สรุป เรื่องมหา เวสสันดร ชาดก

สรุป เรื่องมหา เวสสันดร ชาดก

ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก  กัณฑ์ มัทรี

ผู้แต่ง  เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ประวัติผู้แต่ง

เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รับราชการเป็นหลวงสรวิชิต แล้วไปเป็นนายด่านเมืองอุทัยธานีในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เลื่อนเป็นพระยาพิพัฒน์โกษาและเจ้าพระยาพระคลังเสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ สมัยรัชกาลที่ ๑

งานประพันธ์   อิเหนาคำฉันท์  ลิลิตเพชรมงกุฎ  บทมโหรีเรื่องกากี  สามก๊ก ราชาธิราช  ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตศรีวิชัยชาดก  ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ กุมารและ มัทรี

ลักษณะคำประพันธ์ 

เป็นร่ายยาว วิธีการแต่งยกคาถาบาลีขึ้นเป็นหลัก แล้วแปลแต่งเป็นภาษาไทยด้วยร่ายยาว

ที่มาของเรื่อง

มาจาก ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก หรือ “ทศชาติชาดก”

จุดประสงค์ในการแต่ง 

เพื่อนำหลักธรรมมาสั่งสอนประชาชน โดยเฉพาะ สตรี

ประกอบด้วยพระคาถา ๙๐ พระคาถา

เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์  ทยอยโอด

เนื้อหาย่อ

พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึกจนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม  แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทางจนค่ำ  เมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส  พระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ  จึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์  พระองค์ทรงตกพระทัยลืมตนว่าเป็นดาบส  จึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษพระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว  หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบนางจึงได้ทรงอนุโมทนา

บทวิเคราะห์คุณค่าด้านเนื้อหา

๑. รูปแบบ

           มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร่ายยาว  นำด้วยคำภาษาบาลีท่อนหนึ่ง  แล้วแต่งด้วยร่ายยาวมีคำบาลีแทรก  เป็นการใช้รูปแบบคำประพันธ์ได้เหมาะสมกับสาระสำคัญ  ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านมีความซาบซึ้งในความรักของผู้เป็นแม่ได้อย่างดียิ่ง

๒. องค์ประกอบของเรื่อง

        ๒.๑ สาระสำคัญ  เป็นการแสดงความรักของแม่ที่มีต่อลูกว่าเป็นความรักที่ยิ่งใหญ่  การพลัดพรากจากลูกย่อมนำความทุกข์โศกมาสู่แม่อย่างยากที่จะหาสิ่งใดเปรียบได้

        ๒.๒  โครงเรื่อง  มีการวางโครงเรื่องได้ดีโดยผูกเรื่องให้เทพบุตร  ๓  องค์นิรมิตกายเป็นสัตว์ร้ายมาขวางนางมัทรีไว้  จนกลับอาศรมได้ทันเวลาที่พระเวสสันดรจะให้ทานสองกุมารให้กับพราหมณ์ชูชก  เมื่อนางกลับมาแล้วไม่พบสองกุมารก็โศกเศร้าเสียพระทัยจนสลบไป  ต่อมาภายหลังได้ทรงทราบว่าพระเวสสันดรทรงให้ทานสองกุมารให้แก่พราหมณ์ชูชก  นางมัทรีก็คลายความเศร้าโศกพระทัย  และเต็มพระทัยอนุโมทนาในบุตรทานของพระเวสสันดร

 ๒.๓ ตัวละครมีลักษณะตัวละครสำคัญดังนี้

พระเวสสันดร  มีลักษณะสำคัญดังนี้

          ๑) มีคุณธรรมสูงเหนือมนุษย์  ยากที่มนุษย์ทั่วไปจะทำได้  ได้แก่การบริจาคบุตรทาน  คือพระชาลีและพระกัณหา  ซึ่งเปรียบเสมือนแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ให้เป็นทานแก่ชูชก  นับเป็นการบำเพ็ญทานอันยิ่งใหญ่ประการหนึ่ง

         ๒) มีความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์  เช่น  ทำการให้นางมัทรีต้องเจ็บพระทัย  เพื่อจะได้คลายความเศร้าโศกที่พระกุมารทั้งสองหายไป  เป็นการใช้จิตวิทยาเพื่อให้นางมัทรีคลายความเศร้าโศก มิเช่นนั้นนางอาจจะเศร้าโศกจนเกิดอันตรายได้

นางมัทรี  มีลักษณะสำคัญดังนี้

          ๑. มีความจงรักภักดีต่อพระสวามี

          ๒. เป็นยอดกุลสตรี  ปฏิบัติหน้าที่ภรรยาและมารดาได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน

          ๓. มีความอดทน  ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก

          ๔. มีจิตอันเป็นกุศล จึงอนุโมบุตรทานของพระเวสสันดร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี๒.๔  ฉากและบรรยากาศ

           ฉากเป็นป่าบริเวณอาศรมของพระเวสสันดร  ผู้แต่งบรรยายบรรยากาศได้สมจริง  และเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง  ดังปรากฏบทอาขยานที่นักเรียนท่องจำ

๒.๕  กลวิธีในการแต่ง

           แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร่ายยาวที่มีคาถาบาลีนำ  เป็นตอนที่ว่าด้วยนางมัทรีเข้าป่าไปหาผลไม้   กลับมาไม่พบพระกุมารผู้เป็นลูก  จึงออกตามหา

           ผู้แต่งเน้นให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ้งในการพรรณนาความรักของแม่ที่มีต่อลูก  รสวรรณคดีที่เด่นชัดที่สุด  คือ  สัลลาปังคพิสัย  รองลงมาคือ  พิโรธวาทัง  ซึ่งปรากฏในตอนที่พระเวสสันดรทรงเห็นนางมัทรีเศร้าโศก  จึงคิดหาวิธีตัดความเศร้าโศกนั้น  ด้วยการกล่าวบริภาษนางมัทรีว่า  คิดนอกใจไปคบกับชายอื่น

