หลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย

การประดิษฐ์อักษรไทย
        อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ
        อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง
        ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน
ประวัติและวิวัฒนาการ
        ราว พ.ศ. 400 ไทยได้อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชรียงและเมืองสุโขทัย ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิมให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด
        อักษรมอญและอักษรขอมที่เรานำมาดัดแปลงใช้นั้นล้วนแปลงรูปมาจากอักษรพราหมี ของพวกพราหมณ์ซึ่งแพร่หลายในอินเดียตอนเหนือ และอักษรสันสกฤตในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ซึ่งแพร่หลายบริเวณอินเดียตอนใต้ อักษรอินเดียทั้งคู่นี้ต่างก็รับแบบมาจากอักษรฟินิเชียนอีกชั้นหนึ่ง อักษรเฟนีเซียนับได้ว่าเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นแม่แบบตัวอักษรของชาติต่างๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป
        ราว พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น ซึ่งได้เค้ารูปจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ รวมทั้งอักษรมอญและเขมรที่มีอยู่เดิม (ซึ่งต่างก็ถ่ายแบบมาจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ทั้งสิ้น) ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสาม แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน
        อักษรไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ. 1900 มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว ญ ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้ คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2223 ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้นแต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัว ฎ และ ธ ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับในปัจจุบันมากที่สุด
อักษรไทย
พยัญชนะ
        พยัญชนะไทยมี 44 รูป แต่ละตัวมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค เสียงอ่านที่กำกับไว้คือเสียงเมื่อเป็นพยัญชนะต้น

หลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย

         1. ฃ และ ฅ เป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว
         2. อ ถือว่าเป็นเสียงว่างให้รูปสระมาเกาะ
         1. พยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย
             - อักษรสูง 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
             - อักษรกลาง 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
             - อักษรต่ำ 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ
หลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย

http://th.wikipedia.org/wiki/อักษรไทย
           ส่วนไทยอาหมคงสร้างตัวหนังสือขี้น ในระยะเวลาใกล้เคียงกับตัวหนังสือสุโขทัย ทั้งนี้เพราะคนไทยเพิ่งจะสร้างอาณาจักรเป็นปึกแผ่นกว้างขวางออกไปในระยะนั้น อย่างไรก็ดี นักอ่านศิลาจารึกหลายท่าน เชื่อว่า รูปตัวอักษรของไทยอาหมชี้ให้เห็นว่า อักษรไทยอาหมพึ่งเกิดใหม่หลังอักษรพ่อขุนรามคำแหงเป็นระยะเวลานานทีเดียว

             อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง  ใช้แพร่หลายในเขตล้านนา ล้านช้าง และกรุงศรีอยุธยา  ต่อมาชาวล้านนาและชาวล้านช้างเลิกใช้อักษรไทยสมัยกรุงสุโขทัยและใช้อักษรของพวกลื้อ ซึ่งเป็นอักษรไทยพวกหนึ่งแทน     ส่วนกรุงศรีอยุธยายังคงใช้อักษรไทยและดัดแปลงแก้ไขมาเป็นระยะ ๆ จนเป็นเช่นอักษรไทยปัจจุบัน
     ศิลาจารึกนี้นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่ใช้อ้างอิงได้ว่า รูปอักษรไทยได้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 1826 จากข้อความจารึกตอนหนึ่ง บนด้านที่ 4 บรรทัดที่ 8-11ความว่า“เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้....”

พูดถึงอักษรไทย แน่นอนว่าทุกคนก็ต้องรู้จักกันอยู่แล้วใช่ไหมคะ แต่รู้ไหมคะว่า อักษรไทยที่เราใช้กันในปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงไปจากครั้งที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชประดิษฐ์ไปมากเลย ทั้งจำนวนพยัญชนะ สระ หรือแม้กระทั่งวิธีการเขียน วันนี้เนื่องในวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทีมงาน Backbone MCOT ขอพาทุกท่านย้อนวันวาน ไปทำความรู้จักกับ “ลายสือไทย” อักษรที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชประดิษฐ์ ต้นแบบของอักษรไทยในปัจจุบันกันค่ะ


ลายสือไทย คือ รูปแบบอักษรที่ปรากฏในจารึกพ่อขุนรามคําแหงมหาราช หรือจารึกสุโขทัย หลักที่ 1 ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1826 (มหาศักราช 1205) ข้อมูลนี้ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 8-11 ว่า 

"...เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหง หาใคร่ใจในใจแลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้..."

หลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย


มีพยัญชนะ 39 ตัว และไม่มี 5 ตัว คือ ฌ ฑ ฒ ฬ ฮ


หลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย


สระ มี 20 รูป

แบ่งเป็นสระลอย 1 รูป คือ สระอี และสระจม 19 รูป ดังภาพด้านล่าง

หลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย

หลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย

ส่วนวรรณยุกต์มีเพียง 2 รูปเท่านั้น คือ เอก และโท

หลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย


เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เห็นได้ชัดว่าพยัญชนะบางตัวก็ยังมองออกว่าคืออะไร แต่บางตัวนี่ก็ต่างจากเดิมไปมากเลยนะคะ เพราะหลายปีผ่านมา ภาษาไทยเราก็มีการเปลี่ยนแปลง มีพยัญชนะเพิ่มขึ้น สระ หรือแม้กระทั่งเสียงวรรณยุกต์ ก็ถือว่าเป็นเรื่องราวสนุก ๆ ที่เรานำมาเล่าให้ฟังเนื่องในโอกาสวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนะคะ

หลักฐานที่บ่งบอกว่ามีการประดิษฐ์อักษรไทยคืออะไร

ลายสือไทย คือ รูปแบบอักษรที่ปรากฏในจารึกพ่อขุนรามคําแหงมหาราช หรือจารึกสุโขทัย หลักที่ 1 ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1826 (มหาศักราช 1205) ข้อมูลนี้ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 8-11 ว่า

ใครเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นตัวอักษรไทย

ตัวอักษรไทยที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงคิดค้นขึ้นนี้ ได้มีผู้นำไปใช้กันแพร่หลายต่อไปในประเทศใกล้เคียงในสมัยนั้น เช่น ในล้านช้าง ล้านนา และประเทศข้างฝ่ายใต้ของอาณาจักรสุโขทัย คือ กรุงศรีอยุธยา

ตัวอักษรภาษาไทยได้รับอิทธิพลจากอักษรของที่ใด

ราว พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น ซึ่งได้เค้ารูปจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ รวมทั้งอักษรมอญและเขมรที่มีอยู่เดิม (ซึ่งต่างก็ถ่ายแบบมาจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ทั้งสิ้น) ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสาม แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน

การประดิษฐ์อักษรไทยมีหลักการอย่างไรบ้าง

การประดิษฐ์ตัวอักษรของไทย เริ่มในสมัยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1826 โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงดัดแปลงมาจากอักษรของขอมและอักษรมอญโบราณ นำมาประดิษฐ์ใหม่เป็นตัวอักษรของชาติไทย ระยะแรกพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เรียงแถวกันในบรรทัดเดียวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ซึ่งบางตัวอยู่ข้างล่าง ข้างบน ข้างหน้า และข้างหลัง ...