ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เพื่ออะไร

ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เพื่ออะไร

สำหรับยางของรถยนต์นั้น ถ้าถูกใช้งานโดยปกติ และเจ้าของหมั่นดูแลรักษาอยู่เสมอ ๆ มีการสลับยางทุก ๆ 10,000 กม. จะมีอายุการใช้งานประมาณ 3 ปี หรือคิดเป็นระยะทาง 50,000 กม. แล้วแต่ว่าจะถึงเงื่อนไขอะไรก่อน และเมื่อถึงเวลาที่เปลี่ยนยางชุดใหม่ สิ่งหนึ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปด้วยก็คือการ “ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ”

การตั้งศูนย์ถ่วงล้อนั้นจริง ๆ แล้วจะเป็นการทำงานที่แยกจากกันคือ “ตั้งศูนย์” กับ “ถ่วงล้อ” ส่วนมากการทำงานของช่างเวลาเปลี่ยนยางชุดใหม่จะเริ่มจากการ “ถ่วงล้อ” ก่อน โดยหลังจากที่ช่างทำการถอดยางเก่าและใส่ยางใหม่เรียบแล้ว ช่างจะดึงเอาตะกั่วถ่วงล้อของเดิมออก แล้วนำล้อไปติดตั้งบนเครื่องถ่วงล้อเพื่อทำการติดตั้งตะกั่วถ่วงล้อใหม่ให้ได้สมดุล คือเมื่อหมุนล้อบนเครื่องถ่วงล้อด้วยความเร็วแล้วล้อต้องหมุนได้นิ่งไม่มีอาการสั่นสะเทือน และควรทำทุก ๆ ล้อเพื่อให้รถมีความสมดุลขณะขับขี่

หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องถ่วงล้อใหม่ ของเดิมที่ถ่วงไว้แล้วใช้ไม่ได้หรือ คำตอบก็คือ “ไม่ได้” สาเหตุที่ใช้ไม่ได้เพราะมวลของยางแต่ละเส้นนั้นไม่ได้หนาแน่นเท่ากันในทุก ๆ จุดบนเส้นรอบวง ทำให้นํ้าหนักในแต่จุดบนเส้นรอบวงของยางไม่เท่ากันด้วย ถ้าไม่ทำการถ่วงล้อใหม่เวลาที่ล้อหมุนก็จะเกิดอาการสั่น โดยเฉพาะที่ล้อหน้าจะเห็นอาการได้ชัดเจนมาก เพราะล้อจะส่งอาการสั่นไปที่พวงมาลัย ส่งผลให้การควบคุมรถยาก ยางสึกหรอเร็ว และชิ้นส่วนอื่น ๆ ของระบบช่วงล่างก็พลอยมีอายุการใช้งานสั้นลงด้วย

นอกจากการถ่วงล้อโดยการถอดล้อออกมาติดตั้งบนเครื่องถ่วงล้อแล้ว ยังมีการถ่วงล้ออีกแบบที่เรียกว่าการ “ถ่วงจี้” มักจะใช้กับรถที่ไม่สามารถแก้ไขอาการสั่นของล้อได้โดยวิธีถ่วงล้อแบบปกติ เพราะอาการสั่นของล้ออาจจะเกิดจากความไม่สมดุลของชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น จานเบรก ลูกปืน และเพลาขับ

เครื่องถ่วงล้อแบบถ่วงจี้นี้จะมีล้อหมุนเข้าไปจี้กับแก้มยาง เพื่อทำการหมุนล้อและสังเกตอาการสั่นของล้อขณะติดตั้งอยู่กับรถ ดังนั้นถ้าการสั่นเกิดจากชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่หมุนไปพร้อมกับล้อก็จะแสดงให้เห็นและทำให้ช่างสามารถทำการถ่วงล้อได้อย่างแม่นยำขึ้น

หลังจากถ่วงล้อได้สมดุลแล้วก็มาถึงการ “ตั้งศูนย์” ซึ่งการตั้งศูนย์ก็คือการตั้งมุมต่างของล้อรถ โดยเฉพาะล้อหน้า ให้ถูกต้องตามค่าที่โรงงานกำหนดมา ซึ่งเมื่อคุณใช้รถไปในระยะทางไกล ๆ หลายหมื่นกิโลเมตร และยังต้องวิ่งบนเส้นทางที่ขรุขระ ค่าของมุมล้อต่าง ๆ ก็มักจะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ซึ่งเป็นเรื่องปกติ

สำหรับการตั้งค่าของมุมล้อนั้นต้องใช้เครื่องมือที่มีความแม่นยำและช่างที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปมุมล้อหน้าที่ต้องตั้งจะมีอยู่ 3 มุมหลัก ๆ คือ มุมโท มุมแคสเตอร์ และมุมแคมเบอร์

มุมโทคือมุมของล้อที่จะช่วยให้รถวิ่งได้ตรงและนิ่ง ผู้ขับสามารถควบคุมรถในทางตรงได้ง่าย แม้จะปล่อยมือเป็นเวลาสั้น ๆ บ้างก็ยังคงทิศทางตรง มุมโทของล้อนี้จะเห็นได้เมื่อมองจากด้านบนหลังคารถลงมาที่พื้น ถ้าตรงจุดกึ่งกลางของล้อซ้ายและขวาทั้งด้านหน้าและด้านหลังอยู่ในแนวขนานกัน มุมโทก็จะมีค่าเป็น “0” แต่ถ้าจุดกึ่งกลางของล้อซ้ายและขวาไม่ขนานกัน โดยด้านหน้าของล้อหุบเข้าหากันจะเรียกว่า “โทอิน” ในทางตรงข้ามถ้าด้านหน้าของล้อถ่างออกจะเป็น “โทเอาต์” โดยปกติมุมโทจะตั้งเป็น “0” หรือ “โทอิน” เล็กน้อย เพราะเมื่อรถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า จะเกิดแรงต้านจากพื้นถนน ทำให้ล้อด้านหน้าถ่างออกเล็กน้อยซึ่งทำให้มุมโทมีค่าใกล้หรือเท่ากับ “0”

มุมแคสเตอร์เป็นมุมของคอม้าในระบบช่วงล่างหน้าแบบปีกนกสองชั้น หรือมุมเอียงของโช้คอัพในระบบช่วงล่างแบบแม็คเฟอร์สันสตรัท ซึ่งถูกออกแบบให้ส่วนบนของสลักแกนล้อหรือโช้คอัพเอียงไปทางด้านหลังของตัวรถ ถ้านึกภาพไม่ออกก็ให้นึกถึงตะเกียบของรถจักรยาน การออกแบบมุมแคสเตอร์ให้เอียงไปเช่นนี้ นอกจากจะช่วยให้รถวิ่งได้ตรงเช่นเดียวกับมุมโทแล้ว ยังจะช่วยให้การเลี้ยวรถทำได้คล่องตัว และช่วยในการคืนตัวของพวงมาลัย และล้อหมุนกลับมาอยู่ในตรงหลังจากเลี้ยวรถแล้วอีกด้วย สำหรับมุมแคสเตอร์นี้ ถ้าเป็นรถใช้งานปกติส่วนใหญ่จะมีค่าตายตัวปรับไม่ได้

มุมแคมเบอร์เป็นมุมเอียงจากแนวดิ่งของล้อเมื่อมองจากด้านหน้ารถเข้าไป ถ้าจุดศูนย์กลางของล้อซ้ายและขวาในแนวดิ่งขนานกัน ค่าแคมเบอร์จะเป็น “0” แต่ถ้าปรับจุดศูนย์กลางของล้อด้านบนถ่างออกและด้านล่างหุบเข้าจะเป็นแคมเบอร์บวก ในทางตรงข้ามถ้าล้อด้านบนหุบเข้าและด้านล่างถ่างออกจะเป็นแคมเบอร์ลบ โดยปกติจะตั้งค่าแคมเบอร์ของล้อทั้ง 4 ล้อเป็นลบเล็กน้อย เพราะจะช่วยให้ทรงตัวได้ดีในทางโค้ง แต่สำหรับรถที่ไปโหลดเตี้ยมามาก โดยเฉพาะพวกที่ใช้ล้อหลังเป็นแบบมัลติลิงค์ จะเห็นว่าล้อมีค่าแคมเบอร์ลบมากกว่าที่ควร ซึ่งจะทำให้ยางสึกด้านในมากกว่าด้านนอก ทำให้ต้องสลับยางเร็วขึ้นและอายุการใช้งานของยางน้อยลงกว่ารถทั่วไปอีกด้วย

ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เพื่ออะไร

สลับยางแล้วต้องตั้งศูนย์ถ่วงล้อหรือไม่ 

 การสลับยาง ช่วยให้ยางสึกหรอสม่ำเสมอเท่ากันทุกๆ ตำแหน่งล้อ ทำให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้นโดยควรสลับยางทุก ๆ 10,000 กิโลเมตรสำหรับยางโครงสร้างแบบเรเดียล และ ทุกๆ 5,000 กิโลเมตร สำหรับยางโครงสร้างแบบธรรมดา 

