จริยธรรมมีความหมายว่าอย่างไร

ความหมายของคำต่างๆ(Definition)

คุณธรรม
          หมายถึง คุณงามความดีที่วิญญูชนพึงสำนึกให้จิตใจของตนในด้านความจริง ความดี ความงามและใช้เป็นหลักในการดำรงชีวิต
จริยธรรม
          คำว่าจริยธรรม นั้นเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวาง พระเทพเวที (ประยุทธ์  ปยุตฺโต) กล่าวว่าจริยธรรม เป็นศัพท์หนึ่งที่มักจะมีปัญหากันว่าจะให้ความหมายว่าอย่างไร เช่น อาจจะให้ความหมายว่าเป็นหลักของความประพฤติ เพราะแปล จริย ว่าความประพฤติ  และแปล ธรรม ว่า หลักจึงแปลรวมกันว่าหลักของการประพฤติ ความหมายของคำว่า จริย มาจากคำว่า จร แปลว่า เที่ยวไปหรือเดินทาง เมื่อนำมาใช้กับชีวิตในทางนามธรรม ก็หมายถึง เดินทางชีวิต คือดำเนินชีวิตนั่นเอง และจริยธรรมก็แปลได้ว่า หลักการดำเนินชีวิต
          การสัมมนาของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติเรื่อง จริยธรรมในสังคมไทยปัจจุบันซึ่งจัดที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ปทุมธานี เมื่อ พ.ศ. 2522 ได้สรุปนิยามไว้ว่า จริยธรรมคือแนวทางประพฤติปฏิบัติตนเพื่อการบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่าพึงประสงค์
          นพ.ทองจันทร์  หงส์ลดารมภ์  ใส่วงเล็บคำว่า  ethical code หลังคำว่าจริยธรรม และให้นิยามคำ จริยธรรม ว่า ระเบียบข้อปฏิบัติที่กำหนดให้ผู้ที่อยู่ในสังคมปฏิบัติ
          พระเมธีธรรมาภรณ์ ได้สรุปความหมายของคำว่า “จริยธรรม” คือแนวทางของการประพฤติปฏิบัติตน ให้เป็นคนดี เพื่อประโยชน์สุขของตนเองและส่วนรวม
          โดยทั่วไปจริยธรรมมักอิงอยู่กับศาสนา  ทั้งนี้เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าจริยธรรมอิงอยู่กับหลักคำสอนของทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แท้ที่จริงจริยธรรมยังหยั่งรากอยู่บนขนบธรรมเนียมประเพณี และโดยนัยนี้ บางท่านเรียกหลักแห่งความพฤติอันเนื่องมาจากคำสอนทางศาสนาว่าศีลธรรม และเรียกหลักแห่งความประพฤติ

