การบริการแบบ french service มีต้นกำเนิดมาจากประเทศใด

หนว่ ยที่ 5
รปู แบบของการบริการอาหาร

สาระการเรียนรู้

1. รปู แบบของการบรกิ ารอาหาร
2. การบรกิ ารอาหารที่โต๊ะอาหาร
3. การบรกิ ารอาหารและเคร่ืองด่มื มอื้ ตา่ ง ๆ

สมรรถนะการเรยี นรู้

1. แสดงความรู้เกยี่ วกบั รปู แบบของการบริการอาหารได้
2. แสดงความร้เู กี่ยวกับการบริการอาหารท่ีโตะ๊ อาหารได้
3. แสดงความรเู้ กย่ี วกับการบริการอาหารและเคร่ืองด่ืมม้ือต่าง ๆ ได้

หน่วยท่ี 5
รปู แบบของการบรกิ ารอาหาร

การบริการอาหารและเครื่องดื่มได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของ
ลูกค้าและสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้เกิดรูปแบบต่าง ๆ ของการ
บรกิ ารอาหารและเครื่องดม่ื หรือสร้างทางเลอื กในการบริโภคให้กบั ลูกคา้

1.รปู แบบของการบริการอาหาร

รูปแบบของการบริการอาหารท่ไี ด้รบั ความนยิ มท่วั ไปมดี งั นี้
1. การบริการที่โต๊ะอาหาร ( Table or Counter Service ) เป็นการบริการที่ได้รับความนิยมอย่าง
มากในห้องอาหารที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ ลูกค้าสั่งอาหารแล้วจะมีพนักงานบริการทำหน้าที่ในการเสิร์ฟ
อาหารที่โต๊ะอาหาร หลังจากน้นั ลูกค้ามหี นา้ ทช่ี ำระเงินค่าอาหาร
2. การบรกิ ารแบบช่วยเหลือตนเอง ( Self – Service ) เปน็ การบริการท่ีลูกคา้ ช่วยบรกิ ารตนเอง มี
หลากหลายลักษณะ สว่ นใหญล่ ูกค้าทำหนา้ ทเ่ี ลอื กอาหาร ตกั อาหาร และชำระเงินดว้ ยตนเอง เชน่ แคเฟทีเรีย
บุฟเฟต์ เป็นตน้
3. การบรกิ ารแบบปารต์ ี้ ( Party Service ) เป็นการบรกิ ารในงานจัดเลี้ยง ซ่งึ ใช้โต๊ะเพ่อื จดั วางขนม
ขบเคี้ยวและอาหารว่างที่มีขนาดเล็ก มีการตกแต่งสวยงาม รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และไม่มี
แอลกอฮอล์ งานลักษณะนี้นิยมเรียกว่า “ค็อกเทล” (Cocktail) สามารถให้ผลกำไรสูงแก่ห้องอาหาร เพราะ
ราคาของานบริการนี้ค่อนข้างสูง แต่ห้องอาหารมีต้นทุนต่าง ๆ ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากการจัดการบริการเสีย
คา่ แรงงานต่ำ ลูกค้าตอ้ งช่วยเหลือตนเองในการบริการ การบรกิ ารแบบปารต์ ้ีมักจดั ในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น
งานแต่งงาน งานวนั เกดิ งานสงั สรรค์ เป็นต้น ซง่ึ ลกู คา้ สามารถเดินไปมาเพื่อสนทนาปรึกษาหารือกนั ได้
4. การบริการที่รถ ( Car Service ) เป็นการบริการท่ีรอให้แก่ลูกค้า โดยพนักงานถืออาหารท่ีลูกค้า
สั่งตามต้องการบรรจุในถาดภาชนะที่สามารถวางหรือติดที่หน้าต่างหรือตรงประตูรถของลูกค้าได้ ( Car
Service ) และเมื่อใช้บริการรับประทานเสร็จแล้ว ลูกค้าจะบีบแตรรถเพื่อให้พนักงานไปจัดเก็บภาชนะ
อุปกรณ์ต่าง ๆ แต่เนื่องจากความยุ่งยากของการบริการและเสียงรบกวนของแตรรถ การบริการนี้จึงไม่เป็นท่ี
นิยมแพร่หลาย ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาเป็น Drive – in คือการขับรถเข้ามาจอดในสถานที่ที่ถูกกำหนดไว้
ลูกค้าสั่งรายการที่ตู้สั่งอาหาร ไม่ต้องลงจากรถ และรอรับอาหาร (รูปแบบอาหารมักเป็นอาหารที่ปรุงง่าย ๆ
ห่อด้วยกระดาษหรอื ใสก่ ลอ่ ง ใชเ้ วลาส้นั ๆ 10-15 นาที) จากนน้ั ลูกค้าจงึ ขับรถออกไป

5. การบริการแบบบาร์และเลานจ์ (Bar and lounge Service) เป็นการบริการจำหน่ายเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ เครื่องดื่มค็อกเทล และอาหารว่าง ขนมขบเคี้ยวเล่น เช่น ถั่ว มันฝรั่งทอด
แซนด์วิช เป็นต้น การจัดสถานที่และบรรยากาศมีความแตกต่างกัน ถ้าเป็นการบริหารแบบบาร์จะเน้น
บรรยากาศที่สนุกสนานรื่นรมย์ ประกอบด้วยดนตรี นักร้อง และแสงสีที่สวยงาม ส่วนการบริการแบบเลานจ์
จะเน้นความเป็นสัดส่วน บรรยากาศเป็นกันเอง ซ่ึงธรุ กจิ ทั้ง 2 ประเภทนี้ได้รับผลกำไรทส่ี ูงกวา่ การบริการแบบ
อื่น วธิ ีการบรกิ ารไม่เป็นพิธกี ารและไม่มีความยุ่งยากมากนัก

6. การบริการดว้ ยเครื่องจักรกลอัตโนมัติ (Vending Service) เป็นการบริการอาหารและเครื่องดื่ม
ด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ โดยบรรจุอาหารไว้ในตู้อาหาร ซึ่งมีอาหารให้เลือกไม่มากนัก เช่น เครื่องดื่มที่เป็น
กระป๋อง แซนด์วิช ฮอดด็อก อาหารสำเร็จรูป เป็นต้น เมื่อลูกค้าเลือกอาหารที่ต้องการแล้วหยอดเหรียญใน
เครื่องและกดปุ่ม หลังจากนัน้ จะมีอาหารเคลื่อนออกมาที่ช่องรบั อาหาร การบริการด้วยเครื่องชนิดน้ีช่วยตดั
ปัญหาเรอื่ งพนักงานทีจ่ ะต้องหามาให้บริการแก่ลูกคา้ รายบุคคล อกี ทัง้ สามารถควบคุมสินค้า ปริมาณการขาย
และปอ้ งกนั การสูญหายจากการขโมยได้ด้วย

7. การบริการแบบส่งถึงที่ (Delivery Service) เป็นธุรกิจการบริการที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
สำหรับลูกค้าที่ไม่ต้องการออกจากบ้านหรือสถานที่ทำงาน ลูกค้าจะได้รับความสะดวกสบายและไม่ต้อง
เดินทางออกมา ลักษณะของอาหารมักเป็นอาหารที่ประกอบเสร็จแล้วหรือใช้เวลารอไม่นาน เช่น พิซซ่า ไก่
ทอด เปน็ ต้น