ส่วนการตั้งศูนย์ล้อนั้น ผู้ใช้รถควรหมั่นสังเกตว่ารถที่ขับอยู่นั้น มีอาการผิดปกติหรือไม่ เช่น มีอาการดึงที่พวงมาลัยไปด้านใดด้านหนึ่ง หรือยางสึกหรอผิดปกติ หากมีอาการดังกล่าว ควรจะนำรถไปตั้งศูนย์ล้อ เพื่อความปลอดภัยในการบังคับควบคุมรถและยืดอายุการใช้ งานของยางรถยนต์

สำหรับการถ่วงล้อหากพบว่าในขณะขับขี่ที่ความเร็วใดก็ตาม แล้วมีอาการสั่นเต้นที่พวงมาลัย หรือตัวรถจนเกินปกติ แสดงว่ากระทะล้อ และยางขาดความสมดุลต้องทำการถ่วงล้อใหม่ แต่ทั้งนี้ การสั่นเต้นอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวกับยางก็ได้ เช่น กระทะล้อคดงอ หรือสภาพช่วงล่า สึกหรอหรือหลวม จึงควรให้ช่างผู้ชำนาญการตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัดอีกครั้ง

ถ้าหากรถยนต์ไม่มีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้น ก็อาจเพียงแค่ทำการตรวจเช็คตามระยะตามที่ระบุในคู่มือรถยนต์ยี่ห้อนั้นๆ

ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เพื่ออะไร

Credit : Supercar.net

ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ ทำยังไง

การตั้งศูนย์ถ่วงล้อนั้นจริง ๆ แล้วจะเป็นการทำงานที่แยกจากกันคือ “ตั้งศูนย์” กับ “ถ่วงล้อ” ส่วนมากการทำงานของช่างเวลาเปลี่ยนยางชุดใหม่จะเริ่มจากการ “ถ่วงล้อ” ก่อน โดยหลังจากที่ช่างทำการถอดยางเก่าและใส่ยางใหม่เรียบแล้ว ช่างจะดึงเอาตะกั่วถ่วงล้อของเดิมออก แล้วนำล้อไปติดตั้งบนเครื่องถ่วงล้อเพื่อทำการติดตั้งตะกั่วถ่วงล้อ ...

จำเป็นต้องตั้งศูนย์ถ่วงล้อไหม

แต่คำถามที่หลายๆคนสงสัยก็คือ จำเป็นหรือไม่ที่เราต้อง ตั้งศูนย์ ถ่วงล้อ หลังการ สลับยาง คำตอบก็คือ เราต้อง ถ่วงล้อ เพราะว่าด้วยการสึกของล้อที่มีไม่เท่ากันของยางทั้งคู่หน้าและหลัง ทำให้เสถียรภาพของรถขาดความสมดุล เราจึงจำเป็นต้อง ถ่วงล้อ ถ้าเป็นไปได้มีงบประมาณควรถ่วงทั้ง 4 ล้อจะดีมาก ส่วนการ ตั้งศูนย์ นั้น จะทำก็ต่อเมื่อ ...

ใส่ถ่วงล้อคืออะไร

การถ่วงล้อ คือ การหาสมดุลของล้อและ ยางรถยนต์ ซึ่งมีหน้าที่ช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การกระจายน้ำหนักของล้อและ ยางรถยนต์ ที่ไม่สม่ำเสมอ และปรับปรุงระบบล้อ และยางรถยนต์ ที่เสียสมดุลจากขับขี่ ถ้ารถยนต์ไม่ได้รับการถ่วงล้อ อาจทำให้ขณะขับขี่รถยนต์เกิดการสั่นสะเทือนและทำให้ ยางรถยนต์ สึกหรอ ไวกว่าปกติ

อาการแบบไหนควรต้องตั้งศูนย์

ยางรถยนต์ ส่งเสียงดังเอี๊ยดอ๊าด ขณะขับขี่ พวงมาลัยเอียงออกจากศูนย์กลาง ไปข้างใดข้างหนึ่ง พวงมาลัยสั่น ขณะขับขี่ด้วยความเร็ว รถยนต์ที่ได้รับแรงกระแทกจากขับขี่ตกหลุมบ่อหรือชนสิ่งกีดขว้าง ส่งผลระบบการตั้งศูนย์ล้อเสียหายได้