ศีลธรรม          
          ศีลธรรม หมายถึงข้อบัญญัติที่กำหนดทางปฏิบัติกายวาจา ทางพุทธศาสนา เช่น ศีล 5 ศีล 8
          ศีลธรรม ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 หมายถึง ความประพฤติประพฤติชอบ ธรรมในระดับศีล แต่ถ้าจะได้ความหมายชัดเจนจึงควรสรุปว่า  ศีลธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติดีประพฤติชอบอันเนื่องมาจากคำสอนทางศาสนา และเป็นศัพท์บัญญัติที่ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า morals หรือ morality
จรรยา
          ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่คณะ นิยมใช้ในทางที่ดี เช่น จรรยาแพทย์ นพ.วิทูรย์  อึ้งประพันธ์ ได้กล่าวว่า จรรยาแพทย์นั้น บางทีก็เรียกว่า มรรยาทแพทย์ ตามรูปศัพท์ หมายถึง แนวทางการปฏิบัติงานและความประพฤติตามครรลองธรรมของแพทย์ ตลอดจนถึงคุณธรรมในตัวแพทย์เองด้วย ปัจจุบันคำว่าจรรยาแพทย์นิยมใช้ศัพท์ว่า จริยธรรมทางการแพทย์ในกฎหมายใช้ว่า จริยธรรมแห่งวิชาชีพแพทย์
จริยศาสตร์ (Ethics)
          คำว่าจริยศาสตร์เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้แปลคำว่า  Ethics,  Ethics   ในภาษาอังกฤษให้ความหมายว่า  The science of right conduct ; also a system of rule regulating conduct.
          คำว่า Ethics  ในภาษาอังกฤษจึงมี 2 ความหมาย ความหมายหนึ่งที่คนเราเข้าใจ Ethics หมายถึงประมวลกฎหมายที่กลุ่มชนหรือสังคมหนึ่ง ๆ ยอมรับเป็นแนวควบคุมความประพฤติเพื่อแยกแยะว่าอะไรควรหรือไปกันได้กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม Ethics ที่ใช้ในความหมายนี้เป็นอันเดียวกับจริยธรรม เช่น Medical ethics (จริยธรรมทางการแพทย์) ซึ่งตรงกับความหมายของ  Medical ethics  ในภาษาอังกฤษว่า  The rules or principles governing the professional conduct of medical practitioners.
          ความหมายที่สองของ Ethics8 เป็นความหมายที่ใช้ในภาษานักปรัชญา และ Ethics ในความหมายนี้แปลเป็นเป็นไทยว่า  จริยศาสตร์ ซึ่งพจนานุกรมบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายจริยศาสตร์ว่าปรัชญา สาขาหนึ่งว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร
          จริยสาสตร์ในฐานะที่เป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญานี้ ศึกษาเรื่องคุณค่าแห่งความประพฤติและคุณค่าแห่งชีวิตมนุษย์ จริยธรรมพยายามตอบคำถามที่ว่า ความดีความชั่ว คืออะไร มีมาตรฐานอะไรหรือไม่ที่จะวัดหรือตัดสินว่า การการกระทำหรือความประพฤติดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด ชีวิตที่ดีนั้น เป็นอย่างไร อะไรคือความดีสูงสุดของมนุษย์ ควรใช้ชีวิตอย่างไรจึงคุ้มค่าของการเกิดมาเป็นมนุษย์
          จริยศาสตร์เป็นการศึกษาเหตุผลให้กับจริยธรรม จริยธรรมเป็นการสร้างรากฐานให้กับระบบความประพฤติ จึงเห็นได้ว่า จริยศาสตร์มุ่งเสนอทฤษฎี  ส่วนจริยธรรมมุ่งวิธีปฏิบัติ หรืออาจกล่าวได้ว่า จริยศาสตร์ให้หลักการ จริยธรรมให้วิธีการ ซึ่งมีความหมายตรงกับ  Medical ethics  และหมายถึงสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา ที่เกี่ยวกับการแพทย์
จริยศึกษา
          หมายความถึงกระบวนการที่สังคมจัดการศึกษาอบรมเรื่องจริยธรรม
จรรยาบรรณ   
          พจนานุกรมราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะสมาชิกอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ สิวลี  ศรีวิไล13  ได้วงเล็บคำว่า Code of Ethics หลังคำว่าจรรยาบรรณและได้ให้ความหมายของจรรยาบรรณวิชาชีพ ( Professional Code of Ethics ) ในยุคแรก มุ่งเน้นความเป็นผู้มีความรู้ความสามารถให้บริการแก่สังคมอย่างมีมาตรฐานและเป็นระบบมีกรอบความประพฤติที่สอดคล้องกับศีลธรรมและหลักการของวิชาชีพ  และมีอุดมการณ์ที่มุ่งประโยชน์ที่บังเกิดแก่ผู้รับบริการเป็นสำคัญ ซึ่งคำว่าจรรยาบรรณวิชาชีพนี้ ถ้าใช้กับวิชาชีพแพทย์ก็คงมี ความหมายเช่นเดียวกับ จริยธรรมแห่งวิชาชีพแพทย์
ปัญหาทางจริยธรรม ( Moral dilemma )
          หมายถึง ปัญหาจริยธรรมที่ไม่มีทางออกที่พึ่งปรารถนา น.พ.วิทูรย์ แปลว่าปัญหาจริยธรรมที่ไม่มีทางออก เมื่อนำมาใช้ในทางการแพทย์เรียก  Moral dilemma in Medicin
การประเมิณคุณค่าทางจริยธรรม  (Moral Judgemen)
          หมายถึง การประเมิณคุณค่าทางจริยธรรม จะนำมาใช้ประเมิณคุณค่าจริยธรรมที่เกิดขึ้นเมื่อปัญหาทางจริยธรรมมองจากบริบทของสัมพันธภาพ หรือความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการประเมิณคุณค่าจริยธรรมว่า ใครดี ใครชั่ว การกระทำอย่างใดถูก การกระทำอย่างไรผิด จึงไม่อาจชี้ชัดลงไปได้ เพราะมีเงื่อนไขปัจจัยต่าง ๆ ที่ต้องพิจารณาประกอบอีกมาก การประเมิณคุณค่าทางจริยธรรม จึงใช้หลักการอนุมานโดยใช้อนุมานโดยใช้เหตุผลประกอบว่า การกระทำนั้นควรหรือไม่สมควรจะทำ หรือสมเหตุสมผลหรือไม่

Professionalism : วิชาชีพ,วิชาชีพแพทย์,ความเป็นมืออาชีพ

Benificial&Malefficience: คุณประโยชน์ หรือ เป็นโทษ ทุรเวชปฏิบัติ

Confidentiality& Privacy : การรักษาความลับผู้ป่วย ความเป็นส่วนตัวบุคคล

Justice : ความยุติธรรม,การปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างเท่าเทียมกันไม่แบ่งแยกเชื้อชาติศาสนาสีผิว

