บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งมีพระนามว่าไชยสุริยาครองเมืองสาวัตถี มีพระมเหสีทรงพระนามว่าสุมาลี ครอบครองบ้านเมืองด้วยความผาสุก ต่อมาข้าราชการ เสนาอำมาตย์ประพฤติตนไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม จึงเกิดเหตุอาเพศ เกิดน้ำป่าไหลท่วมเมือง ผีป่าอาละวาด ทำให้ชาวเมืองล้มตายจำนวนมาก พระไชยสุริยากับพระมเหสีจึงลงเรือสำเภาแต่ก็ถูกพายุพัดจนเรือแตก พระไชยสุริยาและมเหสีขึ้นฝั่งได้ พระอินทร์จึงเสด็จมาสั่งสอนธรรมะให้ ทั้งสองพระองค์ปฏิบัติตามธรรมจึงเสด็จไปสู่สวรรค์

 

บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

พระไชยสุริยาเป็นพระราชาครองเมืองสาวะถี (สาวัตถี) มีมเหสีชื่อว่าสุมาลี  บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์  มีพ่อค้าต่างเมืองมาค้าขาย  ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข  ต่อมาพวกขุนนางผู้ใหญ่และข้าราชบริพารพากันประพฤติผิด ลุ่มหลงในกามคุณและอบายมุขต่าง ๆ ผู้มีอำนาจกดขี่ข่มเหงราษฎรจนเดือดร้อนกันไปทั่ว  การปกครองขาดความยุติธรรม  บ้านเมืองอยู่ในภาวะที่ขาดเสถียรภาพ ในที่สุดเกิดน้ำป่าไหลท่วมบ้านเมืองทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก  ผู้ที่รอดชีวิตก็หนีออกจากเมืองไปหมด  พระไชยสุริยาพามเหสีและบริวารพร้อมเสบียงลงเรือสำเภาหนีออกจากเมือง  เรือแตกเพราะถูกพายุ  บริวารทั้งหลายพลัดไปหมด  พระไชยสุริยาและนางสุมาลีขึ้นฝั่งได้พากันรอนแรมไปในป่า  ตกทุกข์ได้ยากอยู่หลายวัน  พระดาบสรูปหนึ่งเข้าฌานเห็นทั้งสองพระองค์เร่ร่อนอยู่ในป่าก็สงสาร  เพราะทราบว่าพระไชยสุริยาเป็นกษัตริย์ที่ดี  แต่ต้องเคราะห์ร้ายเช่นนี้เพราะหลงเชื่ออำมาตย์ที่ฉ้อฉล  พระดาบสจึงเทศนาโปรดทั้งสององค์ให้ศรัทธาถือเพศเป็นฤษีบำเพ็ญธรรมอย่างเคร่งครัดจนได้ไปเสวยสุขในสวรรค์

รวมนิทาน บทเห่กล่อม และสุภาษิตของสุนทรภู่. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529. (จัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อร่วมโครงการฉลอง 200 ปี กวีเอกสุนทรภู่  พ.ศ.2529)

ภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย, สมาคม. กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา. กรุงเทพฯ : สมาคมภาษาและหนังสือ, 2529.

กาพย์พระไชยสุริยาเป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่า เป็นแบบเรียนภาษาไทยที่มีมาแต่โบราณ นอกจากนี้ยังสอนเรื่องราวต่าง ๆ อีกมากมาก หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์และเนื้อเรื่องกันไปแล้ว เรื่องต่อไปที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ก็คือตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาค่ะ เรามาดูกันดีกว่านะคะว่าในกาพย์พระไชยสุริยาจะมีตัวบทไหนเด่น ๆ และมีคุณค่าอย่างไรบ้าง

 

ตัวบทที่น่าสนใจในกาพย์พระไชยสุริยา

 

ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์สุรางคนางค์ 28

บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา
บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

 

ความหมาย

ในบทนี้สอนเรื่องแม่กนและมีแม่ ก กา ผสมเล็กน้อย โดยเล่าผ่านเหตุการณ์เล่าถึงพระไชยสุริยาและพระนางสุมาลีต้องอาศัยและนอนในป่าทั้งที่เคยเป็นถึงกษัตริย์

 

คำศัพท์น่ารู้

ภูธร หมายถึง พระราชา

 

ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์ฉบัง 16

บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา
บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

 