8. การบริการอาหารในโรงพยาบาล (Hospital Food Service) เป็นธุรกิจการบริการอาหารและ
เครื่องดื่มให้แก่คนไข้ บุคลากรในโรงพยาบาล และบุคคลทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการในโรงพยาบาล ปัจจุบัน ใน
โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีบริการอาหารให้แก่คนไข้ โดยจัดอาหารไว้ในถาดและนำไปบริการถึงเตียงคนไข้ จัด
ห้องอาหารไว้สำหรับบริการบุคลากรในโรงพยาบาลและบุคคลทั่วไป อย่างไรก็ตาม อาหารและเครื่องด่ืม
เหล่านจ้ี ะต้องเน้นความสะอาด ปลอดภยั ตามหลักสขุ อนามัย

9. การบริการอาหารในสถานศึกษา (Institute Food Service) เป็นธุรกิจบริการอาหารและ
เครื่องดื่มให้แก่นักศึกษาที่มีกำลังซื้อสำหรับใช้จ่ายเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม ลักษณะอาหารมีให้เลือกหลาย
อยา่ ง ราคาไมแ่ พง เนน้ ความสะอาด ปลอดภัย ตามหลักสุขอนามยั เชน่ กนั

10. การบริการอาหารบนเครื่องบิน (In – Flight Service) ปัจจุบันสายการบินทุกแห่งให้บริการ
อาหารและเครื่องดื่มแก่ลูกค้าบนเครื่องบิน สายการบินบางแห่งให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่บางแห่ง
จะต้องเสยี คา่ ใช้จ่าย (สายการบนิ ต้นทุนต่ำและราคาถูก) ลกั ษณะอาหารเปน็ อาหารชุด พนักงานจะอุ่นอาหาร
ให้ร้อนก่อนนำไปบริการผูโ้ ดยสารถึงที่นั่ง และมีเครื่องดื่มหลายชนิดให้เลือก เช่น น้ำเย็น น้ำอัดลม เหล้าชนิด
ตา่ ง ๆ เป็นตน้

2.การบรกิ ารอาหารทโี่ ต๊ะอาหาร

การบริการอาหารท่โี ต๊ะอาหาร สามารถจำแนกออกเป็น 7 แบบ ดังน้ี
1. การบริการอาหารแบบฝรั่งเศส (French Service) การเสิร์ฟอาหารแบบนี้ได้รับความนิยมอย่าง
มากและมีระเบยี บ การจัดบรรยากาศห้องอาหารมีความสวยงาม พนกั งานบริการมีจำนวนมากและใช้อุปกรณ์
เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีราคาแพง ถือว่าเป็นการบริการอาหารแบบหรูหรา สวยงาม ค่าใช้จ่ายสูง พนักงาน
บริการแต่งกายด้วยชุดท่สี วยงาม มีความประณีต การเสิร์ฟอาหารต้องใช้พนักงานอย่างน้อย 2 คน ท่ีได้รับการ
ฝึกฝนเกี่ยวกับการเสิร์ฟอาหารเป็นอย่างดี ต้องมีความชำนาญและคล่องแคล่วว่องไวในการบริการ อาหารที่
เสิร์ฟจัดใส่ภาชนะที่สวยงาม มีการโชว์การปรุงอาหารในรถเข็น (Gueridon) นิยมโชว์อาหารแบบไฟลุก
(Flambe’) และนำอาหารทป่ี รุงเรียบร้อยแล้วจดั เสิร์ฟให้แก่ลูกค้า พนักงานจะตักอาหารเสิร์ฟลูกค้าทางด้าน
ขวามือของลูกค้าและถอนจากอาหารด้วยมือขวาเสมอ ยกเวน้ ขนมปงั เนย สลัด จะต้องเขา้ เสิรฟ์ ทางด้านซ้าย
ของลูกค้าและเสิร์ฟด้วยมือซ้าย พนักงานปฏิบัติงานด้วยความสุภาพ อ่อนโยนและสำรวม จนกระทั่งลูกค้า
ออกจากห้องอาหาร เป็นลักษณะของการบริการอาหารตามห้องอาหารหรือภัตตาคารท่ีมมี าตรฐานสูงจึงจะใช้
บรกิ ารแบบนี้

ภาพท่ี 5.1 การบริการอาหารแบบฝรงั่ เศส (French Service)
2. การบริการอาหารแบบรัสเซยี น (Russian Service) เปน็ การบรกิ ารอาหารทลี่ ักษณะคล้ายคลึงกับ
การบริการอาหารแบบฝรั่งเศส (French Service) แต่มีข้อแตกต่างที่การบริการอาหารแบบนี้จะใช้พนักงาน
บริการจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับผู้มาใช้บริการ ดังนั้น พนักงานบริการจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถ
และมีความชำนาญในการบริการมากพอ การบริการแบบรัสเซียนนี้อาหารที่จะนำไปเสิร์ฟ จะมีการเตรียม
การและการประกอบปรุงแต่งเสรจ็ เรียบร้อยแล้วมาจากครวั ซึง่ อาหารจะถูกจัดใส่ถาดตามจำนวนลูกค้าในแต่
ละโต๊ะเพื่อส่งให้พนักงานบริการ จากนั้นพนักงานบริการจะนำอาหารไปตักแบ่งก่อนที่จะเข้าเสิร์ฟ พนักงาน
บริการจะนำจานมาจัดไว้ตรงหน้าลกู ค้า โดยเข้าบริการทางขวามือของผูม้ าใช้บรกิ ารโดยจัดวางจานไปรอบ ๆ
ตามเข็มนาฬิกา และเมอื่ จัดวางจานเสร็จครบทุกคนแล้ว พนักงานบรกิ ารก็จะนำอาหารไปตักแบ่งต่อหน้าผู้มา
ใช้บริการ โดยใช้มือซา้ ยถือถาดอาหาร มือขวาถือช้อนส้อมเสริ ์ฟตักคบี อาหารเสริ ฟ์ ใส่จานให้ลูกคา้ ทลี ะคนจน
ครบ สำหรับการเข้าเสิร์ฟนั้นจะเข้าเสิร์ฟทางซ้ายมือหรือทวนเข็มนาฬิกาจนครบทุกคน ดังนั้น จึงนิยมใช้ใน
ราชพิธี รัฐพธิ ีตา่ ง ๆ และในภัตตาคารท่ีมีการบรกิ ารทีม่ มี าตรฐานสูง

ภาพที่ 5.2 การจัดโตะ๊ บรกิ ารอาหารแบบรัสเซียน (Russian Service)
(ที่มา : www.servicearts.wordpress.com)

1.กาโลหะ (Samovar)
2.ผลไม้สด (Fresh fruits)
3.ขนมอบ (Pastries)
4. ขนมปงั ก้อนกลม (Buns)
5. เนย (Butter)
6. แยม (Jams)
7. พายและขนมอบ (Pies and pasties)
8. ลกู กวาดรสผวิ ส้ม (Candied orange peel)
9. จาน แก้ว มดี (Plates, glasses, serviettes and dessert knives)
10. มะนาวฝานบาง ๆ (Lemon slices)
11. น้ำผง้ึ (Honey)
12. น้ำตาล (Sugar)
13. ถว้ ยชาและช้อนชา (Teacups and teaspoons)
14. ขนมหวาน (Confectionery)
15. เครื่องดื่ม (Beverages)
16. ขนมเค้ก (Cake)

ภาพท่ี 5.3 การบริการอาหารแบบรัสเซยี น (Russian Service)
(ท่มี า : www.servicearts.wordpress.com)

