ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เชียงใหม่

ตาก เกษตรตาก เกษตร โคกหนองนา3 Aug 653 Aug 22แคท

เยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3 Aug 65

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เชียงใหม่

ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในหน่วยฯ

เมื่อวันที่ 3 ส.ค.65 บก.ทท. (นทพ.) โดย พ.อ. ยศศักดิ์ บรรเทา ผบ.นพค.33 สนภ.3 นทพ.
ให้การต้อนรับ ดร.จริยาวดี ศิริจันทรา ผู้อำนวยการกองพัฒนาธุรกิจวิทยาศาสตร์บริการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ และคณะ ที่เดินทางมาเข้าศึกษาดูงานและเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในหน่วยฯ “โครงการ ฟาร์มต้นแบบ (3)” หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา “โคก หนอง นา บานาน่าโมเดล” เป็นการเสริมสร้างความรู้ เพื่อนำไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับครอบครัว และหน่วยงาน โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ณ ศูนย์การเรียนรู้ฯ นพค.33 สนภ.3 นทพ. ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เชียงใหม่
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เชียงใหม่
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เชียงใหม่
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เชียงใหม่
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เชียงใหม่
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เชียงใหม่

www.touronthai.com

หน้าหลัก >> เชียงใหม่ >> ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ

ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ

ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ ตั้งอยู่ที่บ้านแม่สา ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม มีเนื้อที่ราว 100 ไร่ เป็นแหล่งการเรียนรู้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแบบ edutainment สำหรับเด็ก เยาวชน และผู้ที่สนใจ ประกอบด้วยส่วนนิทรรศการและการสาธิต มีแปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ แปลงพืชผสมผสาน ส่วนสาธิตเศรษฐกิจพอเพียง และมีนิทรรศการโครงการสาธิตและส่งเสริมศิลปาชีพ เป็นต้น เปิดทุกวันเวลา 08.30-16.30 น. ค่าเข้าชมศูนย์ 10 บาท เยี่ยมชมศูนย์และทำกิจกรรม 40 บาท เข้าค่ายฝึกอบรมพักแรม เปิดทุกวันเวลา 08.30-16.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 5329 9758 หรือ www.northernstudy.org

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.เชียงใหม่ 0 5324 8604, 0 5324 8607, 0 5324 8605
http://www.tourismthailand.org/chiangmai

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 8358

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ


*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เชียงใหม่

ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาคเหนือ

ตั้งอยู่ที่บ้านแม่สา ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม มีเนื้อที่ราว 100 ไร่ เป็นแหล่งการเรียนรู้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแบบ edutainment สำหรับเด็ก เยาวชน และผู้ที่สนใจ ประกอบด้วยส่วนนิทรรศการและการสาธิต มีแปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ แปลงพืชผสมผสาน ส่วนสาธิตเศรษฐกิจพอเพียง และมีนิทรรศการโครงการสาธิตและส่งเสริมศิลปาชีพ เป็นต้น 

เป็นแหล่งการเรียนรู้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นใน แบบ edutainment สำหรับเด็ก เยาวชน และผู้ที่สนใจ ประกอบด้วย ส่วนนิทรรศการและการสาธิต มีแปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ แปลงพืชผสมผสาน ส่วนสาธิตเศรษฐกิจพอเพียง และมีนิทรรศการโครงการสาธิตและส่งเสริม ศิลปาชีพ เป็นต้น

วิดีโอ YouTube

แผนที่ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ  และศูนย์สาธิตและส่งเสริมงานศิลปาชีพ ภาคเหนือ

ปฏิทิน

>>>ด้วยความร่วมมือระหว่าง ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ 

และศูนย์สาธิตและส่งเสริมงานศิลปาชีพ ภาคเหนือกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ 

จัดทำสือเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ 

เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตตามแนววิถีพอเพียง

วิดีโอการเลี้ยงหมู

วิดีโอการเลี้ยงกบคอนโดร่วมกับปลาดุก

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เชียงใหม่
 

ติดต่อ

ติดต่อ 222 หมู่ 2 ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180 

โทรศัพท์ 053 – 299758 

โทรสาร 053 – 299855 

ช่องทางติดต่อ Website : www.northernstudy.org 

Email :  

