การพูดนําเสนองาน powerpoint

การนำเสนอเป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนแก่ผู้ฟังโดยการพูดประกอบสื่อในระยะเวลาสั้น ๆ องค์ประกอบของการนำเสนอประกอบด้วย ผู้นำเสนอ (Presenter) เนื้อหา (Content) ผู้ฟัง (Audlence) ผู้นำเสนอจะต้องมีบุคลิกภาพ ความเชื่อมั่น ประสบการณ์ การเตรียมตัว ความรู้ ความสามารถ สไตล์การนำเสนอ  เนื้อหาการสำเสนอ จะต้องประกอบด้วย วัตถุประสงค์ รูปแบบ ขั้นตอน ความยากง่าย ความน่าสนใจ สื่อประกอบ โสตทัศนูปกรณ์ ผู้ฟัง (Audlence) จะต้องมีความสนใจ ความรู้ ความเข้าใจ ความเกี่ยวข้อง ทัศนคติ การยอมรับ การเรียนรู้

Show

การนำเสนอที่ดี จะต้องเรียนรู้จากข้อเท็จจริง เรียนรู้จากจำนวนตัวเลข เรียนรู้จากรูปภาพและวีดีโอ เรียนรู้จากคำอธิบาย เรียนรู้จากการแสดงการสาธิต เรียนรู้จากตัวอย่างหรือแบบจำลอง เรียนรู้จากการอภิปรายซักถาม เรียนรู้จากการวิเคราะห์ด้วยตนเอง

ขั้นตอนแบบรายงานข้อมูล (Information Format) ประกอบด้วย

1. กำหนดหัวข้อการนำเสนอ 2. กล่าวความเป็นมา 3. เนื้อหาที่จะนำเสนอ (Outline) 4. นำเสนอข้อมูล  5. ลำดับเหตุการณ์  6.  ยกตัวอย่างประกอบ  7.  สร้างความเข้าใจแบบง่าย ๆ  8. ใช้โสตทัศนูปกรณ์ประกอบ 9. สรุปสาระสำคัญ

สื่อประกอบการนำเสนอ ได้แก่ แผ่นใส สไลด์ วีดีโอเทป ภาพยนตร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์คู่มือ-เอกสารประกอบ โปสเตอร์ แผ่นพับ หุ่นจำลอง ตัวอย่างของจริง

โสตทัศนูปกรณ์ ประกอบด้วย โปรเจคเตอร์ (PROJECTOR) เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายวีดีโอเทป  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องคอมพิวเตอร์ & LCD Projector   กระดานขาว (WHITE BOARD) ฟลิปชาร์ท (FLIP CHART)  เครื่องเสียง

ข้อแนะนำในการใช้ Power Point Presentation

ไม่ควรใช้จำนวน Slide มากเกินไป ระมัดระวังการใช้ Animation ให้เหมาะสม   ใช้ภาพประกอบหรือ Clip Arts สร้างความน่าสนใจ  ไม่ใส่เนื้อหาแน่นเกินไป ซ่อนบาง Slide ไว้ เพื่อใช้ประกอบเมื่อจำเป็น Slide Show ให้เต็มจอ กด “B” ทำ

ขั้นตอนการเตรียมการนำเสนอ

  1. กำหนดวัตถุประสงค์
  2. วิเคราะห์ผู้ฟังและสถานการณ์
  3. กำหนดรูปแบบ (FORMAT)
  4. รวบรวมข้อมูลและหลักฐานอ้างอิง
  5. วางโครงการนำเสนอ
  6. เรียบเรียงเนื้อหา
  7. จัดทำสื่อประกอบการนำเสนอ
  8. เตรียมบท (SCRIPTS)
  9. ตรวจสอบโสตทัศนูปกรณ์
  10. ซักซ้อมให้จอมืด หรือ “W” ทำให้จอสว่าง

