ผู้ค้าส่งที่ให้บริการเต็มที่ มีกี่ประเภท

เนื้อหาบทเรียนโดยย่อ

บทที่  2  

สมาชิกในช่องทางจัดจำหน่าย : ผู้ค้าปลีก และ ผู้ค้าส่ง

Channel Participants :Retailers & Wholesalers

ความหมายของการค้าปลีก (Retailing)

            การค้าปลีก(Retailing)คือ การขายสินค้าให้กับบริโภคคนสุดท้าย (Ultimate Consumer) ซึ่งเป็นการซื้อเพื่อไปบริโภคด้วยตนเองหรือใช้ในครอบครัว ในด้านช่องทางการกระจายสินค้า การค้าปลีก เป็นที่ซึ่งลูกค้าจะได้พบกับสินค้าผ่านทางช่องทางการค้าปลีก ทำให้มีการแลกเปลี่ยนขึ้น

          การค้าปลีกเป็นเสมือนสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต และ ผู้บริโภค ผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมค้าปลีกจะส่งผลเกิดขึ้นทั้งแก่ผู้บริโภค ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และ ผู้ค้าส่งเป็นจำนวนมาก โดยการค้าปลีกจะทำให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าสามารถซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น ได้ทดลองใช้หรือบริโภคสินค้าและบริการที่ตนต้องการ รวมทั้งผู้ค้าปลีกยังเป็นผู้ไหลผ่านข้อมูลทางการตลาดให้แก่ผู้ผลิต

          นอกจากประโยชน์ที่มีต่อผู้บริโภคแล้ว การค้าปลีกยังช่วยสร้างคุณค่าให้กับเศรษฐกิจอีกด้วย โดยที่จะเกิดการจ้างงานในอุตสาหกรรมการค้าปลีกทำให้คนมีรายได้ อีกทั้งเกิดการแลกเปลี่ยนเงินตราในระบบเศรษฐกิจถ้าเป็นผลมาจากอุตสาหกรรมการค้าปลีกทั้งนั้น

ลักษณะของการค้าปลีก

          ปัจจุบันธุรกิจการค้าปลีกมีการเติบโตและขยายตัวขึ้น ผู้ค้าปลีกในปัจจุบันจะเป็นกิจการที่มีขนาดใหญ่มีสินค้าเกือบทุกชิด พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ให้บริการแก่ผู้บริโภคอย่างครบถ้วน ยังมีรูปแบบการค้าแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เช่น กิจการค้าปลีกสัมปทานหรือแฟรนไชส์(Franchise) รวมทั้งร้านค้าปลีกสมัยใหม่รูปแบบต่างๆ ที่เรียกว่า “Modern Trade” ซึ่งทันสมัย ติดเครื่องปรับอากาศ การตกแต่งสวยงาม มักมีการติดป้ายราคาเพื่อให้ลูกคาสามารถเปรียบเทียบได้ และนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้มากขึ้น ร้านสะดวกซื้อที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ร้านค้าปลีกในเครือข่ายปั๊มน้ำมันที่ให้บริการผู้เดินทางเป็นต้น

การค้าปลีกสร้างคุณค่า

·    คุณค่าต่อเศรษฐกิจ โดย มีการจ้างงานสูงในภาคธุรกิจค้าปลีก และ มีจำนวนเงินตราจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนในระบบมาจากธุรกิจค้าปลีกเป็นส่วนมาก

·    อรรถประโยชน์ต่างๆที่จัดให้เพื่อความพอใจของผู้บริโภคโดยธุรกิจค้าปลีก ทั้งด้านเวลา(Time) สถานที่(Place)  ความเป็นเจ้าของ(Possession) และ รูปแบบ(Form)

ธุรกิจค้าปลีก

·    กุญแจที่แห่งความสำเร็จของ ธุรกิจค้าปลีกคือ Location ,Location and Location

·    จำนวนของร้านสาขา (Outlets) 

·     ยิ่งมีจำนวนร้าน Outlets  มากเท่าไหร่ การค้าปลีกก็จะมีความเข้มแข็งมากเท่านั้น

