องค์ประกอบของพฤติกรรมสุขภาพ

พฤติกรรมสุขภาพ แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ เป็นหนังสืออีกเล่มที่เป็นความพยายามอันหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีทางด้านพฤติกรรมสุขภาพให้กับนักสาธารณสุขในระดับพื้นที่ ให้เป็นอิสระจากความกลัวจนก่อเกิดเป็นความเชื่อมั่นกระทั่งสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีในการจัดการและแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ยังมุ่งหวังอีกว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจและเชื้อเชิญให้นักสาธารณสุขยุคใหม่หันมาให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวันไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการ จนสามารถสังเคราะห์เป็นปัญญาใหม่ เป็น “ปัญญาปฏิบัติ” ที่เกิดจากการหลอมรวมระหว่างความรู้ที่ได้จาก 3 ส่วน คือความรู้เชิงทฤษฎี ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติจริง และความรู้ที่เป็นผลมาจากการปฏิบัติ หรือตามที่ภาษาพระท่านเรียกว่า  ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ซึ่งผู้เขียนเชื่อมั่นว่าปัญญาปฏิบัตินี้เองที่จะสามารถปฏิรูปให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานและเป็นกุญแจดอกสำคัญในการสร้าง  สุขภาวะและคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งยังสามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของนักสาธารณสุขที่ทำงานในระดับชุมชนได้อย่างแท้จริง

พฤติกรรมสุขภาพ

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ครอบคลุมมิติสำคัญ ๆ ของแนวคิดและทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์ ทั้งหมด นับตั้งแต่พัฒนาการเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ครอบคลุมมิติสำคัญ ๆ ของแนวคิดและทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์ทั้งหมด นับตั้งแต่พัฒนาการของพฤติกรรมศาสตร์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมและมุมมองเกี่ยวกับสุขภาพ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพ ทฤษฎีและแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพระดับบุคคล ระหว่างบุคคล และระดับกลุ่มหรือชุมชน และในตอนท้ายเกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องมุมมองเชิงระบบเพื่อขยายมุมมองของนักสาธารณสุขจนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการทำความเข้าใจพฤติกรรมโดยเป็นองค์รวมและ การประยุกต์ใช้แนวคิดมุมมองเชิงระบบในการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์

พฤติกรรมสุขภาพ

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ครอบคลุมมิติสำคัญ ๆ ของแนวคิดและทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์ทั้งหมด นับตั้งแต่พัฒนาการของพฤติกรรมศาสตร์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมและมุมมองเกี่ยวกับสุขภาพ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพ ทฤษฎีและแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพระดับบุคคล ระหว่างบุคคล และระดับกลุ่มหรือชุมชน และในตอนท้ายเทั้งนี้ แม้ว่าผู้เขียนจะพยายามเขียนหนังสือเล่มนี้ด้วยท่วงทำนองที่เรียบง่าย กระชับ และเขียนให้อ่านง่ายมากที่สุดเพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่คิดไว้แต่แรกว่าต้องเป็นหนังสือที่สามารถช่วยให้ผู้ที่อ่านจนจบสามารถลดและละวางความกลัวลงได้ จนสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์ในงานของตนเองได้อย่างกล้าหาญและมุ่งมั่น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์จัดเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีคุณลักษณะบางประการที่ค่อนข้างจำเพาะเจาะจง เช่น มีองค์ความรู้เฉพาะตัวและมีคำศัพท์เฉพาะตัว ซึ่งอาจเป็นกำแพงขวางกั้นทำให้คนนอกวงการพฤติกรรมศาสตร์ท้อแท้หรือต้องใช้ความพยายามที่มากขึ้นเพื่อก้าวข้ามความรู้สึกแปลกแยกเหล่านี้ไป แต่ผู้เขียนเชื่อมั่นว่าเมื่อได้อ่านไปสักระยะหนึ่งจะทำให้ผู้อ่านเริ่มคุ้นชินและสนุกไปกับการอ่านเนื้อหาได้ตลอดทั้งเล่มก็เป็นได้