           นางมัทรีทรงเจ็บพระทัยเลยตัดพ้อพระเวสสันดรก่อนจะออกตามหาพระโอรสพระธิดา     ด้วยพระวรกายที่อิดโรยจนสลบไป  ตอนนี้เป็นช่วงที่สะเทือนอารมณ์และบีบคั้นหัวใจมาก  ส่งผลให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกสงสารและเห็นใจนางมัทรีที่ต้องสูญเสีย  แต่เมื่อทราบความจริงนางก็เข้าใจคลายความเศร้าโศกและอนุโมทนาทานบารมีกับพระเวสสันดร  ผู้อ่านก็เกิดความปีติใจ  นับว่าผู้แต่งได้ใช้กลวิธีในการนำเสนอได้อย่างสะเทือนอารมณ์  และน่าสนใจ

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

๑. การสรรคำ  กวีได้เลือกสรรคำที่สื่อความคิดได้ดีดังนี้

       ๑.๑ การใช้ถ้อยคำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ  กวีเลือกใช้คำได้เหมาะสมกับอารมณ์ที่ต้องการจะถ่ายทอด  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

            ๑) การใช้ถ้อยคำรำพึงรำพัน  เป็นการรำพึงรำพันบรรยากาศผ่านตัวละครที่ได้อารมณ์ความสะเทือนใจ  และตรงใจผู้เป็นแม่ในชีวิตจริงในทุกยุคทุกสมัย  เป็นการเพิ่มความรักความผู้พันให้ผู้อ่านและผู้ฟังที่เป็นแม่และลูกได้เป็นอย่างดียิ่ง ดังนี้

          “...เมื่อเช้าแม่จะเข้าสู่ป่า  พ่อชาลีแม่กัณหายังทูลสั่ง  แม่ยังกลับหลังมาโลมลูบจูบกระหม่อมจองเกล้าทั้งสองรา  กลิ่นยังจับนาสาอยู่รวยรื่น....ใครจะดอกพระศอเสวยนมผทมด้วยแม่เล่า  ยามเมื่อแม่จะเข้าที่บรรจถรณ์  เจ้าเคยเรียงหมอนนอนแนบข้างทุกราตรี  แต่นี้แม่จะกล่อมใครให้นิทรา...

      ๒) การใช้ถ้อยคำสำนวนเชิงตัดพ้อ  ให้ให้เกิดอารมณ์สงสารเวทยาและบีบคั้นจิตใจผู้อ่านผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้

          “....อกของใครจะอาภัพยับพิกลเหมือนอกของมัทรีไม่มีเนตร  น่าที่จะสงสารสังเวชโปรดปราณีว่ามัทรีนี้เป็นเพื่อนยากอยู่จริงๆ   ช่างค้อนติงปริภาษณาได้ลงคอไม่คิดเลย  พระคุณเอ่ยถึงพระองค์จะสงสัยก็น้ำใจของมัทรีนี้กตเวที  เป็นไม้เท้าก้าวเข้าสู่ที่ทางทดแทน  ......อุปมาเหมือน     สีดาอันภักดีต่อสามีรามบัณฑิต  ปานประหนึ่งว่าศิษย์กับอาจารย์   พระคุณเอ่ยเกล้ากระหม่อมฉานทำผิดแต่เพียงนี้   เพราะว่าล่วงราตรีจึ่งมีโทษ   ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรด  ซึ่งโทษโทษานุโทษกระหม่อมฉันมัทรี  แต่ครั้งเดียวนี้เถิด

๓) การใช้แสดงอารมณ์หึงหวงให้เจ็บแค้นเพื่อดับความโศกเศร้า ให้เกิดอารมณ์สงสารเวทยาและบีบคั้นจิตใจผู้อ่านผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้

          “....จำจะเอาโวหารการหึงเข้ามาหักโศกให้เสื่อมลง จึ่งเอื้อนโองการตรัสประภาษว่า (ดูกรนางนาฏ พระน้องรัก เจ้าผู้มีพักตร์อันผุดผ่องเสมือนหนึ่งเอาน้ำทองมาทาบทับประเทืองผิว ราวกะว่าจะลอยลิ่วเลื่อนลงจากฟ้า ใครได้เห็นเป็นขวัญตาเต็มจะหลงละลายทุกข์ปลุกเปลื้องอารมณ์ชายให้เชยชื่น จะนั่งนอนเดินยืนก็ต้องอย่าง) พร้อมด้วยเบญจางคจริตรูปจำเริญ โฉมประโลมโลกล่อแหลมวิไลลักษณ์ ประกอบด้วยเชื้อศักดิ์สมมุติวงศ์พงศ์กษัตรา เออก็เมื่อเช้าเจ้าจะเข้าป่าน่าสงสารปานประหนึ่งว่าจะไปมิได้ ทำร้องไห้ฝากลูกมิรู้แล้ว ครั้นคลาดแคล้วเคลื่อนคล้อยเข้าสู่ดง ปานประหนึ่งว่าจะหลงลืมลูกสละผัวต่อมืดมัวจึ่งกลับมา ทำเป็นบีบน้ำตาตีอกว่าลูกหาย ใครจะไม่รู้แยบคายความคิดหญิง ถ้าแม้นเจ้าอาลัยอยู่ด้วยลูกจริง ๆ เหมือนวาจา ก็จะรีบกลับเข้ามาแต่วี่วันไม่ทันรอน เออนี่เจ้าเที่ยวพเนจรนอนตามสนุกใจ ชมนกชมไม้ในไพรวันสารพันที่จะมี ทั้งฤๅษีสิทธ์วิทยาธรคนธรรพ์ เทพารักษ์ผู้มีพักตร์อันเจริญ เห็นแล้วก็น่าเพลิดเพลินไม่เมินได้

         ๔) การใช้คำซ้ำและกลุ่มคำที่มีพื้นเสียงเดียวกัน  ดังนี้

          “....อกแม่นี้ให้อ่อนหิวสุดละห้อย  ทั้งดาวเดือนก็เคลื่อนคล้อยลงลับไม้   สุดที่แม่จะติดตามเจ้าไปในยามนี้   ฝูงลิงค่างบ่างชะนีที่นอนหลับ    ก็กลิ้งกลับเกลือกตัวอยู่ยั้วเยี้ย   ทั้งนกหกก็งัวเงียเหงาเงียบทุกรวงรัง   แต่แม่เที่ยวเซซังเสาะแสวงทุกแห่งห้องหิมเวศ  ทั่วประเทศทุกราวป่า    สุดสายนัยนาที่แม่จะตามไปเล็งแล    สุดโสตแล้วที่แม่จะซับทราบฟังสำเนียง  สุดสุรเสียงที่แม่จะร่ำเรียกพิไรร้อง   สุดฝีเท้าที่แม่จะเยื่องย่องยกย่างลงเหยียบดิน   ก็สุดสิ้นสุดปัญญาสุดหาสุดค้นเห็นสุดคิด  จะได้พานพบประสบรอยพระลูกน้อยแต่สักนิดไม่มีเลย 

