รายงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน

เรื่อง ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและสำนักงาน

1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไฟฟ้า

                  ไฟฟ้า เป็นพลังงานรูปหนึ่งสามารถเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานรูปอื่นได้และเป็นพลังงานที่มนุษย์นำมาใช้เป็น พลังงานสำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆให้สามารถทำงานได้พลังงานไฟฟ้าจึงเป็นพลังงานที่มีความสำคัญมาก เช่น ให้ความสว่างให้ความร้อนให้ความเย็นให้มอเตอร์ทำงาน พลังงานจากธรรมชาติที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้ามีหลายชนิดเช่น พลังงานจากน้ำ พลังงานจากลม พลังงานจากแสงอาทิตย์ พลังงานจากถ่านหิน พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ พลังงานจากน้ำมัน พลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ เป็นต้น  

แหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า

                  โรงไฟฟ้าพลังน้ำ คือ ไฟฟ้าที่เกิดจากพลังน้ำโดยใช้พลังงานจลน์ของน้ำซึ่งเกิดจากการปล่อยน้ำจากที่สูงหรือการไหลของน้ำหรือการขึ้น-ลงของคลื่นไปหมุนกังหันน้ำ (Turbine)และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยพลังงานที่ได้จากไฟฟ้าพลังน้ำนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำความแตกต่างของระดับน้ำและประสิทธิภาพของกังหันน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กำลังไฟฟ้าและพลังงานจากพลังน้ำ 

                  โรงไฟฟ้าพลังความร้อน คือ โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังความร้อนจากเชื้อเพลิงชนิดต่างๆเช่น ถ่านหิน น้ำมันเตาก๊าซธรรมชาติและนิวเคลียร์มาต้มน้ำให้เป็นไอความดันสูงไปขับดันกังหันให้หมุนเป็นพลังงานกลและต่อเพลาเข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าซึ่งมีแรงดันและความถี่ตามที่กำหนดไว้หรือใช้ความร้อนจากการสันดาปภายในของน้ำมันดีเซลของเครื่องยนต์ดีเซลไปฉุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้กำเนิดไฟฟ้าได้เช่นกัน  

                  โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม เป็นการนำเอาเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซและโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำมาใช้งานเป็นระบบร่วมกันโดยการนำไอเสียจากโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซซึ่งมีความร้อนสูงประมาณ 500 องศาเซลเซียส ไปผ่านหม้อน้ำและถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำ ทำให้น้ำเดือดกลายเป็นไอเพื่อขับกังหันไอน้ำสำหรับผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อไปโดยทั่วไปโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะประกอบด้วยเครื่องกังหันก๊าซ 1 – 4 เครื่องร่วมกับกังหันไอน้ำ 1 เครื่อง 

                  โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์  ใช้พลังงานความร้อนจากปฏิกิริยาแตกตัวทางนิวเคลียร์ (nuclear fission reaction) ทำให้น้ำกลายเป็นไอน้ำที่มีแรงดันสูงแล้วส่งไอน้ำไปหมุนกังหันไอน้ำซึ่งต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟฟ้าและส่งต่อไปยังผู้บริโภคต่อไป ปัจจุบันพลังงานนิวเคลียร์มีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมากเนื่องจากพลังงานนิวเคลียร์ให้พลังงานความร้อนมหาศาลสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์อื่นๆตลอดจนในการแพทย์ ด้วยประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศได้เล็งเห็นความสำคัญของพลังงานนิวเคลียร์เพื่อที่จะนำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อรองรับการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการกำลังไฟฟ้าสูงมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งโรงไฟฟ้าแบบอื่นๆมักมีขีดจำกัดในการผลิตกำลังไฟฟ้า 

                  โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ  เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้กังหันก๊าซเป็นเครื่องต้นกำลังซึ่งได้พลังงานจากการเผาไหม้ของส่วนผสมระหว่างก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันดีเซลกับอากาศความดันสูง (Compressed Air) จากเครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) ในห้องเผาไหม้เกิดเป็นไอร้อนที่ความดันและอุณหภูมิสูงไปขับดันใบกังหันเพลากังหันไปขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า 

1.2 ปริมาณทางไฟฟ้าและการคำนวณ

1. กระแสไฟฟ้าเกิดจากการไหลของอิเล็กตรอน มีหน่วยทางระบบ SI ว่าแอมแปร เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าคือแอมมิเตอร์ กระแสไฟฟ้ามี 2 ชนิดคือ

   -ไฟฟ้ากระแสตรง คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลไปทางเดียวกันตลอด เช่น ไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์ไฟฟ้าเคมีและแบตเตอรี

   - ไฟฟ้ากระแสสลับ คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลกลับไปกลับมาตลอดเวลา เช่น ไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือน

2. ความต่างศักย์ระดับของปริมาณพลังงานไฟฟ้าจากจุด 2 จุด ซึ่งวัดได้ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า โวลต์มิเตอร์ มีหน่วยเป็น โวลต์