พฤติกรรมสุขภาพ

สุดท้ายนี้ แม้ว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์จะยังคงเป็นงานยากต่อไป แต่ผู้เขียนก็หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะพอมีประโยชน์ช่วยให้งานยากเหล่านี้กลายเป็นงานยากที่สนุก เป็นงานยากที่ท้าทาย และเป็นงานยากที่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากงานยาก ๆ เหล่านี้นี่เองที่นอกจากจะทำให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว ยังนำมา ซึ่งความรู้สึกปลื้มปีติยินดี และสามารถสร้างรอยยิ้มกว้างในหัวใจให้กับนักสาธารณสุขตัวเล็ก ๆ ที่ทำงานในชุมชนได้อย่างที่สุดเช่นกัน และแม้ผู้เขียนจะทุ่มเทความรักและเพียรพยายาม ในการศึกษา ค้นคว้า เรียบเรียง และจัดทำหนังสือเล่มนี้ตลอดระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้ มีความสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วก็ตาม หากยังเกิดข้อบกพร่องอันเนื่องจาก ความไม่รอบคอบและความรู้ที่ยังไม่ดีพอ ผู้เขียนขอรับผิดชอบความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทุกประการและหวังว่าจะได้รับการชี้แนะเพื่อปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป

พฤติกรรมสุขภาพ

1. พัฒนาการของพฤติกรรมศาสตร์

“เราจำเป็นต้องถอยหลังไปหลายก้าว กว่าจะกระโดดไปข้างหน้าได้ไกลที่สุด” ซึ่งก็ไม่ต่างกันนักกับการศึกษาเรื่องราวใด ๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้

ครูบาอาจารย์หลายท่านสอนเสมอว่า “อย่าเด็ดมาแต่ยอด อย่าตัดตอนเอาเฉพาะที่ต้องการใช้” เพราะเกือบทุก ๆ เรื่องราวที่เรากำลังสนใจใคร่รู้อยู่ในปัจจุบันล้วนมีจุดกำเนิดและพัฒนาการทางความคิดที่ต่อเนื่องยาวนานมานับพัน ๆ ปีหรืออาจนับเป็นร้อย ๆ ช่วงชีวิตของนักคิดกันทีเดียว ดังนั้น เราจึงต้องให้ความสำคัญอย่างมากกับประวัติศาสตร์และ ความเป็นมาของทุก ๆ เรื่องราวที่เรากำลังศึกษาอยู่ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้จนเกิดเป็นจินตภาพที่สามารถเชื่อมร้อยระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งหากละเลยไม่ให้ความสำคัญก็อาจจะเข้าข่ายเป็นผู้มักง่ายทางวิชาการที่ตัดและแปะมาเฉพาะเนื้อความ ที่เป็นประโยชน์สำหรับงานของตนซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเข้าใจแบบผิด ๆ ถึงขั้นหลงทิศ หลงทางกันก็มีไม่น้อย

ดังนั้น ก่อนที่เราจะศึกษาถึงแนวคิดทางด้านพฤติกรรมสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามที่ตั้งเป็นชื่อหนังสือนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีองค์ความรู้พื้นฐาน ในเรื่องพัฒนาการของพฤติกรรมศาสตร์เสียก่อน

เนื้อหาหลัก ๆ ในบทนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 กระบวนทัศน์ของการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์

ส่วนที่ 2 ศาสตร์ และศิลป์ของพฤติกรรมศาสตร์

พฤติกรรมสุขภาพ

2. พฤติกรรมสุขภาพ

ครั้งหนึ่ง ในห้องเรียนวิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ผู้เขียนเคยทดลองฉายภาพ…เด็กชายคนหนึ่งกำลังหันหน้าไปทางสนามฟุตบอล ที่หน้าผากมีรอยระบายด้วยสีเขียวและเหลืองเป็นรูปธงชาติของประเทศประเทศหนึ่ง และบริเวณแก้มทั้งสองข้างมีน้ำตาไหลนอง…