๒. การใช้โวหาร  กวีได้เลือกใช้สำนวนภาษาก่อให้เกิดจินตภาพ  ดังนี้

         ๒.๑  การใช้อุปมาโวหารที่แสดงความเศร้าโศกของนางมัทรีจนสลบไป  เป็นจุดเด่นของกัณฑ์มัทรีที่ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจด้วยความสงสาร  การใช้ถ้อยคำแสดงความสามารถของกวีในการประพันธ์ได้อย่างชัดเจน  ดังตัวอย่าง

          “...ควรจะสงสารเอ่ยด้วยนางแก้วกัลยาณี น้อมพระเกศีลงทูลถามหวังจะติดตามพระลูกรักทั้งสองรา กราบถวายบังคมลาลุกเลื่อนเขยื้อนยกพระบาทเยื้องย่าง พระกายนางให้เสียวสั่นหวั่นไหวไปทั้งองค์  ดุจชายธงอันต้องกำลังลมอยู่ลิ่วๆ สิ้นพระแรงโรยเธอโหยหิวระหวยทรวง    พระศอเธอหงุบง่วงดวงพระพักตร์เธอผิดเผือดให้แปรผัน จะทูลสั่งก็ยังมิทันที่ว่าจะทูลเลยแต่พอตรัสว่าพระคุณเจ้าเอ๋ยคำเดียวเท่านั้นก็หายเสียงเอียงพระกายบ่ายศิโรเพฐน์   พระเนตรหลับหับพระโอษฐ์ลงทันที (วิสญฺญี หุตฺวา) นางก็ถึงวิสัญญีสลบลงตรงหน้าฉาน    ปานประหนึ่งว่าพุ่มฉัตรทองอันต้องสายอัสนีฟาดขาดระเนนเอนแล้วก็ล้มลงตรงหน้าพระที่นั่งเจ้า นั้นแล

 ๒.๒  การใช้คำอ้างอิงสำนวนสุภาษิต  เป็นการใช้ถ้อยคำให้เกิดแง่คิดกับผู้อ่านและผู้ฟังได้เป็นอย่างดี  ดังนี้

          “...โอ้พระจอมขวัญของแม่เอ่ย เจ้ามิเคยได้ความยากย่างเท้าลงเหยียบดิน ริ้นก็มิได้ไต่    ไรมิได้ตอม...

          ....อกเอ๋ยจะอยู่ไปไยให้ทนเวทนา  อุปมาเสมือนหนึ่งพฤกษาลดาวัลย์ย่อมจะอาสัญลงเพราะลูกเป็นแท้เที่ยง ....

          .... อุปมาเสมือนหนึ่งภุมรินบินวะว่อน เที่ยวซับซาบเอาเกสรสุคนธมาเลศ พบดอกไม้อันวิเศษต้องประสงค์  หลงเคล้าคลึงรสจนลืมรัง  เข้าเถื่อนเจ้าลืมพร้าได้หน้าเจ้าลืมหลัง..

คุณค่าด้านสังคม

      ๑. สะท้อนค่านิยมเกี่ยวกับสังคมไทย  ในสมัยโบราณถือว่าภรรยาเป็นทรัพย์สมบัติของสามี  สามีมีสิทธิ์เหนือภรรยาทุกประการ  ถ้าสามีเป็นกษัตริย์ อำนาจนั้นก็มากขึ้น  ดังคำที่พระเวสสันดรตรัสแก่นางมัทรีว่า

           “...เจ้าเป็นแต่เพียงเมียควรหรือมาหมิ่นได้ ถ้าแม้นพี่อยู่ในกรุงไกรเหมือนแต่ก่อนเก่า หากว่าเจ้าทำเช่นนี้ กายของมัทรีก็จะขาดสะบั้นลงทันตาด้วยพระกรเบื้องขวาของอาตมานี้แล้วแล..”           นอกจากนี้ผู้หญิงจะต้องปรนนิบัติสามี  ซื่อสัตย์ต่อสามี ส่วนลูกนั้นถือเป็นสมบัติของพ่อแม่ ต้องเครารพเชื่อฟัง  และพ่อแม่สามารถยกลูกให้ผู้อื่นได้

          ๒. สะท้อนให้เห็นธรรมชาติของมนุษย์   ความรักนำมาซึ่งความทุกข์  ความโศกเศร้าเสียใจเช่น  เมื่อลูกพลัดพรากจากไปพ่อแม่ย่อมมีความทุกข์เพราความรัก  ความเป็นห่วง  กังวล  โศกเศร้า  เมื่อคิดว่าลูกของตนล้มหายตายจากไป  แต่ความโศกเศร้าเสียใจจะบรรเทาลงได้เมื่อมีความโกรธ  เจ็บใจ  หรือเมื่อเกิดความเข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นทำ

           ตัวอย่างเช่น  ตอนที่พระเวสสันดรกล่าวบริภาษนางมัทรี  เพื่อให้นางมัทรีจึงโกรธจนลืมความโศกเศร้า

          “...สมเด็จพระราชสมภาร  เมื่อได้สดับสารพระมัทรีเธอแสนวิโยคโศกศัลย์สุดกําลัง       ถึงแม้นจะมิตรัสแก่นางมั่งจะมิเป็นการ จําจะเอาโวหารการหึงเข้ามาหักโศกให้เสื่อมลงจึ่งเอื้อนโองการตรัสประภาษว่า....

