พฤติกรรม ใน การ ทํา งาน ของ คน ใน องค์กร

แม้ว่าทุกองค์กรล้วนคาดหวังให้พนักงานในบริษัทของตนเองเต็มเปี่ยมไปด้วยคนที่มีความสุข มีแรงจูงใจในการทำงาน และเป็นพนักงานที่ดี แต่เรื่องจริงคือทุกองค์กรล้วนต้องมี พฤติกรรมของพนักงาน ที่นายจ้างแทบทุกที่ต่างร้องยี้ ส่ายหน้าระอาใจ แถมเพื่อนที่ทำงานก็ไม่อยากทำงานร่วมกับคุณ

Show

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme

พฤติกรรม ใน การ ทํา งาน ของ คน ใน องค์กร

พนักงานทั้ง 9 แบบ ที่ทุกองค์กรต่างส่ายหน้ามีดังนี้

1.ป่วยไม่จริง แต่ขอลาป่วย

ขอลาป่วย แต่ดันไม่ได้ป่วยจริง เหตุผลเรื่องลาป่วยมาเป็นอันดับหนึ่งเพราะพนักงานทุกสามารถใช้สิทธิ์ดังกล่าวได้ แบบที่นายจ้างก็ตำหนิไรไม่ได้ จากผลการสำรวจพนักงานและนายจ้างจำนวน 2,800 คน พบว่า 32 เปอร์เซนต์มีการยื่นลาป่วยโดยที่ไม่ได้ป่วยจริงอย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในหนึ่งปีเลยทีเดียว เนื่องด้วยสิทธิ์ในการลาป่วยต่อปีมีจำนวนหลายวัน พนักงานเหล่านี้เลยนิยมใช้สิทธิ์ลาป่วยยาวๆจนสิ้นปีเลยก็มี

2.ผิดเวลาไปทุกอย่าง

นอกเหนือจากเรื่องการเข้าทำงานที่สายแล้ว การเข้างานหลังจากพักเที่ยงที่ยังสาย รวมถึงงานที่ต้องส่งให้แก่หัวหน้าฝ่ายยังส่งช้าได้อีก งานนี้คาดว่าหัวหน้างานคงต้องทำอะไรซักอย่าง ไม่ไล่ออกก็อาจเปลี่ยนคนมาแทนที่คนเหล่านี้ก็เป็นได้ ดังนั้นอย่าทำตัวแบบนี้

3.กลิ่นทำร้ายคน

เป็นเรื่องยากอีกเรื่องที่คนเป็นหัวหน้าต้องรับมือ ฟังดูเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นเรื่องใหญ่ได้ แต่เรื่องสุขอนามัยของแต่ละบุคคลนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากทีเดียว เมื่อมีคนในองค์กรเริ่มบ่นเกี่ยวกับปัญหาสุขลักษณะของพนักงานในองค์กรด้วยกันเอง ความสะอาดเป็นเรื่องใหญ่นะ ดังนั้นให้ความสำคัญให้มาก

4.โทรศัพท์ส่วนตัว คุยเท่าที่จำเป็น

การใช้โทรศัพท์คุยเรื่องส่วนตัวทั้งวันในที่ทำงานถือเป็นเรื่องที่ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง พยายามเปิดใช้ระบบสั่นหรือปิดเสียงและรับสายเฉพาะสายสำคัญเท่านั้นโดยคุยด้านนอกที่ทำงานหรือห่างจากเพื่อนร่วมงาน ซึ่งรวมถึงหัวหน้างานของคุณด้วย

5.ทัศนคติไม่ได้

เมื่อพูดถึงพนักงานที่มีทัศนคติทางลบย่อมไม่สร้างผลดีแก่ส่วนอื่นๆในองค์กรเช่นเดียวกัน ไม่ว่าพนักงานคนนั้นจะชอบดูถูกคนอื่นๆ ไม่ให้ความร่วมมือในองค์กร และปล่อยข่าวที่เป็นเท็จ พนักงานเหล่านี้จะสร้างคลื่นใต้น้ำและปัญหาอื่นๆให้แก่ทั้งองค์กรอีกด้วย