“ในภาพคุณเห็นพฤติกรรมอะไรบ้าง”

ผู้เขียนตั้งคำถามเชิงท้าทายให้นักศึกษาช่วยกันคิดและคำตอบที่ได้ส่วนใหญ่คือ…กำลัง  ดูบอล …กำลังร้องไห้…

แน่นอนที่สุดว่า คำตอบดังกล่าวไม่ผิด แต่ก็ยังอาจไม่ดีพอหากเปรียบเทียบกับความหมาย “ทั้งหมด” ของคำว่าพฤติกรรม

“แล้วคุณมีคำตอบที่ดีกว่านี้หรือไม่”

พฤติกรรมสุขภาพ (Health Behaviors) คือ คำสมาสที่เกิดจากคำ 2 คำ คือ คำว่า “พฤติกรรม” และ คำว่า “สุขภาพ” ทั้ง 2 คำมีความเชื่อมโยงกันและเป็นเงื่อนไขในการใช้อธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคำเหล่านี้เพื่อใช้เป็นฐานความรู้ในการศึกษาเรื่องแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพซึ่งจะเป็นเนื้อหาในบทต่อ ๆ ไป

เนื้อหาในบทนี้ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ

ส่วนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรม

ส่วนที่ 2 มุมมองและความหมายเกี่ยวกับสุขภาพ

ส่วนที่ 3 ความหมาย และประเภทของพฤติกรรมสุขภาพ

พฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ

3. ความรู้พื้นฐาน: ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพ

“No one theory will be right in all cases”

ปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อยสำหรับนักสาธารณสุข (มือใหม่) ที่เพิ่งได้รับมอบหมายภารกิจในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพใด ๆ ในระดับพื้นที่ก็คือ การเลียนแบบหรือทำซ้ำตาม “ผลงานต้นแบบ” ทั้งที่เป็นหลักสูตรหรือโปรแกรมสำเร็จรูปที่มาจากหน่วยงานส่วนกลางในกระทรวงสาธารณสุข และ/หรือผลงานดีเด่นที่เรามักคุ้นเคยกันดีในลักษณะที่เป็น Best practice โดยคาดหวังว่า “วิธีการตามแบบของเขา” จะสามารถช่วย “แก้ไขปัญหาของเรา” ให้ประสบความสำเร็จเหมือน ๆ กัน

อการเลียนแบบอาจเกิดได้หลายระดับ แต่การลอกเลียนแบบทั้งทฤษฎีและวิธีการศึกษาอาจเรียกได้ว่าเป็นมิจฉาทิฐิ ที่นอกจากจะทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเดิมที่มีอยู่ได้แล้ว ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาใหม่ที่จะทำให้สูญเสียทั้งงบประมาณและเวลา รวมถึงอาจก่อให้เกิดความรู้สึกไม่เชื่อมั่นทั้งของผู้ที่ถูกศึกษาและตัวผู้ทำการศึกษาเองด้วย

แต่ถ้าไม่ทำตามแบบของคนอื่น แล้วควรทำอย่างไร

จริง ๆ แล้ว ทฤษฎีด้านพฤติกรรมสุขภาพมีอยู่เป็นจำนวนมากและส่วนใหญ่มีความยืดหยุ่นและเป็นสากล ซึ่งเอื้อต่อการเลือกใช้และปรับประยุกต์ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพปัญหาและสภาพแวดล้อมของตนเองได้ แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบคือ บุคลากรสาธารณสุขเองที่ยังมีความลังเลสงสัยถึงความจำเป็นและประโยชน์ของทฤษฎีที่มักเกิดขึ้นตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้นโครงการ หรือถึงแม้จะเห็นด้วยว่าจำเป็นต้องใช้แต่ก็ยังขาดความความมั่นใจว่าจะเลือกใช้ทฤษฎีอย่างไรให้เหมาะสมอยู่ดี

