เต้าเสียบแบบมี 3ขา ประกอบด้วยขาอะไรบ้าง

       เต้ารับถือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความสำคัญของอาคารบ้านเรือน และเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้งานทุกวัน เราควรให้ความสำคัญและหมั่นตรวจสอบ ถ้าหากพบว่าเต้ารับเกิดการเสียหาย ชุดรุด หรือหลวม ก็ควรพิจาราณาว่าเต้ารับนั้นสมควรเปลี่ยน ช้วยให้เราใช้งานได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย และยังเป็นการป้องกันการเกิดไฟฟ้ารัดวงจร ไฟรั่ว อาจก่อให้เกิดความเสียหายของทรัพย์สินภายในบ้าน

อุปกรณ์วิดีโอและออดิโอที่วางขายกันอยู่ทั่วไปมักจะมีปลั๊กต่อไฟบ้านทั้งระบบ 3 ขา และ 2 ขา หลายคนก็ไม่คิดอะไรมาให้มาอย่างไรก็เสียบใช้งานไปอย่างนั้น แต่บางท่านก็พิถีพิถันถ้าพบเครื่องที่มีสายไฟ 2 ขา หรือเต้าเสียบ INLET ที่มี 2 ขา จะต้องหาทางดัดแปลงใส่สายดินเพิ่มเข้าไปเป็นระบบ 3 ขาก่อนใช้งาน

ความจริงเรื่องปลั๊ก 2 ขา, 3 ขา นี่เป็นมหากาพย์คุยกันได้ไม่รู้จบ บางครั้งหลักการทางวิชาการก็ไม่ได้ตอบโจทย์ในทุกกรณีเสมอไป เอาเป็นว่าเท่าที่สังเกตการณ์มานานพอจะเดาทางได้ว่า ถ้าผู้ผลิตจะทำอุปกรณ์ไฟฟ้าออกไปขายตลาดแถวๆ อเมริกาเหนือ, อังกฤษ, สิงคโปร์ และบางประเทศที่ประเทศเหล่านี้ จะมีข้อกำหนดที่ค่อนข้างเข้มงวดเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะใช้ในครัวเรือนไม่จำกัดว่าจะเป็นอุปกรณ์ภาพ/เสียงเท่านั้น คือ อุปกรณ์ทุกตัวจะต้องเป็นปลั๊ก 3 ขา มีสายดินต่อมาให้เรียบร้อยเพื่อผลด้านความปลอดภัยของผู้ใช้งานเป็นหลัก

ส่วนถ้าจะนำไปขายในโซนทวีปอื่นๆ เช่น เอเชีย ที่ไม่มีข้อกำหนดที่เข้มงวดด้านมาตรฐานความปลอดภัย อุปกรณ์ที่ขายอยู่ก็จะมีขั้วเสียบไฟแค่ 2 ขา ปัจจุบันยังมีอีกหลายประเทศที่ใช้เต้าเสียบไฟบ้านระบบ 2 ขาไม่มีขั้วดิน ลองนึกว่าถ้าอุปกรณ์ที่ซื้อมาเป็นปลั๊ก 3 ขาทั้งหมดจะเกิดโกลาหลขนาดไหนที่ต้องหาขั้วเปลี่ยน 3 ขา เป็น 2 ขา ทำเต้ารับที่บ้านใหม่หรือแม้แต่ตัดขั้วดินทิ้ง

เต้าเสียบแบบมี 3ขา ประกอบด้วยขาอะไรบ้าง

ตลอดหลายปีที่มีโอกาสได้แกะกล่องสินค้าใหม่สารพัดยี่ห้อ/รูปแบบ มีเป็นจำนวนไม่น้อยที่สายไฟที่แถมมาในกล่องมีมาให้เลือกครบทั้งแบบ 2 ขา และ 3 ขา รวมถึงตัวเครื่องที่ถ้าขายในอเมริกาจะมี INLET เป็น3 ขา มีสายดิน แต่ถ้าขายในบ้านเราหรือแถวทวีปเอเชียจะเปลี่ยนเป็น 2 ขา (พร้อมสายปลั๊ก 2 ขา) ทั้งๆที่เป็นรุ่นเดียวกัน