3. ความต้านทานไฟฟ้า หมายถึงสมบัติของลวดตัวนำที่ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า วัดได้ด้วยเครื่องมือเครื่องมือที่เรียกว่าโอห์มิเตอร์มีหน่วยเป็น โอห์ม

4. ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าความต่างศักย์ไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้าเมื่อกระแสไฟฟ้ามีมากความต่างศักย์ก็จะมากขึ้นและความต้านทานไฟฟ้าจะลดน้อยลง

       การคำนวณค่าไฟขึ้นอยู่กับ Watt ของเครื่องใช้ไฟฟ้า(Watts x จำนวนชั่วโมงทำงาน) / 1000 watts =kW   พอได้ kWh แล้วก็เอามาคูณกับราคาค่าไฟฟ้าต่อ kWh

       ก่อนอื่นต้องทราบจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ในบ้านก่อนว่ามีจำนวนเท่าใดและเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ะชนิดกินไฟเท่าไรสามารถสังเกตุได้จากคู่มือการใช้งานหรือแถบป้ายที่ติดกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เขียนว่า กำลังไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยเป็นวัตต์ ( Watt) หลังจากนั้นลองคำนวณดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดที่ใช้งานในแต่ละวันกินไฟวันละกี่ยูนิตและนำมาเปรียบเทียบกับอัตราค่าไฟฟ้า

โดยสามารถคำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้

การใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1 ยูนิต คือเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1000 วัตต์ที่ใช้งานในหนึ่งชั่วโมง

   ตัวอย่างบ้านอยู่อาศัยของท่านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ในบ้าน 5 ชนิด เราสามารถคำนวณการใช้ไฟฟ้าได้ ดังต่อไปนี้

              1.หลอดไฟฟ้าขนาด 36 วัตต์ (รวมบาลาสต์อีก 10 วัตต์ เป็น 46 วัตต์ ) จำนวน 10 ดวง เปิดใช้งานวันละ 6 ชั่วโมง ใช้ไฟฟ้าวันละ 46 x 10 ¸ 1000 x 6 = 2.76 หน่วยหรือเดือนละ (30 x 2.76 ) = 82.8 หน่วยหรือประมาณ 83 หน่วย

              2.หม้อหุงข้าวขนาด 600 วัตต์ จำนวน 1 ใบเปิดใช้งานวันละ 30 นาที ( 0.5 ชั่วโมง ) ใช้ไฟวันละ 600 x 1 ¸ 1,000 x 0.5 = 0.3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30 x 0.3 ) = 9 หน่วย

              3.ตู้เย็นขนาด 125 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งาน 24 ชั่วโมง สมมติคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 8 ชั่วโมงใช้ไฟวันละ125 x 1 ¸ 1000 x 8 = 1 หน่วย หรือประมาณเดือนละ ( 30 x 1) = 30 หน่วย

              4.เครื่องปรับอากาศ ขนาด 20,000 บีทียู (ประมาณ 2,000 วัตต์ ) จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 12 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 6 ชั่วโมง ใช้ไฟฟ้าวันละ 2000 x 1 ¸ 1000 x 6 = 12 หน่วย หรือประมาณเดือนละ ( 30 x 12 ) = 360 หน่วย

              5. ทีวีสี ขนาด 100 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 4 ชั่วโมง 100 x 1 ¸ 1000 x 4 = 0.4 หน่วย หรือประมาณ เดือนละ (30 x 0.4 ) = 12 หน่วย

    รวมการใช้ไฟฟ้าในบ้าน ประมาณเดือนละ 83+9+30+360+12 = 494 หน่วย

1.3 วงจรและการต่อวงจรไฟฟ้า

          วงจรไฟฟ้าเป็นการนำเอาสายไฟฟ้าหรือตัวนำไฟฟ้าที่เป็นเส้นทางเดินให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านต่อถึงกันได้นั้นเราเรียกว่าวงจรไฟฟ้าการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนที่อยู่ภายในวงจรจะเริ่มจากแหล่งจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังการแสดงการต่อวงจรไฟฟ้าเบื้องต้นโดยการต่อแบตเตอรี่ต่อเข้ากับหลอดไฟ หลอดไฟฟ้าสว่างได้เพราะว่ากระแสไฟฟ้าสามารถไหลได้ตลอดทั้งวงจรไฟฟ้าและเมื่อหลอดไฟฟ้าดับก็เพราะว่ากระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้ตลอดทั้งวงจร เนื่องจากสวิตซ์เปิดวงจรไฟฟ้าอยู่นั่นเอง

แสดงวงจรไฟฟ้าเบื้องต้นมีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน

 ส่วนประกอบหลักแต่ละส่วนมีหน้าที่การทำงานดังนี้

            1.  แหล่งจ่ายไฟฟ้าเป็นแหล่งจ่ายแรงดันและกระแสให้กับอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าโดยแหล่งจ่ายไฟฟ้าสามารถนำมาได้จากหลายแหล่งกำเนิด เช่น จากปฏิกิริยาเคมีจากขดลวดตัดสนามแม่เหล็กและจากแสงสว่างเป็นต้น บอกหน่วยการวัดเป็นโวลต์ (Volt) หรือ V