ในบทนี้จึงมุ่งตอบสนองต่อปัญหาและข้อจำกัดดังกล่าวของนักสาธารณสุขในพื้นที่ โดยมีเนื้อหาหลัก ๆ 2 ส่วน คือ

              ส่วนที่  1  คำศัพท์ที่พบบ่อยในทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพ

              ส่วนที่  2  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎีและข้อพิจารณาในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพ

4. ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพระดับบุคคล

ตามที่ทราบแล้วว่า ทฤษฎีและแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพระดับบุคคลมีแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ว่าเป็นผลมาจากปัจจัยภายในบุคคลมากกว่าอิทธิพลจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวคิดนี้จึงมุ่งเน้นที่การจัดกระทำกับกระบวนการทางความคิดในระดับบุคคลเป็นสำคัญ

เนื้อหาในบทที่ 4 นี้จะกล่าวถึงทฤษฎีและแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพระดับบุคคลที่ได้รับการยอมรับและถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ประกอบด้วย

ส่วนที่ 1 แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ

ส่วนที่ 2 ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลและทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน

ส่วนที่ 3 แบบจำลองขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

              ซึ่งในแต่ละทฤษฎีและแบบจำลองจะประกอบด้วยเนื้อหาสำคัญ 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 พัฒนาการทางความคิด

ส่วนที่ 2 องค์ประกอบเชิงทฤษฎี ส่วนที่ 3 การประยุกต์ใช้ ส่วนที่ 4 ข้อควรพิจารณาเมื่อประยุกต์ใช้ และส่วนที่ 5 สรุปสาระสำคัญ

5. ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพระดับระหว่างบุคคล

ในสภาวะธรรมชาติ มนุษย์ทุกคนจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารและปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในสังคม ซึ่งปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นย่อมส่งอิทธิพลต่อความคิด ความรู้สึก และการกระทำของบุคคลนั้น ๆ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเสมอ ดังนั้น ลำพังทฤษฎีระดับบุคคลจึงอาจใช้อธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ได้ไม่สมบูรณ์นัก โดยเฉพาะกับพฤติกรรมที่มีความซับซ้อนและหรือมีสาเหตุมาจากพหุปัจจัย ซึ่งจำเป็นต้องนำทฤษฎีระดับระหว่างบุคคลมาใช้อธิบายร่วมกัน

เนื้อหาในบทที่ 5 นี้จะกล่าวถึงทฤษฎีและแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพระดับระหว่างบุคคลที่ได้รับการยอมรับและถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ประกอบด้วย

              ส่วนที่ 1 ทฤษฎีปัญญาทางสังคม

              ส่วนที่ 2 แนวคิดเรื่องเครือข่ายทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคม

6 ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพระดับกลุ่มหรือชุมชน

“ทารกหญิงคนหนึ่งถ้าเกิดในญี่ปุ่นหรือสวีเดนจะมีโอกาสมีอายุยืนมากกว่า 80 ปี ถ้าเกิดในบราซิลหรืออินเดียจะมีอายุยืนยาวประมาณ 72 ปีและ 63 ปี แต่ถ้าเกิดในแถบแอฟริกาในหลาย ๆ ประเทศ ทารกคนนั้นจะมีอายุยืนยาวน้อยกว่า 50 ปี” (ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย, 2552)

