องค์ประกอบของดนตรีสากลมีอะไรบ้าง

‘องค์ประกอบของดนตรี’ คือ ส่วนสำคัญซึ่งก่อเกิดเป็นดนตรีขึ้นมา สำหรับวันนี้เราจะกล่าวถึงองค์ประกอบของดนตรีในภาพรวม ได้แก่ปัจจัยเหล่านี้ เสียง, ทำนอง, เสียงประสาน, จังหวะ รวมทั้งรูปแบบของดนตรี

เสียง (Tone)

สำหรับเสียง หรือ Tone นั้น จะมีความแตกต่างกันไปจากเสียง ซึ่งเรียกว่า Noise โดยลักษณะของการเกิดเสียงในลักษณะนี้ เกิดจากการสั่นสะเทือนอย่างสม่ำเสมอ หากแต่ Noise เกิดมาจากการสั่นสะเทือนที่ไม่สม่ำเสมอ เพราะฉะนั้นเสียงดนตรี ที่ได้มาจากการเป่า/ร้อง/ดีด/สี จะมาในลักษณะ Tone เนื่องจากการสั่นสะเทือนดำเนินอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอนั่นเอง

ระดับเสียง (Pitch)

คือ ความสูง – ต่ำของเสียง ถ้าความถี่ของการสั่นสะเทือนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็จะก่อให้เกิดเสียงสูง หากแต่ถ้าความถี่ของการสั่นสะเทือนช้า ก็จะทำให้เกิดเสียงต่ำ ซึ่งภายในหูของมนุษย์สามารถแยกเสียงได้ ตั้งแต่ระดับความถี่สั่นสะเทือน 16 ครั้ง / วินาที ถึง 20,000 ครั้ง / วินาที

สีสันของเสียง (Tone Color)

คือ ความแตกต่างของเสียง ที่มาจากแหล่งกำเนิดแตกต่างกัน ทางด้านการดนตรีแล้วก็มาจากการใช้เครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ซึ่งมีมากมายหลายประเภท อีกทั้งยังรวมไปถึงเสียงร้องของมนุษย์อีกด้วย ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ในบทเพลงหนึ่ง ถ้าขับร้องโดยผู้ชาย ผู้ฟังก็จะได้รับรู้ถึงความรู้สึกแตกต่างจากการขับร้องโดยผู้หญิง เป็นต้น หรือ ทางด้านการบรรเลงดนตรี ถ้าเป็นการบรรเลงเพลงเดี่ยว ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปจากการบรรเลงเป็นวง หรือ มีความแตกต่างจากการบรรเลงโดยเครื่องดนตรีต่างชนิดกัน สำหรับลักษณะที่มีความแตกต่างกันนี้ ถูกเรียกว่าสีสันของเสียง โดยคุณสมบัติจำนวน 4 ประการของเสียง ที่นำมารวมกันก่อให้เกิดเสียงดนตรีที่มีความหลากหลาย จนกระทั่งก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ทำให้ดนตรีเป็นศิลปะประเภทหนึ่ง สามารถสรุปได้ว่าเสียงดนตรีประกอบด้วย ต่ำ/สูง/สั้น/ยาว/เบา/ดัง นอกจากนี้ก็ยังมีเสียงที่แตกต่างกันไป ตามแต่เครื่องดนตรีแต่ละชนิด

ท่วงทำนอง (Melody)

สำหรับท่วงทำนอง คือ การจัดเรียงของเสียงซึ่งมีความแตกต่างกันไป ตามแต่ระดับของเสียง รวมทั้งความยาวของเสียง ตามปกติทั่วไปแล้ว ดนตรีจะประกอบไปด้วยท่วงทำนอง โดยเป็นองค์ประกอบที่ง่ายต่อการจดจำมาก นอกจากนี้ท่วงทำนองต่างมีหลากหลายคุณลักษณะตามองค์ประกอบของทำนองนั้นๆ

เสียงประสาน (Harmony)

