Digital Marketing มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ความแตกต่างของ Digital Marketing กับ Online Marketing

หลายคนมีคำถามที่ชวนสับสนว่า Digital Marketing (ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง) กับ Online Marketing (ออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง) นั้นเหมือนกันหรือไม่? และแตกต่างกันอย่างไร?

Show

Online Marketing หรือ การตลาดออนไลน์ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ Digital Marketing นั่นเอง กล่าวคือเป็นอีกหนึ่งวิธีการในการทำตลาดออนไลน์

Online marketing (การตลาดออนไลน์) คืออะไร?

Online Marketing (ออนไลน์ มาร์เก็ตติ้ง) หรือ การตลาดออนไลน์ คือ วิธีการหนึ่งของ Digital Marketing โดย Online Marketing จะอาศัยอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์ให้เข้าถึงลูกค้า เช่น

  • Social Media
  • Website
  • Content Marketing
  • Email Marketing
  • Virtual Marketing

สรุปได้ว่า Online Marketing เป็นส่วนหนึ่งของ Digital Marketing นั่นเอง โดยที่การตลาดออนไลน์ต้องอาศัยอินเตอร์เน็ตในการดำนเนินการ ส่วน Digital Marketing นั้นใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่น Smart Phone เป็นสื่อกลางในการเข้าถึง

Digital Marketing ทำที่ไหนได้บ้าง

การทำ Digital Marketing นั้นก็สามารถทำได้หลากหลายแบบด้วยกัน ทั้งผ่าน Digital Marketing Channel และ Online Marketing ได้แก่

  • SEM หรือ Search Engine Marketing
  • Social Media Marketing
  • Email Marketing
  • Affiliate Marketing
  • Influencer Marketing
  • Marketing Automation

หรือคุณจะใช้บริการของ Rocket ที่ให้บริการด้าน รับทำการตลาดออนไลน์ ได้เช่นกัน

SEM

SEM หรือ Search Engine Marketing แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้

  1. Google Ads โดยช่องทางนี้จะเน้นไปที่เรื่องของเว็บไซต์เป็นหลัก เป็นการจ่ายเงินเพื่อซื้อโฆษณาของ Google ในรูปแบบ Search ทำให้เมื่อลูกค้าต้องการค้นหาสินค้าหรือบริการด้วยคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ ลูกค้าก็จะพบเว็บไซต์ของคุณขึ้นในหน้าแรกของ Google เพื่อให้ง่ายต่อการพบเห็น และเพิ่มโอกาสและช่องทางในการซื้อขาย
  2. SEO หรือ Search Engine Optimization เป็นการสร้างเนื้อหาหรือบทความบนเว็บไซต์ที่มีประโยชน์ต่อกลุ่มลูกค้า ทำให้เว็บไซต์ค้นหาเจอง่ายและติดอันดับที่สูงบน Google อีกทั้งช่วยเพิ่มจำนวนการเข้าถึงเว็บไซต์ โดยอาศัยคีย์เวิร์ดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณเช่นกัน นอกจากนี้การทำ SEO ยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของคุณได้อย่างดี

Social Media Marketing

Social Media Marketing เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์หรือเครื่องมือในการทำ Digital Marketing โดยเป็นการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายด้วย Digital Advertising, Digital Ad ผ่าน Social Media Platform ต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, Twitter, Youtube หรือ TikTok เป็นต้น ทั้งยังถือเป็นการทำ Digital Branding ไปในตัว ช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จักผ่านทางโซเชียลมีเดีย

สิ่งสำคัญของกลยุทธ์นี้คือการยิง Ads หรือการยิงโฆษณา จะทำอย่างไรให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งหากสินค้าหรือบริการที่โฆษณาออกไปแล้วไปตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการอุดหนุนสินค้าและบริการได้เป็นอย่างดี

ทาง Rocket ของเราก็มีบริการ รับยิงแอด และเกี่ยวกับ Social Media Marketing ด้วยเช่นกัน

Email Marketing

การทำ Digital Marketing อีกรูปแบบนั่นก็คือ Email Marketing โดยเป็นการอาศัยฐานข้อมูลราชื่อ Email ที่มีอยู่ จุดประสงค์เพื่อให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ หรือใช้งานร่วมกับ ระบบ CRM เพื่อแจ้งข่าวสาร โปรโมชั่น พัมนาความสัมพันธ์กับลูกค้าได้โดยตรง ซึ่งระบบ Loyalty Program ก็มีส่วนช่วยในการเก็บฐานข้อมูลจากลูกค้าได้เช่นกัน Email Marketing จึงช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของคุณได้เป็นอย่างดี

