ความ ปลอดภัย ใน การ ทํา งาน ห้อง เย็น

เผยแพร่เมื่อ: 05/09/2563....,
เขียนโดย คุณณัฐนิชา ทองอ่วม, Health Matters for JorPor Series..., 
              หัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย สายโรงงานอุตสาหกรรม

“ปฏิบัติงานในห้องเย็น…อย่าเห็นเป็นเรื่องเล็กๆ”

             ในตอนบ่ายวันหนึ่งขณะสอนเรื่องความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้างทั่วไปฯ ผู้เข้าอบรมท่านหนึ่งขอปรึกษาปัญหาหนักใจที่เก็บเงียบมา 2 วัน กับผู้เขียน…ซึ่งพอฟังจบ ถึงกับต้องถอนหายใจเบาๆกันเลย

             "อาจารย์คะแฟนหนูอยู่อีกบริษัทหนึ่ง เค้าทำงานในห้องเย็น (Cold storage) เมื่อวานซืนเค้าได้เข้าไปจัดของในห้องแช่แข็ง (Frozen storage) อุณหภูมิห้อง – 18 องศาเซลเซียส กับเพื่อนในแผนกอีก 3 คน แล้วเพื่อนออกไปหมดเผลอปิดประตูห้อง ทำให้แฟนหนูต้องกดปุ่มฉุกเฉินในการเปิดประตูแต่มันเปิดไม่ออก ทั้งทุบ ทั้งดึง ทั้งดัน จนเจ็บข้อมือและปวดแขนมาก จนเวลาผ่านไป 20 นาที ที่ติดอยู่ในห้องแช่แข็งเพื่อนมาเปิดประตูจากด้านนอกให้เพราะสังเกตว่าแฟนหนูหายไป ยังดีนะคะที่สวมชุดป้องกันความเย็นครบชุดไม่อย่างนั้นคงแย่แน่ๆ เพราะปกติถ้าเข้าไปหยิบของแฟนหนูบอกว่าเค้าจะไม่สวมชุดกันเพราะเข้าไปแป๊บเดียว  เมื่อออกจากห้องแช่แข็งมาได้ เพื่อนๆต่างโทษกันไปมาว่าใครปิดประตู จนกระทั่งเรื่องถึงหัวหน้างาน !!!

             หัวหน้างานของแฟนหนู บอกว่าให้ลาป่วยได้เพื่อไปหาหมอตรวจดูข้อมือและแขนที่ปวดโดยใช้สิทธิประกันสังคม และสั่งให้เงียบๆไว้ ไม่ต้องรายงานใครเดี๋ยวเป็นเรื่องใหญ่  ส่วนหมอที่รักษาพอทราบเรื่องที่เล่ามา เค้าแนะนำให้ไปแจ้งความค่ะ … หนูควรทำอย่างไรดีคะ? แล้วแฟนหนูจะอันตรายไหมคะนี่ ?”

 

ความ ปลอดภัย ใน การ ทํา งาน ห้อง เย็น
ความ ปลอดภัย ใน การ ทํา งาน ห้อง เย็น

            ผู้เขียนเคยเจอแบบนี้ในหลายๆสถานประกอบการที่ผู้ปฏิบัติงานไม่รายงานให้ จป.วิชาชีพ หรือหน่วยงานความปลอดภัยทราบ  เนื่องจากไม่อยากโดนสอบสวนเหตุการณ์  เพราะเมื่อสอบสวนเสร็จก็ต้องมาทำแผนจัดการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ ที่เค้าคิดว่า คือ “ภาระ” ก่อนที่จะตอบคำถามน้องคนนี้ จะขออธิบายอันตรายจากความเย็นให้อ่านกันสักนิดก่อนนะคะ
            1. 
“ความเย็น” ทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อ (Cold Burn)  คือ เกิดผลึกน้ำแข็งในเซลล์ของเนื้อเยื่อที่ถูกความเย็น มีการทำลายระบบไหลเวียนในหลอดเลือดฝอย ซึ่งการอุดตันที่เกิดขึ้นจากระบบไหลเวียนเลือดนี้ไม่อาจกลับคืนดีได้ดังเดิมแม้เนื้อเยื่อจะได้รับความอุ่นเป็นปกติแล้วก็ตาม
                        - 
ผลของความเย็นต่อร่างกายเฉพาะที่ เช่น  ผิวแห้งและแตก , chilblain or pernio , Immersion foot or trench foot 
                        - 
การบาดเจ็บจากความเย็นชนิดรุนแรง เช่น  Frostnip ,  Frostbite