            2.  โหลดหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ไฟฟ้าในการทำงานโหลดจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่นๆ เช่น เสียง แสง ความร้อน ความเย็น และการสั่นสะเทือน เป็นต้น โหลดเป็นคำกล่าวโดยรวงมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดอะไรก็ได้ เช่น ตู้เย็น พัดลม เครื่องซักผ้า โทรทัศน์ วิทยุและเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น โหลดแต่ละชนิดจะใชัพลังงานไฟฟ้าไม่เท่ากัน ซึ่งแสดงด้วยค่าแรงดันกระแสและกำลังไฟฟ้า

            3.  สายไฟต่อวงจรเป็นสายตัวนำหรือสายไฟฟ้าใช้เชื่อมต่อวงจรให้ต่อถึงกันแบบครบรอบทำให้แหล่งจ่ายแรงดันต่อถึงโหลดเกิดกระแสไหลผ่านวงจร จากแหล่งจ่ายไม่โหลดและกลับมาครบรอบที่แหล่งจ่ายอีกครั้ง สายไฟฟ้าที่ใช้ต่อวงจรทำด้วยทองแดงมีฉนวนหุ้มโดยรอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน

        ส่วนสำคัญของวงจรไฟฟ้าคือการต่อโหลดใช้งานโหลดที่นำมาต่อใช้งานในวงจรไฟฟ้าสามารถต่อได้เป็น 3 แบบด้วยกัน ได้แก่ วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม(Series Electrical Circuit) 

วงจรไฟฟ้าแบบขนาน (Parallel Electrical Circuit) และวงจรไฟฟ้าแบบผสม (Series - Parallel Electrical Circuit)

         วงจรอนุกรม หมายถึง การนำเอาอุปกรณ์ทางไฟฟ้ามาต่อกันในลักษณะที่ปลายด้านหนึ่งของอุปกรณ์ตัวที่1ต่อเข้ากับอุปกรณ์ตัวที่2 จากนั้นนำปลายที่เหลือของอุปกรณ์ตัวที่ 2 ไปต่อกับอุปกรณ์ตัวที่3และจะต่อลักษณะนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งการต่อแบบนี้จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลไปในทิศทางเดียวกระแสไฟฟ้าภายในวงจรอนุกรมจะมีค่าเท่ากันทุกๆจุดค่าความต้านทานรวมของวงจรอนุกรมนั้นคือการนำเอาค่าความต้านทานทั้งหมดนำมารวมกันส่วนแรงดันไฟฟ้าในวงจรอนุกรมนั้นแรงดันจะปรากฎคร่อมตัวต้านทานทุกตัวที่จะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านซึ่งแรงดันไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะมีค่าไม่เท่ากันโดยสามารถคำนวนหาได้จากกฎของโอห์ม

วงจรไฟฟ้าแบบขนาน

        วงจรที่เกิดจากการต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปให้ขนานกับแหล่งจ่ายไฟมีผลทำให้ค่าของแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัวมีค่าเท่ากันส่วนทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าจะมีตั้งแต่2ทิศทางขึ้นไปตามลักษณะของสาขาของวงจรส่วนค่าความต้านทานรวมภายในวงจรขนานจะมีค่าเท่ากับผลรวมของส่วนกลับของค่าความต้านทานทุกตัวรวมกันซึ่งค่าความต้านทานรวมภายในวงจรไฟฟ้าแบบขนานจะมีค่าน้อยกว่าค่าความต้านทานภายในสาขาที่มีค่าน้อยที่สุดเสมอและค่าแรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานไฟฟ้าแต่ละตัวจะมีค่าเท่ากับแรงเคลื่อนของแหล่งจ่าย

รายงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน

วงจรไฟฟ้าแบบผสม

        เป็นการต่อวงจรไฟฟ้าโดยการต่อรวมกันระหว่างวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมกับวงจรไฟฟ้าแบบขนานภายในวงจรโหลดบางตัวต่อวงจรแบบอนุกรมและโหลดบางตัวต่อวงจรแบบขนานการต่อวงจรไม่มีมาตรฐานตายตัวเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรตามต้องการการวิเคราะห์แก้ปัญหาของวงจรผสมต้องอาศัยหลักการทำงานตลอดจนอาศัยคุณสมบัติของวงจรไฟฟ้าทั้งแบบอนุกรมและแบบขนานลักษณะการต่อวงจรไฟฟ้าแบบผสม

รายงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน

1.4 เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน

อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่จำเป็น 

 1. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้าน

         ต้าเสียบหรือเต้ารองรับ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้เป็นจุดต่อของวงจรอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อความสะดวกในการใช้งาน เต้าเสียบที่ใช้ในบ้านเราจะมี 2 ช่องแต่เต้าเสียบที่จะช่วยให้เกิดความปลอดภัยมากคือ เต้าเสียบแบบ 3 ช่องเพราะช่องที่ 3จะต่อกับสายดินซึ่งจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน

         สวิตช์ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์สำหรับปิด-เปิดวงจรไฟฟ้า สวิตช์ไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านมีหลายแบบขึ้นอยู่กับบริษัทที่ผลิต แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ แบบฝัง (ใช้ฝังในผนัง) แบบที่ 2 แบบไม่ฝัง หรือเรียกว่า แบบลอย (Surface Switches) คือ ติดตั้งบนผนังนิยมใช้ในอาคาร ตามชนบททั่วไป เพราะราคาถูกและติดตั้งง่ายกว่าแบบฝัง

รายงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน
รายงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน

2. เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน 

        เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมีหลายประเภททั้งที่ให้แสงสว่างความร้อนและประเภทที่ใช้มอเตอร์อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละอย่างจะมีวิธีใช้และการบำรุงรักษาที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้จะต้องรู้จักวิธีใช้อย่างถูกต้องปลอดภัยประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดังนี้ 

        เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อนเป็นเครื่องใช้ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อนโดยใช้หลักการคือเมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดตัวนำที่มีความต้านทานสูงๆลวดตัวนำนั้นจะร้อนจนสามารถนำความร้อนออกไปใช้ประโยชน์ได้เนื่องจากเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อนมากจึงสิ้นเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้ามากเมื่อเปรียบกับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆเมื่อใช้ในเวลาที่เท่ากัน 

        ฉะนั้นขณะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้พลังงานความร้อนจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังตัวอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อน เช่น เตารีด หม้อหุงข้าว กระทะไฟฟ้า กาต้มน้ำ เครื่องต้มกาแฟ เตาไฟฟ้า ฯลฯ

รายงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน

2.1 เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อน

1) เตารีด ตารีดไฟฟ้ามีหลายแบบแบบที่นิยมใช้คือ แบบปรับความร้อนโดยอัตโนมัติธรรมดาและแบบปรับความร้อนอัตโนมัติมีไอน้ำ

การเลือกใช้เตารีดไฟฟ้า

  • ควรเลือกให้มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณผ้าเช่น หากมีปริมาณผ้ามากแต่ใช้เตารีดขนาดเล็ก(750วัตต์)จะใช้เวลารีดผ้ามากเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เตารีดขนาดใหญ่ขึ้นจะใช้เวลาน้อยกว่าซึ่งคิดเป็นค่าไฟฟ้าจะใกล้เคียงกัน

 การใช้งานที่ถูกวิธี

  • รีดผ้าบางก่อนผ้าหนาเพื่อการปรับอุณหภูมิจากร้อนน้อยไปร้อนมาก
  • พรมน้ำให้ผ้าก่อนรีดแต่ต้องไม่มากเกินไป
  • ควรรีดผ้าครั้งละมากพอควรไม่ควรรีดทีละชุด
  • ควรดึงปลั๊กก่อนรีดเสร็จประมาณ3-4นาทีเพราะความร้อนที่เหลือยังเพียงพอ
  • เต้าเสียบที่ใช้กับเตารีดควรมีสายดิน
  • น้ำที่ใช้เติมเตารีดไอน้ำควรเป็นน้ำกลั่นหรือน้ำอ่อน (ไม่กระด้าง)

การบำรุงรักษา

  • หมั่นทำความสะอาดหน้าเตารีด
  • ต้องระวังไม่วางเตารีดทับสายไฟฟ้า
  • หมั่นตรวจสอบฉนวนหุ้มสายเตารีดและช่วงหน้าเตารีดหากชำรุดต้องรีบซ่อมแซม 

รายงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน

รายงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน


2) กาต้มน้ำ

  • ใส่น้ำให้ปริมาณพอเหมาะกับความต้องการ
  • ถ้าต้มน้ำต่อเนื่องต้องมีน้ำบรรจุไว้อยู่เสมอ
  • ถอดปลั๊กทันทีที่น้ำเดือด
  • ไม่ควรวางใกล้วัสดุติดไฟ
  • อย่าใส่น้ำให้ปริมาณมากเกินไปเพราะเวลาน้ำเดือดจะเกิดน้ำล้นและทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้
  • เมื่อไม่ใช้งานเป็นเวลานานควรเทน้ำทิ้งและทำให้แห้ง
  • หม้อต้มน้ำร้อนต้องต่อสายดินเพื่อป้องกันไฟรั่ว

รายงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน
     

3) เครื่องทําน้ำอุ่นไฟฟ้า

ส่วนประกอบและการทำงานของเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า 

เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า สามารถแบ่งตามลักษณะของการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ เครื่องทำน้ำอุ่นแบบทำน้ำอุ่นได้จุดเดียว

เครื่องทำน้ำอุ่นแบบทำน้ำอุ่นได้หลายจุด ซึ่งสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากกว่าแบบจุดเดียว