Affiliate marketing

Affiliate Marketing เป็นอีกหนึ่ง Digital Marketing และใช้งานกันอย่างแพร่หลายมานานแล้ว เพราะแบรนด์เองสามารถนำเอาลิงค์ของสินค้าหรือบริการของตนเองไปส่งต่อให้กับ เจ้าของสื่อหรือนายหน้า เช่น เว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียต่างๆไปประกาศ เพื่อโฆษณาโน้มน้าวให้ผู้ที่ติดตามไปซื้อสินค้านั่นเอง

โดยตัวของแบรนด์ก็จะได้ยอดขาย ทางเจ้าของสื่อหรือนายหน้าก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเป็นส่วนแบ่งรายได้จากแบรนด์ และลูกค้าก็ได้ซื้อสินค้าหรือบริการที่ตนเองต้องการ เรียกได้ว่าเป็น Performance Marketing ที่ได้รับประโยชน์กันทุกฝ่ายนั่นเอง

Influencer marketing

Influencer Marketing คือ การใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น ศิลปิน, ดารานักแสดง, Youtuber, Bloger มาช่วยโฆษณาลงบน Social Platform ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Youtube หรือ Tiktok เพราะการบอกเล่าพูดคุยแบบปากต่อปากเป็นการทำการตลาดที่ได้ผลมากที่สุดนั่นเอง นอกจากนี้คำพูดจากคนมีชื่อเสียงก็จะยิ่งทำให้สินค้าหรือบริการ รวมไปถึงแบรนด์น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นอีกด้วย แต่ก็ต้องเลือก Influencer ให้เหมาะสมกับสินค้าและบริการของคุณ เพื่อให้ดูเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

Marketing automation

Marketing Automation เป็นการตลาดที่นำเทคโนโลยีหรือซอฟต์แวร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการทำ Digital Marketing โดยจะช่วยศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า ทำให้สามารถเข้าใจลูกค้าได้มากขึ้น ส่งผลให้ทำการตลาดหรือจัดแคมเปญต่างๆได้อย่างตรงจุด และนอกจากนี้ยังทำให้การทำงานนั้นรวดเร็วและง่ายดายมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้ ระบบ CRM มาช่วยเหลือนั่นเอง

ในยุคนี้คำว่า Digital Marketing หรือ การตลาดดิจิทัล อาจจะคุ้นหูใครหลายๆ คนอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย เพราะ Digital Marketing คือ เครื่องมือ แบบแผน หรือวิธีการที่เหล่าผู้ประกอบการต้องใช้เพื่อให้ธุรกิจของตนเองอยู่รอดได้ในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนมาอยู่บนช่องทางออนไลน์กันเสียหมด

บทความนี้เราจะมาเผยความหมายที่แท้จริงว่า Digital Marketing คืออะไร แล้วเราจะสามารถใช้ประโยชน์ของการตลาดรูปแบบนี้ในการทำให้ธุรกิจของเราเติบโตขึ้นได้อย่างไรบ้าง จริงอยู่ว่าเรื่องเหล่านี้เราอาจเคยได้ยิน ได้ฟัง หรือได้อ่านจากสื่อต่าง ๆ มาบ้างแล้ว แต่ในบางมิติเราอาจจะมองข้ามไปก็ได้ เอาเป็นว่าเรามาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลย!

Digital Marketing มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

  • Digital Marketing คืออะไร?
  • ความแตกต่างของ Online Marketing และ Digital Marketing คืออะไร?
  • เครื่องมือ Digital Marketing คืออะไรบ้าง?
  • วัตถุประสงค์ของ Digital Marketing คืออะไร?
  • ประโยชน์ของ Digital Marketing คืออะไร?
    • ใช้งบได้อย่างคุ้มค่า รู้ว่าเงินไปลงตรงส่วนไหนบ้าง
    • มีข้อมูลมากมายเพื่อตัดสินใจ วัดผลได้
    • เข้าใจกระบวนการที่ได้มาซึ่งผลลัพธ์อย่างแม่นยำ
    • สื่อสารได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย
    • ง่ายต่อการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่และลูกค้าเก่า
  • ช่องทางการทำ Digital Marketing มีอะไรบ้าง?
    • Paid Search
    • SEO
    • Content Marketing
    • Social Media Marketing
    • Email Marketing
    • SMS Marketing
  • สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Digital Marketing
  • สรุป

Digital Marketing คืออะไร?

