โครงการตามพระ ราช ประสงค์ สรุป

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ความเป็นมา

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ แห่งนี้ พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2525  ให้พิจารณาตั้งขึ้นบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ขอบเขตพื้นที่ โครงการประมาณ 8,500 ไร่ โดยมีพระราชประสงค์ที่ให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษาทดลอง วิจัย เพื่อหารูปแบบการพัฒนาต่างๆ ในบริเวณต้นน้ำเหมาะสมและเผยแพร่ให้ราษฎรนำไปปฏิบัติต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธารซึ่งศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จะทำการศึกษา การพัฒนาป่าไม้พื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลักต้นทางเป็นการศึกษาพัฒนาด้านป่าไม้ ปลายทางเป็นการศึกษาพัฒนาด้านการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่างๆ ผสมกับการศึกษา ด้านการเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์และโคนม และด้านเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อเป็นศูนย์ ที่สมบูรณ์แบบที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์แล้วนำไปปฏิบัติอย่างได้ผลต่อไป ดังมีพระราชดำริให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทำหน้าที่เสมือน “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” หรืออีกนัยหนึ่ง “สรุปผลและการพัฒนา” ที่ประชาชนจะเข้าไปเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้ 

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน

ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าขุนแม่กวง ตำบลป่าเมี่ยง ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ 8,500 ไร่

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำหรับภาคเหนือ ในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำห้วยฮ่องไคร้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เขตพื้นที่ โครงการประมาณ 8,500 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการอบรม และเผยแพร่การศึกษาให้แก่ส่วนราชการและเกษตรกรทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาด้านต่างๆ

เป้าหมายโครงการ                            

1. พัฒนาแหล่งน้ำให้มีน้ำเพียงพอสำหรับสนับสนุนงานศึกษาการพัฒนาด้านต่างๆ ของศูนย์ และจัดให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของราษฎร หมู่บ้านรอบศูนย์ ที่เหมาะสมร้อยละ 70

เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา ดังนี้"……เป็นการสาธิตการพัฒนาเบ็ดเสร็จ หมายถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ทุกด้านของชีวิตประชาชนที่จะหาเลี้ยงชีพในท้องที่จะทำ อย่างไร และได้เห็นวิทยาการแผนใหม่ จะสามารถที่จะหาดูวิธีการจะทำมาหากินให้มีประสิทธิภาพ…..""……ด้านหนึ่งก็เป็นจุดประสงค์ของศูนย์ศึกษาฯ ก็เป็นสถานที่สำหรับค้นคว้าวิจัยในท้องที่ เพราะว่าแต่ละท้องที่สภาพฝนฟ้า อากาศ และประชาชนในท้องที่ต่างๆ กันก็มีลักษณะแตกต่างกันมากเหมือนกัน….""กรมกองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชนทุกด้าน ได้สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปรองดองกัน ประสานกันตาม ธรรมดาแต่ละฝ่ายต้องมีศูนย์ของตน แต่ว่าอาจจะมีงานถือว่าเป็นศูนย์ของตัวเอง คนอื่นไม่เกี่ยวข้อง และศูนย์ศึกษาการพัฒนาเป็น ศูนย์ที่รวบรวมกำลังทั้งหมดของเจ้าหน้าที่ทุกกรมกอง ทั้งในด้านเกษตรหรือในด้านสังคม ทั้งในด้านหางานการส่งเสริมการศึกษา อยู่ด้วยกัน ก็หมายความว่าประชาชนซึ่งจะต้องใช้วิชาการทั้งหลายก็สามารถที่จะมาดู ส่วนเจ้าหน้าที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่ ประชาชนก็มาอยู่พร้อมกันในที่เดียวกันเหมือนกัน ซึ่งเป็นสองด้าน ก็หมายถึงว่าที่สำคัญปลายทางคือ ประชาชนจะได้รับประโยชน์ และต้นทางของผู้เป็นเจ้าหน้าที่จะให้ประโยชน์……."จากพระราชดำรัสดังกล่าวข้างต้นก็พอจะสรุปได้ว่า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีแนวทางและ วัตถุประสงค์ ดังนี้คือ๑. ดำเนินการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย เพื่อแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับ สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันดังนั้นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จึงเปรียบเสมือน "ต้นแบบ" ของความสำเร็จที่จะเป็นแนวทางและ ตัวอย่างให้แก่พื้นที่อื่นๆ๒. แลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างนักวิชาการ นักปฎิบัติ และประชาชน การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัยต่างๆ ที่ได้ผลแล้วควรจะ นำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่จริงได้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ควรเป็นแหล่งผสมผสานวิชาการและการปฏิบัติ เป็นแหล่งความรู้ของ ราษฎร เป็นแหล่งศึกษาทดลองของเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานและเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนถ่ายทอดประสบการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหา ระหว่าง คน ๓ กลุ่ม คือ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ซึ่งทำหน้าที่พัฒนาส่งเสริม และราษฎร๓. พัฒนาแบบผสมผสาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เป็นตัวอย่างที่ดีของแนวความคิดแบบสหวิทยาการ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดในพื้นที่นั้น ๆ ดังนั้นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ แต่ละแห่งจะเป็นแบบจำลองของพื้นที่และรูปแบบการพัฒนาที่ควรจะเป็น เป็นตัวอย่างว่าในพื้นที่ลักษณะหนึ่ง ๆ นั้น จะสามารถใช้ ประโยชน์อย่างเต็มที่ได้โดยวิธีใดบ้าง มิใช่การพัฒนาเฉพาะทางใด ทางหนึ่ง แต่พยายามใช้ความรู้มากสาขาที่สุด แต่ละสาขาก็ให้เป็นประโยชน์เกื้อหนุนกับการพัฒนาสาขาอื่นๆ และระบบของศูนย์ การพัฒนาฯ ก็ควรเป็นการผสมผสานการดำเนินงานและการบริหารที่เป็นระบบด้วย๔. ประสานงานระหว่างส่วนราชการ เนื่องจากกระบวนการพัฒนาและระบบราชการไทยมีปัญหานี้โดยพื้นฐาน เป็นสิ่งบั่นทอน ประสิทธิภาพของการทำงาน การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทุกแห่งจึงเน้นการประสานงาน ประสานแผนงาน ระหว่าง กรม กอง และส่วนราชการต่างๆ๕. เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ กล่าวคือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ มีการศึกษาทดลองและสาธิตให้เห็นการดำเนินงานในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านกสิกรรม ปศุสัตว์ ประมง ตลอดจนการพัฒนาทางด้านสังคมและงานศิลปาชีพในลักษณะของ "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ที่มีชีวิต" เมื่อผู้สนใจเข้าไปศึกษาดูงานในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ก็จะได้รับความรู้รอบด้าน นอกจากนี้ยังนำผลการศึกษา ไปส่งเสริมกับหมู่บ้านเป้าหมาย เรียกว่า "หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ" โดยการให้เกษตรกรเข้ามารับการอบรมในศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ หลักสูตรต่างๆ เช่น การเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ การขยายพันธุ์ การเลี้ยงสัตว์ การประมง ฯลฯ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมออก ไปแนะนำส่งเสริมในหมู่บ้าน หรือเกษตรกรเข้ามาศึกษาดูงานในศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ด้วยตนเองหรือเข้ามาเป็นหมู่คณะศูนย์ศึกษาการพัฒนาแต่ละศูนย์นั้น มีความเป็นมา วัตถุประสงค์ ลักษณะการดำเนินงาน กล่าวพอสรุปได้ดังนี้๑. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดศาลบวรราชานุสาวรีย์ ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบล เขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ราษฎรได้น้อม เกล้าฯ ถวายที่ดินหมู่ที่ ๒ ตำบลเขาหินซ้อน เนื้อที่ ๒๖๔ ไร่ จึงมีพระราชดำริที่จะใช้ผืนดินนี้เพื่อก่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการเกษตรต่อไป โดยให้ส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมป่าไม้ กรม การพัฒนาชุมชน กรมปศุสัตว์ และ กรป. กลาง ร่วมกันพัฒนาพื้นที่นี้โดยจัดทำเป็นศูนย์การศึกษาด้านเกษตรกรรมและงาน ศิลปาชีพ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จังหวัด ฉะเชิงเทรา" ซึ่งนับว่าเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแห่งแรก

ลักษณะการดำเนินงานด้านพัฒนาสังคม

- ฝึกอบรมด้านศิลปาชีพ เช่น จักสาน ทอผ้า ฯลฯ- ดำเนินการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก- ดำเนินการด้านกิจการโรงสีเพื่อช่วยเหลือราษฎร- ส่งเสริมและเผยแพร่หลักการและวิธีการสหกรณ์- สาธิตการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่- มีการขยายผลการพัฒนาไปสู่ประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ

๒. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

พื้นที่บริเวณอ่าวคุ้งกระเบนเป็นแหล่งการประมงแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของ จังหวัดจันทบุรี บริเวณชายฝั่งก็เป็นเขตสงวนของ ป่าไม้ชายเลนที่สำคัญ แต่ทรัพยากรเหล่านี้ได้เสื่อมโทรมลงทุกด้าน ปริมาณสัตว์น้ำในธรรมชาติลดลงและป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลาย
ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชา นุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่จังหวัดจันทบุรี ได้พระราชทานพระราชดำริแก่นายบุญนาค สายสว่าง ผู้ว่าราชการ จังหวัดจันทบุรีในขณะนั้น ให้พิจารณาหาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดทำโครงการพัฒนาด้านอาชีพการประมงและการเกษตรในเขตพื้นที่ ชายฝั่งตะวันออกของจังหวัดจันทบุรี เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนา ในที่สุดได้กำหนดพื้นที่บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน ตำบล สนามไชย อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นพื้นที่จัดตั้งศูนย์ฯ โดยมีกรมประมงเป็นฝ่ายอำนวยการ