·     แต่ถ้าเราเป็นที่แตกต่างจากคู่แข่ง คือเป็นเพียงผู้ค้าปลีกรายเดียว (Single – unit retailer) ก็จะสามารถดึงดูดลูกค้าและประสบความสำเร็จทางธุรกิจได้เหมือนกัน

·     ถ้ามีสาขาหลายสาขา และ บริหารภายใต้การจัดการของระบบการบริหารเดียวเรียกว่า “Chain – stores”

วิธีการแบ่งประเภทการค้าปลีก

            เกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งประเภทการค้าปลีก มี 3 เกณฑ์ที่นิยมใช้ ได้แก่

1.เกณฑ์รูปแบบของการเป็นเจ้าของ (Form of ownership) แบ่งได้เป็น

                                  1.1 Independent retailer  มีเจ้าของคนเดียว คนขายคนเดียวเช่น  ร้านจีฉ่อย

                        1.2 Corporate Chain store ดูแลโดยเจ้าของคนเดียวแต่เปิดดำเนินการหลายสาขาเช่น  ร้านสุกี้  MK , ร้านขายเสื้อผ้า A II Z เป็นต้น

                                  1.3 Franchiseเป็นการขายสิทธิการดูแลและการบริหารงานให้กับผู้สนใจรับสิทธิโดยที่ยังใช้ตรายี่ห้อเดียวกันกับของเดิมเช่น McDONALD,  KFC เป็นต้น

2.เกณฑ์ระดับของการให้บริการ (Level  of  service)  แบ่งได้เป็น

                        2.1 Full serviceการขายปลีกแบบให้บริการเต็มที่ เช่น ภัตตาคาร ร้านเสื้อผ้าระดับบน  ร้านค้าปลีกประเภทนี้อาจจะตั้งราคาสูง เพราะต้องใช้บุคลากรเป็นจำนวนมาก เพื่อคอยให้บริการลูกค้าอย่างเต็มที่ และชดเชยจากรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น

2.2 Limited – service เป็นการขายปลีกแบบให้บริการอย่างจำกัด เช่น supermarket,

Food court ต่างๆ ที่มีการให้บริการเพียงบางส่วน  และลูกค้าต้องบริการตัวเองด้วย

2.3 Self – service การขายปลีกแบบบริการตนเอง เช่น ตู้ขายเครื่องดื่มอัตโนมัติ เป็นต้น โดยมีลักษณะที่สำคัญ คือ ให้ลูกค้าช่วยตัวเองมากที่สุด ทางร้านจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ให้เรียบร้อย เพียงแต่ลูกค้าเลือกสินค้าตามที่ต้องการเท่านั้น การลดบริการก็เพื่อลดค่าใช้จ่าย ทำให้สามารถตั้งราคาสินค้าต่ำลงมาได้ ซึ่งลูกค้าส่วนมากจะมีความพอใจ แม้ว่าการบริการจะลดลงก็ตาม

3.เกณฑ์ความกว้าง และลึกของสายผลิตภัณฑ์ (Merchandise  line) แบ่งได้เป็น

                        3.1 สายผลิตภัณฑ์ที่ลึก(Depth)สามารถแบ่งได้เป็น

                             3.1.1ร้านค้าปลีกทีขายสินค้าประเภทเดียว (Single - Ling) เช่น ร้านเสื้อผ้า  จะมีเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายผู้ชาย  เสื้อผ้าผู้หญิง   เสื้อเด็ก  โดยมีสินค้าหลายขนาด  หลายแบบ  หลายตรายี่ห้อ  มีขนาด สี แบบต่างๆกันให้ผู้บริโภคเลือกซื้อ

                             3.1.2 ร้านค้าที่ขายสินค้าประเภทที่ใช้งานคล้ายคลึงกัน (Limited line) เช่น  ร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างทีมีอุปกรณ์ที่ใช้เกี่ยวกับงานก่อสร้างทั้งหมดไว้จำหน่ายให้กับลูกค้า ได้แก่ น็อต ตะปู  กระเบื้อง  ปูน  เป็นต้น

                        3.2สายผลิตภัณฑ์กว้าง (Breadth) เป็นร้านค้าปลีกที่มีสินค้าขายเกือบหมดทุกสายผลิตภัณฑ์ ไว้บริการลูกค้า เช่น  ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ

ประเภทของการค้าปลีกแบบมีหน้าร้าน (Types of Store Retailers) แบ่งตามเกณฑ์ความกว้าง และลึกของสายผลิตภัณฑ์ ไ ด้แก่

1 Specialty stores  หรือร้านคาสินค้าปลีกเฉพาะอย่าง  หมายถึง ร้านค้าปลีกทีขายสินค้าในจำนวนจำกัด ขายสินค้าที่มีลักษณะพิเศษ  เช่น  ร้านขายชุดชั้นในสตรี ร้านขายหนังสือ ร้านขายดอกไม้ ร้านขายรองเท้า มักเป็นร้านขายสินค้าที่ทันสมัย  สินค้าตามแบบนิยม  ร้านค้าประเภทนี้จะซื้อสินค้าอยู่ในวงจำกัด จึงเกิดความชำนาญในสินค้าที่ตนขายเป็นพิเศษ

2 Department stores  หรือ ห้างสรรพสินค้า เป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในเมือง มีสินค้ามากมายหลายชนิด มีการจัดแบ่งเป็นแผกตามประเภทของสินค้า เพื่อความสะดวกในการขาย การโฆษณา การควบคุมสต็อกและบัญชี    โดยปกติจัดตั้งอยู่ในย่านการค้า ย่านชุมชนเมืองใหญ่ๆ แต่อาจจะมีสาขาไปตั้งอยู่ตามย่านการค้าที่มีความสำคัญรองๆ ลงไป

3 Convenience storesหรือ  ร้านสะดวกซื้อ  เป็นร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่ของการดำรงชีวิตในเขตชุมชนเมือง ที่จะสนองตอบต่อพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มเปลี่ยนจากปัจจัยด้านราคาไปสู่ความสะดวกในการรับบริการมากขึ้น โดยเฉพาะกระแสการเติบโตของเมือง(Urbanization)  ที่ส่งผลให้ผู้บริโภคไม่มีเวลายาวนานเพียงพอในการเลือกซื้อสินค้า ต้องการความสะดวกในการบริโภคทันที 

4 Supermarket หรือ ซุปเปอร์มาร์เก็ต คือ ร้านปลีกที่มีลักษณะให้ผู้ซื้อบริการตัวเอง(Self - service)จะไม่มีพนักงานร้านหยิบสินค้าให้ผู้ซื้อ โดยจะมีอุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ซื้อประเภทตะกร้า หรือรถเข็น การจัดวางสินค้ามักเป็นชั้นเปิด ไม่มีกระจก ทำให้ลูกค้าเลือกหยิบสินค้าได้ง่าย  ขายสินค้าราคาถูกเอากำไรแต่น้อย อาศัยขายได้เร็ว มีพัฒนาการมาจากตลาดสด ดังนั้น สินค้าหลักๆมักจะเป็น ประเภทอาหารสด ผลิตภัณฑ์สายอาหาร และ เครื่องใช้ในครัวเรือน  ฯลฯ

5 Super center หรือ Superstores หรือ Hypermarts มีลักษณะคล้ายห้างสรรพสินค้า แต่จะมีสินค้าน้อยประเภทกว่า  โดยเน้นที่สินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นต่อการใช้สอยในชีวิตประจำวัน ไม่เน้นสินค้าฟุ่มเฟือยมีที่จอดรถให้ความสะดวกแก่ลูกค้า มีมุมนั่งพักผ่อน มักตั้งอยู่ใกล้ชุมชน ตัวอย่างเช่น  Tesco  Lotus, Big C

6 Category Killersเป็นการพัฒนามาจาก Specialty Stores จะมีสินค้าขายเพียงสายผลิตภัณฑ์เดียวแต่มีครบทุกประเภท  ทุกตรายี่ห้อ ตัวอย่างเช่น B2S , Power buy เป็นต้น

การค้าปลีกแบบไม่มีร้านค้า

          1 Direct-sellingคือการขายตรง เป็นระบบการขายรูปแบบเก่า ทีผู้ค้าปลีกใช้ผู้จำหน่ายออกไปขายสินค้าโดยตรงให้กับลูกค้าตามบ้าน หรือสถานที่ของลูกค้า การจัดจำหน่ายแบบขายตรงมักนิยมใช้กับสินค้าประเภทแฟชั่น สินค้าพิเศษ เช่น เครื่องสำอาง อาหารเสริม เป็นต้น