Digital Marketing คือ การทำการตลาดบนระบบดิจิทัลหรือบนช่องทางออนไลน์ หรือก็คือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งสามารถสื่อผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ทีวี (หากรับชมผ่านอินเทอร์เน็ต) ก็ล้วนนับเป็นเครื่องมือของ Digital Marketing ด้วยกันทั้งสิ้น โดยเราสามารถทำผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น  Facebook, Instagram, TikTok, Line, Twitter หรือผ่านระบบ Search Engine (Google, Bing, Yahoo) เป็นสื่อกลางในการส่งข้อความจากนักการตลาดดิจิทัลไปยังผู้บริโภคหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

ทั้งนี้ คำว่า “การตลาด” แบบปกติที่เรารู้จักและเข้าถึง คือคำที่ถูกนิยามถึงวิธีการที่ทำให้ธุรกิจเป็นที่รู้จัก ไปจนถึงการสร้างผลกำไรหรือผลตอบแทนจากการลงทุน ดังนั้น คำว่าการตลาดจึงไม่ได้หมายถึงการโปรโมตสินค้าหรือแบรนด์เพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมไปถึงกลยุทธ์การบริหารจัดการต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรด้วย เราจึงมักจะได้ยินเหล่าผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตลาดหลายท่านแนะนำให้ธุรกิจที่เกิดใหม่หรือคนที่กำลังคิดจะปั้นธุรกิจขึ้นมาให้ใส่ใจกับเรื่องการตลาดอย่างมากตั้งแต่เริ่มต้น นั่นเป็นเพราะการตลาดถือเป็นโครงสร้างสำคัญและเป็นตัวชี้วัดได้เลยว่าธุรกิจของเราจะรอดหรือจะร่วง

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในวงการธุรกิจมากขึ้น การทำการตลาดก็จำเป็นต้องเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ซึ่ง Digital Marketing เองก็เปลี่ยนช่องทางการโฆษณาไปยังแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยที่ยังคงต้องวิเคราะห์คู่แข่งออนไลน์และคำนึงถึง Customer Journey ที่ต่างออกไปด้วย ที่สำคัญ อุตสาหกรรมหรือธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือ SME ต่างก็ต้องให้ความสนใจกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพื่อให้ธุรกิจปรับตัวทัน รวมถึงสามารถสร้างยอดขายและเพิ่มกำไรได้อย่างครอบคลุม

Digital Marketing มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ความแตกต่างของ Online Marketing และ Digital Marketing คืออะไร?

ดังที่ได้กล่าวไปว่า ปัจจุบัน เราได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งเทคโนโลยี ที่ไม่ว่าอะไร ๆ ก็ปรับเปลี่ยนมาอยู่ในรูปแบบออนไลน์ เรียกได้ว่าความเป็นดิจิทัลนั้นแทรกซึมอยู่ในเกือบทุกส่วนของชีวิตประจำวันของเราเลยทีเดียว หนังสือพิมพ์ที่เราเคยอ่าน ก็กลายมาเป็นข่าวออนไลน์ที่สามารถดูได้ทันทีบนโทรศัพท์มือถือ หนังสือที่เราเคยซื้อเป็นเล่ม ๆ ก็กลายมาอยู่ในรูปแบบ E-book หรือแม้แต่ป้ายโฆษณาริมฟุตพาท ก็กลายมาเป็นป้ายจอ LED

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าความเป็นดิจิทัลก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอินเทอร์เน็ตเสมอไป เพราะสามารถทำได้บนอุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น LED Billboard ดังที่ได้ยกตัวอย่างไปข้างต้น ข้อความ SMS หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ บนมือถือที่สามารถใช้งานได้แบบไม่ต้องมีอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เพียงแค่เป็นช่องทางดิจิทัลที่แบรนด์สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ ก็ถือว่าเป็น Digital Marketing แล้ว

Digital Marketing มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

แล้วอย่างนี้ ความแตกต่างของ Online Marketing และ Digital Marketing คืออะไรล่ะ?

อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ Online Marketing เป็นหนึ่งในวิธีการทำ Digital Marketing นั่นเอง โดยตัวอย่างของ Online Marketing เช่น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย บล็อก อีเมล เป็นต้น

สรุปได้ว่า Digital Marketing คือการตลาดที่อาศัย ‘สื่อกลาง’ ที่เป็นช่องทางดิจิทัล หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการเชื่อมต่อ ส่วน Online Marketing คือการตลาดที่อาศัย ‘อินเทอร์เน็ต’ ในการสื่อสารและส่งข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์ให้ลูกค้าได้ทราบอย่างทั่วถึง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ – DIGITAL MARKETING กับ ONLINE MARKETING ต่างกันอย่างไร สองคำเรียกที่ทำใครหลายคนสับสน

เครื่องมือ Digital Marketing คืออะไรบ้าง?

จะเรียกว่าเป็นความท้าทายของนักการตลาดก็คงไม่ผิดนัก สำหรับเรื่องเครื่องมือในการทำการตลาดดิจิทัล เพราะหากเราเทียบกับการตลาดยุคก่อน (Offline Marketing) ก็จะมีพื้นที่หรือรูปแบบให้คนได้เสพสื่อกันอยู่ไม่กี่อย่าง เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ ป้ายบิลบอร์ด นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ใบปลิว แผ่นพับ หรือสื่อหลักอย่างโทรทัศน์ แต่เมื่อโลกเปลี่ยนมาเข้าสู่ยุคของดิจิทัลแล้ว เรามีทั้งเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชัน Streaming ไปจนถึง Search Engine ต่าง ๆ อย่าง Google เป็นต้น แพลตฟอร์มเหล่านี้ล้วนถือเป็นเครื่องมือ Digital Marketing ทั้งสิ้น เพราะแต่ละช่องทางก็จะมีประสิทธิภาพในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจ อีกทั้งเรายังสามารถทำ SEO (Search Engine Optimization) ให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับต้น ๆ บนหน้าแรกของ Google เพื่อเพิ่มจำนวนคนเข้าเว็บไซต์ (Traffic) ให้มากขึ้นได้อีกด้วย

โดยบทความนี้ จะขอแบ่งประเภทของเครื่องมือ Digital Marketing ตามจุดประสงค์ของการใช้งานออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่

  • Advertising & Promotion เครื่องมือสำหรับการทำโฆษณาหรือเพื่อการประชาสัมพันธ์
  • Social & Relationship เครื่องมือที่ช่วยให้แบรนด์ปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ส่วนใหญ่มักเป็นช่องทางในการสื่อสาร เช่น เว็บไซต์ อีเมล โซเชียลมีเดีย เป็นต้น
  • Content & Experience เครื่องมือในการสร้างคอนเทนต์ประสบการณ์ต่าง ๆ หรือสื่อ (Media) เช่น โปรแกรมทำเว็บไซต์และบล็อก โปรแกรมทำวิดีโอ โปรแกรมทำเกม CMS ฯลฯ เป็นต้น
  • Commerce & Sales เครื่องมือที่ช่วยในการขายของ เช่น แพลตฟอร์ม E-Commerce หรือระบบจัดการงานขายบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน
  • Data & Analytics เครื่องมือช่วยจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล ถือเป็นเครื่องมือที่จำเป็นมาก ๆ ในการทำการตลาดดิจิทัล เนื่องจากการที่เรารู้ข้อมูล จะช่วยให้เราสามารถทำธุรกิจต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ รู้ว่าควรปรับปรุงหรือพัฒนาส่วนไหนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ตัวอย่างเครื่องมือวัดผลข้อมูล เช่น Facebook Insight, Google Analytics เป็นต้น
  • Management เครื่องมือสำหรับการจัดการ ช่วยให้การทำงานเป็นระบบและคล่องตัวมากขึ้น รวมถึงลดการดำเนินงานซ้ำซ้อนที่ต้องใช้คนด้วย เช่น Project Management Tools เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของ Digital Marketing คืออะไร?