6.ที่ทำงานไม่ใช่ที่ขายของ

เป็นเรื่องปกติที่การซื้อขายของสามารถกระทำได้ทุกแห่ง ไม่เว้นแม้แต่ในบริษัท แต่หากมีพนักงานใช้อีเมลล์หรือระบบของบริษัทประกาศขายของส่วนตัว คงต้องมีมาตรการบางอย่างจัดการกับเรื่องดังกล่าว

7.มลพิษทางเสียง

ฟังดูไม่น่าจะใช่เรื่องใหญ่ เพราะทุกองค์กรต้องมีการใช้พูดคุยในการทำงานอยู่ตลอดทั้งวัน ซึ่งถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับงานก็คงปกติ แต่ถ้าหากต้องเจอเสียงกรน เสียงหัวเราะดังลั่น เสียงเพลงที่เปิดดังลั่น และเสียงคุยกันข้ามหัวไปมา เสียงเหล่านี้ล้วนเป็นมลพิษทางเสียงซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการทำงานกับพนักงานส่วนอื่น

8.ที่ทำงาน ไม่ใช่ตลาดสด

ปัญหาดังกล่าวนี้พบได้มากในหลายๆองค์กร จะมีพนักงานที่ชอบเดินไปมาระหว่างแผนกเพื่อพูดคุยกับเพื่อนต่างแผนกเสมือนการเข้าสังคม พนักงานทุกคนล้วนมีหน้าที่และงานที่ต้องรับผิดชอบ การที่คนเหล่านี้เดินเข้ามาเพื่อเข้าสังคมในช่วงเวลาที่คุณกำลังใช้สมาธิทำงานอยู่ คงไม่เป็นผลดีในการทำงานอย่างแน่อน

9.อ้างผลงานตัวเองเก่ง

พนักงานประเภทที่อ้างว่าเป็นผลงานของตนเองแต่จริงๆแล้วความสำเร็จล้วนมาจากทีมงาน จะสังเกตพนักงานประเภทนี้ได้ง่ายคือพวกที่ไม่ชอบทำงานหนักและโยนภาระให้แก่คนอื่นอยู่บ่อยครั้ง

พฤติกรรม ใน การ ทํา งาน ของ คน ใน องค์กร

ทั้ง 9 ข้อนี้ ล้วนเป็นผู้ที่สร้างปัญหาให้แก่เพื่อนร่วมงานและองค์กรไม่มากก็น้อย ว่าแต่ในองค์กรของเพื่อนๆ มีคนประเภทนี้อยู่ในองค์กรกันบ้างหรือเปล่า ?

อ้างอิง : https://th.jobsdb.com

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333

พฤติกรรม ใน การ ทํา งาน ของ คน ใน องค์กร

การลาออกของพนักงานเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการจัดการอย่างมาก ในปัจจุบันบริษัททั่วโลกเลยหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงหาทางแก้ไข

ซึ่งหนึ่งในวิธีการลดอัตราการลาออกคือการเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงาน สำหรับบริษัทแล้วการเพิ่มแรงจูงใจให้พนักงานไม่เพียงแค่ช่วยลดอัตราการลาออกเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อีกด้วย

ซึ่งบริษัทหลายแห่งก็กำลังหาวิธีสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานของตนอยู่เช่นกัน ในครั้งนี้เราจะมาพูดถึงความสำคัญของการสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน และแนะนำตัวอย่างของการสร้างแรงจูงใจให้บริษัทลองนำไปปรับใช้กันดูครับ

Contents

  • ความสำคัญของการสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน
      • HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 
    • ทำไมบริษัทถึงเริ่มให้ความสำคัญกับการเพิ่มแรงจูงใจ
    • เมื่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานเพิ่มขึ้น จะเกิดผลดีต่อบริษัทอย่างไร
  • วิธีการเพิ่มแรงจูงใจให้พนักงาน
    • สิ่งที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการเพิ่มแรงจูงใจ
    • วิธีการเพิ่มแรงจูงใจให้พนักงาน
    • ปรับปรุงระบบการประเมินพนักงาน
    • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร
    • ผู้จัดการบอกกับพนักงานให้รู้ถึงสถานการณ์ต่างๆ และนโยบายการจัดการของบริษัท
    • ให้ Feedback พนักงานด้วยการให้รางวัล
    • สร้างบรรยากาศในการทำงานให้พนักงานกล้าชาเลนจ์กับสิ่งใหม่ๆ
    • มุ่งเน้นไปที่กระบวนการ
    •  ลดการทำงานแบบรูทีน
    • ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร
    • มี Work Life Balance
      • HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 
  • สรุป

ความสำคัญของการสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน

พฤติกรรม ใน การ ทํา งาน ของ คน ใน องค์กร

ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของแรงจูงใจกันก่อนครับ

แรงจูงใจ คือพลังที่อยู่ภายในตัวของบุคคลที่คอยผลักดันให้คนมีพฤติกรรมบางอย่าง และยังเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางหรือเป้าหมายของพฤติกรรมนั้นด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ แรงจูงใจเป็น ความตั้งใจ ความต้องการจะทำบางสิ่ง หรือเหตุผลของการกระทำนั่นเอง

แรงจูงใจมีอิทธิพลต่อผลิตภาพของการทำงาน ซึ่งผลิตภาพของงานจะมีคุณภาพมากน้อยเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับแรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งแรงจูงใจของพนักงานแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นแล้วบริษัทต้องเข้าใจว่าอะไรคือแรงจูงใจที่จะทำให้พนักงานคนนึงทำงานอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ

เดี๋ยวนี้บริษัทหลายๆแห่งก็กำลังหาวิธี แนวทางในการช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน ซึ่งการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ผลิตภาพก็เพิ่มขึ้นด้วย

สามารถกล่าวสรุปเป็นข้อๆ ถึงความสำคัญของการสร้างแรงจูงใจในการทำงานได้ดังนี้

– การสร้างแรงจูงใจช่วยเพิ่มพลังในการทำงานให้พนักงาน เพราะพลังเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการกระทำหรือพฤติกรรมของคน ถ้าเรามีแรงจูงใจในการทำงานสูง ก็ทำให้เรามีพลัง กระตือรือร้นที่จะทำงานนั้นๆให้สำเร็จ

– การสร้างแรงจูงใจช่วยเพิ่มความพยายามในการทำงานให้พนักงาน เพราะความพยายามทำให้เรา มีความอดทน พยายาม ไม่ท้อที่จะคิดหาวิธีการนำความรู้ความสามารถของตนมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่องานให้ได้มากที่สุด

– การสร้างแรงจูงใจช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของพนักงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงทำให้เราเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้ชีวิต คนที่มีแรงจูงใจในการทำงานสูง จะทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หากไม่สำเร็จก็จะหาข้อผิดพลาดเพื่อแก้ไข ซึ่งทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงการทำงาน จนในที่สุดทำให้เจอแนวทางที่เหมาะสมที่แตกต่างไปจากแนวเดิม

– การสร้างแรงจูงใจในการทำงานช่วยเสริมสร้างคุณค่าความเป็นคนที่สมบูรณ์ให้พนักงาน เพราะคนที่มีแรงจูงใจในการทำงานจะเป็นคนที่มุ่งมั่นทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าและทำงานที่ตนรับผิดชอบให้สำเร็จลุล่วง ซึ่งลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

พฤติกรรม ใน การ ทํา งาน ของ คน ใน องค์กร

Q: ในฐานะนายจ้างเราควรให้ให้เงินเดือนจากอายุหรือให้จากความสามารถที่แท้จริง

ตรงนี้อยากถามจากประสบการณ์ของเพื่อนๆนิดนึงว่าในอดีตที่ผ่านมา ผมเคยเจอทั้ง
1.คนที่ดูเก่งมากๆ และก็เรียกเงินเดือนสูงมากที่ขอบบนเช่นกัน
2.คนที่โปรไฟล์ที่โปรไฟล์ค่อนข้างโอเค แต่กลับเรียกเงินเดือนมาต่ำมาก
3.คนที่มีอายุงาน มีประสบการณ์สูงแล้ว แต่กลับเรียกเรทเงินเดือนที่ค่อนข้างธรรมดา
ในแต่ละเคสเพื่อนๆ มองว่าแรงจูงใจของผู้สมัครของแต่ละเคสเป็นอย่างไรบ้าง

A: แชร์จากประสบการณ์การ Offer พนักงานครับ

สมมุติว่าทั้ง 3 คนเป็นคนที่ Line Manager ชอบอยากพิจารณาจ้างทั้ง 3 คนเลย ก่อนอื่นอยากให้ Line Manager Ranking ว่าอันดับ 1,2,3 เพื่อประกอบการตัดสินใจ ส่วนบทบาทการเตรียมการ Offer เป็นหน้าที่ของ HR ละครับ ภายใต้หลักการของการพิจารณาดังนี้..