เต้าเสียบแบบมี 3ขา ประกอบด้วยขาอะไรบ้าง

ตำแหน่งขั้ว ฮอตไลน์ (L), นิวทรัล ( N) และสายดิน (G) ของปลั๊กผนังแบบ 2 ขา และ 3 ขา

แต่ประเด็นที่จะพูดถึงมันอยู่ตรงที่ว่า สมมติถ้าอุปกรณ์ในระบบคุณทุกเครื่องเกิดจับได้ใบแดงทั้งหมด คือ เป็นปลั๊ก 2 ขา ทุกตัว แล้วคุณนำปลั๊กของอุปกรณ์ทุกตัวต่อเข้ากับปลั๊กผนังบ้านหรือเครื่องกรองไฟ กรณีนี้จะเท่ากับว่าอุปกรณ์ของระบบคุณจะลอย (Float) จากดิน (Ground) ทั้งหมดซึ่งถือว่าอันตรายต่อผู้ใช้งานมาก

ไม่นับสัญญาณรบกวนพวก Common Mode Noise ที่จะสามารถเกิดขึ้นระหว่างตัวถังกับขั้วสัญญาณต่างๆ และเหนี่ยวนำให้เกิดเป็นสัญญาณรบกวนเข้าไป Degrade ระบบภาพ/เสียงของเราได้

ถ้าคุณยืนบนพื้นดินเท้าเปล่าแล้วเอามือจับตัวถังเครื่องที่เป็นโลหะหรือแม้แต่ปุ่มหมุนคุณจะรู้สึกถึงกระแสไฟที่รั่วลงตัวถังเล็กน้อยพอคันๆ แต่ถ้าโชคร้ายอุปกรณ์ที่ใช้เป็น Switch Mode Supply ขนาดใหญ่ เช่น ทีวีจอแบน, เครื่องฉายภาพ และปลั๊ก 2 ขา เกิดเสียบกลับขั้วอยู่คราวนี้มือคุณจะโดนกระตุกค่อนข้างรุนแรงขึ้นอยู่กับว่ากระแสไฟรั่วไหล (Leakage Current) ออกมาที่ตัวถังมากน้อยแค่ไหน

ในงานอาชีพอุปกรณ์ที่ใช้ Switch Mode Supply จะใช้ปลั๊ก 3 ขาพร้อมสายดินเสมอพร้อมมีตัวอักษรโตๆ เขียนเตือนหลังเครื่อง

เต้าเสียบแบบมี 3ขา ประกอบด้วยขาอะไรบ้าง

ตัวอย่างการเกิดสัญญาณกราวด์ลูป (สีเหลือง)

หนทางที่ปลอดภัยกว่าคือคุณจะต้องหาทางต่อสายดินให้กับอุปกรณ์ของคุณอย่างน้อยหนึ่งตัวและควรจะเป็นตัวที่กินกระแสค่อนข้างมาก เช่น AVR, TV, Projector คราวนี้คุณสามารถจะยืนเท้าเปล่าจับเครื่องได้โดยไม่ต้องพะวงว่าจะโดนไฟดูดอีก

แต่ก็มีประเด็นด้านเทคนิคเล็กน้อย คือ เครื่องเล่นต้นทาง เช่น CD, Blu-ray ควรจะลอยขาดินเอาไว้เพื่อป้องกันกราวน์ลูปที่อาจก่อให้เกิดเสียงฮัม, จี่ หรือภาพมีปัญหาได้เพราะต้นทางมันจะทำงานกับสัญญาณที่มีระดับต่ำมากๆ และอิมพีแดนซ์ของมันก็ค่อนข้างจะสูง

