ข่าวหลักสาราณียธรรม 6 หรือสังคหวัตถุ 4

บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษา วิเคราะห์ หลักธรรมเพื่อคุณภาพและความสำเร็จของงานวิจัย ในการดำเนินการวิจัยนั้นการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมและความเป็นประชาธิปไตยในการกระทำงานวิจัยร่วมกันของผู้วิจัยกับผู้ร่วมวิจัยเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ผู้เขียนเห็นว่า ควรมีหลักธรรมเป็นเครื่องชี้นำ เพื่อใช้เป็นข้อคิดตลอดระยะเวลาในการทำวิจัย เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย โดยเชื่อว่าการนำหลักธรรมที่จะกล่าวถึงข้างล่างนี้มาใช้ ได้ช่วยเสริมสร้างให้การดำเนินงานวิจัยเป็นไปอย่างมีคุณภาพมากขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยตามหลักการ แนวคิด และลักษณะของการวิจัยดังกล่าวเป็นไปอย่างมีคุณภาพและบรรลุผลสำเร็จ หลักธรรมที่นำมาใช้ประกอบในการวิจัย ได้แก่ กัลยาณมิตรธรรม 7  สังคหวัตถุ 4 วุฒิธรรม 4 เวสารัชชกรณธรรม 5 สาราณียธรรม 6 อริยทรัพย์ 7 นาถกรณธรรม 10 สัปปุริสธรรม 7 พรหมวิหาร 4 ฆราวาสธรรม 4 และอิทธิบาท 4 การนำหลักธรรมเหล่านี้มาประยุกต์ใช้สามารถเสริมสร้างให้การดำเนินงานวิจัยเป็นไปด้วยความยุติธรรมและมีคุณภาพมากขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยดังกล่าว มีคุณภาพและบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ ตลอดจนสร้างบรรยากาศในการทํางานให้ทํางานอย่างมีความสุข และผลงานมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้เขียนจึงนำหลักธรรมทั้งหมดที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้นมาใช้เป็นฐาน เพื่อใช้ข้อคิด เตือนใจในการทำวิจัย เพื่อมุ่งหวังให้เกิดความรู้ใหม่ในการศึกษาค้นคว้างานวิจัย และการทำวิจัยได้ก่อเกิดงานที่มีคุณภาพต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

นรฤทฏ์ สุทธิสังข์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรม 6 กับบทบาทผู้นำของผู้บริหารในองค์กร. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562, จาก https://bit.ly/2RrX53D

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2542). การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, อริทรัพย์ 7. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2562, จาก https://bit.ly/2YNP5zN.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม.กรุงเทพฯ: เอส.อาร์ พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2555). ช่วยเหลือสัตว์โลกผู้ที่ยังมืดบอดอยู่ให้มีดวงตาเห็นธรรมถึง. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2562, จาก https://1th.me/He0V.

พระมหาสมควร ศรีสงคราม. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัปปุริสธรรมและพละธรรมกับการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเขตกรุงธนบุรีใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ. (2553). เวสารัชชกรณธรรม วิธีตัดความกังวล 5 ประการ. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562, จาก https://bit.ly/2TdiFJU

พุทธทาสภิกขุ. (2500). ศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี หรือ ธรรมวิภาค นวกภูมิ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2562, จาก https://1th.me/Q6fb.

พุทธทาสภิกขุ. (2551). หลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธ. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2563. จากhttp://oknation.nationtv.tv/blog/autan/2011/11/11/entry-2

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2546). อริทรัพย์ 7. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562, จาก https://bit.ly/2M70Njh

สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง. (2561). วุฑฒิธรรม 4. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562, จาก https://www.phuttha.com/

อุเทน นุตรกลาง. (2554). พุทธศาสนากับการแก้ปัญหาสังคม.สืบค้นเมื่อ 4เมษายน 2563. จาก http://www.satit.up.ac.th/BBC07/AroundTheWorld/reli/15.html