แน่นอนว่าสิ่งที่เราต้องการจากการทำการตลาดไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็ตาม คือผลสำเร็จในการทำธุรกิจ ซึ่งจะวัดเป็นกำไรหรือชี้วัดด้วยตัวแปรอย่างอื่นก็ได้ทั้งนั้น ยิ่งในทาง Digital Marketing ก็จะมีตัววัดผลลัพธ์ที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น  ROI, ROAS หรือ Lead เป็นต้น ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการทำการตลาดดิจิทัลจะผันแปรไปตามความต้องการของผู้ที่นำไปใช้ หากเราต้องการผลกำไรจากการทำธุรกิจ วัตถุประสงค์ Digital Marketing ของเราก็คือทำเพื่อให้ได้กำไร โดยอาจเลือกการทำการตลาดออนไลน์เป็น Conversion, Sales หรือ Lead 

ในขณะเดียวกันหากเราต้องการทำการตลาดดิจิทัลเพื่องานการกุศล วัตถุประสงค์ของเราก็คือการประชาสัมพันธ์แคมเปญ โดยอาจจะเลือกหากลุ่มบุคคลทำเพื่อ Brand Awareness ดังนั้น ในบทความนี้เราจึงจะขอแปลความหมายของวัตถุประสงค์ Digital Marketing ว่า “เป็นสิ่งที่ไม่มีกฎตายตัว ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะนำไปใช้เพื่ออะไร” ก็แล้วกัน

ประโยชน์ของ Digital Marketing คืออะไร?

ใช้งบได้อย่างคุ้มค่า รู้ว่าเงินไปลงตรงส่วนไหนบ้าง

การใช้งานบนแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อผู้คนส่วนมากจะเปิดให้บริการฟรี แต่ถ้าอยากเข้าถึงกลุ่มคนอย่างละเอียด เราสามารถซื้อพื้นที่โฆษณาออนไลน์เพื่อต่อยอดได้อีก ส่วนเรื่องงบก็ขึ้นอยู่กับเรา โดยสามารถทำแคมเปญโฆษณาออนไลน์ และวัดผลเพื่อการปรับงบ หรือโยกงบไปยังแคมเปญออนไลน์อื่น ๆ ที่อาจมีประสิทธิภาพมากกว่าได้ ซึ่งถ้าเทียบไปแล้วค่าใช้จ่ายอาจจะต่ำกว่าการลงบิลบอร์ดใหญ่ ๆ ที่ราคาแพงมาก และบางธุรกิจ เช่น ธุรกิจเล็ก ๆ อาจไม่มีกำลังซื้อ ดังนั้น การทำ Digital Marketing คือทางเลือกหนึ่งที่ไม่แพงนักสำหรับผู้เริ่มต้น หรือธุรกิจที่มีงบจำกัด

มีข้อมูลมากมายเพื่อตัดสินใจ วัดผลได้

บนโลกออนไลน์ การจะเห็นตัวอย่างของคู่แข่งที่ทำการตลาดดิจิทัลนั้นมีมากมาย และล้วนเป็นข้อมูลที่เราค้นหาได้ เพื่อเรียนรู้และนำมาสร้างกลยุทธ์ของตัวเองที่เหนือกว่า นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือวัดผลและโปรแกรมจากเว็บไซต์ต่างๆ มากมายที่ใช้วิเคราะห์ตลาด ตลอดจนแนวโน้มอุตสาหกรรมที่ให้เราวางแผนได้อย่างครอบคลุมที่สุด

เข้าใจกระบวนการที่ได้มาซึ่งผลลัพธ์อย่างแม่นยำ

เวลาทำแคมเปญต่าง ๆ ใน Digital Marketing นั้นมีหลายเครื่องมือมากที่สามารถเห็นพฤติกรรมของผู้คนที่เข้ามาหาธุรกิจเราบนออนไลน์ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ (เข้ามารู้จักแบรนด์และจบที่ปิดการขาย) เช่น Google Analytics, Google Search Console หรือ Tracking ต่าง ๆ ที่เราพยายามเก็บข้อมูลของคนที่ใช้งานออนไลน์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมรวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพแคมเปญของเราได้

สื่อสารได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

ในแต่ละแพลตฟอร์มที่เราสื่อสารไปในรูปแบบโฆษณาต่าง ๆ ทั้งภาพหรือเสียง เราสามารถกำหนด เพศ อายุ ความสนใจ หรือพฤติกรรมของพวกเขาได้ ดังนั้น ธุรกิจสามารถเลือกเข้าหากลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันได้

