บุคคลที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงคือใคร

ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง (นายสงวน มงคลศรีพันเลิศ)

บุคคลที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงคือใคร

ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ นายสงวน มงคลศรีพันเลิศ บ้านเลขที่ 63/1 หมู่ที่ 7 ตำบลหนองทะเล อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ นายสงวน เกษตรกรวัย 62 ปี มีประสบการณ์ทำเกษตรมานาน 24 ปี เป็นผู้ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 24 ปี และสามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ 20 ปี ทำการเกษตรแบบผสมผสานโดยมีแนวคิดในการหาวิธีทางการเกษตรเพื่อให้เกิดการทำงานที่ครบวงจรสามารถใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นและในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสามารถพัฒนาพื้นที่ของตนเองให้เป็นแหล่งเรียนรู้วิธีการทำการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีการปลูกพืช การเลี้ยงวัว แพะ แกะ เป็นการปลูกพืชผสมผสาน   การเลี้ยงปลา และยังได้เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติสาขาอาชีพเลี้ยงสัตว์ปี 2548

  • VDO นายสงวน มงคลศรีพันเลิศ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดินด้านปศุสัตว์ ปี 2565
  • ประกาศแต่งตั้งปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2565
  • กรมปศุสัตว์ยกย่องปราชญ์เกษตรของแผ่นดินด้านปศุสัตว์ประจำปี 2565

ข้อมูล : กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์</p


ประกาศข่าว:

  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+

TH

EN

บุคคลที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงคือใคร

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

บุคคลที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงคือใคร

  1. หน้าหลัก

Warning! Get_Category_Detail(): Error: Object reference not set to an instance of an object.

ดูทั้งหมด

แบบสอบถาม

ท่านคิดว่าเว็บไซต์สำนักงาน กปร. มีข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์เพียงใด ?

มาก

ปานกลาง

น้อย

See Result

ดูทั้งหมด

ตามรอย อ.เจฟฟรีย์ ฝรั่งสัญชาติไทยกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บุคคลที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงคือใคร
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้และปฏิบัติจริงในสังคมไทยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนผ่านการสนับสนุนของ อ.เจฟฟรีย์ฯ ผู้อำนวยการโครงการพิเศษ (Special Project Director) SD : The Path More Balanced Society in Thailand

ในโอกาสที่ได้มีโอกาสติดตาม อ.เจฟฟรีย์ฯ ไปฟังบรรยายในสถานที่ต่าง ๆ ที่สถานทูตได้ประสานงานจัดพบปะพูดคุยที่ US-Asia Institute หรืองานพบปะชุมชนไทยที่วัดญาณรังษี หรือการพบกับสมาชิกของกลุ่ม Thai DC Forum รวมไปถึงการพบปะพูดคุยกับกลุ่มมิตรประเทศไทยและทีมประเทศไทย ทำให้เข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น

อ.เจฟฟรีย์ฯ เห็นว่า ปัญหาปัจจุบันที่มาพร้อมกับการพัฒนาทางด้านวัตถุประกอบกับความอยากได้อยากมีของมนุษย์อันเกิดจากกิเลสนั้นไม่มีที่สิ้นสุด ความไม่รู้จักพอนี้เองได้ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงถูกนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างมีวิสัยทัศน์เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลย์แม้ภายใต้การเปลี่ยนแปลงต่างๆ และเป็นปรัญชาที่มิใช่ตีกรอบเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจเท่านั้นแต่เป็นแนวคิดเพื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างแท้จริง

บุคคลที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงคือใคร
หนึ่งในปัญหาหลักของคนไทย คือ การขาดวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล วิถีชีวิตของไทยที่เรื่อยๆ สบายๆ อะไรก็ได้ ถึงแม้ว่าจะมีข้อดี แต่ก็ก่อให้เกิดปัญหาในการวางแผนชีวิตในระยะยาวได้ การสร้างวิสัยทัศน์จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งให้เกิดเป็นนิสัยและความเคยชินในการดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน อันเนื่องจากการขาดการวางแผนชีวิตที่ดีและรอบคอบจะก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมได้ อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องเร่งสร้างควบคู่กันไปกับวิสัยทัศน์นั้นก็คือ คุณธรรมและจริยธรรม อันเป็นการยกระดับพื้นฐานทางจิตใจของมนุษย์ เนื่องจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจะไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ด้วยดี หากไร้ซึ่งคุณธรรม จริยธรรม สติปัญญา ความเพียรอุตสาหะ และความซื่อสัตย์สุจริต เป็นเครื่องประกอบ