ขั้นตอนการนำเสนอ

  1. ปรากฏตัวบนเวที
  2. ตรวจสอบความเรียบร้อย
  3. ทักทายและเกริ่นนำ
  4. นำเสนอ
  5. เปิดโอกาสให้ซักถาม
  6. สรุปและจบการนำเสนอ

การเริ่มต้นนำเสนอทางธุรกิจมีหลายรูปแบบแล้วแต่ความเหมาะสม

  1. เริ่มต้นโดยเกริ่นนำถึงผลประโยชน์ (Benefits Approach)
  2. เริ่มต้นโดยการพูดถึงปัญหาและทางแก้(Problems & Solutions)
  3. เริ่มต้นโดยกระตุ้นความอยากรู้ (Curiosity Stimulating)
  4. เริ่มต้นโดยกล่าวถึงข้อมูลสำคัญ (Information Giving)
  5. เริ่มต้นโดยการสาธิตที่น่าสนใจ (Dramatic Demonstration)

เนื้อหาการนำเสนอที่น่าสนใจ  จะต้อง เห็นภาพ (Visualization) น่าสนใจ  ใกล้ตัว  เป็นไปได้  แปลกใหม่ มองเห็นประโยชน์   สร้างอารมณ์ร่วม   มีหลักฐาน ตัวอย่าง   ข้อมูลชัดเจน

การจบการนำเสนอ (Closing for Business Presentation)

  1. สรุปเนื้อหาสำคัญ
  2. เน้นยํ้าประโยชน์ที่จะได้รับ
  3. กระตุ้นการตัดสินใจ
  4. สร้างความมั่นใจในการแก้ปัญหา
  5. กล่าวถึงขั้นต่อไป (Next Steps)

ประเภทคำถาม

คำถามที่พบส่วนมากมีดังนี้  สงสัยไม่เข้าใจ  เพิ่มเติมรายละเอียด  เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ไม่เห็นด้วย  คำถามเสนอความเห็น  ลองภูมิปัญญา  จ้องจับผิด  ต้องการมีส่วนร่วม  ถามนำ สร้างแนวร่วม  ถามแบบสนุก ๆ

เทคนิคการตอบคำถาม

เทคนิคในการตอถาม จะต้องแสดงความสนใจคำถาม  ชมผู้ถามตามความเหมาะสม  ทวนคำถามยํ้าประเด็น ตอบคำถามให้ตรงประเด็น  ตอบคำถามกับทุกคน  ควบคุมอารมณ์และระมัดระวังการใช้คำพูด  หากเป็นคำถามตอบยากและท้าทายให้หาแนวร่วม  ควบคุมสถานการณ์และเวลา

ประโยชน์ที่ได้รับ

ได้รับความรู้ในเกี่ยวกับรูปแบบ เทคนิค วิธีการนำเสนอ การเตรียมความพร้อมในการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้นำเสนอจะต้องมีทักษะและความเชื่อมั่นในการพูดการนำเสนอ โดยมีการวิเคราะห์และกำหนดประเด็นให้สอดคล้องความสนใจของผู้ฟัง ประกอบด้วย เตรียมตัวและเตรียมการให้พร้อม กำหนดรูปแบบ (Format) ที่เหมาะสม  ใช้หลักฐานอ้างอิง (Evidence) ที่มีนํ้าหนัก จัดทำสื่อประกอบการนำเสนออย่างเหมาะสม นำเสนออย่างมีรูปแบบขั้นตอน ตอบคำถามหรือข้อสงสัยได้อย่างชัดเจน

บริการสื่อความรู้ออนไลน์ Vlearn นี้ เป็นบริการของบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (“บริษัทฯ”) สำหรับผู้ใช้บริการซึ่งลงทะเบียนสำเร็จผ่านช่องทางที่บริษัทฯ กำหนด โดยมีข้อกำหนดและเงื่อนไขดังนี้

1. สื่อความรู้ออนไลน์ Vlearn ที่ผู้ใช้บริการสามารถรับชมได้นั้น เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทฯ และ/หรือ ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวแทนของเจ้าของ หรือบุคคลใดตามที่กฎหมายกำหนด โดยบริษัทฯ ไม่อนุญาตให้มีการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ ไม่ว่ากรณีใดๆ