3. การบริการอาหารแบบอังกฤษ (English Service) การบริการอาหารแบบนี้ ในปัจจุบันมีใช้กัน
นอ้ ยมาก โดยเฉพาะตามห้องอาหารหรือภตั ตาคารทั่วไป แต่อาจมบี างครงั้ ที่จัดเล้ยี งในโอกาสพิเศษโดยเฉพาะ
เช่น งานจัดเลี้ยงภายในครอบครัว การบริการอาหารแบบอังกฤษนี้อาหารจะถูกประกอบและปรุงแต่ง จัดใส่
จาน หรือถาดเสร็จเรียบร้อยจากครัว ซึ่งพนักงานบริการจะนำอาหารไปวางไว้ที่โต๊ะพักอาหารที่จัดไว้
ต่อจากนั้น เจ้าภาพงานเลี้ยงจะเป็นผู้มาตักอาหารแบ่งใส่จาน แล้วให้พนักงานบริการนำไปเสิร์ฟให้ลูกค้า
สำหรับวธิ ีการเข้าเสริ ฟ์ น้นั ก็เหมอื นกับการบริการอาหารแบบฝรง่ั เศส

ภาพที่ 5.4 การบริการอาหารแบบองั กฤษ (English Service)
(ที่มา > WWW.DREAMSTIME.COM)

4. การบริการอาหารแบบอเมริกัน (American Service) การบริการแบบนี้มีลักษณะเป็นทางการ
น้อยกว่าการบริการอาหารแบบอื่น ๆ แต่เป็นการบริการอาหารที่นิยมใช้กันมากที่สุดตามห้องอาหาร และ
ภัตตาคารในทุกวันนี้ เนื่องจากเป็นการบริการที่ไม่มีพิธีรีตองมากนัก การบริการอาหารแบบนี้จะมีลักณะที่
แตกต่างไปจากการบริการแบบอื่น ๆ คือ อาหารทีจะนำมาเสิร์ฟนั้นจะปรุงเฉพาะคนมาจากครัว ซึ่งพนักงาน
บรกิ ารสามารถนำไปเสิร์ฟไดเ้ ลย ยกเวน้ ขนมปัง เนย และสลัด พนกั งานบรกิ ารอาจนำมาตักแบ่งใส่จานให้กับ

ผู้มาใช้บริการที่โต๊ะ สำหรับวิธีการเข้าเสิร์ฟ พนักงานบริการจะนำอาหารเข้ามาเสิร์ฟทางขวามือของ
ผ้ใู ช้บริการโดยใช้มือขวาในการเสิร์ฟ ส่วนการเกบ็ จานอาหารหรือถอนจานอาหาร พนักงานบริการจะเข้าถอน
ทางขวามือของผู้มาใช้บริการ ยกเว้น ขนมปัง เนย และสลัด การบริการอาหารแบบนี้ถือว่าเป็นการจัดการ
บริการท่เี นน้ ความสะดวกรวดเร็วและง่าย

ภาพท่ี 5.5 การบริการอาหารแบบอเมริกนั (American Service)
(ทมี่ า >WWW.SERVICEARTS.WORDPRESS.COM)

5. การบริการอาหารแบบบุฟเฟต์ (Buffet Service) เป็นการบริการอาหารแบบช่วยเหลือตนเอง
โดยห้อง อาหารมีการจัดวางอาหารต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย ทั้งรสชาติ สีสัน อาหารทุกชนิดจะจัดอย่าง
สวยงามบนโต๊ะที่วางไว้เป็นจุด ๆ ตามประเภทของอาหาร โดยเรียงลำดับของอาหารเริ่มตั้งแต่อาหารเรียก
น้ำย่อย อาหารหลัก ผลไม้ และของหวาน โดยจะมีการตกแต่งห้องอาหารอย่างสวยงามด้วยการจัดดอกไม้
นำ้ แข็งแกะสลัก มภี าชนะและอุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร เตรยี มไว้ท่โี ตผะวางอาหาร สำหรับลูกคา้ ท่ีเข้า
มาใช้บริการ สามารถหยิบภาชนะและเลือกอาหารตักเองไดต้ ามต้องการ พนักงานเสิร์ฟจะดูแลเรือ่ งการเสิรฟ์
น้ำ เกบ็ แกว้ จาน และอำนวนความสะดวกอืน่ ๆ เทา่ นั้น

ภาพที่ 5.6 การจดั โต๊ะรบั ประทานอาหารสำหรบั งานเล้ยี ง (Banquet Table Setting)
The Landmark Hotel

ภาพที่ 5.7 การจัดโต๊ะรับประทานอาหารสำหรับงานเล้ยี ง (Banquet Table Setting)
The Landmark Hotel

6. การบริการอาหารแบบแคเฟทเี รีย (Cafeteria Service) พนักงานบรกิ ารจะตักอาหารใสภ่ าชนะ
ต้ังไว้ให้ลูกค้าเลือกหยิบเปน็ จาน ๆ นอกจากของรอ้ นหรือเย็นท่ีจะมีคนชว่ ยตกั สง่ ให้ตามลกู ค้าสั่ง และเม่ือ
รับประทานเสร็จลกู ค้ามหี น้าที่ท่ีจะนำภาชนะมาคนื ยังทที่ ่ีกำหนด

ภาพที่ 5.8 การบริการอาหารแบบแคเฟทเี รยี (Cafeteria Service)
ที่มา >www.verywellhealth.com

7. การบริการอาหารแบบมือ (Arms Service) เป็นการบริการในคอฟฟีชอป (Coffee Shop)
ต้องการความรวดเร็ว ไมเ่ นน้ พธิ กี าร การเสิรฟ์ ใช้มอื สองข้างยกอาหารมาคราวละมาก ๆ เชน่ เสริ ฟ์ นำ้ 1 ครั้ง
ได้ 4 แก้ว โดยวางไว้ในมอื ซา้ ย 3 แก้ว มอื ขวา 1แกว้

ภาพที่ 5.9 การบรกิ ารอาหารแบบมอื (Arms Service)
(ทมี่ า > th.depositphotos.com)

3. การบรกิ ารอาหารและเครื่องดมื่ มื้อตา่ ง ๆ

การบรกิ ารอาหารและเครื่องด่ืมม้อื ต่าง ๆ ให้แก่ลูกคา้ มีดังน้ี
1.อาหารเช้า (Breakfast) เมื่อลูกค้าเข้ามานั่ง ควรจะให้บริการน้ำเย็นแก่ลูกค้าแล้วส่งรายการ
อาหารให้ ถ้าหากครั้งแรกขอกาแฟก็ควรจะหากาแฟให้ก่อนที่จะนำอาหารตามสั่งมาให้ เพราะว่าลูกค้าบาง
คนจะไม่มีความสุขจนกว่าจะได้กินกาแฟ อาหารเช้าควรเสิร์ฟในตอนเช้าเท่านั้น ควรเสิร์ฟอาหารร้อนโดยใช้
จานร้อน จานอาหารท่ีเปรอะเป้ือนจากการใช้บริการอาหารชดุ แรกควรเก็บใหเ้ รยี บร้อยก่อน เมอื่ ลกู ค้าส่ังขนม
ปังปิ้ง (Toast) ควรถามลูกค้าว่าลูกค้าชอบขนมปังปิ้งธรรมดาหรือขนมปังทาเนย ขนมปังปิ้งควรจะห่อในผ้า
เพอื่ ชว่ ยใหก้ รอบและร้อนอยเู่ สมอ
อาหารเชา้ สำหรับชาวตะวันตกสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดงั น้ี

1.1 อาหารเชา้ แบบ Continental Breakfast เปน็ อาหารเช้าของชาวยโุ รป ไมน่ ยิ มรับประทาน
อาหารประเภทเน้ือสตั ว์ ได้แก่

- อาหารพวกขนมปังต่าง ๆ
- อาหารประเภทธัญพืช (Cereal) ได้แก่ คอรน์ ้ฟล็กสร์ สชาติตา่ ง ๆ ข้าวโอ๊ต และธัญพชื
สำเรจ็ รูป
- ผลไม้ต่าง ๆ เชน่ สบั ปะรด แตงโม มะละกอ เปน็ ตน้
- เคร่ืองด่ืมต่าง ๆ เชน่ นม น้ำส้ม ชา-กาแฟ โกโก้ เปน็ ต้น