ลักษณะการดำเนินงานด้านพัฒนาสังคม

- ดำเนินการค้นคว้า ทดลองและสาธิตการพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้าน ประมงชายฝั่ง เพื่อให้เกษตรกรสามารถเพิ่ม ผลผลิตเพื่อการพัฒนาตนเองได้ในระยะยาว- ศึกษาวิธีการปล่อยสัตว์น้ำชายฝั่งและการสำรวจอัตราการจับสัตว์น้ำบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน- จัดสรรพื้นที่ให้แก่ราษฎรบริเวณรอบอ่าวคุ้งกระเบนเพื่อทำเป็นแปลงสาธิตเลี้ยงหอย- ฝึกอบรม เรื่องของสหกรณ์ เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองด้านการตลอด- ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์ ชื่อ "สหกรณ์ประมงคุ้งกระเบน จำกัด" เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๐- สาธิตการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่- มีการขยายผลการพัฒนาไปสู่ประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ

๓. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สภาพพื้นที่ภาคใต้โดยเฉพาะแถบจังหวัดนราธิวาส บางแห่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ มีน้ำขังตลอดปี ทำให้ดินเปรี้ยวมีสภาพเป็นกรด เรียกว่า "ดินพรุ" มีอาณาเขตกว้างขวางถึงประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินทำกิน แม้เมื่อระบายน้ำออกแล้วก็ยัง ใช้ประโยชน์ไม่ได้ พระราชทานพระราชดำริแก่หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรีและนายชิต นิลพานิช ผู้ว่าราชการ จังหวัดนราธิวาสในขณะนั้นว่า ควรจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาในการศึกษาวิจัยดินพรุ เพื่อนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบ อย่างในการพัฒนาพื้นที่พรุอื่น ๆ ต่อไป ต่อมาจึงได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างจังหวัดนราธิวาส กับสำนักงานคณะกรรมการ พิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์เป็นประธาน เพื่อกำหนด นโยบายเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา ซึ่งต่อมาใช้ชื่อว่า "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง" ในวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๕ คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ได้มีมติอนุมัติในหลักการดำเนินงาน ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยมีกรมพัฒนาที่ดินเป็นฝ่ายอำนวยการ

ลักษณะการดำเนินงานด้านพัฒนาสังคม

- ให้ความรู้ด้านการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน- ควบคุม ปราบปรามการระบาดของโรคเท้าช้างและโรคในสัตว์- ฝึกอบรมการอาชีพที่น่าสนใจ เช่น ช่างไม้ ช่างจักสาน (แฝก) เป็นต้น- แนะนำให้ความรู้การประกอบอาชีพแผนใหม่- สาธิตการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่- มีการขยายผลการพัฒนาไปสู่ประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ

๔. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ปัญหาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สำคัญ คือ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ สภาพดินเป็นดินทรายที่ไม่อุ้มน้ำ เกษตรกรมีพื้นที่ เพาะปลูกน้อย ได้ผลผลิตต่ำ มีความเสี่ยงต่อภาวะผันผวนของดินฟ้าอากาศสูงมากเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้หม่อมเจ้า จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรี และอธิบดีกรมชลประทาน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรมราชองครักษ์ สวนจิตรลดา ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการจัดหาน้ำสนับสนุนโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อให้มีการศึกษาทดลองงานพัฒนาการเกษตรต่าง ๆ ตามความเหมาะสม สำหรับเป็นตัวอย่าง ให้ราษฎรนำไปใช้ปฏิบัติต่อไป ต่อมาในวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ โดยมีหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เป็นประธาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จึงได้เริ่ม ดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยมีกรมชลประทานเป็นฝ่ายอำนวยการ

โครงการตามพระราชประสงค์ มีอะไรบ้าง

ประเภทโครงการด้านต่างๆ.
โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ 3,248 โครงการ/กิจกรรม.
โครงการพัฒนาด้านการเกษตร 170 โครงการ/กิจกรรม.
โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ... .
โครงการพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ ... .
โครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข ... .
โครงการพัฒนาด้านคมนาคม/สื่อสาร ... .
สวัสดิการสังคม/การศึกษา ... .
โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ/อื่นๆ.

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกิดขึ้นเพราะสิ่งใด

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นองค์การไม่แสวงผลกำไรในประเทศไทย ก่อตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นองค์การที่รวบรวมข้อริเริ่มและงานวิจัยเพื่อการกุศล ความสนใจของมูลนิธิคือการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชาวเขา เป้าหมายตามกันคือลดการปลูกฝิ่นและการฟื้นฟูป่าและทรัพยากรน้ำ มูลนิธิฯ ถือเป็นโครงการ ...

หลักการที่สำคัญของโครงการพระราชดำริมีอะไรบ้าง

หลักการที่สำคัญของโครงการพระราชดำริ.
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ... .
การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ... .
การพึ่งตนเอง ... .
การส่งเสริมความรู้ และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม ... .
การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ... .
การส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีกี่โครงการอะไรบ้าง

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตั้งแต่ปี ๒๔๙๕-๒๕๖๐ (มีจำนวน ๔,๗๔๑ โครงการ /กิจกรรม ข้อมูล ณ เดือนกันยายน ๒๕๖๐) รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้ ... ประเภทของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.