ส่วนประกอบและการทำงาน 

ส่วนประกอบและการทำงาน ของเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้น้ำร้อนขึ้นโดยอาศัยการพาความร้อนจากขดลวดความร้อน (heater) ขณะที่กระแสน้ำไหลผ่าน ส่วนประกอบหลักของเครื่องทำน้ำอุ่น คือ ตัวถังน้ำ ขดลวดความร้อน (heater) และอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ (thermostat) ตัวถังน้ำ จะบรรจุน้ำซึ่งจะถูกทำให้ร้อนขดลวดความร้อน (heater) จะร้อนขึ้นเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน คือ เมื่อเราเปิดสวิตช์เครื่องทำน้ำอุ่นนั่นเอง ลวดความร้อนนี้โดยมากส่วนในสุดจะเป็นลวดนิโครม ส่วนที่อยู่ตรงกลางจะเป็นผงแมกนีเซียมออกไซด์ ซึ่งมีสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าและทนอุณหภูมิสูง ชั้นนอกสุดจะเป็นท่อโลหะที่อาจทำด้วยทองแดงหรือสเตนเลสอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ (thermostat) จะทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านลวดความร้อน เมื่ออุณหภูมิของน้ำถึงระดับที่เราตั้งไว้

การเลือกใช้อย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน

  • ควรพิจารณาเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นให้เหมาะสมกับการใช้เป็นหลัก เช่น ต้องการใช้น้ำอุ่นเพื่ออาบน้ำเท่านั้น ก็ควรจะติดตั้งชนิดทำน้ำอุ่นได้จุดเดียว
  • ควรเลือกใช้ฝักบัวชนิดประหยัดน้ำ (water efficient showerhead) เพราะสามารถประหยัดน้ำได้ถึงร้อยละ 25-75
  • ควรเลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นที่มีถังน้ำภายในตัวเครื่องและมีฉนวนหุ้ม เพราะสามารถลดการใช้พลังงานได้ร้อยละ 10-20
  • ควรหลีกเลี่ยงเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าชนิดที่ไม่มีถังน้ำภายใน เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองการใช้พลังงาน
  • ปิดวาล์วน้ำและสวิตช์ทันทีเมื่อเลิกใช้งาน

การดูแลรักษาเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า 

ส่วนประกอบและการทำงานของเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า ควรหมั่นตรวจสอบการทำงานของเครื่องให้มีสภาพดีอยู่เสมอตลอดจนตรวจดูระบบท่อน้ำและรอยต่ออย่าให้มีการรั่วซึมและเมื่อเครื่องมีปัญหาควรตรวจสอบดังนี้

ถ้าน้ำที่ออกจากเครื่องเป็นน้ำเย็น อันเนื่องมาจากไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ขดลวดความร้อนสาเหตุอาจเกิดจากฟิวส์ขาด อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิไม่ให้ไฟผ่าน

ถ้าไฟสัญญาณติด แต่ขดลวดความร้อนไม่ทำงาน น้ำไม่อุ่น สาเหตุอาจเกิดจากขดลวดความร้อนขาดอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิเสีย

ถ้าน้ำจากเครื่องร้อนหรือเย็นเกินไปสาเหตุอาจเกิดจากอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิทำงานผิดปกติ

รายงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน

1.5 เครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน

โทรสารหรือแฟกซ์

        โทรสารหรือแฟกซ์ (Fax) เป็นสื่อคมนาคมประเภทหนึ่ง ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติศัพท์ใช้คำว่าโทรภาพเพราะเดิมหมายถึงภาพหรือรูปที่ส่งมาโดยทางไกล ตลอดจนหมายถึงกรรมวิธีในการถอดแบบเอกสารตีพิมพ์หรือรูปภาพโดยทางคลื่นวิทยุหรือทางสาย เช่นสายโทรศัพท์ในสังคมสารนิเทศปัจจุบันนิยมใช้คำว่า โทรสารแทนโทรภาพ เพราะครอบคลุมประเภทของการส่งสารนิเทศได้มากกว่าภาพ

         เครื่องโทรสารมาจากคำในภาษาอังกฤษว่าFacsimile หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า Fax  (แฟกซ์)  หมายถึง  อุปกรณ์การถ่ายเอกสาร  ภาพ  และวัสดุกราฟิกด้วยคลื่นอากาศความถี่สูงผ่านระบบโทรศัพท์ทำให้ผู้ส่งและผู้รับที่แม้อยู่ห่างกันแค่ไหนก็ตามเป็นการส่งสัญญาณด้วยแสงที่มาแปลงเป็นเสียงแล้วย้อนกลับไปเป็นกระแสไฟฟ้าแล้วแปลงกลับมาเป็นเสียงและแสงอีกครั้งหนึ่ง

