องค์ประกอบของระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีอะไรบ้าง

มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย: มอก.18001 มีเป้าหมายเพื่อลดและควบคุมความเสี่ยงอันตรายของพนักงานและผู้ที่เกี่ยว ข้อง การเพิ่มประสิทธภาพการดำเนินงานของธุรกิจให้เกิดความปลอดภัยและส่งเสริมภาพ พจน์ด้านความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อพนักงานและสังคม

มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย BS OHSAS 18001 กำหนดขึ้นโดยอ้างอิง BS 8800 มาตรฐานของประเทศต่าง ๆ และมาตรฐานระบบ OHSMS ของหน่วยรับรองต่าง ๆ

มาตรฐาน มอก. 18001 และ BS OHSAS 18001 ได้กำหนดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดระบบการตรวจประเมินและการรับรองความสอดคล้องของระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

นอกจากนี้ ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก. 18001 และ BS OHSAS 18001 ยังได้รับการพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับ ISO 9001 และ ISO 14001 เพื่อให้สามารถบูรณาการเป็นระบบการจัดการเดียวกัน

โครงสร้างของมาตรฐาน
หลักการที่ 1 ความมุ่งมั่นและนโยบาย (Commitment and Policy)
หลักการที่ 2 การวางแผน (Planning)
หลักการที่ 3 การนำระบบไปปฏิบัติ (Implementation)
หลักการที่ 4 การตรวจวัดและการประเมินผล (Measurement and Evaluation)
หลักการที่ 5 การทบทวนและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Management Review and Continual Improvement)

ประโยชน์ในการนำระบบ มอก. 18001 และ BS OHSAS 18001 ไปปฏิบัติ

  1. ช่วยลดต้นทุนในระยะยาว เนื่องจากสามารถควบคุมและลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นต่อบุคลากร และทรัพย์สิน อาจรวมถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
  2. เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี พนักงานมีความปลอดภัยในการทำงาน
  3. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร
  4. มีการพัฒนาบุคลากรให้มีการวางแผน การทำงานร่วมกัน การพัฒนาความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการ การเฝ้าระวังและตรวจสอบ รวมถึงการแก้ไขข้อบกพร่องและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานมากขึ้น
  5. ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ

มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (TIS18001และ BS OHSAS18001)

1. แบบฟอร์มร้องขอให้เสนอราคา Download
2. ขั้นตอนการขอการรับรองระบบการจัดการ Download
3. แบบฟอร์มคำขอการรับรองระบบ Download
4. แบบฟอร์มข้อมูลเกี่ยวกับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย Download
5. ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองระบบการบริหารจัดการ Download
6. การตรวจประเมินเพื่อการรับรองระบบการบริหารจัดการ Download
7. แนวทางการดำเนินการในการปรับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจากมาตรฐาน OHSAS 18001:2007
สู่มาตรฐาน ISO 45001:2018  (แก้ไขครั้งที่ 1) Download
8. ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใน การรับรองระบบการบริหารจัดการกรณีการโอนการรับรองจากหน่วยรับรองอื่น Download


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำแนวคิดการจัดการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเป็นผลผลิตจากงานวิจัยโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (Enhancement of Safety Practice of Research Laboratory in Thailand, ESPReL) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้การสนับสนุนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแกนนำในการดำเนินงาน โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย และสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการพัฒนาระบบและเครื่องมือการบริหารจัดการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่คำนึงถึงองค์ประกอบ 7 ด้าน ต่อมารู้จักกันในชื่อ ESPReL และ ESPReL Checklist ที่สามารถใช้สำรวจและประเมินความปลอดภัยด้วยตนเองให้เห็นอันตรายและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เมื่อระบุสาเหตุของอันตรายได้จึงเข้าไปลดความเสี่ยงนั้นๆ ได้อย่างแม่นยำ ตรงเป้า และ ESPReL Checklist นี้คือเครื่องมือนำไปสู่ 7 องค์ประกอบของการบริหารจัดการความปลอดภัยที่สัมพันธ์และเชื่อมโยงกันแสดงดังรูป

องค์ประกอบของระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบหลักของการบริหารจัดการความปลอดภัย

แต่ละองค์ประกอบชี้ให้เห็นความเสี่ยงหลักแต่ละด้านที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงด้านอื่น ๆ องค์ประกอบดังกล่าวประกอบด้วย

1. การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย

เริ่มต้นที่นโยบายมหาวิทยาลัยและแผนงานด้านความปลอดภัย ซึ่งถ่ายทอดลงมาเป็นนโยบายและแผนปฏิบัติในทิศทางเดียวกันสำหรับการบริหารทุกระดับ แต่รายละเอียดของการปฏิบัติอาจมีความเฉพาะเจาะจงตามลักษณะงานของแต่ละแห่งได้ มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบชัดเจน และสามารถสื่อสารความสำคัญของการมีระบบการจัดการ ในรูปของเอกสาร แผน รายงาน โครงสร้างการบริหารระบบ ตลอดจนกิจกรรม เพื่อนำไปจัดสรรทรัพยากรด้านบุคลากร กำลังคน และงบประมาณสนับสนุนการปฏิบัติงานได้