          2 Automatic Vending Machineการขายด้วยเครื่องอัตโนมัติ เป็นการค้าปลีกที่พัฒนามาจากการใช้แรงงานคน มาเป็นเครื่องจักรอัตโนมัติ เกิดความสะดวกสบาย เพราะผู้บริโภคสามารถซื้อได้ตลอดเวลา24ชั่วโมง โดยมิต้องพึ่งพนักงานขาย

          3 Mail – Order Sellingเป็นการค้าปลีกแบบผู้เสนอขายสินค้า ด้วยการจัดส่งจดหมายหรือแค็ตตาล็อก แสดงรายละเอียดของสินค้าและราคาให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายทางไปรษณีย์  ส่งสินค้าให้ลูกค้าทางไปรษณีย์ การจัดจำหนายสินค้าประเภทนี้มักใช้กับสินค้าพิเศษที่ไม่มีขายในท้องตลาด ลูกค้าอยู่ไกลไม่สะดวกมาซื้อด้วยตนเอง และช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางมาซื้อสินค้าของลูกค้า

          4 Internet Sellingช่องทางอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย มักทำข้อตกลงชำระสินค้าด้วยบัตรเครดิต หรือ หักบัญชีกับธนาคารสถาบันการเงินต่างๆ เป็นช่องทางที่ทำให้สามารถเพิ่มยอดขายและจัดจำหน่ายครอบคลุมตลาดคนรุ่นใหม่ได้มากขึ้น

5 Street peddlingการเร่ขายไปตามถนน หรือย่านพักอาศัย โดยไม่ต้องมีหน้าร้านประจำ เช่น รถถีบขายไอสครีม ลูกชิ้นปิ้ง ลอตเตอรี่ รวมถึงสินค้าน้ำหนักมากที่ใช้รถเร่ขายไปตามหมู่บ้าน เช่น โอ่งดินเผา ข้าวสาร ปุ๋ยและกระถางต้นไม้ เป็นต้น

การค้าส่ง (Wholesaling)

            การค้าส่งเป็นกิจกรรมการซื้อสินค้าเพื่อนำมาขายต่อหรือเพื่อนำมาใช้ดำเนินงานในธุรกิจ  พ่อค้าส่งเป็นกลไกในระบบการตลาดที่จะช่วยกระจายสินค้าจากผู้ผลิต เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ค้าปลีก หรือผู้ใช้ในทางอุตสาหกรรม ตลาดค้าส่งมี 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ คือ

1.พ่อค้าคนกลางประเภทผู้ค้าส่ง (Merchant Wholesaler) เป็นพ่อค้าที่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่ครอบครองอยู่ ยังแบ่งออกได้เป็น

1.1 พ่อค้าส่งที่ให้บริการเต็มที่ (Service Wholesaler) ทำหน้าที่ของพ่อค้าส่งอย่างเต็มที่ ทั้งจัดส่ง ให้ความช่วยเหลือ  แนะนำ ให้เครดิต เป็นต้น สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

·       พ่อค้าส่งสินค้าทั่วไป (General Merchant Wholesaler) ทำหน้าที่ขายส่งสินค้าหลายชนิดให้แก่ร้านค้าปลีก หรรือธุรกิจ เช่น ของชำ/อาหารแห้ง เครื่องเขียนและเครื่องใช้ในสำนักงาน  อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์  ฯลฯ

·       พ่อค้าส่งเฉพาะสายผลิตภัณฑ์เดียว(Single-ling Wholesaler) สินค้าที่ขายส่งมีเพียงสายผลิตภัณฑ์ประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น จึงขายสินค้าในวงแคบกว่า ได้แก่ อะไหล่รถยนต์ ยา เครื่องสำอาง เสื้อผ้า รองเท้า เป็นต้น

·       พ่อค้าส่งที่ขายสินค้าเฉพาะอย่าง(Specialty Wholesaler) เป็นพ่อค้าส่งที่ขายสินค้าเฉพาะอย่างเดียว มัเป็นสินค้าที่ไม่มีขายทั่วไป  เช่น พ่อค้าส่งโสมจากเกาหลี เครื่องยาจีน ยาสมุนไพร ฯลฯ