พฤติกรรม ใน การ ทํา งาน ของ คน ใน องค์กร

ทำไมบริษัทถึงเริ่มให้ความสำคัญกับการเพิ่มแรงจูงใจ

เพราะการเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานให้แก่พนักงานจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิมากขึ้น เรามาดูกันว่าแรงจูงใจมีอิทธิพลต่อการทำงานของคนๆหนึ่งอย่างไรบ้าง

คนที่มีแรงจูงใจในการทํางานสูง

  • มีสมาธิในการทํางาน ทำให้งานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  • รู้สึกถึงคุณค่าและพอใจในงานของตัวเอง
  • แม้ว่างานจะยากก็สามารถทำให้สำเร็จได้
  • ต้องการความท้าทายในงานใหม่ๆ
  • บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น และคนในทีมมีความสามัคคี

คนที่มีแรงจูงใจในการทํางานต่ำ

  • มีสมาธิในการทํางานน้อยลง ประสิทธิภาพงานก็ลดลงตาม ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่ายขึ้น
  • ไม่มีแรงบันดาลใจท้าท้ายกับงานใหม่ๆ
  • บรรยากาศในการทำงานแย่ลง ทำให้ไม่อยากมาทำงาน
  • ต่างคนต่างทำงาน ทำให้การทำงานเป็นทีมแย่ลง
  • เกิดความรู้สึกอยากลาออกจากงานในที่สุด

แรงจูงใจไม่ได้ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเท่านั้นแต่ยังส่งผลถึงความรู้สึกผูกพันกับองค์กรของพนักงานด้วย เมื่อพนักงานมีแรงจูงใจเพิ่มมากขึ้น พวกเขาก็จะรู้สึกว่าที่นี่คือที่ของเขา ทำให้เขาสามารถแสดงความสามารถออกมาได้อย่างเต็มที่ กลับกันหากไม่มีแรงจูงใจพวกเขาก็จะรู้สึกว่าอยู่ไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้นหรืออยู่ไปอย่างนั้นเพื่อรอเวลาที่เหมาะสมแล้วลาออก ไปอยู่บริษัทที่ดีกว่า

และในปัจจุบันการขาดแรงงานกำลังเป็นปัญหาใหญ่สำหรับบริษัทไม่ว่าจะเป็นในไทยหรือต่างประเทศ ปัญหานี้ทำให้การสรรหาบุคคากรมาทดแทนพนักงานที่ออกไปแล้วนั้นยากมากขี้น ดังนั้นเพื่อป้องกันการลาออกของพนักงาน บริษัทหลายๆแห่งจึงให้ความสนใจกับการเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานให้พนักงาน

เมื่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานเพิ่มขึ้น จะเกิดผลดีต่อบริษัทอย่างไร

เมื่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานเพิ่มขึ้น จะเกิดผลดีต่อบริษัทอย่างไรบ้าง

อย่างแรกข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคงจะเป็นเรื่องผลิตภาพของพนักงานดีมากขึ้น เมื่อผลิตภาพของพนักงานดีขึ้น บริษัทก็ได้กำไรเพิ่มขึ้น เมื่อมีกำไรเพิ่ม ก็สามารถเพิ่มรางวัลหรือสวัสดิการใหม่ๆให้พนักงานได้ ความรู้สึกผูกพันกับบริษัทก็ยิ่งเพิ่มขึ้น