ง่ายต่อการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่และลูกค้าเก่า

เนื่องจากการทำ Digital Marketing มักทำผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละแพลตฟอร์มมีผู้ใช้ออนไลน์อยู่ตลอดเวลา แต่จะมีจำนวนมากหรือน้อยนั้นขึ้นกับช่วงเวลาเช่นกัน ดังนั้น หากต้องการเฟ้นหากลุ่มลูกค้าใหม่ หรือคอยสื่อสารกับลูกค้าเก่า ก็สามารถทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง และไม่ได้จำกัดแค่กลุ่มคนในที่ใดที่หนึ่ง แต่สามารถเลือกได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด

จึงอาจกล่าวได้ว่า ประโยชน์ของ Digital Marketing ก็อาจจะคล้ายกับหัวข้อวัตถุประสงค์ ว่าการทำการตลาดดิจิทัลจะได้ประโยชน์แค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่าคุณจะใช้ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ เข้าใจ Customer Journey และสามารถตอบสนองความต้องการพวกเขาได้ดีหรือเปล่า เพราะคงไม่มีองค์กร แบรนด์ หรือบริษัทใดที่ทำการตลาดดิจิทัลโดยไม่หวังผลตอบแทน เพราะท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Digital Marketing หรือการตลาดแบบดั้งเดิมก็ล้วนแล้วแต่ต้องมีงบประมาณในการลงทุน และคาดหวังกำไรทั้งสิ้น

Digital Marketing มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ช่องทางการทำ Digital Marketing มีอะไรบ้าง?

มาถึงส่วนที่หลาย ๆ คนน่าจะอยากรู้ ว่าแล้วถ้าหากเราอยากทำ Digital Marketing จะสามารถใช้ช่องทางไหนในการทำได้บ้าง ซึ่งความจริงแล้วการตลาดดิจิทัลนั้นมีหลากหลายรูปแบบมาก แต่บทความนี้ได้เลือกช่องทางที่เป็นที่นิยมมากที่สุดมาไว้ให้แล้ว บอกเลยว่าทุกคนสามารถเอาไปทำตามได้ทันที ไม่มีผิดหวังกับผลลัพธ์แน่นอน

Paid Searching คือ การทำการตลาดดิจิทัลบนช่องทางการค้นหา หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ PPC (Pay-per-click) กล่าวง่าย ๆ ได้ว่าคือการที่เราจ่ายเงินซื้อพื้นที่ให้เว็บไซต์ของเราขึ้นไปอยู่บนอันดับต้น ๆ บนหน้าแรกของ Google นั่นเอง ส่งผลให้เมื่อผู้ใช้งานค้นหาคีย์เวิร์ดที่มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของเรา ก็จะเจอเว็บไซต์เราเป็นอันดับแรก ๆ เพราะทาง Search Engine จะคัดเลือกเว็บไซต์ที่มีคำว่า Ad ขึ้นมาก่อน โดยจะเรียกเก็บเงินตามจำนวนที่มีคนคลิกเข้ามาที่เว็บไซต์

Digital Marketing มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

SEO

เรียกได้ว่าเป็นแนวทางที่ฮิตที่สุดในหมู่คนทำการตลาดออนไลน์เลยทีเดียว เพราะ SEO หรือ Search Engine Optimization คือวิธีที่จะช่วยดันเว็บไซต์และบทความของเราให้ขึ้นไปสู่หน้าแรกของ Search Engine หลังจากที่ผู้ใช้งานค้นหาสิ่งที่ตนเองต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการใช้คีย์เวิร์ดหรือการค้นหาด้วยเสียง (Voice Search) ที่ตรงกับเนื้อหาบนเว็บไซต์หรือบทความของเรา และการ Optimize ก็คือการปรับปรุงเว็บไซต์ เว็บเพจ หรือคอนเทนต์ของเราให้มีคุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้อ่าน และง่ายต่อการค้นหาของ Search Engine โดยยิ่งเราทำ SEO ได้ดีเท่าไร เว็บไซต์ก็ยิ่งมีโอกาสติดอันดับที่สูงขึ้น อันจะนำมาซึ่งจำนวนคนเข้าเว็บไซต์ (Traffic) ที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ทั้งนี้ การทำ SEO แตกต่างจาก PPC ตรงที่ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือน และต้องหมั่นติดตามอัปเดตของ Google Algorithm อยู่เสมอเพื่อปรับแก้คอนเทนต์ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ที่ Google ใช้พิจารณา และที่สำคัญเว็บไซต์ของเราจะไม่มีคำว่า Ad ติดอยู่เหมือนกับ PPC ด้วย