2. ระบบการจัดการวัสดุในห้องปฏิบัติการ

จัดทำสารบบของสารเคมี วัสดุกัมมันตรังสี สารชีวภาพ (materials inventories) เพื่อมีระบบการจัดการที่ดี ทั้งระบบข้อมูล การจัดเก็บ การเคลื่อนย้าย และการจัดการสารที่ไม่ใช้แล้ว สำหรับสารบบของสารเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดชุดบริหารจัดการ ChemTrack & WasteTrack2016 ไว้ให้บริการ เพื่อให้ผู้บริหารทุกระดับ รวมทั้งผู้ปฏิบัติที่เป็นผู้ป้อนข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลสารได้อย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการความเสี่ยง การแบ่งปันสาร การจัดสรรงบประมาณ สำหรับห้องปฏิบัติการด้านชีวภาพและด้านรังสียังต้องมีการจัดการข้อมูลสารชีวภาพและวัสดุกัมมันตรังสี เพื่อรายงานตามกฎหมายด้วย

3. ระบบการจัดการของเสียอันตราย

แนวทางและการบริหารจัดการสอดคล้องกับระบบการจัดการวัสดุในห้องปฏิบัติการ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดชุดบริหารจัดการ ChemTrack & WasteTrack2016 ไว้รองรับข้อมูล ติดตามความเคลื่อนไหวของของเสียที่เกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการโดยห้องปฏิบัติการต้องแยกประเภทของเสียอันตรายตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บในภาชนะที่ระบุประเภทของเสีย ปริมาณ แหล่งที่มา และผู้รับผิดชอบ มีการนัดหมายกับผู้ดูแลระบบ เพื่อรวบรวมส่งไปกำจัดโดยหน่วยงานภายนอกที่ได้รับอนุญาต ข้อมูลเหล่านี้จะถูกประมวลออกมาเป็นรายงานที่แสดงถึงแนวโน้มของปริมาณของเสีย รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการกำจัดของแต่ละส่วนงาน

4. ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ

ประกอบด้วยข้อมูลเชิงสถาปัตยกรรม ลักษณะอาคาร (ภายนอก และภายในอาคาร) สภาพแวดล้อมภายในห้อง เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ มีการดูแลรักษาและพร้อมใช้งาน งานวิศวกรรมต่าง ๆ เช่น งานโครงสร้าง ระบบไฟฟ้า งานสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม ระบบระบายอากาศและปรับอากาศ รวมทั้งงานระบบฉุกเฉิน อุปกรณ์ฉุกเฉิน และระบบติดต่อสื่อสาร ของพื้นที่การใช้งานจริง เอื้อต่อการทำงานอย่างปลอดภัยทั้งในภาวะปกติและฉุกเฉิน

5. ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย

ต้องมีระบบการบริหารความเสี่ยงจากข้อมูลจริงในทุก ๆ ด้าน มีลำดับความคิดตั้งต้นจากการระบุปัจจัยเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยง มีแผนป้องกันและความพร้อมการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน ควรมีการกำหนดข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย กำหนดแผนฉุกเฉิน การปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด การฝึกซ้อม และการตรวจสอบอุปกรณ์เพื่อรองรับภาวะฉุกเฉิน ส่วนงานควรมีแผนผังทางหนีไฟที่ปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจน เส้นทางหนีไฟต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีป้ายเตือน มีอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสม เพียงพอ และอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และมีลำดับขั้นการติดต่อแจ้งเหตุที่ชัดเจนและเชื่อมโยงกับระบบกลางของอาคาร ของคณะ สถาบัน และของมหาวิทยาลัย

6. การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

ต้องมีการสร้างความตระหนักและการให้ความรู้พื้นฐานที่จำเป็น เหมาะสม และอย่างต่อเนื่องแก่ผู้เกี่ยวข้องแต่ละกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีบทบาทต่างกัน ตั้งแต่อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักวิจัย นิสิต พนักงานทำความสะอาด ผู้เข้าเยี่ยมชม รวมทั้งผู้ที่เข้ามาให้หรือรับบริการเป็นครั้งคราว มีการประเมินและกำหนดเงื่อนไขการผ่านการประเมิน ส่วนงานควรมีแผนการให้ความรู้กับบุคลากรทุกระดับ มีระบบประเมินผลระดับความรู้ที่ได้รับ และมีกิจกรรมที่จะนำไปสู่กระบวนการสร้างจิตสำนึก นอกจากหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มต่าง ๆ ในฐานะผู้ใช้แล้ว ยังมีหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้บริหาร คณะกรรมการความปลอดภัย ตลอดจนกลุ่มผู้ดูแลห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับ สารเคมี สารรังสี สารชีวภาพ

7. การจัดการข้อมูลและเอกสาร

ต้องมีระบบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยซึ่งเน้นที่ตัวระบบมากกว่าบุคคล สามารถสื่อสารให้เข้าใจตรงกันและส่งงานต่อกันได้เมื่อเปลี่ยนผู้รับผิดชอบ และใช้ต่อยอดความรู้ในทางปฏิบัติ ให้การพัฒนาความปลอดภัยเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดระดับความรับผิดชอบ โครงสร้างของระบบการบันทึกข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลและเอกสาร ประกอบด้วย รหัสเอกสาร ชื่อเอกสาร ประเภทของเอกสาร (ควบคุม – ไม่ควบคุม) ผู้รับผิดชอบ ผู้ครอบครอง สถานที่จัดเก็บ วันที่บันทึกข้อมูล และปรับปรุงข้อมูล เป็นเอกสารที่ใช้ปฏิบัติงานฉบับล่าสุด และเข้าถึงได้ง่าย โดยจัดเก็บในรูปของเอกสารหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และมีบัญชีหลักของเอกสาร

(อ้างอิงจาก คณะกรรมการความปลอดภัยด้านเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.), 2560.)