2. บริการนี้มีไว้สำหรับรับชมส่วนบุคคลเท่านั้น ไม่สามารถนำไปเผยแพร่ หรือเปิดเผยต่อสาธารณะได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากบริษัทฯ เป็นลายลักษณ์อักษรหรือแบ่งปัน(Share) ตามช่องทางที่บริษัทฯ อนุญาต

3. ผู้ใช้บริการสามารถรับชมสื่อการเรียนออนไลน์ Vlearn ผ่านเว็บไซต์ https://www.vlearn.world/ ซึ่งสามารถลงทะเบียนและเข้าชมได้ทันทีสำหรับสื่อความรู้ฟรี และสามารถซื้อคอร์สต่างๆ เพิ่มเติมของบริการ VCourse

4. การสมัครสมาชิก

4.1 ผู้ใช้บริการประเภทบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จำเป็นต้องสมัครสมาชิกผ่านช่องทางที่บริษัทฯกำหนด ด้วย Email address (Username) และ รหัสผ่าน (Password) พร้อมกับยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขบริการของบริษัทฯ

4.2 ผู้ใช้บริการจะต้องกรอกข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อยืนยันความเป็นผู้ใช้บริการและสามารถสมัครสมาชิกได้เพียง 1 Email address (Username) ต่อ 1 สมาชิกเท่านั้น

4.3 บริษัทฯ มีสิทธิยกเลิกหรือจำกัดความเป็นสมาชิกได้ หากปรากฏว่าผู้ใช้บริการผิดเงื่อนไขการใช้บริการหรือนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจทำให้บริษัทฯได้รับความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใด รวมถึงการกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย

4.4 ความเป็นสมาชิกจะมีผลอยู่ตลอดไปจนกว่าจะมีการบอกเลิกการเป็นสมาชิก หรือบริษัทยกเลิกการเป็นสมาชิกอันเนื่องจากสมาชิกปฏิบัติผิดข้อกำหนดหรือเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง หรือไม่ทำการแก้ไขภายในระยะเวลาที่บริษัทได้แจ้งให้ทราบ หรือกระทำผิดกฎหมายใด ๆ รวมถึงกรณีที่บริษัทยุติการให้บริการ

4.5 ผู้ใช้บริการจะต้องรักษาบัญชีผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ไว้เป็นความลับเฉพาะตน และจะไม่ยินยอมให้บุคคลใดนำบัญชีผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ไปใช้ ไม่ว่าจะโดยความประมาทเลินเล่อ หรือโดยเจตนา หรือโอนสิทธิ หรือโดยประการใด ๆ เป็นอันขาด อย่างไรก็ดี การที่ผู้ใช้บริการยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ของผู้ใช้บริการนั้น ผู้ใช้บริการต้องรับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับบริษัทฯ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องแต่เพียงผู้เดียว

5. บริษัทฯ เป็นเพียงเจ้าของลิขสิทธิ์ และ/หรือ ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวแทนของเจ้าของ หรือบุคคลใดตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น มิได้เป็นผู้รับรองความถูกต้องของเนื้อหาแต่อย่างใด

6. บริษัทฯ มีสิทธิเปลี่ยนแปลงเนื้อหา ข้อกำหนดและเงื่อนไขของบริการ ตามความเหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้า

7. หากบริษัทฯ ตรวจสอบพบว่ามีการนำบริการไปใช้โดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือนำบริการไปใช้ในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ แก่บริษัทฯ หรือ ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการใช้บริการ บริษัทฯมีสิทธิระงับการใช้บริการได้ทันที