         การส่งเอกสารผ่านทางโทรสารต้องมีหมายเลขของเครื่องรับ (เบอร์โทรศัพท์)และต้นฉบับที่เป็นเอกสารและการส่งแฟกซ์แต่ละครั้ง  คิดค่าบริการตามอัตราค่าใช้โทรศัพท์  ถ้าในพื้นที่เดียวกันก็ครั้งละ3บาทต่างจังหวัดคิดตามอัตราค่าบริการโทรศัพท์ทางไกลแต่ในความจริงสถานที่รับบริการส่งแฟกซ์จะคิดค่าบริการแพงกว่าค่าใช้จ่ายจริงหลายเท่าตัว

         ปัจจุบันเครื่องโทรสารได้รับความนิยมใช้ในสำนักงานกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากให้ความสะดวกรวดเร็วและให้ความแม่นยำในการส่งข้อมูลข่าวสารด้วยสีที่เหมือนกับต้นฉบับ ใช้ถ่ายเอกสารนำไปพ่วงต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นพรินเตอร์ (Printer) ช่วยลดปัญหาการสื่อสารข้อความผิดพลาดและช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น         

    การบำรุงรักษาเครื่องโทรสาร

1.  ใช้เครื่องโทรสารให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้

2.  ปัดฝุ่นละออง และทำความสะอาดเครื่องโทรสาร อย่าให้ฝุ่นเกราะ โดยใช้ผ้าชุบน้ำยาเช็ด

3.  สำรวจสายต่อให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้เสมอ ระมัดระวังอย่าให้สายไฟเกิดการหักงอ

4.  สายต่อส่วนที่ยาวเกินไป ให้ม้วนเป็นวงกลมเก็บไว้

5.  อย่าให้สายต่อถูกความร้อน ทับพาดผ่านสายไฟ จะทำให้สายเสียและรบกวนสัญญาณ

6.  ตรวจสอบเครื่องอยู่เป็นประจำ เพื่อให้เครื่องสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา

7.  ตรวจตรากระดาษโทรสารให้มีอยู่ในเครื่องเสมอ และควรจะต้องมีปริมาณเพียงพอสำหรับการรับสารได้ตลอดเวลา แม้ในเวลาหลังเลิกงาน วิธีการใส่กระดาษต้องใส่ให้ถูกต้อง

8.  ตรวจดูการวางหูโทรศัพท์ของเครื่องว่าวางถูกหรือไม่ หากวางไม่ตรงแท่นจะทำให้รับสัญญาณไม่ได้

รายงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน

        โทรศัพท์  (Telephone) เครื่องแรกเป็นเครื่องส่งเสียงไกลใช้กระแสไฟฟ้าส่งและรับเสียงพูดโดยการส่งเสียงพูดกรอกลงไปในเครื่องส่งประดิษฐ์โดยศาสตราจารย์อเล็กซานเดอร์ เกรเฮมเป็นชาวสก็อตแลนด์ใช้เป็นครั้งแรกเมื่อปี  พ.ศ. 2419 ที่เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกาและเปิดใช้ครั้งแรกเมื่อปปีพ.ศ. 2421ที่เมืองนิวฮาเวน รัฐคอนเนตติกัต

         ในปีพ.ศ.2478 ได้มีการสั่งซื้อเครื่องชุมสายอัตโนมัติ Step-by-Step  มาจากประเทศอังกฤษสำหรับติดตั้งโทรศัพท์กลางที่วัดเลียบ และที่ชุมสายบางรัก โดยเปิดใช้ชุมสายโทรศัพท์อัตโนมัติเพื่อให้บริการทั่วไปในปีพ.ศ. 2480และเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2497 มีการจัดตั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยขึ้นเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่รับผิดชอบจัดบริการทางด้านโทรศัพท์ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ขอใช้บริการที่มีเป็นจำนวนมากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงได้เชิญชวนบริษัทเอกชนเข้าร่วมลงทุน ซึ่งมีบริษัท  เทเลคอมเอเชีย จำกัด (TA) ให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและบริษัทไทยเทเลโฟน เทเล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TT&T) ให้บริการในส่วนภูมิภาค

ระบบโทรศัพท์  (Telephone  System)  ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันประกอบด้วย

           1.  ระบบโทรศัพท์สายตรง (Direct  Dialing-in  System)  เป็นระบบโทรศัพท์ที่สามารถหมุนสายติดต่อภายนอกได้โดยตรง  ไม่ต้องผ่านศูนย์ควบคุมสายที่เรียกว่า  Switcboard

           2.  ระบบโทรศัพท์พ่วงสาย (Line &  Extension) เป็นระบบโทรศัพท์ที่มีศูนย์ควบคุมสายสามารถต่อเข้าและออกสายตรงก็ได้  หรือเรียกว่า  “แบบสายตรง”  และสามารถต่อเข้า-ออกโดยผ่านการควบคุมของพนักงานคุมสาย  เรียกว่า  “แบบพ่วงสาย”

การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องโทรศัพท์ มีวิธีการดังนี้

      1. ใช้โทรศัพท์ให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในคู่มือ

      2.  หมั่นทำความสะอาดเครื่องโทรศัพท์ อย่าให้มีฝุ่นละอองเกาะโดยใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดบิดให้แห้งเช็ดที่เครื่องโทรศัพท์