ภาพท่ี 5.10 อาหารเชา้ แบบ Continental Breakfast
(ทีม่ า >www.exiteducation.com)

ภาพที่ 5.11 การจดั โตะ๊ อาหารมอ้ื เช้า
(ทม่ี า > goterrestrial.com)

1.2 อาหารเช้าแบบ American Breakfast เป็นอาหารเชา้ ของชาวอเมริกนั มีลกั ษณะ
ใกล้เคียงกบั อาหารเชา้ แบบอังกฤษ แต่มปี ริมาณมากกวา่ ดงั นี้

- อาหารประเภทไข่ ได้แก่ ไข่ลวก (Soft Boiled Eggs) ไข่คน (Scramble Eggs) และไข่เจยี ว
ม้วน (Omelet)

- อาหารประเภทเน้ือสัตว์ ไดแ้ ก่ แฮมไสก้ รอก เบคอน และไก่อบ
- อาหารประเภทขนมปัง ได้แก่ ขนมปงั ป้ิง (Toast) ขนมปังหวาน (Sweet Roll) ครัวซอง
(Croissant) แพนเคก้ (Pancake) และวาฟเฟิล (Waffle)
- อาหารประเภทผัก ไดแ้ ก่ มะเขอื เทศ แตงกวา หอมใหญ่ และมนั ฝรง่ั
- อาหารประเภทเครื่องดม่ื ได้แก่ กาแฟ นมสด ชา โกโก้ และน้ำผลไม้

ภาพที่ 5.12 อาหารเช้าแบบ American Breakfast
(ทมี่ า > Sabaihotel.com)

สว่ นอาหารเช้าสำหรับชาวตะวันออก มักแตกตา่ งกนั ไปในแตล่ ะภมู ิภาคของประเทศ เชน่ คนไทย
รบั ประทานข้าวและกับข้าวในมือ้ เชา้ คนจีนและฮ่องกงทานโจ๊กหรอื ติมซำเป็นอาหารเช้า เป็นตน้

2. อาหารวา่ งระหว่างม้ือเชา้ และมอ้ื กลางวัน (Brunch) โดยคำว่า “Brunch” มาจาก Breakfast
+ Lunch or as a specially-planned meal (วางแผนไว้ล่วงหน้า) เป็นการรวบอาหารเช้ากับอาหาร
กลางวันเขา้ ดว้ ยกัน นิยมรับประทานเวลาประมาณ 9.00 น. แต่ไม่เกิน 11.00 น. เป็นอาหารวา่ งหรอื มอื้ เบา ๆ
(a lighter meal or snack) คำว่า “Brunch” (บรันช์) เริ่มใช้ครั้งแรกในนิตยสาร Punch และเมื่อคำน้ี
ถูกใช้ในหนังสือพิมพ์ Hunter’s Weekly ในประเทศอังกฤษราวปี ค.ศ.1896 คำว่า “Brunch” ก็ได้
กลายเปน็ คำแสลงท่ีใช้กันมากในอเมริกา เมนทู ่นี ยิ มรับประทานกันนน้ั จะประกอบไปดว้ ยไข่ ไสก้ รอก เบคอน
แฮม ผลไม้ เพสตรี้ แพนเคก้ และเมนอู นื่ ๆ ทน่ี ิยมรับประทานกนั ชว่ งม้อื เชา้

ภาพที่ 5.13 ลกั ษณะอาหารวา่ งระหว่างม้อื เชา้ และมื้อกลางวัน (Brunch)
ทีม่ า >klook.com

3. อาหารกลางวัน (Lunch) เป็นอาหารสำคัญอีกมื้อหนึ่ง มาจากคำว่า “ Luncheon “ หมายถึง
มือ้ เบา ๆ ทีร่ ับประทานตอนกลางวัน (Light Midday Meal) โดยนยิ มเสริ ฟ์ เปน็ จานตามลำดบั ก่อนหลัง ส่วน
ใหญ่จะเป็นอาหารคาวเพียง 2 จาน แล้วต่อด้วยของหวาน ชา หรือกาแฟ 1 ถ้วย เพราะมีเวลารับประทาน
เพียงประมาณ 1 ชั่วโมง อาหารมื้อกลางวันของยุโรป อเมริกัน และอังกฤษจะมีเวลาแตกต่างกันออกไป ถ้า
เป็นยุโรปจะเริ่มรับประทานเวลา 12.00 น. แต่ถ้าเป็นอเมริกันหรืออังกฤษจะเริ่มรับประทานเวลา 13.00 –
14.00 น.

ภาพที่ 5.14 ลักษณะอาหารมือ้ กลางวนั (Lunch)
ท่ีมา >Ttipadvisor

ประเภทอาหารมื้อกลางวนั
ประเภทที่ 1 อาหารจานเดียว (One Courses) หมายถึง อาหารที่เป็นอาหารคาวอย่างเดียว
เช่น ไก่ เนื้อ หมู และปลา อาหารประเภทผักต่าง ๆ หรืออาจมีสลัดประกอบด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่
ต้องการรบั ประทานอาหารมากหรอื มเี วลาน้อย

ภาพท่ี 5.15 อาหารจานเดียว (One Courses)
ประเภทท่ี 2 อาหารสองจาน (Two Course) หมายถงึ อาหารทเี่ ปน็ ประเภทอาหารคาว 2 จาน
จานแรกเปน็ อาหารเบา ๆ เชน่ Cocktail ต่าง ๆ อารทะเลหรอื ซุป สว่ นจานที่ 2 จะเป็นอาหารหนักและมี
สลดั รวมอยูด่ ้วย

ภาพท่ี 5.16 อาหารสองจาน (Two Courses)
(ท่ีมา >youplateit.com.au)

ประเภทที่ 3 อาหารสามจาน (Three Courses) หมายถึง อาหารที่เป็นประเภทอาหารคาว 3
จาน จานแรกเป็นออร์เดิร์ฟหรือซุป จานที่ 2 เป็นอาหารทะเล จานที่ 3 เป็นอาหารหลัก คืออาหาร
ประเภทเนื้อ ไก่ หมู และมีผักเป็นส่วนประกอบ โดยมากห้องอาหารจะจำหน่ายอาหารกลางวันในหอ้ งอาหาร
ซ่ึงลูกคา้ สามารถเข้าไปใชบ้ ริการอาหารและเคร่ืองด่ืมได้ ซ่ึงทางหอ้ งอาหารจะจัดอาหารรสเลิศ การบริการที่ดี
มคี ณุ ภาพ บรรยากาศทีส่ วยงามเหมาะสม และสะอาดถกู สุขอนามัยอาหารไว้อย่างครบครนั