ข้อมูลข้างต้นสะท้อนถึงวิกฤตปัญหาสุขภาพที่เป็นผลจากความไม่เท่าเทียม ตามสุนทรพจน์ของ Bill Gates ที่อ้างถึงในหน้าแรกของบทนี้ได้เป็นอย่างดี และบ่งชี้ถึงความท้าทายของโลกในศตวรรษที่ 21 ที่มีสาเหตุจากปัจจัยต่าง ๆ ที่โยงใยอย่างซับซ้อนอยู่เบื้องหลัง หรือกล่าวได้ว่าเป็นปัญหาที่มีลักษณะเป็นพหุปัจจัย คือ มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่หลากหลาย เช่น การเมืองการปกครอง การศึกษา ระบบสาธารณสุข และสังคมและเศรษฐกิจ และมีลักษณะเป็นพหุระดับ คือ มีความครอบคลุมหน่วยวิเคราะห์ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน หรืออาจก้าวเลยไปถึงหน่วยทางสังคมใหม่ ๆ เช่น กลุ่มเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประชาคม และโลกไร้พรมแดน

แน่นอนที่สุดว่า หน่วยการวิเคราะห์ที่ขยายใหญ่ขึ้นกว่าระดับบุคคลและระดับระหว่างบุคคลมาสู่ระดับกลุ่มหรือชุมชนนี้ ย่อมทำให้นักสาธารณสุขต้องเผชิญกับโจทย์ปัญหาสุขภาพที่ท้าทาย ซับซ้อนและยากมากขึ้นที่ไม่สามารถจัดการหรือแก้ไขได้ด้วยลำพังทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง หรือเพียงทฤษฎีระดับใดระดับหนึ่งได้อีกต่อไป แต่จำเป็นต้องใช้ทฤษฎีในระดับมหภาค (Macro level) ที่ต้องประยุกต์ผสมผสานและบูรณาการทฤษฎีหรือแนวคิดที่หลากหลาย ทั้งจำนวนและระดับเพื่อให้ร่วมกันส่งผลทำให้เกิดผลลัพธ์ด้านสุขภาพตามที่คาดหวัง

เนื้อหาในบทที่ 6 นี้จะกล่าวถึงแบบจำลอง และแนวคิดพฤติกรรมสุขภาพระดับ กลุ่มหรือชุมชนที่ได้รับการยอมรับและถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ประกอบด้วย

ส่วนที่ 1 แนวคิดการเสริมพลังอำนาจ

ส่วนที่ 2 แบบจำลองการวางแผนและประเมินผลด้านสุขภาพ

ซึ่งเนื้อหาในแต่ละส่วนประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 พัฒนาการทางความคิด ส่วนที่ 2 องค์ประกอบเชิงทฤษฎี ส่วนที่ 3 การประยุกต์ใช้ ส่วนที่ 4 ข้อควรพิจารณาเมื่อประยุกต์ใช้ และส่วนที่ 5 สรุปสาระสำคัญ

7 มุมมองเชิงระบบ: ความเข้าใจพฤติกรรมอย่างองค์รวม

พฤติกรรมของมนุษย์เป็นเรื่องซับซ้อนและผูกโยงอยู่กับเหตุปัจจัยจำนวนมาก เช่น กรรมพันธุ์ ระบบชีวเคมีทางร่างกาย การกระตุ้นจากสิ่งเร้าทั้งจากภายในและภายนอกร่างกาย กระบวนการคิดและปัจจัยด้านจิตวิทยาในระดับบุคคล และปฏิสัมพันธ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลรอบข้างและสังคมที่อยู่อาศัย รวมถึงอิทธิพลทางด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบายสุขภาพในระดับชาติและภูมิภาค ซึ่งในสภาพตามธรรมชาติเหตุปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้อยู่อย่างเป็นอิสระจากกัน แต่มีความสัมพันธ์กันอย่างยุ่งเหยิงหรือไร้ระเบียบแบบแผนที่ แน่ชัด

หนทางเดียวที่จะทำให้เข้าใจถึงพฤติกรรมของมนุษย์ได้อย่างถ่องแท้ จึงจำเป็นต้องศึกษามันในแบบที่มันเป็นอยู่ ไม่ใช่ศึกษาภายใต้อุดมคติทางห้องทดลองที่จะสามารถควบคุมแยกส่วนและลดส่วนอะไรต่อมิอะไรได้ดั่งใจ อุปมาดั่งเช่น หากเราสนใจพฤติกรรมของนกนางนวลที่กำลังบินเล่นลมอยู่บนท้องฟ้าสีคราม ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะเข้าใจวิถีชีวิตของมันจากการเอามันมาขังไว้ในกรง ถอนขน และชำแหละอวัยวะออกเป็นส่วน ๆ