          ๓.  สะท้อนความเชื่อของสังคมไทย  จากข้อความตอนที่พระนางมัทรีออกสู่ป่าเพื่อหาเก็บผลไม้  ผลไม้ก็เพี้ยนผิดปกติ  ซึ่งถือว่าเป็นลางร้าย  จากความในบทประพันธ์ว่า

          “...เหตุไฉนไม้ที่มีผลเป็นพุ่มพวง  ก็กลายกลับเป็นดอกดวงเดียรดาษอนาถเนตร  แถวโน้นนั่นแก้วเกดพิกุลแกมกับกาหลง  ถัดไปก็สายหยุดประยงค์แลยมโดย  ยามพระพายพัดเคยร่วงโรยรายดอกลงมูนมอง แม่ยังได้เก็บมาร้อยกรองไปฝากลูกเมื่อวันวาน  ก็เพี้ยนผิดพิสดารเป็นพวงผล  สพฺพา มุยฺหนฺติ  เม  ทิสา ทั้งแปดทิศก็มืดมัวทั่วทุกแห่ง  ทั้งขอบฟ้าก็ดาดแดงเป็นสายเลือด  ไม่เว้นวายหายเหือดเป็นลางร้ายไปรอบข้าง  ทกฺขิณกฺขิ  นัยน์ตาขวาก็พร่างๆอยู่พรายพร้อย ดูจิตใจของแม่นี้ยังน้อยอยู่นิดเดียว ทั้งอินทรีย์ก็เสียวๆ สั่นระรัวริก  สาแหรกคานบันดาลพลิกพลัดลงจากบ่า ทั้งขอน้อยในหัตถาที่เคยถือ ก็หลุดหล่นลงจากมือไม่เคยเป็นเห็นอนาถ....

ลางร้าย  ๙  ประการ  ได้แก่

          ๑. ไม้ผลกลับกลายเป็นไม้ดอก

          ๒. ไม้ดอกกลับกลายเป็นไม้ผล

          ๓. มืดมัวไปทั่วทั้ง ๘ ทิศ คือ อุดร อีสาน บูรพา อาคเนย์ ทักษิณ หรดี ปัจจิม พายัพ

          ๔. เขม่นตาขวา

           ๕. ใจเหมือนจะขาด

          ๖. ขอบฟ้ากลายเป็นสีแดงสายเลือด

๗. กายรู้สึกเสียวๆ สั่นๆ

๘. ขอที่ใช้สอยผลไม้หลุดลงจากมือ

๙. ไม้คานพลิกลงจากบ่า

๔.  สะท้อนเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี  อันเป็นประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา  โดยเรื่อง  มหาเวสสันดรชาดก  เป็นชาดกที่พุทธศาสนิกชนนิยมนำมาเล่าขานจัดเป็นงานเทศน์มหาชาติกันทุกปีมาตั้งแต่ครั้งอดีต  โดยจัดสถานที่ให้สอดคล้องกับเรื่องราวให้เป็นป่าที่อุดมไปด้วยไม้ผล  บางแห่งก็จัดตกแต่งภาชนะใส่เครื่องกัณฑ์เทศน์เป็นรูปต่างๆ  ที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่องกัณฑ์นั้นๆ  เช่น  ทำรูปเรือสำเภาบูชากัณฑ์กุมาร  จัดเป็นรูปกระจาดใหญ่ใส่เสบียงอาหารและผลไม้ต่างๆ  บูชากัณฑ์มหาราช  บางแห่งก็จัดกัณฑ์เทศน์กันอย่างใหญ่โตในเชิงประกวดประชันกัน  มีการบรรเลงดนตรีไทยประกอบเพื่อช่วยสร้างอารมณ์ร่วมให้กับผู้ฟังเทศน์  ทั้งนี้พระสงฆ์ที่มาเป็นผู้เทศน์จะเป็นพระสงฆ์ที่เทศได้อย่างไพเราะ ใช้ภาษาง่ายๆ  เพื่อให้เข้าถึงผู้ฟังทุกเพศทุกวัย  บางครั้งก็มีการเทศน์แหล่ด้วย  ปัจจุบันเทศน์มหาชาติจัดเป็นงานประจำปีของทุกท้องถิ่นทั่วทุกภาในประเทศไทย

ค่านิยมในเรื่อง

ค่านิยมที่ปรากฏในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก เป็นค่านิยมเชิง โลกุตระ คือ ค่านิยมทางโลกหรือค่านิยมเหนือโลก เหนือสามัญชน เป็นค่านิยมของอริยบุคคลที่ปรารถนาในพุทธิภูมิ คือ พระเวสสันดรซึ่งทรงเห็นว่าการบำเพ็ญทานบารมีหรือการบำเพ็ญคุณความดีเป็นสิ่งสำคัญ เป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับพระองค์ เพราะจะนำพระองค์ไปสู่งความรู้ที่เป็นสิ่งรู้แจ้งเห็นจริง  (พระโพธิญาณ) อันจะทำให้พระองค์ชี้ทางนิพพานช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์ได้

แนวคิดสำคัญของเรื่อง

๑. ความรักของแม่ที่มีต่อลูกนั้นยิ่งใหญ่นัก

๒. ผู้ที่จะปรารถนาสิ่งต่างๆ อันยิ่งใหญ่จะต้องทำด้วยความอดทนและเสียสละอันยิ่งใหญ่

๓. ความซื่อสัตย์ระหว่างสามีภรรยาทำให้ชีวิตครอบครัวมีความสุข

๔. ผู้มีปัญญาย่อมแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้ดี

๕. การบริจาคบุตรทารทานหรือทานบุตรบารมีเป็นสิ่งที่กระทำได้ยากยิ่ง ไม่มีใครจะทำได้ง่ายๆ

เนื้อเรื่องย่อของกัณฑ์ต่างๆ

สรุป เรื่องมหา เวสสันดร ชาดก

กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร  

เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร

ภาคสวรรค์  พระนางผุสดีเทพอัปสรสิ้นบุญ  ท้าวสักกะเทวราชสวามีทรงทราบจึงพาไปประทับยังสวนนันทวันในเทวโลก พร้อมให้พร ๑๐ ประการ คือ ให้ได้อยู่ในประสาทของพระเจ้าสิริราชแห่งนครสีพี ขอให้มีจักษุดำดุจนัยน์ตาลูกเนื้อ ขอให้คิ้วดำสนิท ขอให้พระนามว่า ผุสดี ขอให้มีโอรสที่ทรงเกียรติยศเหนือกษัตริย์ทั้งหลายและมีใจบุญ ขอให้มีครรภ์ที่ผิดไปจากสตรีสามัญคือแบนราบในเวลาทรงครรภ์ ขอให้มีถันงามอย่ารู้ดำและหย่อนยาน ขอให้มีเกศาดำสนิท  ขอให้มีผิวงาม และข้อสุดท้ายขอให้มีอำนาจปลดปล่อยนักโทษได้