ภาพท่ี 5.17 อาหารสามจาน (Three Courses)
ท่ีมา >bynganhanh.wordpress.com

4. อาหารมือ้ นำ้ ชา (Tea Meal) ได้รบั ความนยิ มจากประเทศตะวนั ตก โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ นำ้
ชาที่ดื่มกันเป็นชาฝรั่งหรือชาดำ โดยจะเป็นชาใบ (Loose Tea) หรือชาถุง (Tea Bag) ก็ได้ มีการดื่มชา
ด้วยกันสองมื้อ ได้แก่ ชายามบ่าย (Afternoon Tea) เป็นมื้ออาหารเบา ๆ จะใช้เสิร์ฟในช่วงบ่ายหรือระหว่าง
พักการประชุมสัมมนาต่าง ๆ ในระหว่างเวลา 15.00 – 17.00 น. และมื้อน้ำชาตอนเย็น (High Tea) คือม้ือ
เย็นที่รับประทานเร็วขึ้น โดยมากแล้วรับประทานในเวลา 17.00 – 18.00 น. อาหารที่นิยมนำมาจัดมีตั้งแต่
อาหารหวานและขนมชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคุกกี้ พาย ครัวซอง หรืออาจเป็นอาหารคาว หรือจัดรวมกัน
เป็นอาหารคาวและอาหารหวานก็ได้ เสิร์ฟคู่กับน้ำผลไม้เย็น ๆ หรือเครื่องดื่มร้อนหวาน โดยที่ภาชนะบรรจุ
ชา และถว้ ยชาต่าง ๆ ตอ้ งเปน็ ชุดเข้ากนั อยา่ งดี มลี วดลายสวยงาม

ภาพที่ 5.18 อาหารม้ือน้ำชา (Tea Meal)
Prince’s gate Hotel

5. อาหารเย็น (Dinner) เป็นอาหารมื้อที่สำคัญ หากต้องการรับประทานอาหารที่ภัตตาคาร ลูกค้า
ต้องโทรจองโต๊ะอาหารล่วงหน้า และต้องแต่งกายสุภาพ บางภัตตาคารกำหนดให้ใส่สูทและติดหูกระต่าย
สำหรับ สุภาพสตรีต้องแต่งชุดราตรีที่เรียกว่า “Dinner Gown” แต่ถ้าหากเป็นร้านอาหารประจำถ่ิน
(Family Restaurant) หรือ Steak House การแต่งตัวอาจไม่ต้องพิถีพิถันนัก แต่โดยภาพรวมแล้ว
ห้องอาหารในเมือง มักกำหนดให้ต้องแต่งกายสุภาพ สวมรองเท้าสุภาพเข้าไปนั่งรับประทานอาหารใน
หอ้ งอาหารนั้น ๆ

ภาพที่ 5.19 อาหารเย็น (Dinner)
The Hotel Guru

อาหารมื้อนี้จะเป็นมื้อที่หนักที่สุด เพราะเต็มไปด้วยอาหารประเภทเนื้อสัตว์เป็นส่วนใหญ่ มีอาหาร
หลายอย่างซึ่งมีลำดับในการรับประทานเป็นขั้นตอน และมีเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอร์เรียกน้ำย่อยก่อน
รับประทานอาหารหลัก เหตุที่มีอาหารหลายอย่างเรยี งลำดับในการเสิร์ฟเพราะว่าม้ือนี้เป็นมื้อสุดท้ายของวัน
เป็นช่วงเวลาการรบั ประทานแบบสบาย ๆ ไม่มเี วลาจำกัด ซึ่งจะเร่มิ ตั้งแต่19.00 – 22.00 น. เป็นต้นไป ม้ือนี้
มีอาหารหลายจานเสิร์ฟเป็นลำดับ รวมทั้งมีเครื่องดื่มต่าง ๆ ให้ลูกค้าเลือกตามความต้องการ ซึ่งทาง
ภัตตาคารได้จัดไว้อย่างครบครัน ทั้งอาหารรสเลิศ การบริการที่ดีมีคุณภาพ บรรยากาศที่สวยงามเหมาะสม
และสะอาดถกู สขุ อนามยั ดงั นี้

1. อาหารจานแรก (Appetizers) เป็นอาหารท่ีใช้เรียกนำ้ ย่อย อาจมีรสจีดหรือรสจดั ก็ได้ ขนาดชิ้น
พอคำ เสริ ์ฟในปรมิ าณไม่มากนัก ถือเป็นการเรียกน้ำยอ่ ยแบบพอหอมปากหอมคอ

2. อาหารประเภทซุป (Soup) หลักจากอาหารจานแรกผ่านไป พนักงานบริการจะเสิร์ฟซุปเป็น
อาหารจานที่ 2 (เป็นซุปข้น / ซุปใส : Thick Soup / Clear Soup) เสิร์ฟให้ในปริมาณทีไ่ ม่มากเกินไป และ
ตอ้ งเสิรฟ์ ขณะซุปยงั ร้อน

3. อาหารจานรอง (Entrée) เป็นอาหารชิ้นเล็ก ๆ ทำจากอาหารทะเล ประเภทปลาหรือกุ้ง หอย
เชลล์ เสริ ฟ์ ปริมาณนอ้ ย และนยิ มเสิรฟ์ คกู่ ับเครอ่ื งดมื่ เรยี กน้ำย่อย

4. อาหารจานหลัก (Main Course) เป็นอาหารจานสุดท้ายในประเภทอาหารคาว ประกอบด้วย
เนื้อสตั ว์ เป็นหลัก ตกแต่งดว้ ยผักสุกหรอื ผักสด เชน่ สเต็กท่ที อดหรอื ยา่ ง อาจราดด้วยหรอื ไม่กไ็ ด้ นยิ มเสิร์ฟ
ควบคกู่ ับไวนข์ าวหรอื ไวนแ์ ดง

5. ของหวานและเครื่องดื่ม (Dessert) เป็นจานปิดท้ายมื้ออาหาร โดยของหวานอาจเป็นเค้ก
ไอศกรมี หรือผลไม้กไ็ ด้ จะเสิรฟ์ พรอ้ มกบั เหลา้ หลงั อาหาร และตามดว้ ยชา หรอื กาแฟ

ภาพท่ี 5.20 ตวั อยา่ งรายการอาหารมื้อเย็น
หอ้ งอาหารมะฮอกกานี วิทยาลยั ดุสติ ธานี
6. อาหารม้ือดึก (Supper) เป็นอาหารมื้อสดุ ท้ายของวัน นิยมรับประทานระหวา่ งเวลา 22.00 –
23.00 น. อาจเนอ่ื งจากอาหารมอ้ื ค่ำจะรับประทานปรมิ าณนอ้ ย ทำใหเ้ กดิ ความรู้สึกหิว ตอ้ งการรับประทาน
เพมิ่ เติมแต่จะเป็นอาหารเบา ๆ เชน่ Teriyaki prawns & broccoli noodles ซ่งึ ห้องอาหารบางแหง่ จะจดั
จำหน่ายตามความต้องการของลูกค้า

ภาพที่ 5.21 อาหารม้ือดึก (Supper)
(ท่ีมา >http://www.bbcgoodfood.com/recipes/1841644/teriyaki-prawns-and-broccoli-noodles)

7. อาหารว่าง (Snack) เปน็ อาหารระหว่างมื้อแต่ละมื้อ สำหรบั รบั ประทานเลน่ มปี ริมาณอาหาร
น้อยกวา่ อาหารประจำมือ้ อาจเป็นอาหารนำ้ หรืออาหารแหง้ มที ้งั คาวและหวาน มีชนิ้ เลก็ ขนาดพอคำ
หยบิ รบั ประทานงา่ ย เช่น คุกกี้ โดนัท เปน็ ต้น

ภาพท่ี 5.22 อาหารมื้อว่าง (Snack)
(ทีม่ า >welder-wellness.com)