Facebook :www.facebook.com/northernstudy?ref=hl

ประวัติความเป็นมา    

            ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ฯและศูนย์สาธิตและส่งเสริมงานศิลปาชีพ ฯ ภาคเหนือ ได้เริ่มดำเนินการก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ ปี 2544 โดยคู่สมรสคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลสมัย พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีโดยมีแนวความคิดในการถวายความจงรักภักดีแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้เกิดอานิสงค์ถาวรและเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลจึงน้อมนำแนวพระราชดำริฯ เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และงานศิลปาชีพของ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เผยแพร่แก่ เยาวชน นิสิต นักศึกษา เกษตรกรและประชาชนทั่วไป เป็นแนวทางในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมยังผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายอย่างยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อการเทิดพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ

2. เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงและงานศิลปาชีพสำหรับเยาวชน นิสิต นักศึกษา เกษตรกร และประชาชนทั่วไป

3. เพื่อการเสริมสร้างรายได้สร้างอาชีพเสริมแก่เกษตรกรและประชาชนในท้องถิ่นตลอดจนทั่วทุกภูมิภาค

4. เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชนทั่วไป


พื้นที่ ศูนย์การเรียนรู้ฯภาคเหนือ

    ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ฯ และศูนย์สาธิตและส่งเสริมงานศิลปาชีพฯ ภาคเหนือ มีพื้นที่ในการดำเนินการจำนวน 78 ไร่ และได้เชื่อมโยงใช้พื้นที่ของกรมการสัตว์ทหารบก(กองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 3 กรมการสัตว์ทหารบก) 

ในการดำเนินการเพื่อการศึกษาเรียนรู้ในทางด้านการฝึกอบรมด้านเกษตรอินทรีย์และการสาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอีกจำนวน 41 ไร่ รวมพื้นที่ในการดำเนินการทั้งหมด 219 ไร่

   การเลี้ยงหมูหลุม ปัจจุบันการเลี้ยงหมูบ้าน มีทั้งน้ำเสีย และขี้หมูทีส่งกลิ่นเหม็นกระจายไปทั่ว ส่งผลกระทบทำให้สิ่งแวดล้อมเลวลง เพื่อนบ้านใกล้เคียงก็ทนกลิ่นเหม็นไม่ไหวทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่ ตลอด ซึ่งแต่เดิมเรานิยมเลี้ยงหมูไว้ประมาณ 1-2 ตัว เพื่อเอาไว้กินเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน แล้วหาผักหญ้า ต้นกล้วย บอน มะละกอ เอามาเสริมทำให้ต้นทุนการผลิตไม่สูงเกินไป เป็นการเลี้ยงหมูแบบเก็บออมเงิน เป็นหมูออมสิน แต่ต่อมาวิวัฒนาการด้านอาหารสัตว์ ก้าวหน้าเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่นสามารถให้อาหารสำเร็จแก่ลูกหมูหย่านม เลี้ยงด้วยอาหาร 4-5 เดือน ก็สามารถทำน้ำหนักตัวได้ถึง 100 กก. แต่เมื่อคิดดูค่าอาหาร การจัดการและเทคโนโลยี แล้วเปรียบเทียบกับราคาขายในท้องตลาด ปรากฏว่า “ ขาดทุน ” ดังคำกล่าวที่ว่า “เลี้ยงหมูให้เจ๊ก” ทุนหาย กำไรหด หลายคนเลิกเลี้ยงกันแล้วหันไปประกอบอาชีพอื่นแทน

    การเลี้ยงกบคอนโดร่วมกับปลาดุก การเลี้ยงกบคอนโด เป็นการเลี้ยงกบอีกหนึ่งรูปแบบที่ประยุกต์­ขึ้นมาจากการเลี้ยงกบแบบทั่วไป โดยเกษตรกรสามารถประหยัดต้นทุนในการสร้างบ­่อกบ ด้วยการนำของที่เหลือใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า ฝาพัดลมเก่า ขวดน้ำกลั่นเก่ามาเป็นวัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงกบ และยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นที่จำกัดอีก­ด้วย เกษตรกรสามารถเลี้ยงกบคอนโดควบคู่ไปกับการ­เลี้ยงปลาดุกได้ 

โดยใช้หลักการระบายเศษอาหารที่เหลือจากบ่อ­กบ ลงสู่บ่อปลาดุก