หัวข้อ ค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตร์

สำหรับผู้ที่ศึกษานอกสายงานรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสาตร์ อาจมีความสับสน หรือ เข้าใจผิดเกี่ยวกับงานวิจัย “การบริหารนโยบายสาธารณะ” ว่าแท้ที่จริงแล้วขอบข่ายอยู่ในรัฐศาสตร์ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์  บทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับ การทำวิจัยรัฐประศาสนศาสตร์ และ การทำวิจัยเกี่ยวกับการบริหารนโยบายสาธารณะ

การศึกษาในสาขา รัฐศาสตร์จะเรียนเรื่องการเมือง การปกครอง การเข้าสู่อำนาจ การลงจากอำนาจ  ส่วน รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นการศึกษาเรื่องการบริหาร การบริหารภาครัฐทั้งหมด  สำหรับ ประเทศไทยจะเรียนเรื่องการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค  และส่วนท้องถิ่น สาขาเอกย่อยๆ 1.นโยบายสาธารณะ  2. การบริหารทรัพยากรมนุษย์   3.องค์การและการจัดการ 4.กระบวนการยุติธรรม และยังเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับ Thailand 4.0 ประชาคมอาเซียน ทักษะทางด้านภาษาและเทคโนโลยีทางด้านไอที เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานของบัณฑิตในอนาคต

นโยบายสาธารณะเป็นขอบข่ายหนึ่งของ การศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งหมายถึง แนวทางกิจกรรม การกระทำ หรือการเลือกตัดสินใจของรัฐซึ่งได้ทำการตัดสินใจและกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำการกระทำที่ตามมาให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ด้วยการวางแผน การจัดทำโครงการ การกำหนด
วิธีการบริหารหรือกระบวนการดำเนินงาน การปฏิบัติงานที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและความต้องการของประชาชน

รัฐประศาสนศาสตร์  สามารถแนกเป็น 4 ลักษณะคือ กิจกรรมแห่งรัฐบาล ทางเลือกสำหรับการตัดสินใจของรัฐบาล แนวทางในการกระทำของรัฐบาล และ กฎหมาย สำหรับกรอบแนวคิดการศึกษา  นโยบายสาธารณะ สามารถสรุปออกเป็น 3 แนวคิด ได้แก่ การศึกษาทฤษฎี หรือ ตัวแบบของนโยบายขอบเขตของนโยบาย และกระบวนการของนโยบาย  กระบวนการทำวิจัยรัฐประศาสนศาสตร์ จึงอยู่ในกรอบของตัวแปรที่อยู่ใน 3 แนวคิดดังกล่าวนี้

นโยบายสาธารณะเป็นขอบข่ายหนึ่งของการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์หรือ การบริหารรัฐกิจ (Public Administration: PA) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะเรื่องของการดำเนินงานของระบบราชการเพื่อให้บริการประชาชนด้วยความเสมอภาคและยุติธรรม มีวิวัฒนาการ
เปลี่ยนกรอบความคิดทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์มาหลายครั้ง (สัญญา เคณาภูมิ, 2558) ดังนี้

ครั้งที่ 1 เรียกว่า The Politics/Administration Dichotomy เป็นจุดเริ่มต้นที่พยายามแยกตัวรัฐประศาสนศาสตร์ ออกจากรัฐศาสตร์

สำหรับครั้งที่ 2 เรียกว่า Principles of Public Administration (1927-1937) เรื่องหลักการการบริหาร

ส่วนครั้งที่ 3 : Public Administration as Political Science (1950-1970) รัฐประศาสนศาสตร์คือ รัฐศาสตร์

ต่อมาครั้งที่ 4 : Public Administration as Management (1956-1970) รัฐประศาสนศาสตร์คือการจัดการ

ครั้งสุดท้ายคือครั้งที่ 5 : Public Administration as a Public Administration (1970-1990) รัฐประศาสนศาสตร์คือ รัฐประศาสนศาสตร์ ครั้งที่6 : Governance (1990-ปัจจุบัน) หรือการจัดการภาครัฐ (Public Management)

