การเก็บภาษีแบบระบบเจ้าภาษีนายอากร

          - ตั้งธรรมยุตินิกาย โดยพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งผนวชอยู่ที่วัดมหาธาตุ ทรงสนใจศึกษาพระไตรปิฎก ทรงเห็นว่าพระสงฆ์สมัยนั้นไม่เคร่งครัดพระธรรมวินัย จึงต้องทำการสังคายนาใหม่ พระองค์ได้ทรงพบพระภิกษุรามัญรูปหนึ่งชื่อ ซาย เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมากจึงทรงยึดถือเป็นแบบอย่างและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ข้อปฏิบัติของพระองค์จึงผิดไปจากพระสงฆ์รูปอื่นๆ การห่มผ้าก็เป็นแบบรามัญ พระองค์ได้ย้ายที่ประทับมาอยู่วัดสมอราย (ราชาธิวาส) ทรงให้นามคณะสงฆ์ของพระองค์ว่า คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ส่วนคณะสงฆ์เดิมเรียกว่า คณะสงฆ์มหานิกา 

ต้นรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ต้องประสบปัญหาการเงินอย่างหนัก พระราชทรัพย์ในท้องพระคลังตามที่บัญชีระบุมีจํานวนเงิน 40,000 ชั่ง แต่ตัวเงินจริงกลับมีอยู่เพียง 20,000 ชั่ง หรือใน พ.ศ. 2414 เมื่อต้องพระราชทานเบี้ยหวัดพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ เป็นจํานวนเงิน 11,000 ชั่ง เจ้าหน้าที่พระคลังมหาสมบัติผู้รับผิดชอบด้านการเงินต้องวิ่งหาเงินจํานวนนี้ถวาย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เองได้ทรงกล่าวถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “เงินไม่พอจ่ายราชการ ต้องเป็นหนี้ตั้งแต่งานพระบรมศพตลอดมาจนถึงปีมะแม เป็นเงิน 100,000 ชั่ง” [3]

ในด้านการจัดเก็บภาษี ได้โปรดให้เปลี่ยนแปลงวิธีการเก็บภาษีอากรเสียใหม่ จากระบบเจ้าภาษีนายอากร มาเป็นทางราชการเป็นผู้เก็บเอง โดยในช่วงแรกได้ทดลองให้เทศาภิบาลบางแห่งจัดเก็บภาษีอากรเอง ปรากฏว่าได้ผลดี สามารถจัดเก็บภาษีอากร ได้เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก จึงโปรดให้เลิกวิธีการเรียกประมูลรับเหมาผูกขาดเก็บภาษีอากรจากราษฎรโดยสิ้นเชิง และให้เทศาภิบาลเก็บเองเหมือนกันหมดทุกมณฑล

ในด้านรายจ่าย พระองค์ได้ทรงวางพิกัดอัตราเงินเดือนให้แก่ข้าราชการตามตำแหน่งเป็นที่แน่นอนแทนเงินเบี้ยหวัดที่จ่ายแต่เดิม และยังพระราชทานเบี้ยบำนาญแก่ข้าราชการ เพื่อเป็นเครื่องเลี้ยง เมื่อรับราชการไม่ได้แล้ว โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2439 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรกอันเป็นแบบฉบับที่จะต้องทำงบประมาณแผ่นดินขึ้น

การจัดเก็บส่วยสาอากรทั้ง 4 ประเภท ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ถูกกำหนดเป็นรูปแบบการจัดเก็บต่อเนื่องมาจนถึงสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และตอนต้นรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบามสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ รัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องการใช้เงินในราชการมากกว่าแต่ก่อนพระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเป็นผลให้เกิดการจัดเก็บภาษีขึ้นใหม่ 38 ประเภท ทั้งนี้โดยเป็นภาษีที่เก็บจากการพนัน และจากผลผลิตประเภทต่างๆ จำแนกได้ดังนี้