ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผลงานด้านการแสดง

ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี (สกุลเดิม สุทธิบูรณ์; 25 ธันวาคม พ.ศ. 2446 – 24 กันยายน พ.ศ. 2543) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย ทั้งยังเป็นผู้คิดค้นท่ารำใหม่โดยยึดระเบียบแบบแผนตามประเพณีโบราณ และมีความสามารถในการประพันธ์บทโขนละคร เคยเป็นหม่อมในสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ถือเป็นหญิงสามัญชนที่ไม่ใช่ลูกหลานขุนนางคนแรกที่ได้เป็นสะใภ้หลวง หลังสามีทิวงคตจึงสมรสใหม่กับหม่อมสนิทวงศ์เสนี (หม่อมราชวงศ์ตัน สนิทวงศ์)

⚠️ Disclaimer: Content from Wikipedia ไทย language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.Last modified: December 13 2022 21:49:19
Wikipedia does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

  • หน้านี้แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:51 น.
  • เนื้อหาอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ CC BY-SA 3.0 เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น
  • Study in China 2023
  • Wiki News
  • Wiki Travel
  • Wiki Portals
  • Wiki Events
  • Portal Biography
  • Lists of celebrities
  • Lists of 2023 films
  • Wiki Featured Articles
  • Top 1000
  • Archives
  • Wiki Contents
  • Topviews Wiki ไทย
  • ไท: Wiki How To Do ?
  • Wiki Tips
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • เกี่ยวกับวิกิพีเดีย
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
  • ข้อกำหนดการใช้งาน
  • คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
  • ผู้พัฒนา
  • สถิติ
  • นโยบายการใช้คุกกี้

นามเดิม  ชื่อ  แผ้ว  นามสกุลเดิม คือ  สุทธิบูรณ์

          เกิด  เมื่อวันที่  25  ธันวาคม พ.ศ. 2466  ตรงกับวันศุกร์  เดือนยี่  ขึ้น 7 ค่ำ ปีเถาะ

          การศึกษา

                   พ.ศ. 2454  เมื่ออายุได้  8 ปี  ได้เข้าถวายตัวในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าอัษฎางค์ เดชาวุธ  กรมหลวงนครราชสีมา  โดยในชั้นต้นได้เข้าฝึกหัดนาฏศิลป์ต่อครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในราชสำนักขณะนั้น  ได้ออกแสดงเป็นตัวเอก  ในการแสดงถวายทอดพระเนตรหน้าพระที่นั่ง  ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหลายครั้ง

          พื้นความรู้วิชาสามัญ

                   จบการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนในวังสวนกุหลาบ  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

          การสมรส 

                   ต่อมาได้เป็นหม่อมในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้าอัษฏางค์เดชาวุธ  กรมหลวงนครราชสีมา

          ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสังคมในต่างประเทศ

                   ได้เคยติดตามร่วมไปกับพลตรี  หม่อมสนิทวงศ์เสนี  (ม.ร.ว.ตัน  สนิทวงศ์) เมื่อครั้งไปรับราชการเป็นทูตทหาร  ณ  ประเทศฝรั่งเศส  อังกฤษ  อิตาลี  และโปรตุเกส

          ความรู้ทางนาฏศิลป์

                   ได้รับการฝึกหัดอบรมจากครูนาฏศิลป์ในราชสำนัก  เช่น  เจ้าจอมมารดาวาด (ท้าววรจันทร์)  ในรัชกาลที่ 4  เจ้าจอมมารดาเขียน  (ร.4)  เจ้าจอมมารดาทับทิม (ร.5)  หม่อมแย้ม  (อิเหนา)  ในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริวงศ์   หม่อมอึ้ง ในสมเด็จพระบัณฑูรฯ  จนมีความชำนาญและแสดงเป็นตัวเอกในการแสดงถวายทอดพระเนตรหน้าพระที่นั่งหลายเรื่อง  เช่น  เป็นตัวอิเหนา และนางดรสา ในเรื่องอิเหนา  เป็นตัวทศกัณฐ์และพระพิราพในเรื่องรามเกียรติ์  เป็นตัวนางเมขลาฯลฯ