จัดเป็นองค์ประกอบของดนตรีประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นจากการผสมผสานของเสียง มากกว่า 1 เสียง สำหรับเสียงประสานจัดเป็นองค์ประกอบทางดนตรี ที่มีความซับซ้อนมากกว่าจังหวะหรือทำนองเสียอีก ทำให้ผู้ฟังสัมผัสได้ถึงความประณีตในการประพันธ์ หากแต่ถึงกระนั้นในบางวัฒนธรรม ก็อาจไม่พบการประสานเสียงของดนตรีเลยก็ได้ เช่น ดนตรีประจำท้องถิ่นหรือดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งเน้นในเรื่องของความเรียบง่าย และเป็นดนตรีที่แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

จังหวะ (Rhythm)

ดนตรีทุกประเภทในโลกนี้ จะต้องประกอบด้วยความช้า – เร็ว ของจังหวะเพลง เช่น เพลงที่ใช้ในการประกอบการเต้นรำเพื่อสร้างความสนุกสนาน ก็จะมีจังหวะที่กระชับ รวดเร็ว ซึ่งแน่นอนว่ามีความตรงกันข้ามกับเพลงที่ใช้ในการกล่อมเด็ก ซึ่งมีจังหวะค่อนข้างช้า เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ปัจจัยเรื่องเวลา จึงเป็นอีกปัจจัยส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ ซึ่งต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดยิบย่อย เช่น ความเร็วของจังหวะ / อัตราจังหวะ และจังหวะ

อย่างไรก็ตามสำหรับในวัฒนธรรมพื้นบ้าน ก็ไม่ได้มีการแสดงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่ได้มีการระบุไว้ว่าจะต้องบรรเลงบทเพลงอย่างไร หากแต่ผู้บรรเลงก็สามารถกระทำอย่างสอดประสานกันได้ดี อันเนื่องมาจากมีความเข้าใจร่วมกัน ยกตัวอย่าง เช่น ในบทเพลงเถาของประเทศไทย ผู้บรรเลงจะทราบว่าจะต้องมีการบรรเลงให้ช้าหรือเร็วอย่างไรนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำกับจังหวะของฉิ่งในแต่ละท่อนเพลงนั่นเอง จากความแตกต่างขององค์ประกอบทางดนตรีนี่เอง ที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์มากมายขึ้นมา เมื่อฟังได้ฟังก็ทราบได้ทันทีว่าบทเพลงในลักษณะนี้เป็นแนวใด

        ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีนั้น ความหลากหลายด้านสีสันของเสียง ประกอบด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันหลายประการ เช่น วิธีการบรรเลง วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรี รวมทั้งรูปทรง และขนาด ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลโดยตรงต่อสีสันของเสียงเครื่องดนตรี ทำให้เกิดคุณลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันออกไป
บทเพลงต่างๆ เกิดขึ้นได้ ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญทางดนตรีที่รวมกันอยู่ในบทเพลงนั้นๆโดยทั่วไปองค์ประกอบพื้นฐานทางดนตรี ได้แก่ เสียง (Tone) จังหวะ (Rhythm) ทำนอง (Melody) เสียงประสาน (Harmony) รูปพรรณ (Texture) รูปแบบ (Form) สีสันของเสียง (Tone Color) ซึ่งจะมีการผสมผสานสอดคล้องกันทำให้เกิดความไพเราะในบทเพลง


สาระการเรียนรู้

องค์ประกอบของดนตรีสากล


กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน

๑. อธิบายองค์ประกอบของดนตรีสากล

๒. จำแนกองค์ประกอบของดนตรีได้

๓. แสดงความคิดเห็นที่มีต่ออารมณ์ของบทเพลง

๔. ระบุองค์ประกอบดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม


องค์ประกอบของดนตรีสากล

องค์ประกอบของดนตรี คือ ส่วนสำคัญพื้นฐานทางดนตรีซึ่งรวมกันทำให้เกิดดนตรีหรือบทเพลงต่างๆเป็นรูปร่างขึ้นมาได้ โดยประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

๑. เสียง (Tone)

๒. จังหวะ (Rhythm)

๓. ทำนอง (Melody)

๔. เสียงประสาน (Harmony)

๕. รูปพรรณหรือพื้นผิว (Texture)

๖. รูปแบบ (Form)

๗. สีสันของเสียง (Tone Color)


๑. เสียง (Tone)

