การพัฒนาชุมชนทำอะไรได้บ้าง

ตาม กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

กรมการพัฒนาชุมชน มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยสนับสนุนให้มีการจัดทำและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน ตลอดจนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชน เพื่อให้เป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

๑) กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวทางในการพัฒนาชุมชนระดับชาติ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ เอกชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการพัฒนาชุมชนได้ใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถและความเข้มแข็งของชุมชน

๒) จัดทำและพัฒนาระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับประเมินความก้าวหน้าและมาตรฐานการพัฒนาของชุมชน

๓) พัฒนาระบบและกลไกในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การอาชีพ การออม และการบริหารจัดการเงินทุนของชุมชน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประชาชน ชุมชน ผู้นำชุมชน องค์การชุมชน และเครือข่ายองค์การชุมชน

๔) สนับสนุนและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศชุมชน ส่งเสริมการใช้ประโยชน์และการให้บริการข้อมูลสารสนเทศชุมชน เพื่อใช้ในการวางแผนบริหารการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๕) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา และสร้างองค์ความรู้เพื่อใช้ในงานพัฒนาชุมชน และการจัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน

๖) ฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน องค์การชุมชน และเครือข่ายองค์การชุมชนให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และสมรรถนะในการทำงาน รวมทั้งให้ความร่วมมือทางวิชาการ    ด้านการพัฒนาชุมชนแก่หน่วยงานทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

๗) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

(Visited 21 times, 1 visits today)

แผนชุมชนคืออะไร ????

11 ก.พ. 63 / 15.20 น. / เข้าชม 1,387 ครั้ง

การพัฒนาชุมชนทำอะไรได้บ้าง

1. ความหมายของแผนชุมชน

ชุมชนหมายถึง การกำหนดอนาคตและกิจกรรมพัฒนาของชุมชนโดยเกิดขึ้นจากคนในชุมชนที่มีการรวมตัวกันจัดทำแผนขึ้นมา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่นของตนเองให้เป็นไปตามที่ต้องการ และสามารถแก้ปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ร่วมกัน โดยคนในชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมกำหนดแนวทางและทำกิจกรรมการพัฒนาร่วมกัน โดยยึดหลักการพึ่งตนเอง ลดการพึ่งพิงภายนอก ด้วยการคำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น เป็นหลัก จึงกล่าวได้ว่า แผนชุมชน เป็นของชุมชน ดำเนินการโดยชุมชนและเพื่อประโยชน์ของชุมชน

2. ทำแผนชุมชนแล้วได้อะไร

1. คนในชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
2. คนในชุมชนได้เห็นข้อเด่น ข้อดี โอกาสและข้อจำกัดของชุมชนในการพัฒนาอย่างมีเป้าหมาย
3. คนในชุมชนมีช่องทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างเหมาะสมและครอบคลุม
4. คนในชุมชนสามารถกำหนดกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนได้
5. คนในชุมชนคิดเป็นและกล้าที่จะตัดสินใจด้วยตนเองได้
6. ชุมชนสามารถวางแผนจัดการกับทรัพยากรหรือทุนในชุมชน ทั้งทุนบุคคลและทุนสังคมที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้อง กับสภาพชุมชน
7. คนในชุมชนได้รับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
8. ความร่วมมือกันของคนในชุมชนจะก่อให้เกิดทัศนคติที่ดี เอื้ออาทรต่อกันได้
9. ปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยมที่ดีให้กับลูกหลาน
10. สามารถหาแนวร่วมในการทำงานเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเองได้

3. การเริ่มต้นทำแผนชุมชน

ชุมชน (อาจจะเป็นแกนนำชุมชนหรือสมาชิกในชุมชนก็ได้) จะต้องตรวจสอบดูก่อนว่า “ชุมชนมีแผนอยู่แล้วหรือไม่”
กรณีมีแผนชุมชนอยู่แล้วต้องใช้กระบวนการชุมชนในการทบทวนดูว่า
1. แผนที่มีอยู่นั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรบ้าง
2. แผนที่มีอยู่นั้นแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ครอบคลุมหรือยัง
3. จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและต้องใช้ข้อมูลอะไรเพิ่มเติม
กรณียังไม่มีแผนชุมชน
1. ชุมชนต้องใช้กระบวนการชุมชนในการจัดการซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาหรือมีขั้นตอนมากกว่าชุมชนที่ได้ทำแผนไว้แล้ว
2. แกนนำชุมชนอาจเริ่มต้นพูดคุยเพื่อร่วมกันสำรวจ วิเคราะห์ ข้อมูล ดูความพร้อมของชุมชนและตรวจสอบดูว่าคนในชุมชนคิดอย่างไร เห็นความสำคัญและมีความต้องการที่จะทำแผนชุมชนหรือไม่จะทำอย่างไร ใครจะช่วยสนับสนุนได้บ้าง และเมื่อได้ข้อสรุปแล้วก็เริ่มดำเนินการได้เลย

4. ขั้นตอนดำเนินการจัดทำแผนชุมชน

1. ใช้เวทีประชาคมประชุมแกนนำเพื่อวางแนวทาง จุดประกายความคิด สร้างความมั่นใจ และใช้กระบวนการชุมชนในการจัดทำแผน โดย
-จัดเวทีทบทวนแผน (ในกรณีที่ชุมชนมีแผนอยู่แล้ว)
-แกนนำชุมชนและสมาชิกสำรวจและจัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติม
-แกนนำชุมชนจัดเวทีประชาคมหมู่บ้านวิเคราะห์ข้อมูล
-ทัศนศึกษาเรียนรู้จากชุมชนที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาที่เข้มแข็ง
-แกนนำชุมชนจัดเวทีทำแผนชุมชน
2. นำแผนชุมชนที่ได้ไปดำเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชน
-ชุมชนร่วมกันดำเนินการเอง
-ประสานภาคีการพัฒนาทุกหน่วยงาน
-ประสานแผนชุมชนกับแผนระดับตำบล ท้องถิ่นอำเภอและจังหวัด
-ดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน
3. ติดตาม สรุปบทเรียนและเผยแพร่ผลการทำงาน ประกาศผลสำเร็จในการทำงานของคนในชุมชน
5. ตัวชี้วัดแผนชุมชนที่มีคุณภาพ
ตัวชี้วัดที่ 1 การใช้ข้อมูลบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำแผนร้อยละ 70 ขึ้นไป
ตัวชี้วัดที่ 2 ตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้านเข้าร่วมเวทีประชาคมจัดทำแผนชุมชน ร้อยละ 70 ขึ้นไป
ตัวชี้วัดที่ 3 การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนตั้งแต่ต้น
ตัวชี้วัดที่ 4 มีแผนชุมชนเป็นลายลักษณ์อักษรที่ใช้อ้างอิงได้โดยพิจารณาจากฐานข้อมูลการมีแผนเป็นรูปเล่ม

เกณฑ์การประเมินแผนชุมชน

-ระดับดี (A) หมายถึง แผนชุมชนที่มีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ตัวชี้วัด
-ระดับปานกลาง (B) หมายถึง แผนชุมชนที่มีองค์ประกอบ 3 ใน 4 ตัวชี้วัด
-ระดับต้องปรับปรุง (C ) หมายถึง แผนชุมชนที่มีองค์ประกอบน้อยกว่า 3 ใน 4 ตัวชี้วัด

(Visited 1,387 times, 1 visits today)