กิจกรรม สร้าง เสริมสุขภาพ ตาม กฎบัตรออตตาวา มี อะไร บาง

แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion)

                     ปัจจัยและวิถีชีวิตที่ส่งผลต่อสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพเป็นกลวิธีหนึ่งในการป้องกันรักษา และฟื้นฟูโรค   ซึ่งการสร้างเสริมสุขภาพต้องทำทั้ง 4 ด้านคือ ร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง และเหมาะสมต่อสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยมีองค์ประกอบของการสร้างเสริมสุขภาพหลายด้านเช่น การออกกำลังกาย โภชนาการ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ฯลฯ กลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพการเฝ้าระวังสุขภาพ

การสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา  (Ottawa Charter)

การประชุมการสร้างเสริมสุขภาพโลกในปี 2529(1986) ให้คำนิยาม ว่า

การสร้างเสริมสุขภาพ คือ กระบวนการที่ช่วยให้ ผู้คน สามารถควบคุม และเพิ่มพูนสุขภาพ ให้กับตนได้ 

Health promotion is the process of enabling people to increase control over, and to improve, their health.             

กลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพ

1. สร้างนโยบายสาธารณะ (Build Healthy Public Policy)

2. สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ  (Create Supportive Environment)

3. เพิ่มความสามารถของชุมชน (Strengthen Community Action)

4. พัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Develop Personal Skills)

5. ปรับระบบบริการสุขภาพ (Reorient Healthy Services)

กลวิธีที่ 1   การสร้างนโยบายสาธารณสุขเพื่อสุขภาพ

     ได้แก่ การที่สังคม เช่น ประเทศมีนโยบาย เพื่อให้คนในสังคมมีสุขภาพดี ยกตัวอย่างที่เห็นชัดเจน เช่น การมีกฎระเบียบ หรือกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เป็นต้น

กลวิธีที่ 2 การสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ     

  สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพ นอกจากการหลีกหนี หรือปกป้องตนเอง หรือปกป้องสังคมให้พ้นจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีแล้ว ในสภาพของคนทั้งสังคม การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ไม่สร้างปัญหาต่อสุขภาพ

กลวิธีที่ 3 การสร้างเสริมกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง

  เกี่ยวเนื่องกับมนุษย์ ที่อยู่กันอย่างเป็นสังคม การส่งเสริมสุขภาพ ไม่สามารถทำให้สำเร็จได้โดยแพทย์ และพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเท่านั้น งานหลายอย่าง ต้องการการมีส่วนร่วมของชุมชน

กลวิธีที่ 4  การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล

  การทำให้คนมีความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจในการควบคุมปัจจัยก่อโรค คือ ต้องมีกระบวนการในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้คนรู้จัก และมีความสามารถ (ทักษะ) ในการดูแลสุขภาพตนเอง

กลวิธีที่ 5 การปรับเปลี่ยนบริการ การบริการทางการแพทย์ มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอยู่ส่วนหนึ่ง แต่ที่ผ่านมา และที่จะผ่านไปของการบริการทางการแพทย์ คือ การให้การบริการรักษา เป็นหลัก หรือทำโรงพยาบาลเพียงหน้าที่เดียว   คือ เป็นโรงซ่อมสุขภาพ

สรุปได้ว่า การส่งเสริมสุขภาพ ต้องส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม คือ ส่งเสริมทั้งด้าน กาย จิต จิตวิญญาณ สังคม ไปด้วยกัน และต้องทำในลักษณะเชิงบุคคล และในเชิงสังคม หรือภาพกว้างด้วย

         

การประชุมนานาชาติเรื่องการเสริมสร้างสุขภาพครั้งที่ 1 กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา เสนอกฎบัตรฉบับนี้ในวันที่ 21 พ.ค. 2529 เสนอแนะว่าการดำเนินการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ควรจะต้องมีกิจกรรมที่สำคัญ คือ

สร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ

การสร้างเสริมสุขภาพมีความหมายกว้างกว่าเพียงการดูแลสุภาพแต่เป็นการทำให้สุขภาพเป็นวาระของผู้กำหนดในทุกภาคทุกระดับ เพื่อให้ผู้กำหนดตระหนักถึงผลทางสุขภาพที่เกิดจากการตัดสินใจ

การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ

มีความหมาย 2นัย คือ นัยแรก หมายถึง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในทุกระดับ อีกนัยหนึ่ง คือ การจัดสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินชีวิต

การเพิ่มความสามารถของชุมชน

หัวใจสำคัญของกระบวนการเพิ่มความสามารถของชุมชน คือ การสร้างพลังอำนาจให้กับชุมชน ให้ชุมชนควบคุมการปฏิบัติงานและเป้าหมายของชุมชนเองได้

การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล

การสร้างเสริมสุขภาพสนับสนุนให้เกิดการพัฒดนาทั้งในต้วบุคคลและสังคม ด้วยการให้ข้อมูลเสริมสร้างความรู้ด้านสุขภาพ และพัฒนาทักษะชีวิต

การปรับระบบบริการสาธารณสุข

         

ระบบการบริการสาธารณสุข ควรจัดให้มีกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้นมีการสื่อสารกับหน่วยงานภายนอกให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

 

กิจกรรม สร้าง เสริมสุขภาพ ตาม กฎบัตรออตตาวา มี อะไร บาง

ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/396760


กฎบัตรออตตาวาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ คืออะไร

กฎบัตรออตตาวา เป็นจุดเริ่มต้นของ “การสาธารณสุขแนวใหม่ (new public health)” ที่ไม่สนใจแต่เพียงองค์ ประกอบทางการแพทย์แบบชีวภาพ แต่ตระหนักถึงบทบาทของภาคส่วนต่างๆของสังคมในการสร้างเสริมสุขภาพ และเล็งเห็น ถึงความจำเป็นในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มากขึ้นในการควบคุมปัจจัยกำหนดสุขภาพ ทั้งยังให้ความสำคัญต่อ ปัจจัยด้าน ...

กฎบัตรออตตาวาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพมากจากประเทศอะไร

กฎบัตรออตตาวา ที่เกิดขึ้นจากการประชุมนานาชาติ ครั้งที่ ๑ เรื่อง “การสร้างเสริมสุขภาพ : การเคลื่อนสู่การสาธารณสุขแนวใหม่” เมื่อปี ๒๕๒๙ ที่กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา ได้นำเสนอกลยุทธ์แห่งการสร้างเสริมสุขภาพไว้ ๕ ประการ ซึ่ง ๑ ใน ๕ นั้นคือ “การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Build Healthy Public Policy)”

การออกกฎบัตรออตตาวาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพครั้งที่ 1 ในวันที่เท่าไร *

ที่ประชุมนานาชาติเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 1 ณ กรุงออตตาวา เสนอกฎบัตร ฉบับนี้ ในวันที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) เพื่อการดำเนินการให้บรรลุ เป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้า ปี พ.ศ. 2543 และเป้าหมายอื่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

กฎบัตรออตตาวาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (The Ottawa Charter for Health Promotion) ควรมีกิจกรรมที่สำคัญ 5 ข้อ อะไรบ้าง

การบริโภคผัก ... .
การเดิน ... .
สุขภาพใจและสุขภาพจิต ... .
การไม่สูบบุหรี่ ... .
การไม่ดื่มสุรา ... .
การแปรงฟัน ... .
การลดน้ำหนัก ... .
มีนโยบายลดโรคที่สามารถป้องกันได้คือโรค เบาหวาน.