8. การให้ความยินยอมและคำรับรองของผู้ใช้บริการ

ผู้ใช้บริการรับทราบว่ายินยอมให้ผู้ให้บริการ เก็บรวบรวม ประมวลผล ใช้ ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคล และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ เพื่อประโยชน์ในการให้บริการ หรือเพื่อปรับปรุงการให้บริการ และเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือเพื่อวัตถุประสงค์การวิจัยตลาดและการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือเพื่อวิเคราะห์และนำเสนอบริการหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ ของผู้ให้บริการ และ/หรือบุคคลที่เป็นผู้จำหน่าย เป็นตัวแทน หรือมีความเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการ และ/หรือของพันธมิตรทางธุรกิจของผู้ให้บริการ และ/หรือ บริษัทในกลุ่มทรู หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดที่ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย หรือเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎระเบียบที่ใช้บังคับใช้กับผู้ให้บริการทั้งขณะนี้และในภายภาคหน้า โดยผู้ให้บริการสามารถส่ง โอน และ/หรือเปิดเผยข้อมูลข้างต้นให้แก่บริษัทในกลุ่มของผู้ให้บริการ พันธมิตรทางธุรกิจ ผู้ประมวลผลข้อมูล หรือหน่วยงาน/องค์กร/นิติบุคคลหรือบุคคลใดๆ ที่มีสัญญา ข้อตกลง หรือนิติสัมพันธ์ กับผู้ให้บริการหรือมีความสัมพันธ์ด้วยทั้งในประเทศและต่างประเทศ

9. ผู้ใช้บริการยินยอมให้บริษัทฯเชื่อมโยงข้อมูลที่ให้ไว้กับทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนวีเลิร์นเข้ากับบัญชีผู้ใช้ (Username) ที่ลงทะเบียนไว้

10. ผู้ใช้บริการตกลงจะไม่กระทำการหรือร่วมกับบุคคลอื่นกระทำการใด ๆ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของบริการวีเลิร์นที่ผิดวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ หรือผิดกฎหมาย หรือขัดกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี หรือก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ กับบุคคล และ/หรือผู้ใช้บริการรายอื่น

11. การใช้บริการ Vlearn ไม่ว่าด้วยอุปกรณ์ใด หรือเวลาใด ผู้ใช้บริการรับทราบและตกลงว่าจะปฏิบัติตามข้อกําหนดและเงื่อนไขการใช้ทุกประการ รวมทั้งเงื่อนไขอื่น ๆ ที่บริษัทฯจะได้กำหนดให้มีขึ้นเพิ่มเติมภายหลังตามที่บริษัทเห็นสมควร หรือเพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย

12. บริษัทฯ มีสิทธิเปลี่ยนแปลงบริการหรือระงับบริการได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้า

13. ผู้ใช้บริการตกลงใช้นามจริงหรือนามแฝง ที่เหมาะสม สุภาพ โดยห้ามใช้คำหยาบ ดูถูก เสียดสี สร้างความแตกแยก ยั่วยุ ส่อไปในทางลามกอนาจาร ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แสดงถึงการหมิ่นต่อพระบรมเดชานุภาพแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ หรือแอบอ้าง อ้างอิง พาดพิงถึงบุคคลหนึ่งคนใด สมาชิกที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นเองโดยตรงทั้งสิ้น และตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทฯ หากการฝ่าฝืนดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทฯ

14. บริษัทฯไม่ต้องรับผิดชอบและชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ อันเกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องกับการใช้บริการวีเลิร์นแก่ผู้ใช้บริการหรือบุคคลอื่นใด ไม่ว่าในกรณีใด ๆ หากบริษัทฯไม่สามารถให้บริการบางส่วนหรือทั้งหมด อันเนื่องจากระบบหรืออุปกรณ์ใด ๆ ของผู้ใช้บริการชำรุดหรือขัดข้อง หรือระบบโทรศัพท์ หรือระบบสื่อสารโทรคมนาคมขัดข้องหรือเหตุใด ๆ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทฯ

15. พบปัญหาการเข้าชมสื่อความรู้ออนไลน์ Vlearn หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ 02-700-8044 หรือ 064-132-2929  (จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 17.00 น.)