สำนวนการแต่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิต ชิโนรส

ประดับด้วยพระคาถา ๑๙ พระคาถา

เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์  คือ เพลงสาธุการ

สรุป เรื่องมหา เวสสันดร ชาดก

กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์

เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรบริจาคทานช้างปัจจัยนาค ประชาชนสีพีโกรธแค้นจึงขับไล่ให้ไปอยู่เขาวงกต

พระนางผุสดีได้จุติลงมาเป็นพระราชธิดาพระเจ้ามัททราช  เมื่อเจริญชนม์ได้ ๑๖ ชันษาจึงได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัย แห่งสีวิรัฐนคร ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า เวสสันดรในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงนำมาไว้ในโรงช้างต้นคู่บารมีให้มีนามว่า ปัจจัยนาคเมื่อพระเวสสันดรเจริญชนม์ ๑๖ พรรษา พระราชบิดาก็ยกสมบัติให้ครอบครองและทรงอภิเษกกับนางมัทรี พระราชบิดาราชวงศ์มัททราช มีพระโอรส ๑ องค์ชื่อ  ชาลี ราชธิดา ชื่อ กัณหา พระองค์ได้สร้างโรงทาน บริจาคทานแก่ผู้เข็ญใจ ต่อพระเจ้ากาลิงคะแห่งนครกาลิงครัฐได้ส่งพราหมณ์มาขอพระราชทานช้างปัจจัยนาค พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาค พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่พระเจ้ากาลิงคะ ชาวกรุงสัญชัย จึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกพระนคร

สำนวนการแต่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิต ชิโนรส

ประดับด้วยพระคาถา ๑๓๔ พระคาถา

เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์  คือ เพลงตวงพระธาตุ

สรุป เรื่องมหา เวสสันดร ชาดก

กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์

เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกมหาสัตสดกทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลี และกัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสาสรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ ๗๐๐

สำนวนการแต่ง สำนักวัดถนน

ประดับด้วยพระคาถา ๒๐๙ พระคาถา

เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์  คือ เพลงพญาโศก

สรุป เรื่องมหา เวสสันดร ชาดก

กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์ 

เป็นกัณฑ์สี่กษัตริย์เดินดงบ่ายประพักตร์สู่เขาวงกต เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหนาศาลาพระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง  แต่พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ  และเมื่อเสด็จถึงถึงเขาวงกตได้พบศาลาอาศรม  ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทวราช  กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนววชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา

สำนวนการแต่ง รัชกาลที่ ๔

ประดับด้วยพระคาถา ๕๗ พระคาถา

เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์  คือ เพลงพระยาเดิน

สรุป เรื่องมหา เวสสันดร ชาดก

กัณฑ์ที่ ๕  ชูชก 

เป็นกัณฑ์ที่ชูชกได้นางอมิตตามาเป็นภรรยาและหมายจะได้โอรส  และธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาสในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชก  พนักในบ้านทุนวิฐะ  เที่ยวขอทานในเมืองต่างๆ เมื่อได้เงินถึง ๑๐๐ กหาปณะ  จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย  แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัวเมื่อชูชกมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก  นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชกได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี  ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาตน  หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตีนางอมิตดา  ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้  เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพราหมณ์เจตบุตรผู้รักษาประตูป่า

สำนวนการแต่ง พระเทพมุนี (ด้วง) วัดสังข์กระจาย

ประดับด้วยพระคาถา ๗๙ พระคาถา

เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์  คือ เพลงเซ่นเหล้า

สรุป เรื่องมหา เวสสันดร ชาดก

กัณฑ์ที่ ๖  จุลพน  

เป็นกัณฑ์ที่พรานเจตบุตรหลงชูชก  และชี้ทางสู่อาศรมอจุตฤๅษีชูชกได้ชูกลักลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตรอ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของเจ้ากรุงสญชัยจึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี

สำนวนการแต่ง รัชกาลที่ ๔

ประดับด้วยพระคาถา ๓๕ พระคาถา

เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์  คือ เพลงคุกพากย์ และเพลงรัวสามลา

สรุป เรื่องมหา เวสสันดร ชาดก

กัณฑ์ที่ ๗ มหาพน  

เป็นกัณฑ์ป่าใหญ่  ชูชกหลอกหล่อจุตฤๅษีให้บอกทางสู่อาศรมพระเวสสันดรแล้วก็รอนแรมเดินไพรไปหาเมื่อถึงอาศรมฤๅษี  ชูชกได้พบกับจุตฤๅษี  ชูชกใช้คารมหลอกหล่อนจนอจุตฤๅษี  ให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร

สำนวนการแต่ง พระเทพโมลี  (กลิ่น)

ประดับด้วยพระคาถา ๘๐ พระคาถา

เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์  คือ เพลงเชิดกลอง

สรุป เรื่องมหา เวสสันดร ชาดก

กัณฑ์ที่ ๘  กัณฑ์กุมาร  

เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงได้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชกพระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพรากรุ่งเช้าเมื่อนางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้วชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร  สองกุมารจึงพากันลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระพระเวสสันดรจึงลงเสด็จติดตามสองกุมาร  แล้วจึงมอบให้แก่ชูชก

สำนวนการแต่ง เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ประดับด้วยพระคาถา ๑๐๑ พระคาถา

เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์  คือ เพลงโอดเชิดฉิ่ง

สรุป เรื่องมหา เวสสันดร ชาดก

กัณฑ์ที่ ๙  กัณฑ์มัทรี  

เป็นกัณฑ์ที่พระนางมัทรีทรงได้ตัดความห่วงหาอาลัยในสายเลือด  อนุโมทนาทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก

พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึกจนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม  แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทางจนค่ำ  เมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส  พระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ  จึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์  พระองค์ทรงตกพระทัยลืมตนว่าเป็นดาบส  จึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษพระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว  หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบนางจึงได้ทรงอนุโมทนา

สำนวนการแต่ง เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ประดับด้วยพระคาถา ๙๐ พระคาถา

เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์  คือ เพลงทยอยโอด

สรุป เรื่องมหา เวสสันดร ชาดก

กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ  

เป็นกรรณที่พระอินทร์เจ้าจำแลงกายเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรี  แล้วสลบลงเมื่อได้พบท้าวสักกะเทวราชเสด็จแปลงเป็นพราหมณ์เพื่อทูลขอนางมัทรีพระเวสสันดรจึงพระราชทานให้พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนาเพื่อร่วมทานบารมีให้สำเร็จพระสัมโพธิญาณเป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวสะท้าน  ท้าวสักกะเทวราชในร่างพราหมณ์จึงฝากนางมัทรีไว้ยังไม่รับไป  ตรัสบอกความจริงและถวายคืนพร้อมถวายพระพร ๘ ประการ

สำนวนการแต่ง รัชกาลที่ ๔

ประดับด้วยพระคาถา ๔๓ พระคาถา

เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์  คือ เพลงกลม เพลงเหาะ และเพลงกระบองกัน

สรุป เรื่องมหา เวสสันดร ชาดก

กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช   

เป็นกัณฑ์ที่เทพเจ้าจำแลงองค์องค์ทำนุบำรุงขวัญสองกุมารก่อนเสด็จนิวัติถึงมหานครสีพีเมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้  ส่วนตนปีนขึ้นไปนอนบนต้นไม้เหล่าเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมาร  จนเดินทางถึงกรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์  เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสองพระองค์  ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโชธาตุไม่ย่อย  ชาลีจูงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร  ในขณะเดียวกันเจ้านครกลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี

สำนวนการแต่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิต ชิโนรส

ประดับด้วยพระคาถา ๖๙ พระคาถา

เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์  คือ เพลงกราวนอก

สรุป เรื่องมหา เวสสันดร ชาดก

กัณฑ์ที่ ๑๒  ฉกษัตริย์  

เป็นกัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญีภาพสลบลงเมื่อได้พบหน้า  ณ  อาศรมดาบสที่เขาวงกตพระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา ๑ เดือน กับ ๒๓ วัน  จึงเดินถึงเขาวงกต  เสียงโห่  ร้องของทหารทั้ง ๔ เหล่า  พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนนครสีพี  จึงชวนนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขาพระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดา  ได้ทรงตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ  รวมทั้งทหารเหล่าทัพ  ทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน  ท้าวสักกะเทวราชจึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์และหวยหาญได้หายเศร้าโศก

สำนวนการแต่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิต ชิโนรส

ประดับด้วยพระคาถา ๓๖ พระคาถา

เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์  คือ เพลงตระนอน

สรุป เรื่องมหา เวสสันดร ชาดก

กัณฑ์ที่ ๑๓  นครกัณฑ์  

เป็นกัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัติพระนครททพระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาพระเจ้ากรุงสัญชัยตรัสสารภาพผิด  พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรีและเสด็จกลับสู่สีพีนคร  เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง  ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า  รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน  พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชนท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว ๗ ประการ  ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง  พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาตามปรารถนา  ที่เหลือให้ขนเข้าคลังหลวง  ในการต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ

สำนวนการแต่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิต ชิโนรส

ประดับด้วยพระคาถา ๔๘ พระคาถา

เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์  คือ เพลงกลองโยน

ความรู้ประกอบ

๑. ชาดก

ชาดก”   มีรากคำมาจาก   ชนฺ  (เกิด) แปลง ชนฺ  เป็น ชา ลง ต ปัจจัย (แล้ว) ชาต  แปลว่า เกิดแล้ว เติม ก ปัจจัย  จะได้  ชาตก (ชา-ตะ-กะ) แปลว่า ผู้เกิดแล้ว ไทยนำมาใช้จึงเป็น  ชาดก

ความหมายของชาดก

๑. ชาดก หมายถึง  เรื่องราวของพระพุทธเจ้าในอดีต

๒. ชาดก หมายถึง คำสอนของพระพุทธเจ้าวิธีหนึ่งใน ๙ อย่าง      ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์

๓. ชาดก หมายถึง คัมภีร์เล่มหนึ่งในจำนวน ๑๕ เล่ม ของคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกขุททกนิกาย\

ประวัติความเป็นมาของชาดก

พระพุทธเจ้านำเรื่องราวในอดีตชาติ เมื่อคราวเสวยชาติ    เป็นพระโพธิสัตว์ มาแสดงแก่พุทธบริษัท คำสอนเรื่องชาดกนั้น มีปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อรรถกถาชาดกและฎีกาชาดก เรียกว่า นิบาตชาดก

ประเภทของชาดก

ชาดกมี ๒ ประเภท  คือ

          ๑. นิบาตชาดก   เป็นชาดกในพระไตรปิฎกมี ๕๐๐ เรื่อง   แบ่งออกเป็นหมวดๆ  ตามจำนวนคาถา   นับตั้งแต่ ๑ คาถาถึง ๙๐ คาถา   ชาดกที่มี ๑ คาถาเรียกว่า เอกนิบาตชาดก   ๒ คาถาเรียกว่า  ทุกนิบาตชาดก  ๓ คาถาเรียกว่า ตักนิบาตชาดก  ๔ คาถาเรียกว่า  จตุคนิบาตชาดก  ๕ คาถาเรียกว่า  ปัญจกนิบาตชาดก  ชาดกที่มีเกิน ๘๐ คาถาขึ้นไปเรียกว่า  มหานิบาตชาดก  ซึ้งมี ๑๐ เรื่อง  เรียก  ทศชาติ  หรือ  พระเจ้าสิบชาติ

ทศบารมีหรือทศชาติ คือ บารมีที่พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญ ๑๐ ประการในชาติต่างๆ คือ