แรงจูงใจส่งผลกับผลิตภาพในการทำงานของพนักงานอย่างไร

เมื่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานเพิ่มขึ้น ความตั้งใจทำงานก็เพิ่มขึ้นด้วย เมื่อมีความตั้งใจที่จะทำงานนั้นๆ เราจะมีสมาธิจดจ่ออยู่กับงาน ความผิดพลาดก็น้อยลง หรือมีความผิดพลาดเกิดขึ้นก็สามารถแก้ไขได้และไม่ทำพลาดอีก นอกจากนี้ยังมีความต้องการที่จะท้าทายงานใหม่ๆอีกด้วย กล้าที่จะลองใช้เทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

ถ้าบริษัทสร้างบรรยากาศที่ทำให้แรงจูงใจของพนักงานเพิ่มขึ้นมาได้ ไม่เพียงแค่พนักงานแต่ทั้งบริษัทจะมุ่งไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ

วิธีการเพิ่มแรงจูงใจให้พนักงาน

พฤติกรรม ใน การ ทํา งาน ของ คน ใน องค์กร

เมื่อรู้แล้วว่าการเพิ่มแรงจูงใจให้พนักงานมีข้อดีอย่างไร ต่อไปเราจะมาดูกันว่า วิธีใดบ้างที่จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงาน

CHECK!!

พฤติกรรม ใน การ ทํา งาน ของ คน ใน องค์กร

สิ่งที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการเพิ่มแรงจูงใจ

เมื่อเราเริ่มคิดถึงการเพิ่มแรงจูงใจให้กับพนักงาน สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ เราควรทำเพื่อพนักงานเป็นหลัก เพราะเมื่อเราทำเพื่อพนักงานจริงๆ พวกเขาจะมีแรงจูงใจและรู้สึกผูกพันกับบริษัทมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ การสร้างแรงจูงใจไม่ใช่การกระทำที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ต้องใช้วิธีการที่สามารถรักษาแรงจูงใจไว้ได้ในระยะยาว เพื่อนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

วิธีการเพิ่มแรงจูงใจให้พนักงาน

เราขอแนะนำวิธีการเพิ่มแรงจูงใจ ซึ่งมีอยู่หลายวิธีดังนี้

ปรับปรุงระบบการประเมินพนักงาน

ระบบประเมินที่ดีจะสามารถเพิ่มแรงจูงใจให้กับพนักงานได้ มีการประเมินอย่างตรงไปตรงมาโดยอ้างอิงจากข้อมูลการทำงานของพนักงานแต่ละคน ไม่ใช่เพียงแค่นั้น ควรกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของพนักงาน มีระบบประเมินที่ทำให้พนักงานได้มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหรือมีการเพิ่มเงินเดือนให้กับพวกเขา

นอกจากนั้นแล้ว การพัฒนาทักษะให้แก่พนักงานยังเป็นการช่วยให้การประเมินมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นการมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล มีการวางแผนในระยะยาวจึงเป็นเรื่องจำเป็น เช่น มีการวางแผนระยะยาวเพื่อพัฒนาบุคลากรให้พวกเขาเติบโตไปเป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการวางแผนให้พนักงานและหัวหน้าร่วมกันแบ่งปันภาพในอนาคตที่พวกเขาอยากมีความก้าวหน้าในอีก 5 ปี 10 ปี เป็นต้น

สร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร

ความสัมพันธ์ของพนักงานภายในองค์กร เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งที่สร้างแรงจูงใจให้พนักงาน ถ้าความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานไม่ดีสามารถลดแรงจูงใจในการทำงานได้เลย การจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กรได้นั้น จำเป็นจะต้องสร้างบรรยากาศที่ดีที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารภายในองค์กร

นอกจากนี้การคอยเช็คความพึงพอใจของพนักงาน หรือมีแผนกให้คำปรึกษากับพนักงานเมื่อมีเรื่องไม่สบายใจหรือเรื่องที่ไม่สามารถปรึกษาหัวหน้าได้ก็จะทำให้การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลง่ายขึ้น โดยเฉพาะกับพนักงานใหม่ๆ ที่เพิ่งเข้ามาทำงานได้ไม่นาน เพราะพวกเขาไม่กล้าที่จะเข้าไปพูดคุยปรึกษากับหัวหน้าโดยตรงจนสะสมความเครียดเอาไว้