ความหมาย

ในบทนี้สอนเรื่องแม่กงและแม่กน และพรรณนาเรื่องป่าว่ามีต้นไม้อะไรบ้างระหว่างเดินทาง

 

คำศัพท์น่ารู้

เถื่อน หมายถึง ป่า

 

ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์ฉบัง 16

บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา
บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

 

ความหมาย

เป็นบทสอนที่เรื่องแม่กงเช่นเดียวกับตัวบทก่อนหน้า แต่ในตอนนี้จะพรรณนาถึงสัตว์ในป่าพาส่งเสียงร้องกันอยู่ในป่า

 

ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์ยานี 11

บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา
บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

 

ความหมาย

บทนี้สอนเรื่องมาตราแม่กก เล่าเรื่องชีวิตของพระไชยสุริยากับนางสุมาลีขณะอยู่ในป่าว่ากำลังตกระกำลำบากเมื่อต้องจากบ้านเมืองมา ในป่ามีอะไรให้กินก็ต้องกิน ไม่ว่าจะเป็นผลไม้หรือเผามันเผาเผือกกินให้อิ่ม

 

ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์ยานี 11

บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา
บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

 

ความหมาย

บทนี้นอกจากจะเป็นการสอนมาตราตัวสะกดแม่กดแล้วยังเป็นบทอัศจรรย์อีกด้วย ซึ่งในที่นี้บทอัศจรรย์หมายถึงตัวเอกมีเพศสัมพันธ์กัน

 

คุณค่าของกาพย์พระไชยสุริยา

 

บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา
บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

 

คุณค่าในฐานะแบบเรียนภาษาไทย

สอนเรื่องมาตราตัวสะกด

มาตราตัวสะกดของไทยมีทั้งหมดดังนี้ แม่ ก กา แม่กน แม่กง แม่กก แม่กด แม่กบ แม่กม และแม่เกย(สมัยก่อนแม่เกวอถูกรวมอยู่ในแม่เกย) สุนทรภู่แบ่งเนื้อเรื่องเป็น 8 ตอน เพื่อใช้อ่านเทียบมาตราตัวสะกด

  1. แม่ก กา ใช้เริ่มตอนเล่าถึงความเป็นไปของผู้คนในเมืองสาวัตถี การเกิดอุทกภัย พระไชยสุริยาและทุกคนลงเรือหนีก่อนจะเกิดเหตุการณ์เรือแตกกลางทะเล
  2. แม่ กน ใช้เล่าตอนพระไชยสุริยากับนางสุมาลีที่ว่ายน้ำขึ้นบกมาได้สำเร็จก็เดินเร่ร่อนอยู่ในป่า
  3. แม่กง ใช้เล่าตอนเดินชมป่า
  4. แม่กก ใช้เล่าตอนเจอกับความลำบากในป่า
  5. แม่กด ใช้เล่าบทอัศจรรย์
  6. แม่กบ ใช้เล่าตอนพระฤๅษีเข้าณานทราบความเป็นไปในโลก
  7. แม่กม ใช้เล่าตอนเพราะฤๅษีเทศนาพระไชยสุริยา
  8. แม่เกย ใช้เล่าตอนพระไชยสุริยาบำเพ็ญศีลภาวนาจนได้ไปสวรรค์

 

สอนเรื่องคำประพันธ์

ลักษณะคำประพันธ์ของกาพย์พระไชยสุริยา คือ กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ เป็นคำประพันธ์ที่แต่งง่ายสำหรับผู้เริ่มต้น กาพย์ในเรื่องถูกยกเป็นต้นแบบเรื่องลักษณะคำประพันธ์ในแบบเรียนภาษาไทย

 

สอนเรื่องคุณธรรม

กาพย์พระไชยสุริยา สอนเรื่องเกี่ยวกับคุณธรรมมากมาย เรื่องที่โดดเด่นคือต้นเหตุของการเกิดภัยพิบัติที่มาจากจริยธรรมเสื่อมถอยของข้าราชการที่รังแกประชาชนและทุจริต จริยธรรมเสื่อมถอยในหมู่สงฆ์ หรือแม้แต่พฤติกรรมของประชาชนที่ไร้ศีลธรรมขึ้นทุกวัน พฤติกรรมของผู้คนในเมืองสาวัตถีที่ปรากฏในกาพย์พระไชยสุริยาเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมเมือง ทำให้เห็นว่าถ้าคนในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ฐานะอะไรแต่หากเป็นคนชั่ว ไม่อยู่ในศีลธรรมก็จะนำบ้านเมืองไปสู่ความพินาศ