เอกสารอ้างอิง

ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. (2552). ถมช่องว่างทางสุขภาพในช่วงชีวิตเรา: บรรลุความเป็นธรรมทางสุขภาพด้วยปัจจัยสังคมที่กำหนดสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2), กรุงเทพฯ: คุณาไทย จำกัด (วนิดาการพิมพ์)  

Summary

พฤติกรรมสุขภาพ (Health Behaviors)

Article Name

พฤติกรรมสุขภาพ (Health Behaviors)

Description

พฤติกรรมสุขภาพ (Health Behaviors) คือ คำสมาสที่เกิดจากคำ 2 คำ คือ คำว่า “พฤติกรรม” และ คำว่า “สุขภาพ” ทั้ง 2 คำมีความเชื่อมโยงกัน

Author

Publisher Name

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร

Publisher Logo

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร

Health Behavior จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพ ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ พฤติกรรมมนุษย์ พฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ pdf มหาวิทยาลัยนเเรศวร ศูนย์หนังสือจุฬา สำนักพิมพ์จุฬา หนังสือพฤติกรรมมนุษย์ หนังสือพฤติกรรมสุขภาพ

Soraya S.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงไหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน

องค์ประกอบของพฤติกรรมสุขภาพมีอะไรบ้าง

ปัญหาสุขภาพหรือปัญหาสาธารณสุขในปัจจุบัน ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ พฤติกรรมการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ พฤติกรรมการเจ็บป่วย และ พฤติกรรมบทบาทผู้ป่วย กล่าวคือ บุคคลจะมีสุขภาพหรือจะป่วยเป็นโรคย่อมขึ้นอยู่กับพฤติกรรม การป้องกันโรคและเมื่อบุคคลเริ่มมีอาการผิดปกติ พฤติกรรมเจ็บป่วยในการแสวงหา ...

พฤติกรรมเพื่อสุขภาพคืออะไร

พฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง เป็นการกระทำหรือการปฏิบัติของบุคคลที่มีผลต่อสุขภาพ ซึ่ง เป็นผลมาจากการเรียนรู้ของบุคคลเป็นสำคัญ โดยแสดงออกให้เห็นได้ในลักษณะของการกระทำ และการไม่กระทำในสิ่งที่เป็นผลดี หรือผลเสียต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังรวมถึงความรู้และเจตคติที่มี ต่อสุขภาพด้วย ซึ่งสามารถวัดได้ด้วยการสังเกต การพูดคุย การสอบถาม ...

พฤติกรรมสุขภาพ 3 กลุ่มปัจจัยได้แก่อะไรบ้าง

3 สาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพประกอบด้วย 3 กลุ่มปัจจัย ด้วยกัน คือ ปัจจัยนำ (predisposing facters) ปัจจัยเอื้อให้เกิดพฤติกรรม (enabling factors) ปัจจัยเสริมแรง ให้เกิดพฤติกรรมต่อเนื่อง (reinforcing factors) ประเด็นสำคัญของระยะนี้คือ การระบุบ่งชี้ สาเหตุของพฤติกรรมได้อย่างถูกต้องจะเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การ ...

Preventive behavior for Health มีกี่ระดับ

▪การป้องกันระดับปฐมภูมิ (Primary prevention) ▪การป้องกันระดับทุติยภูมิ (Secondary prevention) ▪การป้องกันระดับตติยภูมิ (Tertiary prevention) การป้องกันระดับปฐมภูมิ (PRIMARY PREVENTION) ประกอบด้วยมาตรการในการป้องกันโรคเพื-อป้องกันการเกิดโรค