Communication : การติดต่อสื่อสาร

Tell the truth : การพูดความจริง

Informed & Consent :การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเพื่อตัดสินใจเลือกการรักษา และการยินยอมรับการรักษา

Conflict of interest : ผลประโยชน์ทับซ้อน ผลประโยชน์ที่นอกเหนือจากการรักษา เช่น การให้เงิน ค่าตอบแทนเมื่อใช้ยาหรือซื้อเครื่องมือแพทย์ จากบริษัทยาหรือเครื่องมือ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์

End of life care : การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

Risk Management : การบริหารความเสี่ยงทางการแพทย์ ที่ผู้ป่วยอาจเกิดอันตราย โดยการจัดการด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย ลดข้อผิดพลาดจากแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์(Human error) ระบบ(Structural&system error) กระบวนการรักษา(Process error)

Autnomy &Patient right : สิทธิ,สิทธิผู้ป่วย สิทธิผู้บริโภค หรือผู้รับบริการทางการแพทย์ CONSUMER RIGHT IN HEALTH CARE
I  RIGHT TO BE INFORMED:

  • About preventive health care including education on nutrition, birth control, drug use, appropriate exercise;
  • About the health care system including the extent of government insurance coverage for services, supplementary insurance plans. The referral system to auxiliary
  • About the individual’s own diagnosis and specific treatment programs including prescribed surgery and medication, options, effects and side effects;
  • About the specific costs of procedures, services and professional fees undertaken on behalf of the individual consumer.

II. RIGHT TO BE RESPECTED AS THE INDIVIDAUL WITH THE MAJOR RESPONSIBILITY  FOR HIS  OWN HEALTH  CARE :

  • Right that confidentiality of his health records be maintained;
  • Right to refuse experimentation, undue painful prolongation of his life or participation in teaching programs;
  • Right of adult to refuse treatment, right to die with dignity.

III.  RIGHT TO  PARTICIPATE IN  DECISION MAKING  AFFECTING  HIS  HEALTH :

  • Through consumer representation at each level of government in planning and evaluating the system of health services, the types and qualities of service and the conditions under which health services are delivered;
  • With the health professionals and personnel involved in his direct health care.

IV.  RITGHT  TO  EQUAL  ACCESS  TO  HEALTH CARE  ( HEALTH EDUCATION, PREVENTION, TREATMENT AND REHABILITATION  )  REGARDLESS OF THE INDIVIDAUL’S  ECONOMICSTATUS,SEX,AGE,CREED, ETHNIC ORIGIN  AND  LOCATION :

    • Right to access to adequately qualified health personnel;
    • Right to a second medical opinion;
    • Right to prompt response in emergencies.

จริยธรรมมีความหมายอย่างไร

จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง ธรรมที่เปนขอประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม จากการสัมมนาของสํานักงานคณะกรรมการศึกษาแหงชาติเมื่อ พ.ศ. 2522 ไดสรุปนิยามไวาจริยธรรม คือ แนวทางประพฤติปฏิบัติตนเพื่อการบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณคาพึงประสงค

จริยธรรมมีความหมายว่าอย่างไร และมีความสำคัญอย่างไร

จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้ เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว

คนมีจริยธรรมมีลักษณะอย่างไร

๑) ผู้ที่มีคุณธรรมและมีจริยธรรม หมายถึง ผู้ที่มีสติปัญญาดี มีจิตใจบริสุทธิ์ มีความเมตตา กรุณา คือ มีความรัก มีความสงสาร ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข มีหิริโอตตัปปะ มีความละอายต่อบาป มีความเกรงกลัวต่อบาป มีขันติโสรัจจะ มีความอดทน มีความสงบเสงี่ยม ไม่คิดชั่ว ไม่พูดชั่ว ไม่ใช้กาย วาจา ไปท าให้ผู้อื่นเดือดร้อน เพราะกลัวว่าจะ ...

จริยธรรมมีความสําคัญอย่างไร

จริยธรรม มีความส าคัญส าหรับเป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติส าหรับตนเองและสังคม โดยรวม ซึ่งเมื่อบุคคลได้นามาปฏิบัติแล้ว ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์สุข มีความสงบและเจริญก้าวหน้า องค์การ ใด หรือหมู่คณะใด ได้ประพฤติปฏิบัติในหลักของจริยธรรมแล้ว ย่อมเป็นสังคมแห่งอารยะ คือ สังคมแห่งผู้ เจริญอย่างแท้จริงโดยมีผู้กล่าวถึงความสาคัญ ...