คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างของ อนาถบิณฑิกะ มีอะไรบ้าง

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการเป็นชาวพุทธแบบอย่างของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ศึกษาบทบาทการเป็นชาวพุทธแบบอย่างของนางวิสาขามหาอุบาสิกาและเปรียบเทียบบทบาทของอนาถบิณฑิกเศรษฐีกับนางวิสาขามหาอุบาสิกา จาก การศึกษาพบว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐีและนางวิสาขามหาอุบาสิกามีบทบาทโดดเด่นด้านการ อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาด้วยการถวายปัจจัย ๔ อันสมควรแก่สมณบริโภคเหมือนกัน มีศรัทธามั่น ในพระพุทธศาสนาอย่างไม่เสื่อมคลายเหมือนกัน สร้างเสนาสนะอันเป็นถาวรวัตถุไว้ใน พระพุทธศาสนาคืออนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดเชตวัน นางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างวัดบุพพาราม ทั้งสองท่านเป็นเศรษฐีใจบุญชอบช่วยเหลืองานสังคมเป็นที'เคารพรักของบุคคลทั่ว ๆ ไป

ประวัติอนาถบิณฑิกะ



                        อนาถบิณฑิกะ เดิมมีชื่อว่า “สุทัตตะ” เป็นบุตรชายของเศรษฐีชื่อสุมนะ ในเมืองสาวัตถี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม คำว่า “อนาถบิณฑิกะ” เป็นชื่อที่เกิดจากคุณธรรมของท่าน เนื่องจากท่านเป็นคนใจบุญสุนทาน โดยได้ตั้งโรงทานให้ทานแก่ยาจกวณิพกเป็นประจำ คนทั้งหลายจึงเรียกว่าอนาถบิณฑิกะ แปลว่า ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา ภายหลังต่อมาท่านได้รับแต่งตั้งจากทางราชการสมัยนั้นให้อยู่ในตำแหน่งเศรษฐี โดยการสืบทายาทจากบิดาของท่าน ท่านจึงได้รับการเรียกชื่อว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี

                     อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้มาพบและได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ เหตุที่ได้เข้าเฝ้าเนื่องจากท่านได้มาทำกิจธุระเกี่ยวกับการค้าขายที่นี้และได้พักกับเพื่อนสนิทคนหนึ่งที่มีฐานะเป็นเศรษฐีเหมือนกัน และวันนั้นท่านได้เห็นคนในบ้านตระเตรียมอาหารเพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น จึงสอบถามเมื่อได้ฟังเรื่องราวจากเศรษฐีผู้เป็นเพื่อนแล้ว ก็เกิดความรู้สึกดีใจที่ได้ทราบว่ามีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแล้ว ได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งขณะนั้นพระองค์ทรงประทับอยู่ที่สีตวัน หรือป่าไม้สีเสียดใกล้กับพระเวฬุวัน ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า จนสำเร็จมรรคผลเป็นอริยบุคคลขั้นโสดาบัน ประกาศตนเป็นอุบาสกนับถือพระรัตนตรัยด้วยศรัทธามั่นคง

                อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถี เพื่อประกาศพระศาสนา พระพุทธเจ้าทรงรับคำทูลอาราธนา เมื่อท่านกลับมายังเมืองสาวัตถีแล้วได้วางแผนเตรียมการใหญ่ในการที่จะถวายการต้อนรับพระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์ที่จะเสด็จไปเมืองสาวัตถี การวางแผนนั้นมี 2 ประการ คือ
1. สร้างที่พักค้างคืนระหว่างทางจากเมืองราชคฤห์ ถึงเมืองสาวัตถีไว้เป็นระยะ ๆ พร้อมกับเตรียมอาหารไว้ถวายทุกแห่งด้วย
2. เตรียมสร้างที่ประทับถาวรไว้ที่เมืองสาวัตถี โดยการขอซื้อสวนของเจ้าชายองค์หนึ่งที่เมืองสาวัตถี นามว่า เจ้าเชต ซึ่งมีบริเวณกว้างใหญ่ ซึ่งเจ้าเชตได้ตกลงขายสวนป่าแห่งนี้แก่อนาถบิณฑิกเศรษฐี เมื่อซื้อได้แล้ว ท่านได้สร้างเสนาสนะคือที่อยู่อาศัยสำหรับพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ อาคารที่พักทั้งหมดเรียกว่า วิหาร แปลว่า วัด และตั้งชื่อวัดนี้ว่า “เชตวัน”