Knowledge > Digital Skills

6 วิธีพูดปิด Presentation ให้จบสวยและน่าประทับใจ

8358 views | 30/06/2022

การพูดนําเสนองาน powerpoint

การพูดนําเสนองาน powerpoint

การพูดนําเสนองาน powerpoint

Copy link to clipboard

การพูดนําเสนองาน powerpoint

Koii Nopnok

Content Creator

“ขอจบการนำเสนอเพียงเท่านี้” ถือเป็นประโยคยอดฮิตที่หลาย ๆ คนมักใช้พูดเวลาจบการนำเสนองาน ซึ่งบางครั้งเราก็อาจไม่อยากใช้คำนี้ปิดจบหรอก แต่แค่ไม่รู้ว่าจะพูดคำว่าอะไรดี แล้วคำพูดแบบไหนที่เราควรพูดปิด Presentation ล่ะ ? มาดู 6 วิธีในการพูดปิดงานนำเสนอ ว่าควรพูดอย่างไรเพื่อให้จบพรีเซนต์ได้อย่างมีสไตล์ จบสวย และน่าประทับใจ


การพูดนําเสนองาน powerpoint


1. ปิดด้วยคำกระตุ้นการตัดสินใจ

ถ้าคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือเป็นพนักงานที่กำลังนำเสนอโครงการใหม่ และจุดประสงค์หลักของการนำเสนอคือต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ฟัง คุณสามารถปิดจบการนำเสนอด้วยคำที่ทรงพลัง คำที่จะกระตุ้นการตัดสินใจ เช่น เริ่มต้นการเดินทาง หรือเข้าร่วมการต่อสู้ เป็นต้น การจบด้วยคำกระตุ้นการตัดสินใจ (Call to Action) จะทำให้ผู้ฟังรู้ว่าคุณกำลังสื่อสารอะไรกับพวกเขาอย่างชัดเจน และพวกเขาจะรู้ด้วยว่าควรทำอย่างไรต่อดี 



2. อย่าจบด้วยคำถามและคำตอบ

คุณอาจใช้เวลาในการนำเสนองานไปแล้ว 10-20 นาที และมันได้สร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังของคุณ และตอนนี้คุณจะปล่อยให้การนำเสนอจบด้วยการถาม-ตอบใช่ไหม ขอบอกเลยว่ามันเป็นวิธีการปิดจบที่ไม่ค่อยเวิร์ค แล้วจะจบการนำเสนองานอย่างไรให้ปัง หากคุณอยากเปิดจังหวะให้มีการถาม-ตอบ ขอแนะนำว่าในแต่ละหัวข้อควรมีการถามตอบพร้อมกันไปเลยตลอดการนำเสนอ วิธีนี้จะทำให้ผู้ฟังติดตามคุณอยู่เสมอ หรือจะมีการถามตอบทีหลังก็ได้ แต่คุณควรปิดการนำเสนอด้วยคำพูดที่สร้างแรงบันดาลใจดี ๆ มากกว่าปิดด้วยการตอบคำถาม



3. จบด้วยคำคมที่น่าจดจำ

ถ้าคุณไม่สามารถหาคำที่จะปิดจบการนำเสนองานได้ ลองใช้คำพูดของคนอื่นดูซิ อาจจะเลือกคำคมของคนดังที่เกี่ยวกับหัวข้องานนำเสนอมาพูด เช่น “เวลาของคุณมีจำกัด อย่าเสียเวลาไปใช้ชีวิตแบบคนอื่น” – สตีฟ จอบส์ เป็นต้น คำคมที่ทรงพลังจะช่วยสร้างความประทับใจได้ดีทีเดียว