ลำดับของอาหารชนิดครบชดุ ในการรับประทานอาหารตะวันตกแบบยุโรป
ลำดับของอาหารชนิดครบชุดในการรับประทานอาหารตะวันตกแบบยุโรป พนักงานจะต้องเรียนรู้
ลำดับของอาหารชนิดครบชุดในการรับประทานอาหารตะวันตกแบบยุโรปอย่างถูกต้องแล้วนำมาเสิร์ฟทีละ
อย่าง เพื่อให้ลูกค้ารับประทานอาหารแต่ละย่างตามลำดับจนครบถ้วน ส่วนอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ เช่น
ส้อมและมีดจะเปลี่ยนไปตามอาหารนั้น ๆ แต่จะถูกวางไว้เป็นชุดอยู่บนโต๊ะอาหาร ลำดับของอาหารชนิดครบ
ชดุ มีดังน้ี
1. ขนมปงั และ ออรเ์ ดิฟ (Bread and hors d’oeuvres)
2. ซปุ (Soup)
3. อาหารจำพวกปลา (Fish Meal)
4. อาหารจำพวกเน้ือ (Meat Meal)
5. สลัดผกั (Salad)
6. ไอศกรมี หรือ ผลไม้ ( Icecream or Fruit)
7. ชา หรือ กาแฟ (Tea or Coffee)

ภาพที่ 5.23 การจดั โต๊ะอาหารม้ือค่ำแบบพธิ กี าร

ท่มี า >pnthanjira.wordpress.com

ในความเปน็ จรงิ แมจ้ ะเปน็ อาหารคำ่ อยา่ งเปน็ พธิ ีการ แตส่ ว่ นใหญ่จะมกี ารตัดอาหารบางอยา่ งออกไป
เสิร์ฟอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เพียงครั้งเดียวบ้าง หรืออาจตัดไอศกรีมออกไปบ้าง เป็นต้น อุปกรณ์บนโต๊ะ
อาหาร Table Set มดี ังนี้

1. จานรอง 8. สอ้ มสำหรับทานปลา 15. แก้วแชมเปญ

2. ผ้าเช็ดปาก 9. ส้อมสำหรับออรเ์ ดริ ์ฟ 16. แก้วใสไ่ วน์แดง

3. ชอ้ นซปุ 10. จานใส่ขนมปงั 17. แกว้ ใสไ่ วนข์ าว

4. มีดออร์เดริ ์ฟ 11. ท่ีทาเนย

5. มีดหั่นปลา 12. มีดตดั เนย

6. มดี ห่ันเนอื้ 13. จานรองเนย

7. ส้อมสำหรบั ทางเนื้อ 14. แก้วใสน่ ้ำเปลา่

รายการอาหารอาจเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กนอ้ ยขน้ึ อยู่กบั กฎระเบียบหรือนโยบายของร้าน อกี ทั้ง
อุปกรณ์ใหม่ ๆ สำหรบั ทานอาหาร ซงึ่ ไม่ปรากฏอยใู่ นแผนภาพนี้ จะถูกนำมาวางไว้พร้อม ๆ กบั อาหารชนิด
น้ัน ๆ

สรปุ สาระการเรียนรู้หนว่ ยที่ 5

การบรกิ ารอาหารและเครื่องด่ืมไดร้ ับการพัฒนาอยา่ งต่อเน่อื ง เพือ่ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
และสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้เกิดรูปแบบต่าง ๆ ของการบริการ
อาหารและเครอื่ งดมื่ ลกู คา้ เพ่ือสรา้ งทางเลอื กในการบริโภคใหก้ ับลกู ค้า รปู แบบของการบรกิ ารอาหารท่ีได้รับ
ความนยิ มมีดังน้ี

1. การบริการที่โต๊ะอาหาร เป็นการบริการที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในห้องอาหารที่ลูกค้าเข้ามา
ใช้บริการ ลูกค้าสั่งอาหาร แล้วจะมีพนักงานบริการทำหน้าที่ในการเสิร์ฟอาหารที่โต๊ะอาหาร หลังจากนั้น
ลกู ค้ามหี นา้ ท่ชี ำระเงินค่าอาหาร

2. การบริการแบบช่วยเหลือตนเอง เป็นการบริการที่ลูกค้าช่วยบริการตนเอง มีหลากหลายลักษณะ
ส่วนใหญ่
ลกู ค้าทำหนา้ ท่เี ลอื กอาหาร ตักอาหารและชำระเงินดว้ ยตนเอง เชน่ แคเฟทีเรีย บฟุ เฟต์ เป็นต้น

3. การบริการแบบปาร์ตี้ เป็นการบริการในงานจัดเลี้ยง ซึ่งใช้โต๊ะเพื่อจัดวางขนมขบเคี้ยว อาหาร
ว่างที่มีขนาดเล็ก มีการตกแต่งสวยงาม รวมถึงเครื่องดื่มทั้งที่มีแอลกอฮอร์และไม่มีแอลกอฮอร์ การบริการ
แบบปารต์ ี้มักจดั ในโอกาสพเิ ศษต่าง ๆ เชน่ งานแตง่ งาน งานวนั เกิด งานสังสรรค์ เปน็ ตน้ ซึ่งลูกคา้ สามารถ
เดนิ ไปมาเพอ่ื สนทนาหารอื กันได้

4. การบริการที่รถ เป็นการบริการที่รถให้แก่ลูกค้า โดยพนักงานถืออาหารที่ลูกค้าสั่งตามความ
ตอ้ งการบรรจุในถาดภาชนะท่สี ามารถวางหรือตดิ ทห่ี น้าต่างหรือตรงประตรู ถของลูกค้าได้ ต่อมาได้พัฒนาเป็น
Drive-in โดยขับรถเข้ามาจอดในสถานที่ที่ถูกกำหนดไว้ ลูกค้าสั่งรายการที่ตู้สั่งอาหาร ไม่ต้องลงจากรถ
และรอรบั อาหาร เม่อื ไดร้ ับอาหารทส่ี ัง่ แล้ว ลูกค้าจงึ ขับรถออกไป

5. การบริการแบบบาร์และเลานจ์ เป็นการบริการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ ได้แก่ เหล้า
เบียร์ เครื่องดื่มค็อกเทล อาหารว่าง ขนมขบเคี้ยว เช่น ถั่ว มันฝรั่งทอด แซนด์วิช เป็นต้น การบริการ
ประเภทนี้
ไดร้ ับผลกำไรสูงกว่าแบบอ่นื วิธกี ารบรกิ ารไม่เปน็ พธิ ีการ และไมม่ คี วามยุ่งยากมากนกั

6. การบริการด้วยเครื่องจักรกลอัตโนมัติ เป็นการบริการอาหารและเครื่องดื่มด้วยเครื่องจักรกล
อัตโนมัติ โดยบรรจุอาหารไว้ในตู้อาหาร ลูกค้าเลือกอาหารที่ต้องการแล้วหยอดเหรียญในเครื่องและกดปุ่ม
หลังจากนั้นจะมีอาหารเคลื่อนออกมา การบริการด้วยเครื่องชนิดนี้ช่วยตัดปัญหาเรื่องพนักงานที่ต้องหามา
ให้บริการแก่ลูกค้าเป็นรายบุคคล สามารถควบคมุ สินคา้ และปรมิ าณการขาย รวมทั้งป้องกันการสูญหายจาก
การขโมยด้วย

7. การบริการแบบส่งถึงที่ สำหรับลูกค้าที่ไม่ต้องการออกจากบ้านหรือสถานที่ทำงาน ทำให้ลูกค้า
ไดร้ ับความสะดวกสบายและไม่ต้องเดินทางออกมา ลักษณะของอาหารมักเป็นอาหารที่ประกอบเสร็จเร็วหรือ
ใชเ้ วลารอไมน่ าน เชน่ พิซซา่ ไก่ทอด เปน็ ต้น

8. การบริการอาหารในโรงพยาบาล เป็นธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มให้แก่คนไข้ บุคลากรใน
โรงพยาบาล และบุคคลทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการในโรงพยาบาล การให้บริการอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้
จะต้องเนน้ ความสะอาด ปลอดภัย ตามหลกั สุขอนามัย