 

บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา
บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ หลังจากได้เรียนรู้ทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะการประพันธ์ เนื้อเรื่องโดยย่อ มาจนถึงตัวบทเด่น ๆ และคุณค่าที่แฝงอยู่ในวรรณคดีแบบเรียนภาษาไทยอย่างเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาไปแล้ว นอกจากจะเป็นแบบเรียนที่ใช้เรียนมาตราตัวสะกดแล้ว กาพย์พระไชยสุริยายังสอนเรื่องจริยธรรมอีกด้วย ซึ่งสุนทรภู่ประพันธ์เรื่องนี้ไว้อย่างดีเยี่ยม เป็นแบบเรียนภาษาไทยที่ไม่น่าเบื่อเลยใช่ไหมล่ะคะ ทั้งนี้น้อง ๆ สามารถเข้าไปรับชมรับฟังคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้เลยนะคะ ในคลิปครูจะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับตัวบทเด่น ๆ ที่อาจจะเจอในข้อสอบค่ะ ไปดูกันเลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา
บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา
บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

ดูคลิป

แนะนำ

แชร์

บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา
บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

คำสุภาพ คำผวน สองขั้วตรงข้ามในภาษาไทย

คำสุภาพ และคำผวน คำสุภาพและคำผวน คือสองเรื่องในภาษาไทยที่ต่างกันสุดขั้ว ทั้งวิธีใช้ ความหมาย และความสำคัญ บทเรียนภาษาไทยวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับทั้งคำสุภาพ และคำผวนในภาษาไทย ว่าทำไมถึงต่างกันและสามารถใช้ในโอกาสใดได้บ้าง ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของคำสุภาพ     คำสุภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์เดิมให้เปลี่ยนไปในทางดีขึ้น เพื่อให้ดูสุภาพมากกว่าเดิม ใช้เมื่อต้องการหลีกเลี่ยงเรียกคำที่ไม่น่าฟัง หรือใช้กับคนที่อาวุโสกว่าก็ได้ อาจเรียกอีกอย่างว่าเป็นคำราชาศัพท์

บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา
บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

ปริมาตรของทรงกลม

ในบทความนี้จะกล่าวความหมายและหลักการในการคิดคำนวณหาปริมาตรของทรงกลม

บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา
บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

Describing People: การบรรยายบุคคลในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการบรรยายลักษณะบุคคลเป็นภาษาอังกฤษกันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย!

บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา
บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

Second Conditional Sentence: ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2

สวัสดีน้องๆ ม. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Conditional Sentence หรือ If Clause รูปแบบที่ 2 กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา
บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

โจทย์ปัญหาร้อยละ ฉบับประยุกต์

บทความนี้เราจะได้เรียนรู้วิธีการที่หลากหลายในการแก้ปัญหากับลักษณะโจทย์ที่มักจะพบบ่อยในการหาร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์

บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา
บทละครเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

โคลงโลกนิติ ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงโลกนิติ เป็นคำโคลงที่ถูกแต่งไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดูจากช่วงเวลาแล้ว น้อง ๆ หลายคนคงจะสงสัยว่าเหตุใดบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนโน้น ยังถูกนำมาเป็นบทเรียนให้คนรุ่นหลังสมัยนี้ศึกษาอยู่ โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์แบบใด ถึงได้รับการอนุรักษ์ไว้มาอย่างยาวนาน วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของโคลงโลกนิติกันค่ะ โคลงโลกนิติ ประวัติและความเป็นมา โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้แต่งที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นสุภาษิตเก่าที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นคำโคลง ต่อมา เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธ์) และประสงค์ให้มีการนำโคลงโลกนิติมาจารึกลงแผ่นศิลาติดไว้เป็นธรรมทาน เพื่อที่ประชาชนจะได้ศึกษาคติธรรมจากบทประพันธ์   ผู้แต่งโคลงโลกนิติ เดิมทีไม่มีปรากฏชื่อผู้แต่งที่ชัดเจนและไม่มีหลักฐานยืนว่าโคลงโลกนิติถูกแต่งขึ้นเมื่อไหร่ แต่นักวรรณคดีศึกษาคาดว่าโคลงโลกนิติแพร่หลายในสมัยกรุงศรีอยุธยา