ส่วนแนวโน้มในอนาคตขอบข่ายการศึกษา PA จำเป็นต้องศึกษาภารกิจการจัดการภาครัฐและเนื้อหาวิชาให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

อย่างไรก็ตาม Robert T. Golembiewski (1995, p. 240-246) ได้ยกเอาน โยบายสาธารณ ะ (Public policy) มาเป็นกรอบแนวคิดพื้นฐานของรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงวิชาการเพื่อจะ ทราบว่ารัฐบาลทำอะไร เหตุใดจึงกำหนดนโยบายนั้น และส่งผลกระทบอย่างไร และการศึกษาเชิงวิเคราะห์ นโยบายสาธารณะใช้เป็นพื้นฐาน ประกอบการตัดสินใจเลือกดำเนินนโยบายซึ่งเป็นภารกิจของ นักวิเคราะห์นโยบายหรือนักวางแผน สอดคล้องกับ วิรัช วิรัชนิภาวรรณ (2556, น. 3) ได้ระบุถึงขอบเขต ประเด็นหลักของรัฐประศาสนศาสตร์คือ นโยบายสาธารณะ ได้แก่

(1) ในมิติของกิจกรรมทุกอย่างที่รัฐ
ดำเนินการ เช่น การป้องกันประเทศ การยุติธรรม การจัดการศึกษา การสาธารณะสุข การดูแลความสงบ เรียบร้อยภายใน การคมนาคม การพาณิชย์ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ฯลฯ

(2) นโยบายสาธารณะก็เป็นหนึ่งมิติของศาสตร์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ ส่วน สัญญา เคณาภูมิ(2557, น. 2-10)กล่าวถึงขอบเขตการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ ประกอบด้วย (1) ภารกิจ (Tasks) หมายถึง สิ่งที่รัฐจะต้องท าให้เกิดมีขึ้นและมีความสมบูรณ์ไปอย่างต่อเนื่องเรียกว่า สินค้าและบริการสาธารณะ (2) วิธีการ(Mean)การผลิตและส่งมอบสินค้าและบริการสาธารณะ เรียกว่า วิทยาการบริหาร เช่น กระบวนการบริหาร ทรัพยากรการบริหาร จิตวิทยาการบริหาร เทคนิคการบริหาร และผลของการบริหาร หรือการดำเนินงาน และ (3) ตัวแสดง (Actors) ผู้มีบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนภารกิจของรัฐ จำแนกได้2 ประเภท ได้แก่ องค์การหรือหน่วยงานต่างๆ และ คนหรือทรัพยากรมนุษย์

คนทุกคนที่อยู่ในรัฐ หรือ เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของรัฐ นอกจากนั้น อุทัย เลาหวิเชียร (2550, น. 38-42) ระบุว่า การเมืองและนโยบายสาธารณะก็เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับรัฐประศาสนศาสตร์ เช่นเดียวกันกับ วรเดช จันทรศร (2543, น. 7-9) ที่กล่าวว่า วิชาวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับรัฐประศาสนศาสตร์

จะเห็นได้ว่านโยบายสาธารณะเป็นขอบข่ายที่สำคัญอย่างหนึ่งของการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่พยายามศึกษาว่ารัฐบาลเลือกทำและไม่ทำอะไรด้วยเหตุผลอย่างไร รัฐมีแนวทางปฏิบัติอย่างไรและการกระทำของรัฐก่อให้เกิดผลอย่างไร บทความนี้เป็นการนำเสนอขอบข่ายการศึกษานโยบายสาธารณะ
เพื่อให้เกิดความชัดเจน ในมุมมองทางวิชาการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อ การวางกรอบแนวคิดให้ชัดเจนไม่ว่าจะเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย กรอบแนวคิดทางการบริหารจัดการ หรือ กรอบแนวคิดการศึกษา ให้เกิดพัฒนาการมากยิ่งขึ้น

งานวิจัยรัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารนโยบายสาธารณะ ควรเริ่มจากความหมายของนโยบายสาธารณะ