ถ้าต่อสายดินเอาไว้กับอุปกรณ์หลายๆ ตัวรวมถึงต้นทางด้วยแล้วระบบกราวน์ของคุณทำงานได้ไม่สมบูรณ์พอหรือค่าความต้านทานดินไม่ต่ำพอมันอาจจะเกิดกระแสไหลวนย้อนกลับไปลงดินที่ต้นทางซึ่งจะก่อให้เกิดสัญญาณรบกวนที่ไม่พึงประสงค์บางรูปแบบได้ครับ

สิ่งหนึ่งที่เราต้องเตรียมให้พร้อมในการต่อเต้ารับก็คืออุปกรณ์ในการต่อเต้ารับนั้นเอง โดยมีอุปกรณ์ที่เราต้องเตรียมดังต่อไปนี้

  1. สายไฟ ประเภทสายดิน
  2. สายไฟ ประเภทสายไลน์
  3. สายไฟ ประเภทสายนิวทรัล
  4. ฝาครอบ
  5. กล่องพลาสติก
  6. นอตยึด
  7. ไขควง
  8. เต้าเสียบของเครื่องใช้ไฟฟ้า 

ลักษณะของเต้ารับและเต้าเสียบที่ดี

คุณภาพของเต้ารับที่เราจะนำมาต่อเต้ารับคือสิ่งที่ควรตระหนัก เพราะหากเลือกไม่ดีอาจใช้ได้ไม่นาน และเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้ เรามาดูกันครับว่าลักษณะของเต้ารับที่ดีมีอะไรบ้าง

  1. ทำด้วยโลหะที่ไม่ก่อให้เกิดสนิมง่าย
  2. มีพื้นที่ผิวสัมผัสมากจะนำกระแสไฟฟ้าได้ดี
  3. ฉนวนที่นำมาหุ้มทั้งเต้ารับและเต้าเสียบต้องไม่กรอบ และแตกง่าย
  4. ขนาดเหมาะสมกับปริมาณไฟฟ้าที่ไหลผ่าน
  5. อุปกรณ์ต้องมีมาตรฐานการรับรอง

ประเภทของเต้ารับมีกี่แบบ

นอกจากวิธีต่อเต้ารับ อุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อเต้ารับ และลักษณะของเต้ารับที่ดีแล้ว เราควรรู้จักประเภทของเต้ารับด้วยนะครับ ตอนต่อเต้ารับด้วยตนเองจะได้ทำได้ง่าย และไม่ผิดพลาด โดยเต้ารับซึ่งใช้ควบคู่กับเต้าเสียบ โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด 

  1. เต้ารับ และเต้าเสียบชนิด 2 ขา คือ อุปกรณ์ที่ติดมากับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ใช้สำหรับรับเต้าเสียบ 2 ขา โดยแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท 
  2. เต้ารับแบบแบน เป็นแบบที่มีรูกลมอยู่ตรงกลาง เพื่อยึดเข้ากับปุ่มของเต้ารับได้อย่างพอดี กันการหลวม หรือการสั่นคลอน 
  3. เต้ารับแบบกลม มีทั้งแบบที่มีฉนวน และไม่มีฉนวนหุ้ม ซึ่งควรใช้แบบมีฉนวน เพราะสามารถป้องกันอันตรายได้ดีกว่าแบบไม่มีฉนวนหุ้ม
  4. เต้ารับ และเต้าเสียบชนิด 3 ขา คือ เต้าเสียบที่มีขาโลหะอยู่ 3 ขา ต้องใช้กับเต้ารับที่มีช่องรับอยู่ 3 ช่อง โดยช่องที่เพิ่มมาอีกหนึ่งช่อง คือ ช่องที่เป็นตำแหน่งต่อลงสายดิน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานมีความปลอดภัย หากเกิดกรณีกระแสไฟฟ้ารั่ว 

ทั้ง 2 ชนิดแตกต่างกันที่จำนวนช่องที่เพิ่มเข้ามา นั่นก็คือ ตำแหน่งสายดิน ซึ่งถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ใช้งาน ทั้งเรื่องความปลอดภัย และการมีส่วนช่วยป้องกันไฟฟ้าให้ไหลลงสู่ดิน ไม่ให้เกิดไฟฟ้ารั่ว หรือลัดวงจร