หัวใจพระเจ้าสิบชาติ  คือ เต ช สุ เน ม ภู จ นา วิ เว ( อักษรตัวแรก  ของแต่ละชาติ )

            . พระเตมีย์            บำเพ็ญ       เมตตาบารมี

สรุป เรื่องมหา เวสสันดร ชาดก

            . พระมหาชนก        บำเพ็ญ       วิริยะบารมี

            . พระสุวรรณสาม     บำเพ็ญ       เมตตาบารมี

            . พระเนมีราช         บำเพ็ญ       อธิษฐานบารมี

            . พระมโหสถ         บำเพ็ญ       ปัญญาบารมี

            . พระภูริทัต           บำเพ็ญ       ศีลบารมี

            . พระจันทกุมาร      บำเพ็ญ      ขันติบารมี

            . พระนารทะ          บำเพ็ญ      อุเบกขาบารมี

            . พระวิทูร             บำเพ็ญ      สัจจะบารมี

            ๑๐.พระเวสสันดร      บำเพ็ญ       ทานบารมี

          ๒. ปัญญาสชาติชาดก   เป็นชาดกที่แต่งขึ้นจากนิทานพื้นเมือง  ไม่มีในพระไตรปิฎก  หรือเรียกว่า  ชาดกนิบาตมี ๕๐ เรื่อง  พระภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๐๐๐-๒๒๐๐  เป็นภาษามคธ  โดยเลียนแบบนิบาตชาดก  ครั้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓-๒๔๔๘  พระบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธ์  ดำรงตำแหน่งองค์สภานายก  หอพระสมุดสำหรับพระนคร  ได้ทรงแปลเป็นภาษาไทย  เรื่องปัญญสชาดกจึงแพร่หลาย

แหล่งกำเนิดนิทานชาดก

มาจากนิทานพื้นบ้านเก่าแก่ของ กรีก อินเดีย และ เปอร์เซีย

ความมุ่งหมายของชาดก

๑. เพื่อสอนธรรมะ

๒. เพื่อศึกษาธรรมะด้วยความสนุกสนาน

๓. เพื่อแก้ข้อสงสัยของพุทธบริษัท

ชาดกได้แพร่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยสุโขทัย เป็นราชธานีตราบเท่าทุกวันนี้

การแปลชาดก มีการแปลชาดกเป็นภาษาไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยังไม่แล้วเสร็จเพราะพระองค์สวรรคตก่อน ภายหลังมีการแปลต่อจนสำเร็จ ปัจจุบันมีฉบับแปลอยู่ ๔ ฉบับ คือ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ฉบับของสำนักอบรมครูวัดสามพระยา ฉบับของ ส.ธรรมภักดี และฉบับของมหามกุฏราชวิทยาลัย

ประเพณีงานเทศน์มหาชาติ

งานเทศน์มหาชาตินี้ นิยมทำกันหลังออกพรรษาพ้นหน้ากฐินไปแล้ว อาจทำในวันขี้น ๘ ค่ำกลางเดือน ๑๒ หรือในวันแรม ๘ ค่ำก็ได้ ซึ่งในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน ๔ เรียกว่า "งานบุญผะเหวด" ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน ๕ ต่อเดือน ๖ ก็มี งานเทศน์มหาชาตินั้นจะทำในกาลพิเศษจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน ๑๐

การเทศน์มหาชาตินั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๒. ลักษณะของความฝัน  คนโบราณเชื่อว่า ความฝันมี ๔ ลักษณะ คือ

๑. บุรพนิมิต ฝันบอกลางล่วงหน้า

๒. จิตนิวรณ์ ฝันเพราะใจเป็นห่วง

๓. เทพสังหรณ์ ฝันด้วยเทวดาบันดาลให้ฝัน

๔. ธาตุโขภค ฝันเพราะธาตุในร่างกายแปรปรวน

ทศบารมี  บารมี ๑๐ ประการที่พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญจนครบในชาติเดียว มีดังนี้

๑. เมื่อประสูติได้ตรัสกับพระมารดาว่าจะบำเพ็ญทานและการบริจาคทานทั้งปวงเป็น     ทานบารมี

๒. เมื่ออยู่ในฆราวาสวิสัย ทรงรักษาเบญจศีลตลอดเวลา และรักษาอุโบสถศีลทุกๆ ครึ่งเดือนเป็น ศีลบารมี

๓. เมื่อละกามคุณ ทรงผนวชเป็นดาบสอยู่ที่เขาวงกต เป็น เนกขัมมบารมี

๔. เมื่อทรงดำริที่จะให้อัชฌัติกทานตั้งแต่ยังอยู่ในทารกภูมิ และเมื่อพระราชทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก ทรงใช้วิจารณญาณช่วยให้บรรเทาความเศร้าโศกเสียใจได้ เป็น ปัญญาบารมี

๕. เมื่อดำรงราชสมบัติทรงอุตสาหะเสด็จออกสู่โรงทาน ๖ แห่ง ทุกๆ ครึ่งเดือน ไม่เคยขาด เมื่อออกบรรพชา ทรงอุตสาหะบูชาไฟตลอด เป็น วิริยบารมี

๖. ไม่พิโรธพระราชบิดาที่สั่งให้เนรเทศพระองค์ และทรงอดกลั้นความโกรธ เมื่อเห็นชูชกเฆี่ยนตีพะโอรสทั้งสอง เป็น ขันติบารมี

๗. เมื่อตรัสปฏิภาณว่าจะให้บุตรทานแก่พราหมณ์ ก็ทรงบริจาคให้ตามสัตย์ นับว่าเป็น    สัจบารมี

๘. เมื่อทรงสมาทานมั่น ไม่ให้พระหฤทัยอาลัยพระโอรสทั้งสองและเมื่อกระทำพระทัยมั่นมิได้ หวั่นไหวเกรงภัยจากกองทัพของพระเจ้ากรุงสญชัยที่จะมารับพระองค์กลับพระนคร นับเป็น อธิษฐานบารมี

๙. เมื่อแผ่พระเมตตาแก่ชาวกลิงคราษฎร์ เมื่อพระราชทานช้างปัจจัยนาค และเมื่อสถิตในเขาวงกตได้แผ่พระเมตตาแก่สรรพสัตว์ทั่วไปเป็น เมตตาบารมี