เสียง ในทางดนตรี หมายถึง เสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศอย่างสม่ำเสมอ โดยจะเกิดจากการร้อง การเป่า การดีด และการสี เสียงจะประกอบด้วยคุณสมบัติเสียง ๔ อย่าง คือ ระดับเสียงความยาวของเสียง ความเข้มของเสียงและคุณภาพของเสียง

๑.๑ ระดับเสียง (Pitch) คือ ความสูงต่ำของเสียง ซึ่งเกิดจากความถี่ในการสั่นสะเทือน ถ้าความถี่ของการสั่นสะเทือนเร็วเสียงจะสูง ความถี่ของการสั่นสะเทือนช้าเสียงจะต่ำ

๑.๒ ความยาวของเสียง (Duration) คือ ความยาวสั้นของเสียง เสียงดนตรีอาจมีควานยาวเสียงเช่น เสียงสั้นๆ เสียงยาวมาก ซึ่งเป็นพื้นฐานในเรื่องของจังหวะ (Rhythm)

๑.๓ ความเข้มของเสียง (Intensity) คือ ความแตกต่างของเสียงจากค่อยไปจนถึงดัง ซึ่งเป็นพื้นฐานเรื่องจังหวะเน้นในทางดนตรี

๑.๔ คุณภาพของเสียง (Quality) คือ คุณภาพของเสียงแต่ละชนิด เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุที่ทำให้เกิดเสียงนั้นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานเรื่องสีสันของเสียง (Tone Color)


๒. จังหวะ (Rhythm)

                จังหวะ คือ สัญลักษณ์ที่บอกความยาว สั้น (Duration) ของตัวโน้ตและตัวหยุด โดยไม่มีระดับเสียง ในบทเพลงจะมีองค์ประกอบจังหวะ ดังนี้


๒.๑ ความเร็วของจังหวะ (Tempo) เทมโป มาจากภาษาอิตาเลียน หมายถึง เวลา ในทางดนตรี หมายถึง ความเร็ว ช้า ปานกลาง ซึ่งถูกกำหนดไว้ในบทเพลง โดยมีเครื่องกำหนดความเร็วที่เรียกว่าเมโทรนอม (Metronome) และมีชื่อเรียกกำหนดความเร็วจังหวะ ได้แก่

Presto                     เร็วมาก

Allegro                   เร็ว

Moderato                ความเร็วปานกลาง

Adagio                    ช้าๆ ไม่รีบร้อน

Largo                      ช้ามาก


๒.๒ อัตราจังหวะ (Time) คือ การจัดกลุ่มจังหวะตบ (Beat) เป็น ๒, , ๔ จังหวะเคาะเน้นจังหวะหนัก เบา ของจังหวะตบที่เกิดขึ้น


จังหวะตบ (Beat) หมายถึง จังหวะที่ดำเนินไปเรื่อยๆ คล้ายการเต้นของหัวใจตัวอย่างอัตราเช่น


องค์ประกอบของดนตรีสากลมีอะไรบ้าง


๒.๓ รูปแบบจังหวะ(
Rhythm Pattern) คือรูปแบบกระสวนจังหวะของจังหวัดที่ถูกกำหนดไว้เพื่อเป็นจังหวะในการบรรเลงบทเพลง เช่น จังหวะมาร์ช (March) จังหวะวอลซ์ (Waltz) จังหวะร็อค (Rock) เป็นต้น


๓. ทำนอง (Melody)

ทำนอง คือ การจัดเรียงลำดับสูง ต่ำ และความยาว สั้น ของเสียงตามแนวนอน ทำนองเป็นองค์ประกอบดนตรีที่ง่ายต่อการจำเหมือนภาษาพูดที่เป็นประโยค เพื่อสนองความคิดของผู้พูดดังนั้นการเข้าใจดนตรีจึงต้องจำทำนองให้ได้


๔. เสียงประสาน (Harmony)

เสียงประสาน คือ การผสมผสานเสียงตั้งแต่ ๒ เสียงขึ้นไป โดยบรรเลงพร้อมกันการประสานเสียงมีทั้งให้ความกลมกลืนไพเราะ และไม่กลมกลืน การนำเสียง ๒ เสียงมาบรรเลงพร้อมกันจะเรียกว่า ขั้นคู่เสียง (Interval) ถ้านำเสียง ๓ เสียงขึ้นไปมาบรรเลงพร้อมกันจะเรียกว่า คอร์ด (Chord)