                        1.2พ่อค้าส่งที่ให้บริการจำกัด (Limited Service Wholesaler) คือ พ่อค้าส่งที่ทำหน้าที่เพียงบางอย่าง ได้แก่

·       Cash and Carry Wholesalerพ่อค้าส่งที่ขายสินค้าด้วยเงินสดและให้ขนสินค้าไปเอง เหมาะกับสินค้าที่มีกำไรต่ำ ร้านค้าส่งประเภทนี้จะใช้ราคาที่ถูกกว่าพ่อค้าส่งประเภทบริการเต็มที่เป็นเครื่องล่อใจลูกค้า  เช่น แม็คโคร 

·       Drop Shipper Wholesaler พ่อค้าส่งที่สินค้าไม่ผ่านมือ คือ พ่อค้าส่งที่รับคำสั่งซื้อจากพ่อค้าปลีก และจะสั่งให้ผู้ผลิตเป็นผู้ส่งสินค้าจากโรงงานหรือคลังสินค้าของผู้ซื้อรายย่อยโดยตรง ผู้ผลิตจะเก็บเงินจากพ่อค้าส่งโดยสินค้าไม่ได้ผ่านมือพ่อค้าส่งเลย มักเป็นสินค้าที่มีน้ำหนักและปริมาณมาก ไม่คุ้มค่ากับการขนถ่ายสินค้าหลายรอบเช่น หิน ปูน ทราย  วัสดุก่อสร้าง

·       Truck or Wagon Wholesaler พ่อค้าส่งโดยรถบรรทุกหรือพ่อค้าเร่ จะใช้รถบรรทุกขนสินค้าไปเร่ขายแก่ร้านค้าปลีก หรือโรงงาน เช่น ผัก ผลไม้ สินค้าอุปโภคต่างๆ

·       Mail – order Wholesaler พ่อค้าส่งทางไปรษณีย์ คือ พ่อค้าส่งที่ขายสินค้าให้พ่อค้าปลีกโดยการส่งแค็ตล๊อกไปให้ และจะจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าทางไปรษณีย์

·       Rack Jobberเป็นพ่อค้าส่งที่ขายสินค้าแบบฝากขายโดยเรียกเก็บเงินจากร้านค้าเฉพาะสินค้าที่ขายได้แล้ว พร้อมกับให้บริการชั้นวาง ช่วยจัดวางตกแต่งและเติมเต็ม สินค้าเอง ไม่ให้สินค้าขาดสต๊อก เช่น สินค้าที่ขายให้กับซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร คลินิค เป็นพ่อค้าส่งที่มีความชำนาญในผลิตภัณฑ์ในประเภทเดียวเท่านั้น เช่น หนังสือ การ์ด ขนมปัง แซนวิช เป็นต้น

2.ผู้ค้าส่งสาขาหรือสำนักงานขายของผู้ผลิต (Manufacturer’s Sales Branches and office) เป็นลักษณะการค้าส่งที่ผู้ผลิตจะดำเนินการเอง ได้แก่

·       สาขาที่ผู้ผลิตที่มีสินค้า โดยผู้ผลิตจะมีสินค้าเก็บที่สาขาด้วย เพื่อเตรียมจัดส่งทันทีที่มีคำสั่งซื้อ  

·       สำนักงานขายของผู้ผลิตที่ไม่มีสินค้า เป็นเพียงสำนักงานขายที่รับคำสั่งซื้อแล้วส่งไปยังสำนักงานใหญ่หรือโรงงาน

3. ตัวแทนและนายหน้า (Agent and Brokers) มักเป็นพ่อค้าส่งที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้า ได้แก่  

·       นายหน้า (Brokers)เป็นตัวแทนอิสระที่มีหน้าที่นำผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกัน และตกลงเงื่อนไขซื้อขายกันเอง โดยได้ผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นจากการขาย

·       Commission Merchant ทำหน้าที่คล้ายกันกับนายหน้า คือ เป็นตัวแทนอิสระแต่ถือครอบครองสินค้าไว้เอง มีอำนาจในการตั้งราคาและเงื่อนไขทางาการขาย มักจะขายสินค้าเกษตรกรรมโดยอำนายความสะดวกในเรื่องสถานที่ และได้รับค่าตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นจากยอดขาย เช่น ท่าข้าว ตลาดค้าส่งผลไม้