9. การบริการอาหารในสถานศึกษา เป็นการบริการอาหารและเครื่องดื่มใหแ้ ก่นักศึกษา ลักษณะ
อาหารมใี หเ้ ลอื กหลายอย่าง ราคาไมแ่ พง เนน้ ความสะอาด ปลอดภยั ตามหลกั สุขอนามัย

10. การบริการอาหารบนเคร่ืองบิน ลักษณะอาหารเปน็ อาหารชุด พนักงานจะอุ่นอาหารให้ร้อนก่อน
นำไปบรกิ ารแกผ่ โู้ ดยสารถึงที่นั่ง และมเี ครอ่ื งดืม่ หลายชนิดให้เลือก เช่น น้ำเยน็ นำ้ อดั ลม เหล้าชนิดต่าง
ๆ เป็นต้น

การบริการอาหารท่โี ต๊ะอาหาร สามารถจำแนกออกเปน็ 7 แบบ ดงั น้ี
1. การบริการอาหารแบบฝรั่งเศส การเสิร์ฟอาหารแบบนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก มีระเบียบ การ

จดั บรรยากาศห้องอาหารมคี วามสวยงาม พนกั งานบรกิ ารมีจำนวนมาก และใชอ้ ปุ กรณ์เคร่ืองมือเคร่ืองใช้ที่มี
ราคาแพง ถือวา่ เป็นการบริการอาหารแบบหรูหรา สวยงาม ค่าใช้จ่ายสงู พนกั งานบริการแต่งกายด้วยชุดที่
สวยงาม ประณีต ต้องมีความชำนาญคลอ่ งแคล่วว่องไวในการบริการ อาหารที่เสิร์ฟจัดใส่ภาชนะที่สวยงาม มี
การโชว์การปรุงอาหารในรถเข็น (Gueridon) นิยมโชว์อาหารแบบไฟลุก (Flambe’) และนำอาหารที่ปรุง
แล้ว จดั เสริ ฟ์ ใหแ้ กล่ กู คา้

2. การบริการอาหารแบบรัสเซียน เป็นการบริการอาหารที่ลักษณะคล้ายคลึงกับการบริการอาหาร
แบบฝรั่งเศส แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่การบริการอาหารแบบนี้จะใช้พนักงานบริการจำนวนน้อยเมื่อ
เปรยี บเทียบกบั ผู้มาใชบ้ รกิ าร พนกั งานบรกิ ารจะนำถาดอาหารไปตักแบง่ ต่อหน้าผมู้ าใช้บริการ โดยใช้มือซ้าย
ถือถาดอาหาร มือขวาถือช้อนส้อมเสริ ฟ์ ตักคบี อาหาร เสิรฟ์ ใสจ่ านใหก้ ับลูกค้าไปทีละคน สำหรบั การเข้าเสิร์ฟ
นัน้ จะเขา้ เสริ ์ฟทางซา้ ยมอื หรือทวนเขม็ นาฬิกาจนครบทุกคน

3. การบริการอาหารแบบอังกฤษ การบริการอาหารแบบนีใ้ นปจั จุบันมีใช้กันน้อยมาก อาจมีการจัด
เลี้ยงในโอกาสพิเศษโดยเฉพาะ เช่น งานเลี้ยงภายในครอบครัว การบริการอาหารแบบอังกฤษนี้อาหารจะ
ถูกประกอบและปรุงแต่งจัดใสจ่ าน หรือถาดเสร็จเรียบร้อยจากครัว ซึ่งพนักงานบริการจะนำอาหารไปวางไว้
ทโี่ ตะ๊ อาหารที่จัดไว้ จากนั้นเจ้าภาพงานเล้ียงจะเปน็ ผู้ตกั อาหารแบ่งใสจ่ าน แลว้ ใหพ้ นักงานบรกิ ารนำไปเสิร์ฟ
ให้ลกู คา้

4. การบริการอาหารแบบอเมริกัน เป็นการบริการอาหารที่นิยมใช้กันมากที่สุดตามห้องอาหารและ
ภัตตาคารทุกวันนี้ เนื่องจากเป็นการบริการที่ไม่มีพิธีรีตองมากนัก การบริการอาหารแบบนี้จะมีลักษณะ

แตกตา่ งจากการบริการแบบอ่ืน ๆ คือ อาหารทจ่ี ะนำมาเสิร์ฟน้ันจะปรุงเฉพาะมาจากครัว ซ่งึ พนักงานบริการ
สามารถจะนำไปเสิร์ฟไดท้ ันที ยกเว้น ขนมปัง เนย สลัด พนักงานบริการอาจนำมาตักแบ่งใส่จานให้กับผ้มู า
ใช้บริการที่โต๊ะ สำหรับวิธีการเข้าเสิรฟ์ พนักงานบริการจะนำอาหารเข้ามาเสิร์ฟทางขวามือของผูม้ าใช้บริการ
โดยใช้มือขวาในการเสิร์ฟ ส่วนการเก็บจานอาหารหรือถอนจานอาหารพนกั งานบริการจะเขา้ ถอนทางขวามือ
ของผู้มาใช้บริการ ยกเว้นจานขนมปังและจานสลัด การบริการอาหารแบบนี้ถือว่าเป็นการจัดการบริการที่
เนน้ ความสะดวกรวดเร็วและงา่ ย

5. การบริการอาหารแบบบุฟเฟต์ เป็นการบริการแบบช่วยเหลือตนเอง โดยห้องอาหารมีการจัดวาง
อาหารตา่ ง ๆ ที่มีความหลากหลาย ทั้งรสชาติ สีสนั อาหารทุกชนดิ จะจัดอย่างสวยงามบนโต๊ะท่ีวางไว้เป็นจุด
ๆ ตามประเภทของอาหารโดยเรียงลำดับของอาหารเร่มิ ต้ังแต่อาหารเรียกน้ำย่อย อาหารหลกั ของหวานและ
ผลไม้ มีการตกแต่งหอ้ งอาหารทส่ี วยงาม พนักงานเสริ ฟ์ จะดูแลเรอ่ื งการเสิร์ฟนำ้ เก็บแก้ว จาน และอำนวย
ความสะดวกอื่น ๆ เทา่ น้นั

6. การบริการอาหารแบบแคเฟทีเรีย พนักงานบริการจะตักอาหารใส่ภาชนะ ตั้งไว้ให้ลูกค้าเลือก
หยิบเป็นจาน ๆ นอกจากของรอ้ นหริอเยน็ ที่จะมคี นชว่ ยตักส่งใหต้ ามลกู ค้าส่ัง และเม่ือรบั ประทานเสร็จลูกค้า
มหี น้าทที่ จี่ ะนำภาชนะมาคืนยงั ทท่ี ีก่ ำหนด

7. การบริการอาหารแบบมือ เป็นการบริการในคอฟฟีชอป (Coffee Shop) ต้องการความรวดเร็ว
ไมเ่ น้นพิธีการ การเสริ ์ฟใช้มอื สองขา้ งยกอาหารคราวละมาก ๆ การบริการอาหารและเครอ่ื งดืม่ ม้อื ต่าง ๆ ให้แก่
ลูกค้า ได้แก่ อาหารเช้า (Breakfast) อาหารระหว่างมื้อเช้าและมื้อกลางวัน (Brunch) อาหารกลางวัน
(Lunch) อาหารมื้อน้ำชา (Tea Meal) อาหารเย็น (Dinner) อาหารเย็น (Supper) และอาหารว่าง
(Snack) ดงั นี้