      3.  ควรใช้สเปรย์ฉีดโทรศัพท์ฉีดที่บริเวณปากกระบอกพูดโทรศัพท์ เพื่อป้องกันกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้

      4.  สำรวจสายโทรศัพท์ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ระวังอย่าให้มีการหักงอหรือถูกความร้อน

      5.  อย่ากระแทกหูโทรศัพท์ลงบนแท่นแรงๆเพราะจะทำให้แตกหักหรือเสื่อมสภาพได้

รายงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน

        ปัจจุบันเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้ในสำนักงานโดยทั่วไป เป็นเครื่องถ่ายเอกสารระบบอัตโนมัติ (Electrostatic Copying Machine) เป็นชนิดใช้ผงหมึก (Toner) ชนิดเดียวเท่านั้น สำเนาภาพที่ได้จากเครื่องถ่ายเอกสารด้วยผงหมึกนี้ภาพจะคมชัดและแห้งสนิทต้นทุนการผลิตชิ้นงานค่อนข้างต่ำแต่ประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสามารถถ่ายเอกสารได้เป็นจำนวนมากโดยใช้มือหรือจะใช้ถาดป้อนกระดาษก็ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วและยังสามารถแทรกงานด่วนในขณะถ่ายเอกสารอื่นอยู่ได้ มีทั้งระบบย่อขยายและซูมภาพได้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องถ่ายเอกสารที่กลับหน้าเองอัตโนมัติ ซึ่งเป็นวิวัฒนาการใหม่ของเครื่องถ่ายเอกสารโดยใช้กับระบบกระดาษธรรมดาแต่ใช้ผงหมึกแบบแมกนิไฟน์โฟรเซสที่ให้ความละเอียดแก่สำเนาที่ถ่ายเอกสารมากกว่า คุณสมบัติต่างๆของเครื่องถ่ายเอกสารนั้น บริษัทผู้ผลิตได้มีการพัฒนาระบบการทำงานของเครื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุดซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวนี้เป็นคุณสมบัติที่ไม่ตายตัว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริษัทแต่ละ

ประโยชน์ของเครื่องถ่ายเอกสาร

การใช้เครื่องถ่ายเอกสาร มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในสำนักงาน ดังนี้

1. ประหยัดเวลา แรงงาน เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องพิมพ์งานทีเหมือนกันหลาย ๆ ครั้ง โดยเฉพาะเอกสารที่เป็นลายเส้น รูปภาพ แผนผัง ไม่ต้องมาเขียนหรือวาดใหม่ซึ่งต้องใช้เวลามาก

2. ทำสำเนาได้สะดวกรวดเร็วและไม่จำกัดจำนวน นอกจากนี้ถ้ามีที่พิมพ์ผิดที่ต้นฉบับและได้แก้ไขเรียบร้อยแล้วเมื่อถ่าย เอกสารจะไม่ปรากฏรอยให้เห็นในเอกสารฉบับสำเนา

3. ขั้นตอนและวิธีการใช้งานง่าย ไม่ต้องใช้เวลาในการเรียนหรือฝึกฝนมากนัก เพียงแต่แนะนำวิธีการใช้งานของเครื่องให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจในครั้งแรกเท่า นั้นก็สามารถใช้งานได้ทันที

4. ถ่ายเอกสารที่เป็นรูปภาพ แผนที่ กราฟ ภายลายเส้น หรือแผนผังที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ เหมือนกับต้นฉบับจริงทุกประการ

5. สามารถสำเนาเอกสารโดยการย่อ ขยาย และซูมภาพได้ตามความต้องการ

ข้อควรระวังในการใช้เครื่องถ่ายเอกสาร

1. อย่าแตะต้องหรือสัมผัสแม่พิมพ์ภาพ (Photoconduction Drum) โดยตรง เนื่องจากริ้วรอยขูดขีดต่างๆที่ปรากฏบนแม่พิมพ์ภาพจะทำให้สำเนาเอกสารเกิดรอยสกปรก เปรอะเปื้อนได้

2. ในพื้นที่หลอมละลายผงหมึกให้ติดแน่นบนเอกสาร (Fusing Area) จะมีความร้อนสูงให้ระมัดระวังเมื่อต้องเปิดเครื่องและตรวจบริเวณดังกล่าว

3. ปุ่มยึดเครื่องสำหรับถาดบรรจุกระดาษสำเนา 500 แผ่น หรือ 1,000 แผ่น เมื่อมีการเคลื่อนย้ายเครื่องให้หมุนเกลียวปุ่มยึดเครื่องลง จนกระทั่งปุ่มดังกล่าวสัมผัสพื้น เพื่อยึดเครื่องให้ติดแน่นกับพื้น

4. เมื่อเปิดสวิตช์เครื่องทิ้งไว้ ฮีตเตอร์ของดรัมและตัวป้องกันความชื้นในเครื่องยังคงทำงานหากเกิดกรณีฉุกเฉินควรถอดปลั๊กเครื่องออก

