ละครดึกดําบรรพ์

ละคร หมายถึงการแสดงรำที่เป็นเรื่องเป็นราว ดำเนินเรื่องไปโดยลำดับ มีตัวเอกของเรื่อง ฝ่ายชายเรียกว่าตัวพระ เพราะสมัยโบราณแสดงแต่เรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ เป็นเรื่องของกษัตริย์ มีชื่อว่าพระต่าง ๆ เช่น พระอนิรุทธิ์ พระไชยเชษฐ์ พระอภัยมณี ฝ่ายหญิงเรียกว่า ตัวนาง เพราะในเรื่องที่แสดงมักชื่อว่านางต่าง ๆ เช่น นางสีดา นางบุษบา นางทิพย์เกสร ยังไม่มีการแบ่งเป็นนางสาวและนางที่มีสามีแล้ว และตัวประกอบอื่น ๆ แล้วแต่ในเรื่องจะมีละครมีหลายแบบ แต่ละละครมีการแสดงและความมุ่งหมายแตกต่างกัน เช่น ละครโนรา ละครนอก ละครใน ละครถาม และละครดึกดำบรรพ์

ละครดึกดําบรรพ์
ละคร

ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการจดบันทึกโดย ซิมง เดอ ลาลูแบร์ ราชทูตแห่งราชอาณาจักรฝรั่งเศส ใน ปี ค.ศ. 1687 ถึงการแสดงละครสยาม ในราชสำนักของอยุธยาไว้ดังนี้

การแสดงประเภทที่เรียกว่า "ละคร" นั้นเป็นบทกวีที่ผสมผสานกัน ระหว่างมหากาพย์ และบทละครพูด ซึ่งแสดงกันยืดยาวไปสามวันเต็ม ๆ ตั้งแต่ ๘ โมงเช้า จนถึง ๑ ทุ่ม ละครเหล่านี้เป็น ประวัติศาสตร์ที่ร้อยเรียงเป็นบทกลอนที่เคร่งครึม และขับร้องโดยผู้แสดงหลายคนที่อยู่ในฉากพร้อม ๆ กัน และเพียงแต่ร้องโต้ตอบกันเท่านั้น โดยมีคนหนึ่งขับร้องในส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนที่เหลือจะกล่าวบทพูด แต่ทั้งหมดที่ขับร้องล้วนเป็นผู้ชาย ไม่มีผู้หญิงเลย ... ส่วน "ระบำ" นั้นเป็นการรำคู่ของหญิงชาย ซึ่งแสดงออกอย่างอาจหาญ ... นักเต้นทั้งหญิงและชายจะสวมเล็บปลอมซึ่งยาวมาก และทำจากทองแดง นักแสดงจะขับร้องไปด้วยรำไปด้วย พวกเขาสามารถรำได้โดยไม่เข้าพัวพันกัน เพราะลักษณะการเต้นเป็นการเดินไปรอบ ๆ อย่างช้า ๆ โดยไม่มีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว แต่เต็มไปด้วยการบิดและดัดลำตัว และท่อนแขน

ในส่วนที่เกี่ยวกับการแต่งกายของนักแสดงละครนั้น ลา ลูแบร์ ได้บันทึกไว้ว่า:

"นักเต้นใน "ระบำ" และ "โขน" จะสวมชฎาปลายแหลมทำด้วยกระดาษมีลวดลายสีทอง ซึ่งดูคล้าย ๆ หมวกของพวกข้าราชการสยามที่ใส่ในงานพิธี แต่จะหุ้มตลอดศีรษะด้านข้างไปจนถึงใต้หู และตกแต่งด้วยหินอัญมณีเลียนแบบ และมีห้อยพู่สองข้างเป็นไม้ทาสีทอง

หน้าหลัก > พจนานุกรมทั้งหมด > แปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน > ละครดึกดำบรรพ์

ละครดึกดำบรรพ์

ละครดึกดำบรรพ์

  • ละครดึกดำบรรพ์

    น. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยาอาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และใช้ดนตรีที่ปรับปรุงตามแบบคอนเสิร์ตของฝรั่ง ฉากสุดท้ายจะงดงามสง่าภาคภูมิ เช่น ละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา เรื่องคาวี ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน

ละครดึกดําบรรพ์

ละครดึกดำบรรพ์ภาษาอังกฤษ

ละครดึกดำบรรพ์ภาษาไทย ละครดึกดำบรรพ์ความหมาย Dictionary ละครดึกดำบรรพ์แปลว่า ละครดึกดำบรรพ์คำแปล

ละครดึกดำบรรพ์คืออะไร

ความหมายของ ละครดึกดำบรรพ์ จากพจนานุกรมเล่มอื่นๆ

    

ประเภทของละครไทย  ละครดึกดำบรรพ์

          ละคร เป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเรื่องราวมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท

คือ ละครรำและละครที่ไม่ใช่ละครรำ ซึ่งละครแต่ละประเภทมีลักษณะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

         ละครดึกดำบรรพ์ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ จากแนวคิดของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์

โดยเลียนแบบมาจากการแสดงโอเปร่าของยุโรป

           เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ให้กำเนิดละครดึกดำบรรพ์ คือ เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร)

  วิธีการแสดง ผู้แสดงต้องร้องเองรำเอง ไม่มีการบรรยายกิริยาของตัวละคร ผู้ดูต้องติดตามฟังการร้องและบทแทรกเจรจาของผู้แสดงเอง มีการสร้างฉากตามท้องเรื่อง

ละครดึกดําบรรพ์

    การแต่งกาย  ยืนเครื่องพระ-นาง

    ดนตรีและเพลงร้อง ใช้ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ซึ่งเป็นวงดนตรี
ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยยึดปี่พาทย์เครื่องใหญ่เป็นหลัก ตัดเครื่องดนตรีที่เสียงแหลม เช่น ฆ้องวงเล็กและระนาดเอกเหล็กอ่อน

    เรื่องที่แสดง ส่วนมากเป็นเรื่องเดียวกับละครนอก-ละครใน
เรื่องบทโขนของเดิม เช่น สังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย คาวี