ดังนั้น ฝ่ายทรัพยากรบุคคลไม่ควรนึ่งเฉยรอความเห็น หรือรอให้พนักงานเข้ามาปรึกษาเพียงอย่างเดียว แต่ควรทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยหาวิธีการหรือนโยบายมาส่งเสริมให้คนภายในองค์กรสื่อสารกันมากขึ้น

ผู้จัดการบอกกับพนักงานให้รู้ถึงสถานการณ์ต่างๆ และนโยบายการจัดการของบริษัท

การแบ่งปันข้อมูลภายในองค์กรให้ผู้มีส่วนรับผิดชอบรับรู้นั้นเป็นอีกเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะการแบ่งปันแจ้งข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์ต่างๆ หรือนโยบายการจัดการในอนาคตขององค์กรให้พนักงานทุกระดับได้รับรู้จะทำให้พนักงานได้เข้าใจว่าบริษัทกำลังดำเนินการไปในทิศทางไหนและมีแรงจูงใจในการทำงานเพิ่มมากขึ้น

โดยปกติการประกาศไว้ทางหน้าเว็บขององค์กรเป็นวิธีที่ดีอยู่แล้ว แต่มีอีกวิธีที่ดีกว่านั้นคือ การแจ้งข่าวสาร นโยบายในอนาคตขององค์กรโดยตรงกับพนักงาน ซึ่งการแจ้งข้อมูลต่อหน้าพนักงานแบบนี้จะทำให้พนักงาน รู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วม มีคุณค่าต่อองค์กร รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับการทำงานมากขึ้น

ให้ Feedback พนักงานด้วยการให้รางวัล

วิธีหนึ่งที่พนักงานแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจทำงานก็คือ การที่พวกเขาทำงานดี ทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เราก็ควรมีการให้รางวัลตอบแทน

หากเป็นงานของขายหรือฝ่ายพัฒนา ที่ผลลัพธ์ของการทำงานจะแสดงออกมาเป็นตัวเลขอยู่แล้วนั้น บริษัทสามารถอ้างอิงจากข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้รางวัลแก่พนักงานได้ แต่หากเป็นงานประเภทธุรการ หรืองานฝ่ายทรัพยากรบุคคล ที่ผลลัพธ์ของการทำงานส่วนมากไม่ได้แสดงออกมาเป็นตัวเลขล่ะ ควรทำอย่างไร

ในกรณีแบบนี้ ควรมีการให้รางวัลพิเศษกับบุคคลที่ทำงานดีโดยอาจจะวัดจากการทำงานในครึ่งปีหรือดูจากการปรับปรุงการทำงาน เป็นต้น ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานได้

สร้างบรรยากาศในการทำงานให้พนักงานกล้าชาเลนจ์กับสิ่งใหม่ๆ

เพื่อให้พนักงานกล้าที่จะชาเลนจ์กับงาน ลองจัดการประกวด หรืออีเวนท์ที่ให้พนักงานสามารถเสนอไอเดียในการทำโปรเจคใหม่ๆได้ หรือมีการร่วมลงทุนภายในบริษัทเพื่อทำธุรกิจภายใต้บริษัทเดิมขึ้นมา สิ่งนี้จะทำให้บริษัทได้รวบรวมความคิดเห็นดีๆ จากพนักงานมาต่อยอดในการทำธุรกิจได้มากขึ้น

หากโปรเจคใหม่ที่ได้ลองชาเลนจ์ไปประสบความสำเร็จ ก็อย่าลืมประเมินเพื่อให้รางวัลพิเศษกับพนักงานที่เสนอไอเดียมา แต่ถ้าล้มเหลวก็อย่าเพิ่งสรุปจากผลลัพธ์เพียงอย่างเดียว แต่ควรดูว่าเราจะนำความล้มเหลวตรงนั้นมาปรับเปลี่ยนให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปอย่างไร ถ้าทำเช่นนี้ได้บริษัทก็จะสามารถสร้างบรรยากาศที่ทำให้พนักงานไม่เกรงกลัวต่อการชาเลนจ์สิ่งใหม่ๆ