คำว่า “นโยบาย” (Policy) มาจากศัพท์ว่า “นย+อุบาย” หมายถึง แนวทางหรืออุบายที่ชี้ทางไปสู่วัตถุประสงค์ ส่วนคำว่า “Policy” หมายถึง แนวทางปฏิบัติของบ้านเมืองหรือหมู่ชน มาจากรากศัพท์ภาษากรีก “Polis” ซึ่งหมายถึง เมืองหรือรัฐ ดังนั้นนโยบาย จึงหมายถึง หลักการและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนว
ดำเนินการ (จุมพล หนิมพานิช, 2552, น. 5) เป็นข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือรัฐบาล (Friedrich, 1963, p. 70) เป็นข้อความทั่วไปที่อธิบายถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการ จะบรรลุตามแนวทางดำเนินงาน (Knezevich, 1984, p. 217) เป็นการกระทำที่ไตร่ตรองและลึกซึ้งของ
ผู้บริหารระดับสูง (McNichols, 1977, p. 3) เป็นกรอบพื้นฐาน และแนวทางชุดหนึ่งซึ่งครอบคลุมการ ดำเนินงานทางธุรกิจภายใต้กรอบแนวคิดรวมของบริษัท (Chang and Campo-Folres, 1980, p. 7)

ดังนั้น นโยบายจึงหมายถึง ข้อความที่ให้แนวทางส าหรับการพัฒนาและการดำเนินงานของหน่วยงานหรือแผนงาน   ซึ่งเป็นกรอบที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการกระทำ หรือการปฏิบัติโดยมีการกำหนดเป้าหมายไว้ล่วงหน้าโดยไม่จำกัดว่าเป็นของรัฐบาล หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ

ส่วนคำว่า สาธารณะ หรือ Public คำไทยที่มักใช้แทน เช่น สาธารณะ ส่วนรวม มหาชน ราชการ รัฐ รัฐบาล เมือง บ้านเมือง แผ่นดิน ประชาคม ประชาชน หลวง กงสี (ปฐม มณีโรจน์, 2558) สาธารณะจึงเป็นเรื่องของส่วนรวม ความเป็นสาธารณะพิจารณาจาก

(1) เกณฑ์ความกว้างของผลกระทบ
และผลกระทบภายนอก ซึ่งเป็นกระทบกับสิ่งที่อยู่นอกวงของการกระทำ เช่น โรงงานปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ แต่ประชาชนได้รับผลกระทบทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ

(2) เกณฑ์ผู้เป็นเจ้าของงบประมาณดำเนินการ หรือเป็นที่มาของเงิน (Wamsley & Zald,1976)

(3) เกณฑ์ความตระหนักเรื่องสาธารณะคือสิ่งที่เอกชนทั่วไปไม่สนใจ เช่น การป้องกันประเทศ การรักษาพยาบาล การจัดการศึกษา ไฟฟ้า ประปา เป็นต้น
(4) เกณฑ์อำนาจที่ชอบธรรมของรัฐบาล เพราะเรื่องสาธารณะคือสิ่งที่รัฐเป็นผู้กำหนด

นักวิชาการนโยบายศาสตร์ได้นิยามไว้หลากหลายโดยความสนใจหรือวัตถุประสงค์ของการนิยาม เช่น กลุ่มที่เน้นการปฏิบัติ กับกลุ่มที่เน้นเลือกสรรสิ่งที่มีคุณค่าและการตัดสินใจ เป็นต้น

ความหมายของนโยบายสาธารณะในแง่มุมต่างๆ สามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. เป็นกิจกรรมแห่งรัฐบาล ดังนี้ กิจกรรมที่รัฐบาลตัดสินใจที่จะกระทำหรือไม่กระทำเป็นผลมาจากการจัดสรรค่านิยมของสังคม (David Easton, 1965, p.129) กิจกรรมที่กระทำโดยรัฐบาลซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดของรัฐบาล (Ira Sharkansky, 1971, p. 1) เป็นสิ่งที่รัฐบาลเลือกจะกระทำ
หรือไม่กระทำทั้งที่เป็นกิจวัตรและเกิดขึ้นในบางโอกาส (Thomas R. Dye, 1984, p.1) แนวทางการปฏิบัติหรือการกระทำที่จะต้องรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสังคม (James E. Anderson, 1994, pp.5-6)และ เป็นสิ่งที่รัฐบาลตกลงใจที่จะกระทำจริงๆ โดยประกอบไปด้วยชุดของการกระทำที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่พึงปรารถนา (Hugh Heclo, 1972, p. 85)