          การรับราชการ

                   เข้ารับราชการเป็นลูกจ้างชั่วคราว  ในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย  กองการสังคีต  กรมศิลปากร  กระทรวงศึกษาธิการ  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาฝ่ายวิชานาฏศิลป์ของสถาบันการศึกษา  องค์การ  และเอกชนอื่นๆ

          ผลงาน

                   ผลงานเกี่ยวกับการแสดงศิลปะนาฏกรรม  เช่น  ท่ารำของตัวพระ  นาง ยักษ์  ลิง และตัวประกอบ การแสดงโขน  ละครชาตรี  ละครนอก  ละครใน  ละครพันทาง  และระบำฟ้อนต่างๆ  เป็นผู้คัดเลือกการแสดง  จัดทำบทและเป็นผู้ฝึกสอน  ฝึกซ้อม  อำนวยการแสดงถวายทอดพระเนตรหน้าพระที่นั่ง  ในวโรกาสต้อนรับพระราชอาคันตุกะ  อาคันตุกร  และงานของรัฐบาล  หน่วยงานองค์กรต่างๆ  จัดต้อนรับเป็นเกียรติแก่แขกผู้มาเยือนประเทศไทย  เป็นผู้คัดเลือกตัวละครให้เหมาะสมตามบทบาทในการแสดงต่างๆ  เป็นผู้คัดเลือกการแสดงวางตัวศิลปินผู้แสดงต่างประเทศเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี  และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นผู้ฝึกสอนและอำนวยการฝึกซ้อมในการแสดงโขน  ละคร  การละเล่นพื้นเมิง  ระบำรำฟ้อนต่างๆ ที่กรมศิลปากรจัดแสดงแก่ประชาชน  ณ  โรงละครแห่งชาติ  สังคีตศาลา  ในต่างจังหวัดและทางสถานีโทรทัศน์ต่างๆ  ตลอดทั้งร่วมในงานของหน่วยราชการ  องค์กร  สถาบันการศึกษา  และเอกชน  เป็นวิทยากรบรรยายและตอบข้อซักถามในการอบรมวิชานาฏศิลป์และวรรณกรรม และเป็นที่ปรึกษาในการสร้างนาฏกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นด้วย

                   ในด้านบทวรรณกรรมสำหรับใช้แสดง  ได้ค้นคิดปรับปรุง  เสริมแต่งให้เหมาะสมกับยุคสมัย  ดำเนินไปโดยถูกต้องตามระเบียบแบบแผนอันมีมาแต่ดั้งเดิม  เช่น  บทละครเรื่องอิเหนา  ตอนเข้าเฝ้าท้าวดาหา  ตอนลมหอบ  ตอนอุณากรรมชนไก่  ตอนบุษบาชมศาล  ตอนศึกกระหมังกุหมิง  ตอนประสันตาต่อนัก   เรื่องสังข์ทอง  ตอนเลียบเมือง  ตอนเลือกคู่หาปลา  ตอนตีคลี  ตอนนางมณฑาลงกระท่อม  เรื่องขุนช้างขุนแผน  ตอนพลายเพชรพลายบัวออกศึก  ตอนพระไวยแตกทัพ  เรื่องไกรทอง  ตอนที่ 1 ตะเภาแก้ว  ตะเภาทอง  และบริวารไปเล่นน้ำ  ตอนที่ 2 ตามนางวิมาลากลับไปถ้ำ  เรื่องพระอภัยมณี  ตอนพบนางละเวง  ตอนนางละเวงพบดินถนัน  ตอนหนีนางผีเสื้อสมุทร  เรื่องไชยเชษฐ์  ตอนนางสุวิญชาถูกขัน  ตอนที่ 1  และตอนที่ 2  เรื่องมโนราห์  บางตอนเกี่ยวกับพรานบุญ เรื่องรถเสนบาง เรื่องแก้วหน้าม้า ตอนถวายลูก เรื่องสังข์ศิลป์ชัย ตอนท้าวเสนากุฏเข้าเมือง เรื่องเงาะป่า  เรื่องคาวี  ตอนได้นางใจกลองศึก  เรื่องสุวรรณหงส์  ตอนเสี่ยงว่าว-ชมถ้ำ   บทโขน ตอน ปราบกากนาสูร  ตอนไมยราพสะกดทัพ  ตอนศึกบรรลัยกัลป์  ตอนปล่อยม้าอุปการ