นอกจากนี้แล้ว เพื่อให้ได้ไอเดียที่หลากหลายและสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง ควรมีการจัดทีมให้คนใหม่ๆ กับคนที่มีประสบการณ์มาแสดงไอเดียร่วมกัน เพราะบางครั้งแค่คนใหม่ๆเพียงกลุ่มเดียวอาจจะมีไอเดียที่นำไปปฏิบัติจริงได้ยาก การรวมคนที่มีประสบการณ์เข้าทีมด้วย จะทำให้การชาเลนจ์สิ่งใหม่ๆง่ายขึ้น

มุ่งเน้นไปที่กระบวนการ

เหมือนกับที่ได้กล่าวไปแล้วในข้อก่อนหน้าเกี่ยวกับความล้มเหลว ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ของการชาเลนจ์จะไม่ได้ดังที่คาดหวัง แต่ก็ยังมีกระบวนการของการทำงานอยู่ ซึ่งในกระบวนการแต่ละขั้นตอน มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล สิ่งสำคัญคือเราจะสามารถนำขั้นตอนที่ได้ผลไปปรับใช้ในการทำงานครั้งต่อไปได้อย่างไร

ถึงแม้ผลลัพธ์ของงานอาจจะไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง หากแต่เราลองให้ความสำคัญกับกระบวนการในการทำงานดู เราอาจจะได้พบสิ่งที่ทำให้เราสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานอื่นและทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้

 ลดการทำงานแบบรูทีน

การทำงานแบบซ้ำๆ วนไปเหมือนกันทุกๆวัน หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า งานรูทีน การทำงานแบบนี้อาจจะส่งผลให้พนักงานหมดแรงจูงใจไปได้ เพราะการทำงานที่ซ้ำๆ กันทุกๆ วันจะทำให้เรารู้สึกไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ไม่มีการเติบโตพัฒนา ไม่มีความท้าทาย จนในที่สุดเราไม่มีแรงจูงใจในการทำงานนั้นๆ

ถึงแม้งานรูทีนแบบนี้จะเป็นงานที่สำคัญมากสำหรับองค์กร แต่ถ้าเราต้องการจะสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานแล้วล่ะก็ เราควรมีวิธีการจัดการกับงานรูทีนเหล่านี้ โดยการจัดจ้างคนภายนอก (Outsourcing) หรือนำระบบจัดการงานเข้ามาใช้ภายในองค์กร เป็นต้น เมื่อเราสามารถลดการทำงานที่เป็นรูทีนออกไปได้ พนักงานก็จะมีเวลาให้กับงานหลักมากขึ้น มีเวลาไปชาเลนจ์งานใหม่ๆ เป็นการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานได้ดีอีกวิธีหนึ่ง

ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร

การจะเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานให้พนักงานได้นั้นไม่เพียงแค่เน้นการฝึกอบรมพนักงานเท่านั้นแต่ควรเน้นการฝึกอบรมผู้ที่เป็นหัวหน้าด้วย เพราะบุคคลระดับหัวหน้าจะเป็นคนที่รู้และเข้าใจสถานการณ์ในการทำงานทั้งหมด และยังเป็นคนที่ควรจะมอบหมายงานให้เหมาะกับนิสัยและความสามารถของพนักงานได้อีกด้วย พนักงานที่อยู่ภายใต้การบริหารของหัวหน้าลักษณะนี้จะสามารถเติบโตพัฒนาและสร้างผลงานที่ดีออกมาได้

การฝึกอบรมที่ได้ผลดีนั้นควรเป็นการอบรมที่เน้นการพัฒนามากกว่าการอบรมที่เน้นเรื่องเทคนิค นอกจากนั้นแล้วการส่งเสริมให้พนักงานไปรับการฝึกอบรมนอกบริษัทก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้พนักงานสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะการอบรมนอกบริษัทจะทำให้พนักงานได้เจอกับคนที่มาจากบริษัทอื่น ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนทัศนคติในการทำงาน และยังเป็นการกระตุ้นทำให้พนักงานมีแรงจูงใจที่จะทำงานหรือต้องการที่จะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นเพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการทำงาน

มี Work Life Balance

จะสังเกตได้ว่าบริษัทที่มีชั่วโมงการทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานและชอบให้พนักงานไปทำงานในวันหยุด จะทำให้พนักงานหมดไฟในการทำงานได้ง่าย