·       ตัวแทนผู้ผลิต(Manufacturer’s Agent)เป็นตัวแทนอิสระที่ขายส่งสินค้าให้กับผู้ผลิตหลายราย รับผิดชอบในเขตพื้นที่ๆได้รับมอบหมาย โดยมักจะถือครองสินค้าไว้เองและจัดส่งเอง ด้วยระดับราคาขายส่งตามที่ผู้ผลิตกำหนดให้

·       ตัวแทนจำหน่าย(Selling Agent) ซึ่งจะรับผิดชอบงายการตลาดและการขายทั้งหมดของผู้ผลิต และเป็นตัวแทนขายสินค้าให้กับผู้ผลิตรายเดียว เป็นผู้ที่มีส่วนในการกำหนดรูปแบบของสินค้าและราคา มีความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคในท้องถิ่นเป็นอย่างดี

ประเภทของทำเลค้าปลีก

1 ย่านการค้า

·       Downtown Area ย่านการค้าในเมือง ซึ่งเป็นจุดที่รองรับคนมาจากทั่วสารทิศทั้งเมืองเช่น สยาม ประตูน้ำ

·       Secondary Shopping Area ย่านการค้ารองลงมาของเมือง เฉพาะในเขตหนึ่งๆ เช่นตลาดบางรัก  ตลาดพระโขนง

·       Residential Shopping Area ย่านการค้าที่รองรับคนที่พักอาศัยในบริเวณนั้นๆ เช่น ตลาดของหมู่บ้าน

·       String Streets เป็นลักษณะย่านร้านค้าริมทาง 2 ฝากถนน ที่ไม่ได้เป็นการรวมตัวกันในย่านชุมชนทั่วไป เช่น ตลาดหนองมน  จุดพักรถบนมอร์เตอร์เวย์

2 ศูนย์การค้า (Planned Shopping Center) คือ สถานที่รวม และคละเคล้า ผู้ค้าปลีกต่างๆเข้าด้วยกันอย่างมีแผน ภายใต้อาคารที่สร้างขึ้น เพื่อดึงดูดคนให้เข้ามาซื้อสินค้า เช่นศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว ซีคอนสแควร์

3 ทำเลที่ตั้งร้านค้าโดดๆ (Free Standing Locations) เป็นทำเลที่ร้านค้าที่ตั้งอยู่ข้างถนนโดยเอกเทศ ไม่ได้อยู่รวมศูนย์การค้าใดๆ เป็นร้านค้าตึกแถวริมถนน

ประเภทของทำเลที่ตั้งศูนย์การค้า  (Location Types) มีดังนี้

ศูนย์การค้า แบ่งตามทำเลที่ตั้ง ได้หลายประเภท ได้แก่

1.      ศูนย์การค้าใกล้บ้าน Neighborhood Shopping center)เป็นศูนย์การค้าขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในย่านใกล้ทีอยู่อาศัย หมู่บ้านจัดสรร อยู่ชั้นล่างของคอนโดมิเนียม หรืออยู่สี่แยกหลักที่มีผู้สัญจรไปมามาก เสนอขายสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีวิตมากกว่าสินค้าฟุ่มเฟือย มีสินค้าน้อยประเภทกว่าศูนย์การค้าขนาดใหญ่

2.      ศูนย์การค้าใกล้ชุมชน (Community Shopping Center)เป็นศูนย์การค้าที่มีแหล่งชุมชนที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้ๆ มีสถานที่จอดรถขนาดใหญ่ไว้บริการลูกค้า เสนอขายสินค้าหลากหลายประเภทครบวงจร โดยจะมีร้านค้าหลากประเภทและมีขนาดใหญ่ ทั้งซุปเปอร์มาร์เก็ต ซุปเปอร์ดรักสโตร์ ห้างสรรพสินค้าราคาถูก และร้านขายสินค้านานาชนิดล้อมรอบ

