ลักษณะของข้อมูล ทางการ บัญชี

Main Article Content

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้จัดการโรงงานนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการแนวคิดทฤษฎีใช้ลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางการบัญชี 6 ประการ ได้แก่ ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม ความเข้าใจกันได้ ความทันต่อเวลา การเปรียบเทียบกันได้ และการพิสูจน์ยืนยันได้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผู้จัดการโรงงานจำนวน 110 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า 1) ลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางบัญชี 3 ประการ ได้แก่ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความทันต่อเวลา และการพิสูจน์ยืนยันได้ มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการบริหารงาน และมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) คุณภาพข้อมูลทางบัญชีส่งผลต่อความต้องการใช้ข้อมูลทางบัญชีมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดย ลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางบัญชีมีความสำคัญกับการบริหารงานของผู้จัดการโรงงานในภาพรวมมีสำคัญระดับมาก ทุกด้าน 3) ความสามารถใช้ข้อมูลทางบัญชีมีความสำคัญที่ด้านประสิทธิผลของการบริหารงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก และข้อมูลทางบัญชีมีความสำคัญระดับมากที่สามารถช่วยในการบริหาร  4  ด้าน คือ  การวางแผนงบประมาณ การวางแผนการผลิต การช่วยให้บริหารโรงงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ และการตัดสินใจในการผลิตในเรื่องกำลังการผลิต ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนจากการลงทุนต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

References

ทวิชชัย อุรัจฉัท. (2554). การใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการบริหารสินเชื่อของธนาคารออมสินในเขตอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วิทยาลัยราชพฤกษ์:นนทบุรี.

วิมลพรรณ เลาหเจริญยศ. (2553). การใช้ข้อมูลทางการบัญชีของผู้บริหารของธุรกิจในเขตสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ จังหวัดลาพูน. (การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

สภาวิชาชีพบัญชี. (2558). กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน (ปรับปรุง 2558). กรุงเทพฯ

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2551). หลักการบัญชีบริหารแนวพื้นฐานและการประยุกต์สำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

สุรีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนาและคณะ. (2555). ความสำเร็จของการปฏิบัติทางบัญชีบริหารและผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเซรามิกในจังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เมษายน – กันยายน.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2539). การบริหารเชิงกลยุทธ์ฉบับมาตรฐาน.กรุงเทพฯ.วิสิทธิ์พัฒนา.

Cronbach, L. J. 1970. Essentials of Psychological Test. New York: Harper Collins.

Drucker, P.E. (1995). The Post Capitalistic Executive in P.E. Drucker (ed.) Management in a Time of Great Change New York: Penguin.

Florin-Constantin, Dima. (2012) "The Users of Accounting Information and Their Needs." JEL Classification: M41-accounting . 200-204.

Hall, Matthew. (2010). Accounting information and managerial work. Accounting, Organizations and Society, 35.3 : 301-315.

Robbins, Coulter. (2003). Management (7th ed. ed.): Prentice-Hall, Englewood Cliffs, NJ

Socea, Alexandra-Daniela. (2012). Managerial decision-making and financial accounting Information. Social and Behavioral Sciences 58, 47–55.

Yamane, Taro. 1970. Elementary Sampling Theory. Englewood Cliffs.New Jersey : Prentice-Hall.

  • Thai ‎(th)‎

เว็บบราวเซอร์ที่คุณใช้ต้องอนุญาตให้รับ cookies

บุคคลทั่วไปสามารถเข้าชมได้เฉพาะรายวิชาที่มี สัญลักษณ์หน้าคนติดอยู่ นั่นคือ อนุญาตให้บุคคลทั่วไปเข้าศึกษาได้ นอกนั้น สำหรับท่านที่เป็นสมาชิกเท่านั้น

Get the mobile app

ลักษณะของข้อมูล ทางการ บัญชี

ความเชื่อมโยงกิจกรรมทางธุรกิจไปสู่รายงานทางการเงิน

          ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ประกอบไปด้วยกิจกรรมทางธุรกิจที่สามารถแบ่งได้เป็นกิจกรรมต่างๆ มากมายให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน การจัดหาเงิน และการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งแต่ละองค์กรจะต้องมีการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ อาทิเช่น การกำหนดกลยุทธ์ในการมุ่งเน้นเป็นผู้นำทางด้านต้นทุน (แข่งขันในการทำต้นทุนให้ต่ำที่สุด)  หรือกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างในธุรกิจ เป็นต้น

          การที่จะสามารถทราบได้ว่า กลยุทธ์ต่างๆ ที่ได้ดำเนินการไป บรรลุตามวัตถุประสงค์เป้าหมายขององค์กรหรือไม่  ย่อมจำเป็นจะต้องใช้กระบวนการทางบัญชี เพื่อดำเนินการในการจัดเก็บ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านการเงินและบัญชี ที่เกิดขึ้นในแต่ละกิจกรรมขององค์กร จึงนำไปสู่ความจำเป็นในการที่จะต้องกำหนดกลยุทธ์ทางบัญชี  ได้แก่ การเลือกนโยบายบัญชี  การเลือกการประมาณค่า  และการเลือกการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ  พร้อมๆ ไปกับการจัดการระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพ เพื่อวัดค่าและรายงานผลการเงินที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมทางธุรกิจขององค์กร และนำไปสู่รายงานทางการเงิน ที่มีข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารองค์กรต่อไป  ทั้งนี้ยังมีสภาพแวดล้อมทางบัญชี ที่ทางนักบัญชีจะต้องมีการติดตามและเพิ่มเติมความรู้ของตนอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของมาตรฐานการบัญชี  ระบบภาษี  และกฎหมายที่เกี่ยวข้องทางบัญชี เป็นต้น 