๕. รูปพรรณหรือพื้นผิว (Texture)

รูปพรรณ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างทำนองกับเสียงประสาน ซึ่งทำให้เกิดเป็นภาพรวมของดนตรี รูปพรรณดนตรีมีหลายแบบ คือ

๕.๑ แบบโมโนโฟนี (Monophony) คือ ดนตรีแนวทำนองแนวเดียว ไม่มีเสียงประสานหรือองค์ประกอบใด

๕.๒ แบบโฮโมโฟนี (Homophony) คือ ดนตรีที่มีแนวทำนองหลักเป็นแนวที่สำคัญที่สุดในขณะที่แนวอื่นๆ เป็นเพียงแนวประสานเสียงด้วยคอร์ดเข้ามาช่วยให้ทำนองหลักไพเราะขึ้น เช่นเพลงไทยสากล เพลงพื้นบ้าน (Folk Song) เป็นต้น

๕.๓ แบบโพลิโฟนี (Polyphony) คือ ดนตรีที่ใช้แนวทำนองหลายแนวเพื่อมาประสานกับทำนองหลัก ทำนองหลักจะเป็นแนวที่สำคัญ แต่แนวอื่นๆ ก็เป็นทำนองรองและเป็นแนวประสานเมื่อเล่นจะพบว่าแต่ละแนวเป็นทำนองด้วยเช่นกัน


๖. รูปแบบ (Form)

รูปแบบ คือ โครงสร้างของบทเพลงที่มีแบบแผน ซึ่งผู้ประพันธ์เพลงมักจะมีรูปแบบการแต่งเพลงตามที่ตนเองคิดไว้ เช่น การแบ่งเป็นห้องเพลง เป็นวลี (Phrase) เป็นประโยค (Sentence) และเป็นท่อนเพลง รูปแบบของบทเพลงในปัจจุบัน ได้แก่

๖.๑ ยูนิทารี (Unitary Form) หรือ One Part Form คือ บทเพลงที่มีแนวทำนองสำคัญเพียงทำนองเดียวตั้งแต่เริ่มต้นจนจบสมบูรณ์ เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงชาติ เป็นต้น

๖.๒ ไบนารี (Binary Form) หรือ Two Part Form คือ บทเพลงที่มีรูปแบบประกอบด้วย๒ ส่วนใหญ่ๆ เช่น ท่อนทำนอง A และท่อนทำนอง B เรียกบทเพลงบทนี้ว่า รูปแบบ A B

๖.๓ เทอร์นารี (Ternary Form) หรือ Three Part Form คือ บทเพลงที่มีรูปแบบประกอบด้วย ๓ ส่วนใหญ่ๆ มีส่วนกลางที่แตกต่างไปจากส่วนต้นและส่วนท้าย เช่น ท่อนทำนองที่ ๑ A, ท่อนทำนองที่๒ B, ซึ่งทำนองแตกต่างกันออกไป และท่อนที่ ๓ A ก็มีทำนองคล้ายกับท่อนที่ ๑ A เรียกบทเพลงแบบนี้ว่ารูปแบบ A B A

๖.๔ ซองฟอร์ม (Song Form) คือ การนำเทอร์นารีฟอร์มมาเติมส่วนหลักแรกลงอีก ๑ ครั้ง

จะได้รูปแบบ A A B A เรียกว่า ซองฟอร์ม โครงสร้างแบบนี้มักพบในเพลงทั่วๆ ไป

๖.๕ รอนโด (Rondo Form) คือ รูปแบบการเน้นที่ทำนองหลัก โดยในบทเพลงจะมีหลายแนวทำนอง ส่วนทำนองหลักหรือทำนองแรกจะวนอยู่ระหว่างทำนองอื่นๆ ที่ต่างกันออกไป อาจแบ่งได้ ๓ รูปแบบคือ