                   นอกจากนี้  ยังได้คิดประดิษฐ์กระบวนท่ารำขึ้นใหม่ไว้อีกมาก  เช่น  กระบวนท่าร่ายรำในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1-2  กระบวนท่าร่ายรำในการแสดงนาฏกรรมของกรมศิลปากร  และกระบวนท่าร่ายรำชุดต่าง ๆที่กรมศิลปากรจัดแสดง

                   ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฏีมาลา  เข็มศิลปวิทยา  เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514

ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ถึงแก่กรรมเมื่อ 24 กันยายน พ.ศ. 2543 อายุ 98 ปี

ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ได้ประดิษฐ์ผลงานชิ้นใด *

การแสดงนาฏศิลป์ไทย "ลาวกระทบไม้" ซึ่งลีลาท่ารำส่วนหนึ่ง เป็นการคิดประดิษฐ์ของท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผลงานดีเด่น/ผลงานที่สร้างชื่อเสียง ได้แก่การคิดประดิษฐ์ท่ารำสุโขทัย ท่ารำที่ปรับปรุงมาจากการแสดงละครตอนหนึ่ง ในเรื่องอิเหนา

ผลงานท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี มีอะไรบ้าง

รำลาวดวงเดือน ระบำสุขโขทัย รำซัดชาตรี โขนเรื่องรามเกียรติ์ชุดปราบกากนาสูร ล้วนเป็นผลงานการแสดงเด่นๆ ที่สับเปลี่ยนขึ้นเวที ย้อนรำลึกถึง หม่อมอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญตัวละครทุกบทบาท ดัดแปลงท่ารำพื้นฐานที่เนิบช้าให้กะทัดรัดงดงามแปลกตา ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี เป็นบุคคลสำคัญที่เป็นแรงหลักถ่ายทอดความรู้และพัฒนานาฏศิลป์ไทยมา ...

ท่านผู้หญิงแพ้ว สนิทวงศ์เสนี มีความสำคัญต่อการแสดงนาฏศิลป์ไทยอย่างไร

ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี (สกุลเดิม สุทธิบูรณ์; 25 ธันวาคม พ.ศ. 2446 – 24 กันยายน พ.ศ. 2543) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย ทั้งยังเป็นผู้คิดค้นท่ารำใหม่โดยยึดระเบียบแบบแผนตามประเพณีโบราณ และมีความสามารถในการประพันธ์บทโขนละคร เคยเป็นหม่อมในสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ถือเป็นหญิง ...

ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ประดิษฐ์ท่ารำอะไรบ้าง

ในการแสดงนาฏศิลป์ครั้งนี้ คณะผู้จัดงานได้คัดเลือกผลงานที่โดดเด่นของท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี มาจัดแสดงได้แก่ ระบำสุโขทัย รำฉุยฉายเฮนา นางพญาคำปินขอฝน ออกฟ้อนจันทราพาฝัน รำมโนราห์บูชายัญ ออกรำซัดชาตรี รำลาวดวงเดือน ละครนอกเรื่อง “คาวี” ตอนชุบตัวท้าวสันนุราชถึงคันธมาลีขึ้นหึง และโขนเรื่อง “รามเกียรติ์” ตอนปราบกากนาสูร ...

ผลงานท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี มีอะไรบ้าง ท่านผู้หญิงแพ้ว สนิทวงศ์เสนี มีความสำคัญต่อการแสดงนาฏศิลป์ไทยอย่างไร ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ประดิษฐ์ท่ารำอะไรบ้าง ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผลงานด้านการประดิษฐ์ท่ารํา ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดงด้านใด ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี มีความสําคัญต่อการแสดงนาฏศิลป์ไทยอย่างไร ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ได้รับการศึกษาด้านนาฏศิลป์จากที่ใด ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี วิธีการถ่ายทอดความรู้แก่ลูกศิษย์ ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี การศึกษา