หากลองปรับเปลี่ยนชั่วโมงการทำงานให้สั้นลง เพิ่มเวลาให้พนักงานได้ผ่อนคลายเพื่อให้พวกเขาได้มีสมาธิในการทำงาน เมื่อมีสมาธิมากขึ้น งานที่ได้ก็มีประสิทธิภาพ การทำงานล่วงเวลาหรือการมาทำงานในวันหยุดก็จะลดลงไปโดยอัตโนมัติ และเมื่อพนักงานรู้สึกว่างานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น พวกเขาจะรู้สึกมีความพอใจในงานที่ทำและมีแรงจูงใจที่จะทำให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

เมื่อรู้ว่าพนักงานแต่ละคนมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่แตกต่างกัน สิ่งสำคัญคือการเลือกวิธีพัฒนาบุคลากรให้เหมาะสมกับพนักงานแต่ละคน เพราะการเลือกใช้วิธีการทำงานให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์หรือค่านิยมของพวกเขานั้นจะสามารถสร้างแรงจูงใจให้พนักงานได้

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

พฤติกรรม ใน การ ทํา งาน ของ คน ใน องค์กร

Q: อยากเริ่มสร้าง motivation ให้พนักงานต้องทำอะไรบ้าง

ขอคำแนะนำเรื่องนี้ เพราะอยากให้พนักงานอินกับงานมากๆ ร่วมคิด ร่วมออกไอเดีย ขยัน ไม่เกี่ยงงานค่ะ

A: เมื่อพูดถึง motivation แล้ว นั่นหมายถึงเรากำลังให้น้ำหนักในเรื่องจิตวิทยาองค์กร (Organization Psychology)

และสำหรับแรงจูงใจ หรือ motivation ในเรื่องต่างๆของมนุษย์นั้น ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับงานในองค์กรหรือเป็นเรื่องส่วนบุคลลในชีวิตประจำวันจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อรู้ว่า คนๆนั้นต้องการสิ่งใดเป็นพื้นฐานทางจิตใจและร่างกาย..

พฤติกรรม ใน การ ทํา งาน ของ คน ใน องค์กร

สรุป

เมื่อแรงจูงใจของพนักงานเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราการลาออกของพนักงานน้อยลง การทำงานก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น บรรยากาศภายในองค์กรดีขึ้น ทุกคนมีความต้องการที่จะพัฒนา บริษัทก็เติบโตตามไปด้วย

วิธีการเพิ่มแรงจูงใจให้พนักงานนั้นก็มีหลากหลายวิธี เราไม่มีทางรู้ได้ว่าวิธีไหนจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดถ้าเราไม่ลองนำมาปรับใช้กับองค์กรของเราก่อน นอกจากนั้นสิ่งสำคัญอีกอย่างคือ การพูดคุยกับพนักงานก่อนที่จะนำนโยบายต่างๆเข้ามาใช้ ซึ่งการพูดคุยจะทำให้พนักงานเข้าใจถึงเป้าหมายและความสำคัญ เราเองก็ได้รู้ถึงความต้องการของพวกเขาด้วย

เมื่อทุกฝ่ายในองค์กรมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีแรงจูงในการทำงาน หรือมีความต้องการสร้างผลงานให้มากขึ้นแล้ว บริษัทก็จะเติบโตขึ้น ได้ผลกำไรมากขึ้น ซึ่งผลกำไรที่ได้ก็จะกลับคืนมาสู่พนักงานทุกคน หากบริษัทสามารถดำเนินการตามลูปนี้ได้ เชื่อเลยว่าการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปครับ

คุณมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการหาคำตอบใช่หรือเปล่า?

พฤติกรรม ใน การ ทํา งาน ของ คน ใน องค์กร

หากคุณรู้สึกว่าได้รับเทคนิคดี ๆ จากบทความนี้และอยากได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก

สามารถตั้งคำถามได้ในชุมชนของเรา ! แล้วคุณจะได้รับคำตอบมืออาชีพจากผู้เชี่ยวชาญ

พฤติกรรม ใน การ ทํา งาน ของ คน ใน องค์กร