๖.๕.๑ Simple Rondo คือ การเปลี่ยนไปมาของทำนองหลักกับทำนองที่ ๒ เช่น A B A B A

๖.๕.๒ Second Rondo คือ การเปลี่ยนไปมาของทำนองหลักกับอีก ๒ แนวทำนอง เช่น A B A C A

๖.๕.๓ Third Rondo คือ การเปลี่ยนไปมาของทำนองหลักกับอีก ๓ แนวทำนองโดยจัดเรียงกัน เช่น A B A C A D A


๗. สีสันของเสียง (Tone Color)

สีสันของเสียง คือ คุณสมบัติของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละชนิด รวมถึงเสียงรัองของมนุษย์ซื่งแตกต่างกันไปในเรื่องของการดนตรี สีสันของเพลงอาจเกิดจากการร้องเดี่ยว การบรรเลงเดี่ยวโดยผู้แสดงเพียงคนเดียว หรือการนำเครื่องดนตรีหลายชนิดเสียงร้องมาร่วมบรรเลงด้วยกันก็เกิดเป็นการรวมวงดนตรีแบบต่างๆ ขึ้น


กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

๑. บทเพลงสมัยนิยมยุคปัจจุบัน ส่วนมากจะมีรูปแบบ (From) แบบใด

๒. องค์ประกอบเพลงร้องที่ไม่มีดนตรี ประกอบด้วยองค์ประกอบใดบ้าง


คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้


ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

๑. ให้นักเรียนเลือกฟังเพลงตามความสนใจ โดยขอคำแนะนำจากครูผู้สอนหรือผู้มีความรู้ด้านดนตรีสากล

๒. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน เลือกบทเพลงที่สนใจ จัดทำรายงานเกี่ยวกับองค์ประกอบของเพลงที่ฟัง และนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยบอกเหตุผลที่เลือกและสนใจบทเพลงนั้นๆ

องค์ประกอบของดนตรีสากลมี่กี่ประเภท อะไรบ้าง

3. องค์ประกอบของดนตรีตะวันตก สำหรับดนตรีตะวันตกนั้นเราสามารถ แบ่งองค์ประกอบได้ทั้งหมดเป็น 4 ส่วนด้วยกัน คือ จังหวะ (Rhythm), ทำนอง (Tune, Melody), เสียงประสาน (Harmony), และสีสันของเสียง (Tone Color) (Soifer, 1997)

องค์ประกอบของตัวโน้ตดนตรีสากลมีทั้งหมดกี่องค์ประกอบ

เป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีที่ใช้บันทึกไว้บนบรรทัด 5 เส้น เพื่อแสดง ถึงระดับเสียงสูง - เสียงต่่า และความสั้น-ยาวของเสียงตัวโน้ต ตัวโน้ต (Note) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ หัวโน้ต (Note head) ก้านโน้ต (Stem) เขบ็ต (Flag) เป็นส่วนที่แสดงระดับเสียง หัวโน้ตจะคาบอยู่บรรทัด 5 เส้น หรืออยู่ในช่องของ บรรทัด 5 เส้นก็ได้

องค์ประกอบใดในทางดนตรีสากล จำง่ายที่สุด

ท่วงทำนอง (Melody) สำหรับท่วงทำนอง คือ การจัดเรียงของเสียงซึ่งมีความแตกต่างกันไป ตามแต่ระดับของเสียง รวมทั้งความยาวของเสียง ตามปกติทั่วไปแล้ว ดนตรีจะประกอบไปด้วยท่วงทำนอง โดยเป็นองค์ประกอบที่ง่ายต่อการจดจำมาก นอกจากนี้ท่วงทำนองต่างมีหลากหลายคุณลักษณะตามองค์ประกอบของทำนองนั้นๆ

องค์ประกอบพื้นฐานของดนตรีไทยมีอะไรบ้าง

1. เสียง 2. จังหวะ 3. ทานอง 4. เสียงประสาน 5. พื้นผิวของดนตรี 6. สีสันของเสียง ลักษณะรูปแบบหรือลักษณะโครงสร้างของเพลงไทย ซึ่งมีรูปแบบใหญ่ๆ ดังนี้ รูปแบบของเพลง เช่น ท่อนเพลง อัตราจังหวะ เป็นต้น ลีลาของเพลง เช่น เพลงลูกล้อลูกขัด เพลงทางพื้น เป็นต้น