3.      ศูนย์การค้าระดับเมือง/ภาค (Regional Shopping Center)โดยเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่ขายสินค้าที่มีทั้งประเภทและปริมาณสินค้ามากมายแบบครบวงจร มักมีห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ต ขนาดใหญ่ มีภัตตาคาร ศูนย์อาหาร  ฟาสต์ฟู้ด โรงภาพยนต์ และบริการต่างๆ ครบถ้วนเพื่อรองรับผู้คนทั้งเมือง มีสถานที่จอดรถ และระบบจราจรภายในที่ดี

4.      ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ระดับเมือง/ภาค (Super Regional Shopping Center)เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่มาก เพื่อรองรับคนทั้งเมือง/ภาค โดยมักมีห้างสรรพสนค้าขนาดใหญ่เป็นจุดดึงดูดหลัก มีทั้งส่วนร้านค้าปลีกสินค้าและบริการที่หลากหลายรายล้อม และ ยังเพิ่มส่วนสันทนาการที่โดดเด่น เช่นสวนน้ำ สวนสนุก ลานหิมะ ฯลฯ ที่สามารถดึงดูดผู้คนในรัศมีที่มากกว่า Regional Shopping Center ทั่วไป  

 หน้าที่การสร้าง บรรยากาศของผู้ขายปลีก

1.นำเสนอคุณภาพและรูปแบบสินค้าให้น่าสนใจ ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

2.มีพนักงานให้การช่วยเหลือและ แนะนำดูแล

3.จัด ตกแต่ง หน้าร้าน ให้สามารถดึงดูดลูกค้าเข้ามาภายในร้าน

4.จัดวาง นำเสนอ สินค้าให้สวย ดึงดูด กระตุ้นการซื้อ

5.จัดแผนผังร้าน ทางเดิน ที่เหมาะสม น่าเดิน และ เพิ่มโอกาสขาย

6.ออกแบบ จัดวาง สื่อสารภายในร้าน และ เสนอขายด้วยเทคนิคที่ดึงดูดจิตวิทยาในการซื้อและสัญชาติญาณของมนุษย์

7 สร้างบรรยากาศในร้านผ่านผัสสะทั้งหลาย ทั้งเสียง สี กลิ่น เสียง อุณหภูมิ ที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดการซื้อและความพึงพอใจ

8 มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆรองรับ เช่น ที่รับฝากเลี้ยงเด็ก ที่ฝากของ จอดรถ เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ในการค้าส่ง

·       บทบาทของผู้ค้าส่งลดลง ผู้ผลิตรายใหญ่และผู้ค้าปลีกแบบลูกโซ่ปัจจุบัน มีแนวโน้มที่จะติดต่อกันโดยตรง และตัดข้ามผู้ค้าส่ง

·       หนทางการอยู่รอดของธุรกิจค้าส่ง มักต้องปรับตัวโดย

§  หาตำแหน่งจุดยืนของตัวเองใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต หรือ ผู้ค้าปลีก

§  นำเทคโนโลยีใหม่ ๆมาใช้ เช่น  Supply Chain  Bar Coding & Scanning Device, EDI ,ECR Category  Management ซึ่งผู้ค้าปลีกรายย่อยมักไม่สามารถลงทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในช่องทาง และความพอใจของผู้ผลิต

·       ช่วยภาระคลังสินค้าและการกระจายสินค้ามากขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกได้บรรลุวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน

วิวัฒนาการการแข่งขันรูปแบบใหม่ของการค้าปลีกและการค้าส่ง

1.House Brands หรือ Private Labels เป็นตราสินค้าที่ผู้ค้าปลีก หรือ ผู้ค้าส่ง ทำการจ้างผลิตเอง ในตราของตนเอง เพื่อจำหน่ายในร้านตน ด้วยต้นทุนในการผลิตปริมาณมาก และไม่มีค่าใช้จ่ายด้านคนกลางและการโฆษณา จึงสามารถตั้งราคาต่ำได้  ตัวอย่างเช่น  Top, aro, Leader Price เป็นต้น

2.Category Management การบริหารร้านค้าปลีกแบบรายสาย/ประเภทผลิตภัณฑ์ โดยใช้การวางแผนการตลาด และบริหารพื้นที่ ให้สินค้าในแต่ละสาย/ประเภทนั้นๆมียอดขายสูงสุด ใช้พื้นที่สต๊อกและชั้นวางให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุด ผลกำไรสูงสุด และลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด โดยไม่คำนึงประโยชน์แยกรายแบรนด์