พระมหานพพล สีทอง. (2554). สังคหวัตถุ 4. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2562, จากhttps://castool.com/2016/12/02/

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2554). การทำงานเป็นทีมด้วย "ความรัก" ตามแนวพุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2563. จาก https://www.thairath.co.th/content/159251

ชมรมจริยธรรม สวส.(ม.ป.ป.).ธรรมะกับการทำงาน. สืบค้นเมื่อ 4เมษายน 2563. จากhttp://nih.dmsc.moph.go.th/KM/56/Dhamma_at_work.pdf

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562) กัลยาณมิตรธรรม 7 . สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2562, จากhttps://bit.ly/2NGGZmJ

พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต). (2553). หลักธรรมนำชีวิต. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2563. จาก https://bit.ly/2UZ9oqd

เด็ก เยาวชนคืออนาคตของชาติ เมื่อเติบโตขึ้นไปพวกเขาเหล่านี้จะเป็นคนรุ่นใหม่ที่จะนำพาประเทศชาติไปสู่ความก้าวหน้า ความมั่งคั่งและความมั่นคงในหลาย ๆ ด้าน

ปัจจุบันข่าวนักเรียนตีกันยังคงปรากฏให้เห็นกันอย่างต่อเนื่อง ถ้าตีกันจนถึงตายก็จะกลายเป็นข่าว ภาพของพ่อแม่ร่ำไห้กับการสูญเสียยังคงติดตาคนในสังคม  ถามว่าที่ไม่เป็นข่าวยังตีกันอยู่หรือเปล่า ตอบได้เลยว่ายังมี เหตุอาจได้รับการปลูกฝังจากรุ่นพี่ที่ในทางที่ผิดทั้งศักดิ์ศรีและเรื่องความรักในสถาบันการศึกษา ทำให้เกิดพฤติกรรมคล้อยตาม

ตีกันแล้วได้อะไร ชนะแล้วยังไงต่อ ยังเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ??

ล่าสุด พระพยอม กัลยาโณ ได้จัดทำโครงการ "ยกพวกดีกัน" เป็นการยกพวกมาร่วมกันทำดี ซึ่งมีโรงเรียนอาชีวะตอบรับเข้าร่วมโครงการนี้กว่า 12 โรงด้วยกัน ประกอบ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ ช่างกล ขส.ทบ. วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก วิทยาลัยเทคโนโลยีปทุมธานี วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี วิทยาลัยการอาชีพสะตึก วิทยาลัยการอาชีพพระสมุทรเจดีย์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ยโสธร วิทยาลัยสารพัดช่างลพบุรี วิทยาลัยการอาชีพกาญจนบุรี วิทยาลัยการอาชีพบางแก้วฟ้า และ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ

ภายใต้กิจกรรม มีการใช้หลักธรรมเข้ามากล่อมเกลาจิตใจ ชื่อว่า "สาราณียธรรม 6" ประกอบด้วย 1. มโนกรรม: คิดดี 2. วจีกรรม : พูดดี 3. กายกรรม: ทำดี 4. สาธารณโภคี : แบ่งปัน 5. สีลสามัญญตา: เคารพ 6. ทิฏฐิสามัญญตา : รับฟัง ซึ่งตลอดเวลาที่เข้าร่วมกิจกรรม 10 วันนั้นตั้งแต่ 9-19 ต.ค. ดีไม่แตกจะได้รับแจกคนละ 5,000 บาท

ถือเป็นจุดเริ่มต้นกิจกรรมดี ๆ ให้กับเด็กอาชีวะ ใครยังหลงผิดคิดว่าเท่อาจจะปรับทัศนคติได้ เก๋าข้างทางอาจตายได้ แต่เก๋าในเส้นทางธรรมดี ย่อมส่งผลถึงอนาคตที่สดใส กิจกรรมโครงการยกพวกดีกันติดตามเด็กมาทำความ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.kanlayano.org และทาง www.facebook.com/prapayomFanPage