Content Marketing

Content Marketing ถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดของการทำ Digital Marketing เลยก็ว่าได้ เพราะคอนเทนต์คือ “สาร” (Message) ที่ธุรกิจหรือแบรนด์จะใช้บอกและปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นบล็อก โพสต์ในโซเชียลมีเดีย อีเมล ตลอดจนสื่อประเภทอื่น ๆ เช่น วิดีโอ รูปภาพ อินโฟกราฟิก (Infographic) เป็นต้น

ทั้งนี้ การทำคอนเทนต์ที่ดี ควรจะต้องมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน กล่าวคือ ต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อนว่าเราทำคอนเทนต์นี้ไปเพื่ออะไร โดยอาจเป็นการให้ความรู้ ให้แรงบันดาลใจ ให้ความบันเทิง หรือโน้มน้าวลูกค้า เป็นต้น ซึ่งถ้าหากคอนเทนต์ของเราตรงกับจุดประสงค์ในการค้นหาของกลุ่มเป้าหมาย เว็บไซต์ของเราก็จะยิ่งถูกคนคลิกเข้ามามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การทำ Content Marketing ยังเป็นหัวใจหลักของการสื่อสารผ่าน Digital Marketing ในวิธีต่าง ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาดบนโซเชียลมีเดีย (Social Media Marketing) การทำ Email Marketing หรือแม้แต่แคมเปญโปรโมตแบรนด์ก็ตาม และที่สำคัญ สิ่งที่เราต้องรู้เป็นอย่างแรกก็คือกลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร อยู่ในกลุ่ม Marketing Funnel ไหน โดยเราสามารถใช้หลักการ TOFU-MOFU-BOFU เพื่อการเขียนคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้ 

Social Media Marketing

หากพูดถึง Digital Marketing แล้วนั้น สิ่งที่เราจะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือการใช้โซเชียลมีเดียเข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำการตลาด เพราะสมัยนี้ไม่ว่าใคร ๆ ก็ต้องมีบัญชีโซเชียลฯ เป็นของตัวเองทั้งนั้น ส่งผลให้แพลตฟอร์มดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจำนวนมากและหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram หรือ TikTok ก็ล้วนแล้วแต่เป็นช่องทางการเข้าถึงสินค้าและบริการของแบรนด์ได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยหากเรารู้ว่าแพลตฟอร์มไหนที่มีกลุ่มเป้าหมายของเราอยู่เยอะที่สุด เราก็จะสามารถใช้สิ่งอำนวยความสะดวกบนแพลตฟอร์มนั้น ๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจของตนเองได้

Digital Marketing มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

Email Marketing

วิธีการสุดคลาสสิกที่มีมานานแต่ประสิทธิภาพยังคงเดิม ได้แก่ Email Marketing การทำการตลาดผ่านการส่งอีเมลหาลูกค้า วิธีนี้เป็นการทำการตลาดแบบ Owned Channel ที่เราครอบครองข้อมูลและรายชื่อผู้ติดต่อ (Contact) ของลูกค้าเอาไว้เอง อีกทั้งยังสามารถทำแบบอัตโนมัติได้อีกด้วย

อาจจะฟังดูเป็นวิธีที่เก่าไปสักนิด แต่ความจริงแล้วช่องทางนี้หลาย ๆ ธุรกิจก็ยังใช้กันอยู่ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการติดต่อสื่อสารแบบ B2B (Business to Business) เนื่องจากอีเมลคือช่องทางสากลในการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาส่วนลด หรือโปรโมตสินค้าใหม่ ตลอดจนขยายฐานกลุ่มเป้าหมายให้แพลตฟอร์มอื่น ๆ ของแบรนด์ เช่น แชร์บล็อก แชร์บทความด้วยการแนบลิงก์ไว้ในอีเมล แต่ข้อควรระวังคือ ควรส่งเฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าเท่านั้น หากส่งถี่เกินไปและเป็นข้อความที่ไม่มีแก่นสาร ก็จะทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ติดลบ เพราะอาจสร้างความรำคาญแก่ผู้รับนั่นเอง