๑๐. เมื่อตัดความเสน่หาอาลัยในพระโอรสทั้งสองได้ ไม่โกรธชูชก ทั้งประทับเป็นมัชฌัตตารมณ์ ไม่รักไม่ชังผู้ใดเป็น อุเบกขาบารมี

    ทศพร  พร ๑๐ ประการ ที่พระอินทร์ประทานให้พระนางผสุสดี  ดังนี้

        ๑.ให้ได้อยู่ในปราสาทของพระเจ้าสีวีราชแห่งกรุงสีพี

        ๒.ให้มีจักษุดำดุจนัยน์ตาของลูกเนื้อทราย

        ๓. ให้มีคิ้วโก่งดำสนิท

        ๔. ให้มีพระนามว่าผสุสดี

        ๕.  ให้มีพระโอรสที่ฝักใฝ่ในการบริจาคทาน

        ๖. เมื่อเวลาทรงครรภ์มิให้ครรภ์ปรากฏนูนเหมือนสตรีสามัญ

        ๗. ให้มีถันอันงาม  เวลาทรงครรภ์มิให้ดำและหย่อนยาน

        ๘. ให้มีเกศาสนิท

        ๙. ให้มีผิวงาม

        ๑๐. ให้มีอำนาจปลดปล่อยนักโทษได้

พร ๘ ประการ ที่พระอินทร์ประทานให้แก่พระเวสสันดร ดังนี้

๑. ให้บิดาเสด็จมารับพระองค์กลับไปครองราชย์ในนคร

๒.ให้ได้ปลดปล่อยนักโทษทั้งหมด

๓. ให้ได้ช่วยเหลือคนยากจนให้บริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ

๔. อย่าให้ลุอำนาจสตรีให้พอใจแต่พระชายาของพระองค์

๕. ให้กุมารทั้งสองมีมายุยืนนานและเป็นกษัตริย์สืบราชสมบัติ

๖. ให้ฝนแก้วทั้ง ๗ ประการ ตกในนครสีพีเมื่อพระองค์เสด็จกลับไป

๗. ให้ได้บริจาคทรัพย์แก่คนยากจน  ด้วยสมบัติในท้องพระคลังอันไม่รู้หมดสิ้น

๘. เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว ให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต และในพระชาติต่อมาให้ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า

การบริจาคทานของพระเวสสันดรที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว ๗ ครั้ง มีดังนี้

๑. เมื่อทรงปฏิญาณว่าบริจาค พระหทัย พระเนตร พระมังสา หรือพระโลหิต ถ้ามีผู้มาขอ

๒. เมื่อพระราชทานช้างปัจจัยนาค

๓. เมื่อพระราชทานมหาทานก่อนเสด็จไปประทับที่เขาวงกต

๔. เมื่อพระราชทานพระโอรสทั้งสองแก่ชูชก

๕. เมื่อพระราชทานพระนางมัทรีแก่พระอินทร์ที่แปลงเป็นพราหมณ์

๖. เมื่อได้พบพระราชบิดา และพระราชมารดาอีกครั้งในป่า

๗. เมื่อเสด็จนิวัติพระนครสีพี

มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

กัณฑ์มัทรีเป็นกัณฑ์ที่ ๙ จากเรื่องมหาเวสสันดรชาดก เริ่มตั้งแต่เทวบุตร ๓ องค์นิรมิตกาย เป็นสัตว์ร้ายขวางทางพระนางมัทรี เกิดลางแก่พระนางมัทรี พระนางจึงทรงวิงวอนขอทาง ต่อสัตว์ร้ายทั้งสาม เมื่อเสด็จกลับถึงอาศรม พระนางทูลถามพระเวสสันดรถึงพระกุมารทั้งสอง พระเวสสันดรจึงทรงตัดพ้อต่อว่าถึงการที่กลับมาผิดเวลา พระนางมัทรีทรงเฝ้าร ...

มหาเวสสันดรชาดกมีอะไรบ้าง

มหาเวสสันดรชาดก.
เตมียชาดก เต. เนกขัมมบารมี การออกบวช.
มหาชนกชาดก ช. วิริยบารมี การมีความเพียร.
สุวรรณสามชาดก สุ. เมตตาบารมี การมีความเมตตา.
เนมิราชชาดก เน. อธิษฐานบารมี การมีความตั้งใจมั่น.
มโหสถชาดก ม. ปัญญาบารมี การมีปัญญา.
ภูริทัตชาดก ภู. ศีลบารมี ... .
จันทกุมารชาดก จ. ขันติบารมี ... .
นารทชาดก นา. อุเบกขาบารมี.

พระมหาเวสสันดรชาดก คือใคร

พระเวสสันดร เป็นพระโอรสของพระเจ้ากรุงสญชัยและพระนางผุสดีแห่งเมืองสีพี มีพระอุปนิสัย ที่สำคัญคือ การบริจาคทาน พระราชกุมารเวสสันดรทรงบริจาคทานตั้งแต่เกิด ครั้นพระชนมายุได้ ๔-๕ ชันษา ทรงประทานปิ่นทองคำและเครื่องประดับเงินทองแก้วเพชรให้แก่นางสนมกำนัลทั่วทุกคนถึง ๙ ครั้ง เพื่อมุ่งหวัง พระโพธิญาณในภายภาคหน้า ครั้นเจริญชันษา ...

เหตุใดจึงเรียกเรื่องมหาเวสสันดรชาดก เพราะเหตุใด

มหาชาติที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะการเกิดครั้งสุดท้ายนี้พระเวสสันดรได้บำเพ็ญบารมีสำคัญคือทานบารมีซึ่งเป็นการทำให้บารมีอื่นสมบูรณ์ไปด้วย เปรียบเหมือนการประทับตราในหนังสือสำคัญทำให้เกิดความสมบูรณ์ใช้บังคับตามกฎหมายได้ และในชาติสุดท้ายนี้ พระเวสสันดรได้บำเพ็ญบารมีอื่น ๆ ครบทั้งสิบประการ จึงถือได้ว่าเป็นการเกิดครั้งสำคัญยิ่ง ...