5. ในขณะถ่ายเอกสารไม่ควรปิดสวิตช์ไฟ หรือดึงปลั๊กไฟออกจากเต้าเสียบหรือยกฝาปิดต้นฉบับขึ้น หรือเปิดฝาเครื่องด้านหน้า

6. ห้ามวางสิ่งของหรือเครื่องมือที่มีน้ำหนักบนกระจกวางต้นฉบับ

7. อย่าให้ลวดเสียบกระดาษหรือเศษโลหะอันเล็ก ๆ ตกลงในตัวเครื่อง

8. ตรวจดูคุณสมบัติของเครื่องกับกระดาษหรือวัสดุอื่นใดที่ใช้ทำสำเนาให้ถูกต้องตรงกัน เนื่องจากเครื่องบางรุ่นสามารถใช้กับกระดาษธรรมดา กระดาษถ่ายเอกสารหรือแผ่นโปร่งใสก็ได้แต่บางรุ่นต้องใช้กระดาษถ่ายเอกสารชนิดเดียวเท่านั้น

9. เพื่อป้องกันปัญหากระดาษซ้อนหรือกระดาษติด ควรคลี่กระดาษก่อนที่จะนำไปถ่ายเอกสารทุกครั้ง

10. ไม่ควรหยิบสำเนาเอกสารที่ถ่าย ในขณะที่นิ้วมือสกปรก เปียกชื้น หรือเปื้อนน้ำมัน

11. หากมีควันจากเครื่องหรือมีเสียงผิดปกติหรือนอกตัวเครื่องร้อนเกินไปให้หยุดเครื่องทันที

12. เมื่อมีข้อความ “READY TO COPY MAINTENACE REQUIRED” ปรากฏหน้าจอแสดงว่าถึงเวลาที่จะต้องทำความสะอาดและตรวจเช็คเครื่องโดยช่างผู้ชำนาญแล้ว

การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสาร

         การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสารอย่างถูกวิธี จะช่วยถนอมเครื่องให้มีอายุการใช้งานยาวนานป้องกันการชำรุดเสียหายก่อนถึงเวลาอันสมควร ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลาในการปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแนวทางการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสารโดยทั่วไป มีดังนี้

1. ศึกษาขั้นตอนและวิธีการใช้เครื่องแต่ละชนิดจากคู่มือประจำเครื่อง

2. ตั้งเครื่องให้อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ห่างไกลจากความชื้นและแสงแดด

3. หมั่นเช็ดและทำความสะอาดตัวเครื่องด้านนอกทุกวัน

4. ทำความสะอาดกระจกวางต้นฉบับและฝาปิดต้นฉบับด้านในเป็นประจำสม่ำเสมอทุกวัน โดยผ้านุ่มและสะอาดเท่านั้น ถ้าสกปรกมากให้ใช้ผ้านุ่มชุบน้ำพอเปียกชื้นทำความสะอาดเพียงอย่างเดียว ห้ามใช้ทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน หรือสาละลายอื่น ๆ อย่างเด็ดขาด

5. หากมีการติดตั้งถาดป้อนต้นฉบับอัตโนมัติ ให้ทำความสะอาดบริเวณถาดป้อนต้นฉบับอัตโนมัติด้วยผ้านุ่มสะอาด

6. หมั่นตรวจดูผงหมึกให้อยู่ในปริมาณเพียงพอที่จะถ่ายเอกสารได้ชัดเจนอยู่เสมอ เวลาเทหมึกต้องระมัดระวังอย่าให้ผงหมึกฟุ้งกระจายเข้าตัวเครื่อง

7. ใช้ผ้าคลุมเครื่องทุกครั้งหลักจากเลิกการใช้งาน และก่อนคลุมเครื่องควรรอให้เครื่องเย็นเสียก่อนจึงทำการคลุมเครื่อง ทั้งนี้เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและความชื้น

8. ขณะเครื่องกำลังทำงานห้ามหมุนหน้าปัดเลือกอัตราส่วนการถ่ายเอกสารโดยเด็ดขาดและควรเลือกอัตราส่วนการถ่ายเอกสารอย่างช้าๆ ก่อนกดปุ่ม Start

9. ระมัดระวังเกี่ยวกับสายไฟ ปลั๊กไฟที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร เมือเลิกใช้เครื่องให้ปิดสวิตซ์และถอดปลั๊กไฟให้เรียบร้อย

10. ไม่ควรเปิด-ปิดเครื่องถ่ายเอกสารบ่อยๆ

11. ควรจัดทำประวัติการใช้งานการซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสารให้ละเอียด

12. ถ้าเครื่องมีปัญหาติดขัดไม่สามารถใช้งานได้ ควรเรียกช่างผู้ชำนาญมาทำการตรวจซ่อม ห้ามทำการซ่อมเองโดยเด็ดขาด

13. เมื่อมีข้อความ “READY TO COPY. MAINTENCE REQUISED” ปรากฏแสดงว่า ถึงเวลาต้องทำความสะอาดและตรวจเช็คหรือให้ติดต่อช่างผู้ชำนาญ

รายงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน