ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออ่านว่าอะไร

ความหมายของคำว่า “อีสาน”

ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออ่านว่าอะไร

หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ความหมายของคำว่า “อีสาน” ว่ามาจากไหน หรือ หมายถึงอะไร วันนี้ข่อยมีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซท์ “นิตยสารทางอีศาน” (นิตยสารรายปักษ์เพื่อคนอีสานและคนไททุกภูมิภาค ) แล้วเห็นว่ามีข้อมูลดีๆ อีกมากมาย ที่แม้กระทั่งคนอีสานหลายๆคนเองอาจจะยังเข้าไม่ถึง หรือ ยังไม่รู้ด้วยซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กรุ่นใหม่ ที่นับวันก็ยิ่งห่างจากประเพณีวัฒนธรรมเก่าๆ ที่พ่อแม่เราเคยสืบทอดกันมา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออ่านว่าอะไร

ความหมายของ อีสาน

คนอีสาน
บางทีเรียกชาวอีสาน มีหลักแหล่งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อีสานเป็นชื่อเรียกพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่มีกรุงเทพฯ เป็นศุนย์กลาง


คำว่า อีสาน มีรากภาษาสันสนกฤต สะกดว่า อีศาน
หมายถึง นามพระศิวะ ผู้เป็นเทพยดาประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (เคยใช้มาแล้วเมื่อราวหลัง พ.ศ.๑๐๐๐ ในชื่อรัฐว่า อีศานปุระ และชื่อพระราชาว่า อีศานวรมัน) แต่คำบาลีเขียนอีสาน ฝ่ายไทยยืมรูปคำจากภาษาบาลีมาใช้ หมายถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ที่หมายตรงกับคำว่าอีสาน) เริ่มใช้เป็นทางการสมัยรัชกาลที่ ๕ ราว พ.ศ.๒๔๔๒ ในชื่อ มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือแต่ยังหมายเฉพาะลุ่มน้ำมูลถึงอุบลราชธานี จำปาสัก ฯลฯ
สุจิตต์ วงษ์เทศ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออ่านว่าอะไร

อีสาน กับ อีศาน แตกต่างกันอย่างไร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ให้ความหมายของอีสาน ๒ อย่าง คือ ๑.ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ๒.พระศิวะ หรือพระรุทร และให้ที่มาของคำ อีสาน เป็นภาษาบาลี
อีศาน เป็นภาษาสันสกฤต คนอินเดียที่ศรัทธาในศาสนา ถือว่า พระรุทร เป็นเทพเจ้าองค์สำคัญในคัมภีร์พระเวทและเป็นเทพเจ้าองค์เดียวกันกับพระศิวะหรือพระอิศวร
คนไทยจำนวนหนึ่งจึงมีความสับสนในการเขียนอีสาน บางทีเขียนอิสานหรืออิศาน อาจจะเป็นเพราะเห็นว่าคำอีสานมีความเชื่อมโยงกับอิศวร
คำหมาน คนไค

อิ หรือ อี (๑) (๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๗)

อิ หรือ อี (๑)

ในภาษาไทย มีคำหลายคำที่ขึ้นต้นด้วย อิ และ อี  เวลาสะกดคำดังกล่าว บางครั้งไม่แน่ใจว่าจะใช้ อิ หรือ อี   ตัวอย่างคำที่ถามมายังราชบัณฑิตยสถาน เช่น คำใดสะกดถูก อิสาน หรือ อีสาน  อิยิปต์ หรือ อียิปต์  อินังขังขอบ หรือ อีนังขังขอบ  อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเล็กทรอนิกส์   คำตอบ คือ อีสาน อินังขังขอบ และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นคำที่สะกดถูกต้องตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔   ส่วน อียิปต์ สะกดตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและประกาศราชบัณฑิตยสถานเรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง พ.ศ. ๒๕๔๒

อีสาน มาจากภาษาบาลีว่า อีสาน และภาษาสันสกฤตว่า อีศาน   พจนานุกรมฯ นิยามคำ อีสาน ว่า ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ   หนังสือ รู้ รัก ภาษาไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายเพิ่มเติมว่า อีศาน ในภาษาสันสกฤต แปลว่า ผู้ปกครอง หมายถึง พระศิวะ  เหตุผลที่ภาษาไทยนำพระนามของพระศิวะมาเรียกเป็นชื่อทิศตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ก็เพราะว่าตามความเชื่อของอินเดีย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีพระศิวะเป็นผู้คอยปกปักรักษาอยู่   แม้ว่า อีสาน กับ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  จะมีความหมายเหมือนกัน แต่ก็ใช่ว่าทั้ง ๒ คำ จะใช้แทนกันได้ทุกกรณี ต้องดูความเหมาะสมของข้อความแวดล้อมด้วย   อีสาน มักใช้เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของประชาชนที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประชาชนที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เช่น อาหารอีสาน วัฒนธรรมอีสาน ดนตรีอีสาน แต่เมื่อใช้ว่า ภาคอีสาน หรือ คนอีสาน ถือเป็นคำที่ไม่เป็นทางการ คำที่เป็นทางการจะใช้ว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประชาชนที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นอกจากเรื่องตัวสะกดภาษาไทยของคำว่า อีสาน แล้ว ยังมีคำถามเรื่องการเขียนคำว่า อีสาน เป็นอักษรโรมันที่ถูกต้อง   อีสาน ถอดเป็นอักษรโรมันได้ว่า Isan  ตามหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันของราชบัณฑิตยสถาน

                                                                                                                                                                แสงจันทร์  แสนสุภา