2. เป็นทางเลือกสำหรับการตัดสินใจของรัฐบาล ดังนี้ เป็นการตัดสินใจกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ (William Greenwood,1988) การตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมที่สังคมอนุญาตหรือ ห้ามมิให้กระทำการ (Lynton Caldwell,1970) การตัดสินใจของรัฐบาลซึ่งจะต้องมีการกระทำที่สม่ำเสมอเกี่ยวกับกิจกรรมที่มีพันธะผูกพันอย่างต่อเนื่อง (Heinz Eulau and Kennett Prewitt,1973, p. 465)ชุดของข้อเสนอเกี่ยวกับการกระทำของรัฐบาลภายใต้ ปัญหา อุปสรรค และโอกาส เพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชน (Carl J. Friedrich, 1967, p. 70)การกำหนดความชัดเจนของค่านิยมและความตั้งใจของสังคมซึ่งผูกพันกับงบประมาณและการบริการประชาชน (Mark Considine, 1994, pp. 3-6)

3. เป็นแนวทางในการกระทำของรัฐบาล ดังนี้ หลักการแผนงานหรือแนวทางการกระท าต่างๆ(Charles Jacop, 1966)แผนงานหรือโครงการที่รัฐกำหนดขึ้น (Harold lasswell and Abraham Kaplan,1970)แนวทางปฏิบัติที่รัฐบาลตั้งใจจะทำเพื่อแก้ปัญหาสาธารณะ (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2550) เป็นแนวทางที่รัฐบาลได้กระทำการตัดสินใจเลือกและกำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยมีวิธีการที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและความต้องการของประชาชน (มยุรี อนุมานราชธน,2553)เป็นแนวทางการปฏิบัติงานของรัฐโดยระบุถึงเป้าหมายและวิธีการให้บรรลุเป้าหมาย (ยุภาพร ยุภาศ, 2554)4. เป็นกฎหมาย นโยบายเป็นข้อความที่อาจเขียนไว้เพื่อชี้ให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายและความมุ่งหวังของรัฐบาล เช่น ตราพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ ภาษี และการดำเนินการอื่นๆ ที่เป็นมาตรการของรัฐบาลซึ่งจะดำเนินงานผ่านมาตรการของรัฐบาล (สมพร เฟื่องจันทร์, 2552)ดังนั้นสามารถกว่าได้ว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางกิจกรรม การกระทำ หรือการเลือกตัดสินใจ หรือกฎหมาย ของรัฐซึ่งได้ตัดสินใจและกำหนดไว้เพื่อชี้นำให้กระทำตามอันนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย

การทำวิทยานิพนธ์  ดุษฎีนิพนธ์  สารนิพนธ์ และงานวิจัยรัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารนโยบายสาธารณะ  จะมีหัวข้อ และเนื้อหาที่มีรากฐานมาจากแนวคิดและวิวัฒนาการดังที่กล่าวมาแล้ว

นักศึกษาที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ สารนิพนธ์ และงานวิจัยด้านรัฐประศาสตร์ หรือ รปศ.  สามารถเลือกสนามวิจัยที่เป็นองค์กรที่ตัวเองสนใจ หรือองค์กรที่ตัวเองกำลังปฏิบัติงานอยู่ และพิจารณาขอบข่ายเนื้อหาต่างๆ เหล่านี้ ว่าควรหยิบยกเนื้อหาสาระ เกี่ยวกับเรื่องใด เพื่อนำมากำหนดเป็นหัวข้อวิจัยรัฐประศาสานศาสตร์ ที่น่าสนใจต่อไป