วยเล่าเหตุการณ์ตอนที่คุณเอาชนะอุปสรรคที่ยากลำบากมาได้ให้เราฟังหน่อย” หรือ “ถ้าคุณเจอเหตุการณ์เช่นนั้นอีก คุณจะทำอย่างที่เคยทำหรือทำอย่างอื่น”

วัตถุประสงค์: เพื่อให้เห็นภาพความสามารถในอดีตของผู้สมัครงานอย่างชัดเจน

คุณจะได้รับคำตอบที่หลากหลายจากคำถามนี้ และผู้สมัครงานแต่ละคนก็มีความสามารถในการเล่าเรื่องไม่เท่ากัน คุณต้องตั้งใจฟังและแยกแยะให้ได้ว่าผู้สมัครงานกำลังสวมบทบาทฮีโร่ หรือเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย เพราะข้อมูลที่คุณได้รับอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดของเรื่องราวที่เกิดขึ้น

4. “สมมติว่าเรารับคุณแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่คุณจะทำเป็นอย่างแรกในวันแรกของการทำงานคืออะไร”

วัตถุประสงค์: เพื่อให้รู้ว่าผู้สมัครงานมีทักษะในการประเมินและตัดสินใจดีแค่ไหน

การยกตัวอย่างสถานการณ์สมมติขึ้นมาเป็นวิธีการที่ใช้เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการคิดของผู้สมัครงานว่าเขาสามารถจัดลำดับความสำคัญของงานที่ต้องรับผิดชอบได้หรือไม่

5. “มีคำถามอะไรเกี่ยวกับบริษัทของเราไหม” หรือ “คุณเคยเห็นโฆษณาตัวใหม่ของบริษัทเราไหม”

วัตถุประสงค์: เพื่อให้รู้ว่าผู้สมัครงานทำการบ้านมาดีแค่ไหน

คุณต้องการให้ผู้สมัครงานถามเกี่ยวกับบริษัทของคุณบ้าง เพื่อดูว่าเขามีความกระตือรือร้นในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงาน บริษัท คู่แข่ง หรืออุตสาหกรรมของบริษัทมากเพียงใด หากผู้สมัครไม่ถามอาจหมายความว่าเขายังไม่สนใจบริษัทมากพอก็เป็นได้

อะไรคือแรงจูงใจในการทํางาน

แรงจูงใจในการทำงานที่หัวหน้าจะสร้างให้กับพนักงานต้องมีทั้ง แรงจูงใจภายนอก และ แรงจูงใจภายใน ควบคู่กันไป โดยที่แรงจูงใจภายนอกได้แก่ การให้รางวัล การชมเชย การขึ้นเงินเดือน การให้โบนัส เป็นต้น ส่วนแรงจูงใจภายใน เกิดจากความรู้สึกภายใน เช่น ความปรารถนา อยากมีความก้าวหน้า อยากพัฒนาตัวเอง อยากให้องค์กรเติบโต และประสบความ ...

อะไรคือแรงจูงใจของคุณ

แรงจูงใจหรือแรงกระตุ้นคือความรู้สึกโหยหา บวกกับความเชื่อที่อยู่ในหัวเราว่าเราสามารถสร้างสรรค์สิ่งใดให้เป็นไปได้บ้าง ความโหยบวกความเชื่อมั่นในตัวเรานั่นแหละ

ทำไมถึงอยากมาทำงานที่นี่

พาร์ทที่ 1 เหตุผลที่อยากทำงานกับบริษัท ชื่อเสียงของผู้นำในองค์กร : เป็นที่รู้จักในสาขาไหน มีอิทธิพลอย่างไรในอุตสาหกรรม ความชื่นชอบของคุณต่อผลิตภัณฑ์/บริการ : เป็นผู้บริโภคที่ประทับใจและอยากมาร่วมงาน ความชื่นชอบของคุณต่อองค์กรในด้านอื่น : แคมเปญการตลาด กิจกรรมเพื่อสังคม วัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กร

ทํายังไงให้สัมภาษณ์งานผ่าน

เพื่อสอบสัมภาษณ์งานได้งานที่ดีคุณต้องจดจำเทคนิคเพื่อตอบคําถามสัมภาษณ์งานให้ดีที่สุดดังนี้ สอบสัมภาษณ์งานที่ดีก่อนอื่นคุณต้องตั้งสติ และซ้อมพูดออกเสียงให้เสียงออกมาชัดเจน ไม่พูดติดอย่าง ท่าทางมันใจ เตรียมเรซูเม่ไว้ข้างตัว เพราะแนะนำตังวให้ถูกต้อง ไม่ต้องคิดนาน