3.Supply Chain Management เป็นระบบ Logistics ที่ดำเนินงานร่วมกันท่ามกลางบริษัทต่างๆในช่องทางจัดจำหน่าย เป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพและวามได้เปรียบด้านต้นทุนในการแข่งขัน

4.Electronic Data Interchange(EDI) มีการร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้ปลีก ตลอดจนลูกค้า โดยผ่านทาง Electronic จะช่วยประหยัดเวลา และต้นทุนเอกสารต่างๆ อีกทั้งป้องกันการหล่นหายของข้อมูลระหว่างทางด้วย

5.Customer Relations Management (CRM) มุ่งเพิ่มการจัดการด้านความสัมพันธ์กับลูกค้า ให้เกิดความสัมพันธ์ในระยะยาว เช่น อาจมีการจัดส่งสินค้าให้กบลูกค้าแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นต้น

6.Effective Consumer Response(ERC) เป็นระบบห่วงโซ่คุณภาพเพื่อตอบสนองผู้บริโภค โดยอาศัยการร่วมมือด้านข้อมูลและการจัดการ ของผู้ค้าปลีกกับต้นน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สินค้าในร้านค้าปลีกสามารถตอบสนองลูกค้า เป็นที่พอใจ  ไม่ขาดสต๊อก และ ประหยัดต้นทุนมากขึ้น 

7.E – Trading การนำเทคโนโลยีอิเลคทรอนิคส์ และการขายสินค้าผ่านช่องทางอิเลคทรอนิคส์ รูปแบบต่างๆมาใช้มากขึ้น เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน

เอกสารอ้างอิง

-         Coughlan.T,Anne and Anderson, Eric, Marketing Channels,7th edition, Pearson Prentice Hall , 2006

-         Pelton, E; Strutton,D; and Lumpkin,J.R ,  Marketing Channels : A RelationshipManagement Approach , McGraw Hill  ,2 nd edition,  2002

-         Rosenbloom, Bert (2004). Marketing Channels- A Management View (7th Edition), Toronto: Thomson/South-Western

-          มร.รี- tell , Distribution Channels , บจ.ทิปปิ้งพอยท์, 2545

ผู้ค้าที่ให้บริการเต็มที่ มีกี่ประเภท

1.1 ผู้ค้าส่งที่ให้บริการเต็มที่ (Service Wholesaler) เป็นผู้ค้าส่งที่สามารถให้บริการในหลายๆๆ ด้านอย่างเต็มที่ 1) ผู้ค้าส่งสินค้าทั่วไป (General Merchant Wholesaler) 2) ผู้ค้าส่งสินค้าในสายผลิตภัณฑ์เดียว (Single Line Wholesaler) 3) ผู้ค้าส่งสินค้าเฉพาะอย่าง (Specialty Wholesaler)

การค้าประเภทใดที่ให้บริการแบบ Full Service

2.1 Full service การขายปลีกแบบให้บริการเต็มที่ เช่น ภัตตาคาร ร้านเสื้อผ้าระดับบน ร้านค้าปลีกประเภทนี้อาจจะตั้งราคาสูง เพราะต้องใช้บุคลากรเป็นจำนวนมาก เพื่อคอยให้บริการลูกค้าอย่างเต็มที่ และชดเชยจากรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น

ข้อใดคือพ่อค้าส่ง

พูดง่าย ๆ ก็คือ ธุรกิจค้าส่งเป็นกิจการที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก โดยปกติมักมีปริมาณการซื้อขายครั้งละมาก ๆ เนื่องจากเป็นการขายเพื่อนำไปขายต่อให้กับผู้บริโภค หรือเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมนั่นเอง

Brokers จัดเป็นคนกลางประเภทใด

นายหน้าประกันภัย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโบรกเกอร์ คือ คนกลางอิสระ เป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ทำหน้าที่แทนประชาชนที่ต้องการซื้อประกันภัย ในการคัดเลือกบริษัทประกันที่มีสินค้า (กรมธรรม์) ตรงกับความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด โดยนายหน้าประกันภัยนั้นสามารถที่จะชี้ช่องแนะนำประกันของบริษัทใดก็ได้ และสามารถขายได้ ...