ความ ปลอดภัย ใน การ ทํา งาน ห้อง เย็น

ความ ปลอดภัย ใน การ ทํา งาน ห้อง เย็น
ความ ปลอดภัย ใน การ ทํา งาน ห้อง เย็น

            2. “ความเย็น” ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง (Hypothermia) 
                 
การที่อุณหภูมิร่างกาย
ลดลงนั้นจะทำให้การทำงานของสมองช้าลง การตัดสินใจช้า หรือหมดความรู้สึก และเสียชีวิตในที่สุด อาการเตือนในระยะแรกๆ  จะมีการเจ็บปวดที่ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า  แสดงถึงอันตรายของความเย็น ในระหว่างที่มีการสัมผัสกับความเย็น ผู้เขียนเคยพบว่าบางโรงงานมีคนที่เกิดอาการเจ็บปลายนิ้วเกือบ 30 คน แต่ จป.วิชาชีพ ไม่เคยรู้เลย !!! และเมื่อเกิดการสั่นอย่างรุนแรงจะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิในร่างกายลดลงถึง 35◦C ถือได้ว่าบอกอันตรายที่จะเกิดขึ้นจึงควรให้หยุดการสัมผัสความเย็นทันที

ความ ปลอดภัย ใน การ ทํา งาน ห้อง เย็น

            เป็นอย่างไรกันบ้างคะ…พออ่านแล้วรู้ได้เลยใช่ไหมว่าการทำงานในห้องเย็น  ทำให้ จป.วิชาชีพ อย่างพวกเราใจเย็นต่อไปไม่ได้อีกแล้ว นี่ยังไม่รวมอันตรายจากสารทำความเย็นเลยนะคะ ดังนั้น เราต้องหามาตรการมาควบคุมเพื่อให้ทุกคนทำงานได้อย่างปลอดภัย อาทิเช่น การควบคุมลมในระบบปรับอากาศ (wind chill temperature) , กำหนดระยะเวลาการเข้าไปทำงานในห้องเย็นตามหลักของ ACGIH , ชุดป้องกันความเย็นที่เหมาะสมกับอุณหภูมิห้อง , ตรวจตราความปลอดภัยอุปกรณ์ต่างๆในห้องเย็น , วางแผนกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและการฝึกซ้อมฯ  รวมไปถึงการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงสำหรับผู้ปฏิบัติงานห้องเย็น

 

ความ ปลอดภัย ใน การ ทํา งาน ห้อง เย็น

ที่มา : Thermal Stress, Cold Stress, 1999 TLVs and BEIs, pages 159-167, ACGIH, Cincinnati, OH

            หลังจากอธิบายอันตรายจากความเย็นและหลักการทำงานในห้องเย็นให้น้องฟังไปแล้ว ผู้เขียนจึงให้ความเห็นส่วนตัว   มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้
                        - 
ให้แฟนของน้องไปที่หน่วยงานความปลอดภัยของบริษัท และเล่าเหตุการณ์ทั้งหมดให้ จป.วิชาชีพ ฟัง เพื่อสอบสวนหาสาเหตุที่แท้จริงและป้องกันไม่ให้เหตุนี้เกิดขึ้นอีก (เนื่องจากบริษัทที่แฟนน้องทำอยู่มีทีมความปลอดภัยที่ค่อนข้างเข้มงวดและเข้มแข็งอยู่แล้วแต่หัวหน้างานให้ปกปิดการรายงานเพราะกลัวความผิด) 
                        - 
สำหรับหัวหน้างาน  คงไม่ต้องให้อาจารย์บอกนะคะว่าควรทำงานร่วมกันต่อไปอีกได้ไหม  คงต้องให้ผู้บริหารของบริษัทพิจารณาเองในเรื่องกรณีปกปิดเหตุการณ์นี้ว่าจะดำเนินการอย่างไร เช่น ตักเตือนตามบทลงโทษของบริษัท  ปรับแก้ไขระบบการรายงานใหม่ สร้างทัศนคติเชิงบวกแก่พนักงานทุกระดับเพื่อให้เกิดการตื่นตัวในการรายงาน เป็นต้น

            และสุดท้ายสำหรับแฟนของน้อง เมื่อรายงานทุกอย่างให้ จป.วิชาชีพ ทราบแล้ว คงได้รับการเฝ้าระวังเรื่องภาวะสุขภาพต่อเนื่องต่อไป เพราะ โรคจากความเย็น” ถือว่าเป็น “โรคจากการทำงาน ใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทนในการรักษา ไม่ใช่สิทธิประกันสังคมค่ะ