1. อาหารเช้า เมื่อลูกค้าเข้ามานั่งรับประทานอาหารเช้า พนักงานบริการควรนำน้ำเย็นมา
บริการใหแ้ ก่ลูกค้า แลว้ นำเสนอรายการอาหารเช้าให้แก่ลูกค้า ถ้าหากลกู คา้ ขอกาแฟก็ควรจะหากาแฟให้ก่อน
นำอาหารตามสั่งมาให้ เพราะลูกค้าบางคนจะไม่มีความสุขจนกว่าจะได้กินกาแฟ อาหารเช้าควรเสริ ์ฟในตอน
เชา้ เท่านั้น ควรเสิร์ฟอาหารรอ้ นโดยใช้จานร้อน จานอาหารท่ีเปรอะเปื้อนจากการใช้บริการอาหารชุดแรกควร
เกบ็ ให้เรียบร้อยก่อน เมอื่ ลกู คา้ ส่ังขนมปังปิ้ง (Toast) ควรถามลกู คา้ ว่าลกู ค้าชอบขนมปังป้ิงธรรมดาหรือขนม
ปงั ทาเนย ขนมปงั ปง้ิ ควรจะห่อในผ้า เพอ่ื ช่วยให้กรอบอยู่เสมอ อาหารเชา้ สำหรับชาวตะวันตก สามารถแบ่ง
ออกได้ 2 ประเภท ได้แก่ อาหารเช้าแบบ Continental Breakfast เป็นอาหารเช้าของชาวยุโรป ไม่นิยม
รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ได้แก่ อาหารพวกขนมปังต่าง ๆ อาหารประเภทธัญพืช (Cereal) และ
ธัญพืชสำเร็จรูป ผลไม้ และเครื่องดื่มต่าง ๆ และอาหารเช้าแบบ American Breakfast เป็นอาหารเช้าของ
ชาวอเมริกันและอังกฤษ นิยมรับประทานอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์ ได้แก่ อาหารประเภทไข่ เนื้อสัตว์ ขนม
ปัง ผกั ผลไม้ รวมท้ังเคร่อื งดื่มตา่ ง ๆ

2. อาหารว่างระหว่างมื้อเช้าและมื้อกลางวัน เป็นการรวมอาหารเช้ากับกลางวันเข้าด้วยกนั
นยิ มรับประทานเวลาประมาณ 9.00 น. แต่ไมเ่ กิน 11.00 น. เปน็ อาหารว่างหรอื มือ้ เบา ๆ

3. อาหารกลางวัน โดยนิยมเสิร์ฟเป็นจานตามลำดับก่อนหลัง ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารคาว
เพียง 2 จาน แล้วต่อด้วยของหวาน ชาหรือกาแฟ ถ้าเป็นยุโรปจะเริ่มรับประทานเวลา 12.00 น. แต่ถ้าเป็น
อเมริกันหรืออังกฤษ จะเริ่มรับประทานเวลา 13.00 – 14.00 น. สามารถจำแนกออกเป็นอาหารจานเดียว
อาหารสองจาน และอาหารสามจาน

4. อาหารมื้อน้ำชา โดยเฉพาะประเทศอังกฤษได้รับความนิยมดื่มน้ำชาเป็นอย่างยิ่ง โดยมี
การดื่มชาด้วยกันสองมื้อ ได้แก่ Afternoon Tea คือน้ำชายามบ่าย เป็นมื้ออาหารเบา ๆ จะใช้เสิร์ฟในช่วง
บ่ายหรือระหว่างพักการประชุมสัมมนาต่าง ๆ ระหว่างเวลา 15.00- 17.00 น. และ High Tea คือมื้อน้ำชา
ตอนเย็น คือมื้อเยน็ ทรี่ ับประทานเรว็ ขน้ึ โดยมากแลว้ จะรบั ประทานในเวลา 17.00 – 18.00 น. อาหารท่ีนิยม
นำมาจัดมีตง้ั แต่ อาหารหวานและขนมชนดิ ตา่ ง ๆ ไมว่ ่าจะเป็น คุกก้ี พาย หรอื ครัวซอง

5. อาหารเย็นถือว่าเป็นมื้อที่สำคัญ หากต้องการรับประทานอาหารที่ภัตตาคาร ลูกค้าต้อง
โทรจองโต๊ะอาหารล่างหน้าและต้องแต่งตัวสุภาพ สำหรับสุภาพสตรีต้องแต่งชุดราตรีที่เรียกว่า “ Dinner
Gown “ แต่ถา้ หากเป็นร้านอาหารประจำถิ่น (Family Restaurant) หรอื Steak House การแต่งตัวไม่ต้อง
พถิ ีพิถัน แตโ่ ดยภาพ รวมแล้ว ห้องอาหารในเมืองมักกำหนดใหล้ กู คา้ ต้องแตง่ ตวั สุภาพ สวมรองเทา้ สภุ าพเข้า
ไปนั่งรับประทานอาหารในห้องอาหารนั้น ๆ อาหารมื้อนี้จะเป็นมื้อที่หนักที่สุดเพราะเต็มไปด้วยอาหาร
ประเภทเนื้อสัตว์เป็นส่วนใหญ่ มีอาหารหลายอย่างซึ่งมีลำดับในการรับประทานเป็นขั้นตอน และมีเครื่องด่ืม
ประเภทแอลกอฮอร์ มีอาหารหลายจานเสิร์ฟเป็นลำดับ รวมทั้งมีเครื่องดื่มต่าง ๆให้ลูกค้าเลือกตามความ
ต้องการ ซึ่งทางภัตตาคาร ได้จัดไว้อย่างครบครัน ทั้งอาหารรสเลิศ การบริการที่ดีมีคุณภาพ บรรยากาศท่ี
สวยงาม เหมาะสมและสะอาดถูกสุขอนามัย

6. อาหารมื้อดึก เป็นอาหารมื้อสุดท้ายของวัน นิยมรับประทานอาหารมื้อนี้ระหว่างเวลา
22.00 – 23.00 น. อาจเนื่องจากอาหารมื้อค่ำรับประทานปริมาณน้อยทำให้เกิดความรู้สึกหิว ต้องการ
รับประทานเพม่ิ เติม แต่จะเปน็ อาหารเบา ๆ เชน่ ข้าวต้มรอบดกึ

7. อาหารว่าง เป็นอาหารระหว่างมื้อแต่ละมื้อ สำหรับรับประทานเล่นที่มีปริมาณอาหาร
น้อยกว่าอาหารประจำมื้อ อาจเป็นอาหารน้ำหรืออาหารแห้ง มีทั้งคาวและหวาน มีชิ้นเล็กขนาดพอคำ หยิบ
รบั ประทานงา่ ย เชน่ คกุ ก้ี โดนทั เป็นต้น

ลำดับของอาหารชนิดครบชุดในการรับประทานอาหารตะวันตกแบบยุโรป พนักงานจะต้องเรียนรู้
ลำดับของอาหารชนิดครบชุดในการรับประทานอาหารตะวันตกแบบยุโรปอย่างถูกต้องและนำมาเสิร์ฟทีละ
อย่างตามลำดบั จนครบถ้วน สว่ นอปุ กรณเ์ ครือ่ งมือเคร่ืองใช้ เชน่ สอ้ มและมดี จะเปลย่ี นไปตามอาหารน้ัน ๆ
แตจ่ ะถูกวางไวเ้ ป็นชดุ อยบู่ นโต๊ะอาหาร

1. ขนมปงั และ ออร์เดิฟ (Bread and hors d’oeuvres)
2. ซปุ (Soup)
3. อาหารจำพวกปลา (Fish Meal)
4. อาหารจำพวกเนื้อ (Meat Meal)
5. สลดั ผัก (Salad)
6. ไอศกรีม หรอื ผลไม้ (Icecream or Fruit)
7. ชา หรือ กาแฟ (Tea or Coffee)