บุคคลที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงคือใคร
“เราต้องเริ่มปฏิวัติค่านิยมไทย” มิใช่ยกย่องคนที่ร่ำรวยแต่ต้องยกย่องคนดี สังคมไทยยังนับถือคนรวย ซึ่งทำให้ดูเหมือนคนรวยเหนือกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ เราต้องเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ “อยากได้” ซึ่งอาจไม่ใช่สิ่ง “จำเป็น” อันจะทำให้คนไทยมีเพียง “ความสุขชั่ววูบ” รวมทั้งคนไทยมีนิสัย “กลัวลูกน้อยหน้าคนอื่น” จึงทำให้เกิดการเอาใจเด็กในสิ่งที่ไม่ควร ดังนั้นเราจึงต้องเริ่มปฏิวัติค่านิยมไทยเพื่อสร้างพื้นฐานด้านจริยธรรมให้สังคมไทย โดยต้องเริ่มจากครอบครัวและพัฒนาระบบการศึกษา สิ่งที่เราควรเรียนรู้จากประสบการณ์จากต่างชาติ ได้แก่ การสร้าง “จิตสาธารณะ” หรือ “จิตอาสา” ซึ่งทำให้สังคมอยู่ได้ด้วยความเกื้อกูลและเอื้ออาทรต่อกัน รวมทั้งการปราบปรามคอร์รับชั่นก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไขให้หมดไปจากสังคมไทย

อ.เจฟฟรีย์ฯ ตั้งใจให้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้เป็นมรดกที่ยั่งยืนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้โลก จึงทำหน้าที่ในการถ่ายทอดประสบการณ์เศรษฐกิจพอเพียงไปยังภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศ นอกจากนี้ อ.เจฟฟรีย์ฯ ยังได้ลงพื้นที่ในการนำหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการปฏิบัติ โดยการทำงานควบคู่ไปกับมูลนิธิชัยพัฒนา ในการสร้างบุคลากรของท้องถิ่นและให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายซึ่งทำให้ผู้ดำเนินรอยตามสามารถเข้าใจปัญหาของตนเองและหาทางออกได้ โดยมูลนิธิมั่นพัฒนานั้นมุ่งเน้นถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม การสร้างวินัยและพัฒนาจิตใจของคนโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย โรงพยาบาลกรุงเทพ แบงกอกแอร์เวย์ เป็นต้น

บุคคลที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงคือใคร
 ในระหว่างการบรรยาย อ.เจฟฟรีย์ฯ ได้นำบทสัมภาษณ์ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรีในการสรุปหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็น 3 หลัก ได้แก่

  1. “หลักการ” คือ การเดินทางสายกลาง ไม่มากหรือน้อยเกินไป
  2. “หลักวิชา” คือ การอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตอย่างมีแบบแผน
  3. “หลักปฏิบัติ” อันประกอบไปด้วย 1. ความพอประมาณ 2. ความมีเหตุและผล และ 3. การมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี พร้อมรับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง

หากดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เชื่อว่าคนไทยจะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลย์ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม

เราขอเป็นกำลังใจให้ อ.เจฟฟรีย์ในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้กับทุกภาคส่วนของสังคมเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุก ๆ ด้าน

บทความที่เกี่ยวข้องได้แก่

  • วีดิทัศน์คำบรรยายในหัวข้อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดย ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี http://thaiembdc.org/featured-gallery/
  • https://www.youtube.com/watch?v=54Wj5BnrOLI
  • มุมมอง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” จากฝรั่งสัญชาติไทย

กาจฐิติ วิวัธวานนท์   และ พจนา เทศวัฒนา  24 มิถุนายน 2558

บุคคลที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงคือใคร
บุคคลที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงคือใคร

บุคคลที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงคือใคร

บุคคลที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นอย่างไร

การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง ๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต ๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต ๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง

ใครคือผู้สร้างแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

เศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง เช่น

เศรษฐกิจพอเพียงเริ่มที่ตัวเอง.
- ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้.
- ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ.
- ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต.
- ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย.
- มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง.
- ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย.

เศรษฐกิจพอเพียง ระดับบุคคล หมายถึงข้อใด

ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว มุ่งเน้นให้บุคคลและครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุขทั้งทางกายและทางใจ พึ่งพาตนเองอย่างเต็ม ความสามารถ ไม่ทำอะไรเกินตัว ดำเนินชีวิตโดย ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมทั้งไฝ่รู้และมีการ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อความมั่นคงใน Page 21 19 อนาคต และเป็นที่พึ่งให้ผู้อื่นได้ในที่สุด เช่น ...