วงดนตรีไทยใดที่ปรากฏในสมัยธนบุรี คือ

ดนตรีไทยสมัยอยุธยาและธนบุรี from วิริยะ ทองเต็ม

ยุคสมัยของดนตรีไทย

1 สมัยก่อนสุโขทัย(สมัยน่านเจ้า)
ในสมัยนี้ไม่มีหลักฐานแน่นอนเป็นเพียงข้อสันนิษฐานจากการอ้างอิงหลายบทความกล่าวว่าได้พบเพลงไทยในโบราณยุคน่านเจ้า ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ กล่าวว่ากษัตริย์ไทยแห่งอาณาจักรน่านเจ้าได้ส่งวงดนตรีไปแสดงในราชสำนักจีน ข้อสันนิษฐานนี้แสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านดนตรีไทยหรือการเกิดดนตรีไทยตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย


2 สมัยสุโขทัย
จากการรวบรวมหลักฐานที่ปรากฏสรุปได้ว่าสมัยสุโขทัยมีการผสมวงดนตรีในรูปแบบของการขับไม้มีผู้แสดง 3 คน ผู้ขับร้อง ผู้สีซอสามสาย และผู้ทำหน้าที่ไกวบัณเฑาะว์ การขับไม้ใช้ในพิธีสมโภชพระมหาเศวตฉัตรหรือการสมโภชช้างเผือก ลักษณะของเนื้อร้องคล้ายกาพย์ยานีเรียกว่าการขับไม้


3 สมัยอยุธยา
สมัยนี้ดนตรีเจริญมากมีการประสมวงเกิดขึ้น ได้แก่วงปี่พาทย์ วงมโหรี และวงเครื่องสาย การขับไม้เพิ่มจาก 3 คนเป็น 4 คนเรียกว่ากองมโหรีเครื่องสี่ บทเพลงนิยมเพลงอัตราจังหวะ 2 ชั้นมากกว่าจังหวัดอื่น

มีวงดนตรี 3 ประเภท เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา คือ วงปี่พาทย์ วงมโหรี และวงเครื่องสาย แต่มีเครื่องดนตรีของชาติต่างๆ เข้ามาในประเทศไทยหลายชนิด ดังปรากฏในหมายกำหนดการของพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นว่า “ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิณพาทย์ไทย พิณพาทย์รามัญ มโหรีไทย ฝรั่ง มโหรีญวน เขมร ผลัดเปลี่ยนกันสมโภช 2 เดือนกับ 12 วัน” ในงานสมโภชพระแก้วมรกตเป็นต้น

ประวัติดนตรีไทยในสมัยอยุธยา-ธนบุรี

 ประวัติดนตรีไทยในสมัยอยุธยา

         ปรากฎหลักฐานเกี่ยวกับ ดนตรีไทย ในสมัยนี้ ในกฏมลเฑียรบาล ซึ่งระบุชื่อ เครื่องดนตรีไทย เพิ่มขึ้น จากที่เคยระบุไว้ ในหลักฐานสมัยสุโขทัย จึงน่าจะเป็น เครื่องดนตรี ที่เพิ่งเกิดในสมัยนี้ ได้แก่ กระจับปี่ ขลุ่ย จะเข้ และ รำมะนา นอกจากนี้ในกฎมณเฑียรบาลสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991-2031) ปรากฎข้อห้ามตอนหนึ่งว่า "...ห้ามร้องเพลงเรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีโทนทับ ในเขตพระราชฐาน..." ซึ่งแสดงว่าสมัยนี้ ดนตรีไทย เป็นที่นิยมกันมาก แม้ในเขตพระราชฐาน ก็มีคนไปร้องเพลงและเล่นดนตรีกันเป็นที่เอิกเกริกและเกินพอดี จนกระทั่งพระมหากษัตริย์ต้องทรงออกกฎมลเฑียรบาล ดังกล่าวขึ้นไว้เกี่ยวกับลักษณะของ วงดนตรีไทย ในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาขึ้นกว่าในสมัยสุโขทัย ดังนี้ คือ

1. วงปี่พาทย์ ในสมัยนี้ ก็ยังคงเป็น วงปี่พาทย์เครื่องห้า เช่นเดียวกับในสมัยสุโขทัย แต่มี ระนาดเอก เพิ่มขึ้น ดังนั้น วงปี่พาทย์เครื่องห้า ในสมัยนี้ประกอบด้วย เครื่องดนตรี ดังต่อไปนี้ คือ
  1. ระนาดเอก
  2. ปี่ใน
  3. ฆ้องวง (ใหญ่)
  4. กลองทัด ตะโพน
  5. ฉิ่ง

วงดนตรีไทยใดที่ปรากฏในสมัยธนบุรี คือ

2. วงมโหรี ในสมัยนี้พัฒนามาจาก วงมโหรีเครื่องสี่ ในสมัยสุโขทัยเป็น วงมโหรีเครื่องหก เพราะได้เพิ่ม เครื่องดนตรี เข้าไปอีก 2 ชิ้น คือ ขลุ่ย และ รำมะนา ทำให้ วงมโหรี ในสมัยนี้ ประกอบด้วย เครื่องดนตรี จำนวน 6 ชิ้น คือ
  • ซอสามสาย
  • กระจับปี่ (แทนพิณ)
  • ทับ (โทน)
  • รำมะนา
  • ขลุ่ย
  • กรับพวง

วงดนตรีไทยใดที่ปรากฏในสมัยธนบุรี คือ


                                               ประวัติดนตรีไทยในสมัยธนบุรี

     เนื่องจากในสมัยนี้เป็นช่วงระยะเวลาอันสั้นเพียงแค่ 15 ปี และประกอบกับเป็นสมัย แห่งการก่อร่างสร้างเมือง และการป้องกันประเทศเสียโดยมากวงดนตรีไทย ในสมัยนี้จึงไม่ปรากฎหลักฐานไว้ว่า ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงขึ้น สันนิษฐานว่า ยังคงเป็นลักษณะและรูปแบบของ ดนตรีไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง

วงดนตรีไทยใดที่ปรากฏในสมัยธนบุรี คือ



เขียนโดย Unknown ที่22:53

วงดนตรีไทยใดที่ปรากฏในสมัยธนบุรี คือ

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

        มีวงดนตรี ๓ ประเภท เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา คือ วงปี่พาทย์ วงมโหรี และวงเครื่องสาย แต่มีเครื่องดนตรีของชาติต่างๆ เข้ามาในประเทศไทยหลายชนิด ดังปรากฏในหมายกำหนดการของพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นว่า “ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิณพาทย์ไทย พิณพาทย์รามัญ มโหรีไทย ฝรั่ง มโหรีญวน เขมร ผลัดเปลี่ยนกันสมโภช ๒ เดือนกับ ๑๒ วัน” ในงานสมโภชพระแก้วมรกตเป็นต้น