SMS Marketing

อีกช่องทางหนึ่งที่ผู้ประกอบการนิยมใช้กันคือการทำ SMS Marketing เพราะสามารถทำได้บนโทรศัพท์มือถือ อันเป็นอุปกรณ์ที่ทุกคนต้องมี อีกทั้งจำนวนผู้ใช้ยังเพิ่มขึ้นทุกวันอีกด้วย

SMS Marketing นั้นทำได้โดยการส่ง SMS หรือยิงโฆษณาในแอปพลิเคชันของแบรนด์ โดยอาจมีการทำลิงก์แนบไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ ของแบรนด์ได้ เพื่อให้ลูกค้าเจอคอนเทนต์อื่น ๆ ของเรา และเพื่อเป็นการเพิ่ม Traffic

Digital Marketing มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Digital Marketing

ด้วยความที่เวลาเราทำการตลาดแบบเดิม อาจจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร โฆษณาในโทรทัศน์ ฯลฯ เราจะสามารถจับต้องได้ และเห็นว่าเงินที่เสียไปจะได้อะไรกลับมา เช่น เสียเงินสั่งพิมพ์ใบปลิว ก็จะได้ใบปลิวกลับมาเพื่อแจก แต่ในโลกของการตลาดดิจิทัลนั้นมีความแตกต่างกันเล็กน้อย เพราะบางอย่างเราอาจไม่สามารถสัมผัสหรือเข้าถึงได้ ณ เวลานั้นเสียทีเดียว เพราะต้องใช้ระยะเวลาในการวัดผล เรื่องนี้เองจึงทำให้ใครหลายต่อหลายคนมักเข้าใจผิดว่าการทำ Digital Marketing คือการทำแบบไม่ต้องลงทุนเยอะ ไม่มีเงินก็ทำได้ ซึ่งก็คงบอกได้ไม่เต็มปากว่าเป็นความคิดที่ผิด ทว่าก็ไม่ใช่เรื่องที่ถูกเช่นกัน เพราะปัจจุบัน แม้แต่แพลตฟอร์มที่เปิดให้เราใช้ฟรี ๆ อย่าง Google หรือ Facebook เวลาที่เราต้องการจะทำโฆษณาโปรโมตต่าง ๆ ก็ต้องใช้เงินในการซื้อระยะเวลาและพื้นที่สำหรับโฆษณาด้วยกันทั้งนั้น ยิ่งหากเราต้องการทำการตลาดแบบจริงจัง การลงทุนก็แทบไม่ต่างอะไรจากการตลาดแบบออฟไลน์เลยก็ว่าได้

Digital Marketing มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

สรุป

เมื่อเข้าใจแล้วว่า Digital Marketing คืออะไร วัตถุประสงค์ของมันมีไว้เพื่ออะไรและเราจะใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง สิ่งที่เราต้องทำต่อก็คือการวางกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจที่เราทำเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งผลลัพธ์ที่ว่านั้นก็ต้องเป็นตัวเราเองที่เป็นคนกำหนดว่าความสำเร็จในการทำการตลาดดิจิทัลของเราคืออะไร 

หากถามว่าระหว่างการตลาดดิจิทัลกับการตลาดแบบดั้งเดิมอันไหนดีกว่ากัน ก็ต้องตอบเลยว่า ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ เพราะทั้งสองแบบมีกระบวนการทำและเป้าหมายที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจว่าเลือกใช้แบบไหนจึงจะเหมาะสม เนื่องจากปัจจุบันนั้น การเลือกทำการตลาดให้ตรงกับรูปแบบธุรกิจ ตรงกับความต้องการยังถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดอยู่ นั่นหมายความว่าธุรกิจของเราอาจจะเหมาะกับการตลาดแบบเดิม หรือเหมาะกับการทำการตลาดทั้งสองแบบควบคู่กันไปก็ได้ แต่ถ้าเกิดต่อไปข้างหน้าการทำ Digital Marketing คือคำตอบสุดท้ายของทุกธุรกิจบนโลก ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของอนาคต แต่สำหรับวันนี้ หากเราอยากให้ธุรกิจของตนเองประสบความสำเร็จก็ควรจะรู้ก่อนว่าสิ่งที่ทำเหมาะกับการตลาดแบบไหน และคำตอบนั้นเราจะได้รู้ก็ต่อเมื่อเรารู้แล้วว่าลูกค้าของเราคือใคร