การพูดนําเสนองาน powerpoint


4. ปิดจบด้วยเรื่องราว

ถ้าคุณนำเสนองานด้วยการเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจก็จะสามารถปิดท้ายด้วยเรื่องราวดี ๆ ได้ ซึ่งเรื่องราวที่จะพูดปิดนั้นอาจเป็นการสรุปสิ่งที่คุณพูดมาทั้งหมด หรือจะปิดท้ายด้วยการนำ Case Study ที่น่าจดจำมาเล่าก็ได้ คุณควรปิดจบด้วยการเล่าเรื่องราวที่มีความหมายและส่งผลต่ออารมณ์ของผู้ฟัง เพื่อจะได้ให้พวกเขาจดจำสิ่งที่คุณนำเสนอได้นานมากขึ้น 



5. ปิดด้วยประเด็นหลักของคุณ

นี่คือสูตรที่วิทยากรมืออาชีพหลายคนนิยมใช้ เพราะมันจะสร้างความประทับใจและทำให้พวกเขาจดจำการนำเสนอของคุณได้ เทคนิคคือบอกพวกเขาว่าคุณต้องการสื่อสารเรื่องอะไร เช่น “ก่อนที่จะจบการนำเสนอนี้ ฉันอยากจะทบทวนประเด็นหลักของฉันอีกรอบ” อย่ารีบระบุประเด็นสำคัญของคุณ แต่ทำให้ผู้ฟังเห็นว่าแต่ละส่วนมันเชื่อมโยงไปยังจุดอื่น ๆ อย่างไร การทำแบบนี้ถือเป็นการปิดจบอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมันสามารถทำให้ผู้ฟังจดจำประเด็นนั้นได้ดี



6. ขอบคุณ

หากคุณเป็นคนที่ไม่ชอบพูดคำคมและไม่อยากพูดว่าจบการนำเสนอแล้วด้วย การพูดขอบคุณก็ถือเป็นวิธีปิดจบการนำเสนองานที่ดีและเบสิก สามารถนำไปใช้ได้กับทุกการนำเสนอ โดยอาจจะพูดขอบคุณบุคคลที่ช่วยคุณ หรือขอบคุณแหล่งข้อมูลก็ได้  

การนําเสนองาน PowerPoint ต้องมีอะไรบ้าง

สไลด์ควรประกอบด้วยสไลด์ต่างๆดังนี้คือ สไลด์ปก สไลด์กั้นหน้า สไลด์เนื้อหา และสไลด์ภาคผนวก สไลด์ปก ให้ใส่ชื่อปัญหาที่มาตรการหรือโครงการของเราต้องการแก้ ให้สั้นกระชับ ใช้อักษรตัวใหญ่ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เช่น “มาตรการแก้ปัญหาลูกค้าลดลง”

เทคนิคการนําเสนอผลงาน มีอะไรบ้าง

1. การนำเสนอโดยวิธีธรรมชาติ (Nature Presentation) เช่น ทำตัวอย่างให้ดู สาธิตให้เห็นโดยใช้พฤติกรรมตามธรรมชาติ 2. การนำเสนอด้วยการพูด (Oral Presentation) เช่น พูดและแสดงให้เห็นจริง 3. การนำเสนอด้วยสื่อต่างๆ (Presentation Media) เช่น สิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ วีดีทัศน์ ภาพยนตร์ นิทรรศการ

การนําเสียงลงในสไลด์ควรเลือกไฟล์เสียงชนิดใด

รูปแบบไฟล์เสียงที่ได้รับการสนับสนุน .mp3. ไฟล์เสียง Windows. . wav.

การพูดหน้าชั้นเรียนต้องปฏิบัติอย่างไร

การใช้สายตาและกวาดสายตาไปยังผู้ฟังอย่างทั่วถึง • ข้อห้ามในการใช้สายตาขณะพูด – อย่าจ้องไปจุดใดจุดหนึ่ง – อย่าจ้องแบบไร้จุดหมาย – จงละเว้นสายตาที่ไม่สุภาพ ล้อเลียน ถากถาง – ไม่ควรเพ่งสายตาออกไปนอกห้อง – ไม่ควรละทิ้งสายตาจากผู้ฟังกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนาน – ไม่ควรตื่นเต้นกับสายตาผู้ฟังที่ประสานตอบ