                  เมื่องานทุกอย่างเสร็จแล้ว อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปกราบทูลพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกจำนวนมาก อนาถบิณฑิกเศรษฐีพร้อมด้วยชาวเมืองได้รับเสด็จพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกอย่างยิ่งใหญ่ ได้ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระสงฆ์ทุกวัน นอกจากนี้อนาถบิณฑิกเศรษฐียังได้รับเชิญไปให้คำแนะนำและจัดการงานบุญกุศลที่ชาว เมืองสาวัตถีเขาจัดทำเป็นประจำ เมื่อท่านไม่อยู่บ้านก็มอบหมายให้สุภัททาซึ่งเป็นลูกสาวคนโตช่วยจัดการถวายทานที่บ้านแทน เมื่อลูกสาวคนโตแต่งงานไปอยู่บ้านสามี ก็มอบหมายให้จูฬสุภัททาลูกสาวคนรองรับหน้าที่แทน ครั้นลูกสาวคนรองแต่งงานไปอยู่บ้านสามี ก็มอบให้สุมนาลูกสาวคนเล็กรับหน้าที่สืบแทน
อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ทำตนเป็นผู้อุปัฏฐากบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นเวลานาน ท่านจึงเป็นคนที่ได้รับประทานของอร่อยด้วยมือตนเองก่อน แล้วก็ต้องการให้บุคคลอื่นได้รับประทานของอร่อยด้วยเช่นนั้นบ้าง จึงได้พยายามเชิญชวน ชักชวนเพื่อนฝูงที่คุ้นเคยสนิทสนมกันให้มาสนใจฟังธรรมะ ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก จนคนเหล่านั้นได้ประพฤติปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอำนวยผลให้มีความสุขโดยทั่วกัน
อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็น “อัครสาวก” ในบั้นปลายชีวิต ท่านป่วยหนัก ได้ให้คนไปนิมนต์
 พระสารีบุตรมาเทศน์โปรด พระสารีบุตรได้แสดงธรรมะระดับวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้ท่านเกิดความปีติปราโมทย์ในชีวิตของท่าน และเข้าใจความจริงของชีวิตทุกชีวิตที่เกิดมาว่าจะต้องเป็นอย่างนี้เอง ทำให้ท่านลดความเจ็บปวดของโรคไปได้ เพราะไม่ให้ความสำคัญแก่โรคที่กำลังเสียดแทงท่านอยู่ และจิตใจของท่านมาจดจ่ออยู่ที่ธรรมะ เมื่อพระเถระลากลับไปแล้ว อนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ถึงแก่นธรรมด้วยอาการสงบ

                   คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

1. เป็นผู้มั่นคงในการทำบุญ อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้มีความมั่นคงในการทำบุญตั้งแต่ยังเยาว์วัย เป็นคนใจบุญสุนทานมาก ชอบทำบุญกุศลโดยเฉพาะการให้ทานและฟังธรรมเป็นประจำ
2. เป็นทายกตัวอย่าง ท่านเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ของชาวพุทธได้อย่างยอดเยี่ยม กล่าวคือ การอุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ การชักชวนมหาชนให้ทำบุญกุศล ด้วยการให้ทาน และเมื่อบ้านใดมีกิจการงานบุญเกิดขึ้น ท่านมักจะได้รับการเชื้อเชิญให้ไปร่วมงานบุญนั้น ๆ อยู่เสมอ ๆ นอกจากนั้น ท่านยังชักชวนให้เพื่อนสนิทมิตรสหายตลอดจนบริวารให้หมั่นสดับตรับฟังธรรมะ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผล แห่งการปฏิบัติอย่างแท้จริง นับว่าเป็นทายกที่เป็นแบบอย่างคนหนึ่ง

นางวิสาขา มีคุณธรรมใดที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

นางวิสาขา คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง มีศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย แม้จะเข้าไปอยู่ในครอบครัวของสามีที่มิใช่ชาวพุทธแต่นาง วิสาขาก็ยังมั่นคงในพระรัตนตรัย มีคารวธรรม นางวิสาขาให้ความเคารพเชื่อฟังและอยู่ในโอวาทของบิดา มารดา รวมทั้งพ่อ ของสามี( มิคารเศรษฐี) อย่างดียิ่ง

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างมีอะไรบ้าง

๙ คุณธรรมพื้นฐาน.
๑. ขยัน มีความตั้งใจเพียรพยายาม ทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง.
๒. ประหยัด ... .
๓. ซื่อสัตย์ ... .
๔. มีวินัย ... .
๕. สุภาพ ... .
๖. สะอาด ... .
๗. สามัคคี ... .
๘. มีน้ำใจ.

คุณธรรมที่ควรยึดเป็นแบบอย่างของพระมหากัสสปะมีอะไรบ้าง

พระมหากัสสปะ เป็นเอตทัคคะในด้านผู้ทรงธุดงค์ เป็นผู้ริเริ่มรวบรวมพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหมวดหมู่ เรียกว่า “การปฐมสังคายนาพระไตรปิฎก คุณค่าของการอ่าน-ฟัง เป็นบุตรที่ดีและเคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา ใช้ชีวิตเรียบง่าย พอเพียง และมีวินัย ไม่นิ่งดูดายต่อการกระทำผิด ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง

อะไรคือคุณธรรมที่ได้จากการเรียนรู้ประวัติของนางวิสาขามหาอุบาสิกา

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง 1. เป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า 2. เป็นผู้มีความเชื่อฟังบิดา มารดา และมีความซื่อสัตย์มั่นคงต่อสามี 3. เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ใช้หลักธรรมแก้ปัญหาในครอบครัวได้ 4. เป็นผู้ที่สามารถเปลี่ยนความเชื่อถือของบิดาสามี ให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา