แบบฝึกหัดการเชื่อมประพจน์ พร้อมเฉลย

ประพจน์

ประพจน์คือ ประโยคหรือข้อความที่สามารถบอกได้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ จะอยู่ในรูปประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธก็ได้

เรานิยมใช้สัญลักษณ์ p,q,r,s หรือตัวอักษรอื่นๆ แทนประพจน์

ข้อสังเกต ประโยคที่จะเป็นประพจน์จะต้องไม่กำกวม ต้องตอบได้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ 

ข้อความที่เป็นประพจน์

เช่น

1-2 = 4 

พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก

½ เป็นจำนวนตรรกยะ

เชียงใหม่เป็นจังหวัดหนึ่งของภาคเหนือ

1 ไม่เป็นจำนวนจริง

จะเห็นว่าประโยคข้างต้น เราสามารถบอกได้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ

ข้อความที่ไม่เป็นประพจน์ คือข้อความที่อยู่ในรูปคำอุทาน, คำถาม หรือข้อความที่บอกไม่ได้ว่าจริงหรือเท็จ

เช่น

r เป็นจำนวนตรรกยะ (เราไม่สามารถบอกได้ว่าจริงหรือไม่จริง เพราะเราไม่รู้ว่า r คืออะไร)

x² = 1 (เราไม่รู้ว่า x คืออะไร จึงไม่เป็นประพจน์)

ฝากซื้อข้าวด้วยนะ (เป็นประโยคขอร้อง ดังนั้นไม่เป็นประพจน์)

ค่าความจริงของประพจน์

ค่าความจริงของประพจน์มี 2 แบบ คือ

1.) ค่าความจริงเป็นจริง (True) เราจะแทนด้วย T

2.) ค่าความจริงเป็นเท็จ (False) เราจะแทนด้วย F

เช่น หาค่าความจริงของประพจน์ต่อไปนี้

p : 2+5 = 7

q : พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก

r : เดือนกุมภาพันธ์มี 30 วัน

s : 1>2

จากโจทย์ จะได้ว่า p มีค่าความจริงเป็นจริง(T)

q มีค่าความจริงเป็นจริง(T)

r มีค่าความจริงเป็นเท็จ(F) เพราะเดือนกุมภาพันธ์ไม่ได้มี 30 วัน

s มีค่าความจริงเป็นเท็จ(F) เพราะ 1<2

นิเสธ

นิเสธของประพจน์ p เขียนแทนด้วย ∼p คือประพจน์ที่มีค่าความจริงตรงข้ามกับประพจน์ p

เช่น  p : วันนี้ฝนตก

~p : วันนี้ฝนไม่ตก

q : คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ไม่ยาก

~q : คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก

r : นิดหน่อยเป็นผู้หญิง

~r : นิดหน่อยไม่เป็นผู้หญิง

การเชื่อมประพจน์

กำหนดให้ p และ q เป็นประพจน์ใดๆ

1.) p∧q อ่านว่า p และ q มีค่าความจริงเป็นจริงแค่กรณีเดียว คือ p และ q มีค่าความจริงเป็นจริงทั้งคู่

เช่น p : กรุงเทพมหานครอยู่ในประเทศไทย

q : เชียงใหม่อยู่ในประเทศไทย

ดังนั้น p∧q มีค่าความจริงเป็นจริง เพราะ p มีค่าความจริงเป็นจริง และ q มีค่าความจริงเป็นจริง

Trick!!  ประพจน์ที่เชื่อมกันด้วย “และ” ถ้าเป็นเท็จ(F)แค่อันเดียว ก็ถือว่าประพจน์นั้นเป็นเท็จ

2.) p∨q อ่านว่า  p หรือ q มีค่าความจริงเป็นเท็จแค่กรณีเดียว คือ ทั้งp และq มีค่าความจริงเป็นเท็จทั้งคู่

ถ้ามองให้เห็นภาพง่ายขึ้น เราจะยกตัวอย่างสิ่งที่เห็นในขีวิตประจำวันบ่อยๆ คือคุณสมบัติการสมัครงาน

วุฒิการศึกษาที่ต้องการ : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา คณิตศาสตร์ หรือ สาขาสถิติ

พิจารณาข้อความดังกล่าว ถ้าเราไม่ได้จบทั้งสองสาขามาเราก็ไม่มีสิทธิสมัครงานนี้ได้

แบบฝึกหัดการเชื่อมประพจน์ พร้อมเฉลย

Trick!! ประพจน์ที่เชื่อมกันด้วย “หรือ” ถ้าเป็นจริง(T)แค่อันเดียว ก็ถือว่าประพจน์นั้นเป็นจริง

3.) p→q อ่านว่า ถ้า p แล้ว q เป็นประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน โดย p เป็นเหตุ และ q เป็น ผล ประพจน์ ถ้า…แล้ว… เป็นเท็จได้กรณีเดียวเท่านั้น คือ ประพจน์ที่เป็นเหตุมีค่าความจริงเป็นจริง และประพจน์ที่เป็นผลมีค่าความจริงเป็นเท็จ 

เช่น

แบบฝึกหัดการเชื่อมประพจน์ พร้อมเฉลย

Trick!!  จำแค่กรณีเดียว คือ หน้าจริงหลังเท็จได้เท็จ นอกนั้นจริงหมด

4.) p↔q อ่านว่า p ก็ต่อเมื่อ q มีค่าความจริงเป็นจริงก็ต่อเมื่อ p และ q มีค่าความจริงเหมือนกัน  ถ้า p มีค่าความจริงเป็นจริง q ก็ต้องมีค่าความจริงเป็นจริง ประพจน์นี้ถึงจะมีค่าความจริงเป็นจริง

ตัวอย่างจาก ข้อ 3.)

แบบฝึกหัดการเชื่อมประพจน์ พร้อมเฉลย

Trick!! วิธีจำคือ เหมือนจริง ต่างเท็จ

ตัวอย่าง

1.) ประโยคต่อไปนี้เป็นประพจน์หรือไม่  บอกเหตุผลประกอบ

1.1) เธอว่ายน้ำเป็นหรือไม่

1.2) มีคนอยู่บนดาวอังคาร

1.3) ถ้า x เป็นจำนวนเต็มแล้ว x +0 = x
1.4) กรุณาถอดรองเท้า

แนวคำตอบ 1.1) ไม่เป็นประพจน์ เพราะเป็นประโยคคำถาม

1.2) เป็นประพจน์ เพราะสามารถตอบได้ว่ามีค่าความจริงเป็นเท็จ

1.3) เป็นประพจน์ เพราะ เรารู้ว่า x คือจำนวนเต็ม เราจึงรู้ว่าค่าความจริงเป็นจริง

1.4) ไม่เป็นประพจน์ เพราะเป็นประโยคขอร้อง

2.) บอกค่าความจริงต่อไปนี้

2.1) 5 เป็นจำนวนเฉพาะและเป็นจำนวนคี่

วิธีทำ

แบบฝึกหัดการเชื่อมประพจน์ พร้อมเฉลย

ดังนั้น มีค่าความจริงเป็นจริง

2.2) 8 เป็นจำนวนคี่หรือจำนวนคู่

วิธีทำ

แบบฝึกหัดการเชื่อมประพจน์ พร้อมเฉลย

ดังนั้น มีค่าความจริงเป็นจริง

2.3) ถ้า 3 หาร 9 ลงตัวแล้ว 9 เป็นจำนวนคู่

วิธีทำ

แบบฝึกหัดการเชื่อมประพจน์ พร้อมเฉลย

ดังนั้น มีค่าความจริงเป็นเท็จ

2.4) 20 เป็นจำนวนคู่ ก็ต่อเมื่อ 20 หารด้วย 2 ลงตัว

วิธีทำ

แบบฝึกหัดการเชื่อมประพจน์ พร้อมเฉลย

ดังนั้น มีค่าความจริงเป็นจริง