การวิเคราะห์และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจทางธุรกิจ

  • เป้าหมายของธุรกิจ
  • ต้องสร้างมูลค่าสูงสุดแก่องค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในด้านของผลตอบแทนต่างๆ ที่จำเป็น
  • เมื่อเริ่มต้นกิจการหรือขยายกิจการ
  • ต้องคำนึงถึงการใช้เงินทุน (ลงทุน) ว่าจะใช้เงินทุนเท่าไร ด้วยการสำรวจถึงเงินลงทุนทั้งสิ้นที่จำเป็นต้องใช้ และเงินทุนหมุนเวียนภายในด้วย
  • จะหาเงินจากที่ไหน  (จัดหาเงิน)  ใช้เงินทุน หรือเงินกู้ ต้องคำนึงถึงต้นทุนทางการเงินด้วย ในกรณีที่จะทำการกู้ก็ต้องคำนึงถึงต้นทุนทางการเงินที่ต่ำที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ
  • เมื่อดำเนินการ
  • จะขายเท่าใด  ใช้กลยุทธ์ทางด้านการบริหารจัดการมาเป็นตัวช่วย ประกอบกับการดูแลต้นทุนต่างๆ ขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
  • จะจัดการกับสินทรัพย์ หนี้สิน อันได้แก่ เงินสด ลูกหนี้ สินค้า เจ้าหนี้  อย่างไร (ต้องอาศัยกลยุทธ์ทางธุรกิจ ร่วมกันกับ กลยุทธ์ทางบัญชี ในการวางแผนบริหารจัดการด้วยความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน)
  • ทุกกิจกรรมธุรกิจต้องวิเคราะห์และใช้ข้อมูลการเงินในการตัดสินใจ
  • ข้อมูลการเงินมาจากการจัดทำบัญชี แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจในการบริหารสู่กำไรต่อไป

ความหมายของการบัญชี

          การบัญชี (Accounting)  คือ  กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจของธุรกิจ นำมาแยกแยะ จัดหมวดหมู่ บันทึก และจัดทำการรายงานผลของข้อมูลทางเศรษฐกิจนั้นๆ เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ข้อมูล

ลักษณะและวัตถุประสงค์ของการบัญชี

          การบัญชีเป็นกิจกรรมในการจัดทำข้อมูลในรูปของรายงานทางการเงิน เรียกว่า งบการเงิน เพื่อการตัดสินใจในธุรกิจ มีลักษณะที่สำคัญ

  • เป็นกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับดำเนินธุรกิจ เพื่อประเมินการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างถูกต้อง
  • เป็นการเสนอข้อมูลทางการเงิน นำไปสู่การหาข้อมูลเชิงคุณภาพ
  • เป็นการเสนอข้อมูลในอดีต นำไปสู่การตัดสินใจในอนาคต

รูปแบบข้อมูลการบัญชี

          การบัญชีมีการจัดทำรายงานแยกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้คือ

  1. การบัญชีการเงิน (Financial Accounting)  เป็นการจัดทำบัญชีเพื่อเสนอรายงานทางการเงินต่อบุคคลภายในและภายนอก ที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน  การจัดทำเป็นไปตามรูปแบบตามหลักการบัญชีที่ยอมรับทั่วไป ปัจจุบันเป็นไปตามมาตรฐานรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ(International Financial Reporting Standard : IFRS)
  2. การบัญชีบริหาร (Managerial Accounting)  เป็นการจัดทำบัญชีเพื่อเสนอรายงานและข้อมูลต่อผู้บริหารภายในองค์กร  สำหรับการวางแผน ควบคุมและตัดสินใจให้บรรลุตามเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่วางไว้ มุ่งเน้นการเสนอข้อมูลที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  เป็นข้อมูลที่ยืดหยุ่นทันเวลาที่ต้องการใช้  รูปแบบการจัดทำตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล (ผู้บริหาร)

บทความโดย : Acc_sriphat 

ประเภทของข้อมูลทางการบัญชี มีอะไรบ้าง

ข้อมูลบัญชีที่จำเป็นต่อการบริหารบริษัท.
1. ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุน ... .
2. ข้อมูลการใช้ทรัพยากรของบริษัท ... .
3. ข้อมูลการควบคุมต้นทุนแต่ละหน่วย ... .
4. ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงต้นทุน และกำไร ... .
5. ข้อมูลเกี่ยวกับการวางแผนเรื่องกำไร ... .
6. ข้อมูลด้านกำไร ... .
7. ข้อมูลประสิทธิภาพบริหารงานของหน่วยงานต่างๆ ... .
8. ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของตลาด.

ลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลการบัญชีเพื่อการจัดการมีลักษณะเป็นอย่างไร

2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถวัดค่าออกมาเป็นตัวเลขได้ เช่น ภาวะเศรษฐกิจ คุณภาพของสินค้า ความคิดเห็นของนักบัญชี ความสามารถในการส่งมอบสินค้าให้แก่ ผู้ซื้อได้ทันเวลา การให้บริการหลังการขาย ความพึงพอใจของลูกค้า เป็นต้น

ข้อมูลทางการบัญชี คืออะไร

การบัญชี เป็นศิลปะของการรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีคือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในแต่ละกิจกรรม

ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชีมีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของการทำบัญชี กิจการได้อะไรบ้าง.
ทำให้ทราบผลการดำเนินการของกิจการ.
เพื่อเป็นข้อมูลช่วยในการวางแผนหลายๆ ด้านของกิจการ.
เพื่อให้กิจการมีระบบควบคุมภายในที่ดี.
เพื่อเป็นเครื่องมือในการหาแหล่งเงินทุน.
เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนภาษีได้อย่างถูกต้องและประหยัด.