สิ่งแวดล้อมทางกายภาพกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เฉลย

  เป็นวิชาที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์  ได้แก่  สิ่งแวดล้อมทางกายภาพซึ่งประกอบด้วย  ภูมิประเทศ  ภูมิอากาศ  ดิน  น้ำ  พืชตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น  ก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจขึ้น จนเป็นตัวกำหนดความก้าวหน้า การพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และประเทศในสังคมโลก

ความหมายและสาระสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์

    วิชาภูมิศาสตร์ (  Geography )  หมายถึงวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับมิติสัมพันธ์ที่มีผลต่อมนุษย์

    มิติสัมพันธ์  คือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับภูมิประเทศและมนุษย์

    ลักษณะของวิชาภูมิศาสตร์ที่แตกต่างจากเศรษฐศาสตร์  คือเป็นได้ทั้งวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์  ในปัจจุบันวิชาภูมิศาสตร์  หมายถึง  วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  ได้แก่  ภูมิประเทศ  ภูมิอากาศ  พืชพรรณธรรมชาติ  ดิน  น้ำและแร่ธาตุ  ต่าง ๆ 

    ความสำคัญของภูมิศาสตร์  ช่วยให้เราได้เรียนรู้และเข้าใจสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราและนำความรู้ไปปรับปรุงแก้ไขและวางแนวทางในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม

    ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ ( Economic ) คือ  วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการแสวงหาแนวทางในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด  เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ให้ได้มากที่สุด

ความหมายและความสำคัญของวิชาภูมิเศรษฐศาสตร์

    ภูมิเศรษฐศาสตร์ ( Economic  Geography )  เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  ในภูมิภาคต่าง  ๆ ของประเทศ  และของโลก  ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์กับที่ตั้งของกิจกรรมการผลิตนั้น  ๆ  การศึกษาวิชาภูมิเศรษฐศาสตร์  ทำให้รู้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจมีอะไรบ้าง  เกิดขึ้นเมื่อใดที่ไหน  และทำไมจึงต้องมีกิจกรรมนั้น  ๆ

    ประโยชน์ของการศึกษาวิชาภูมิเศรษฐศาสตร์

  1. รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดในการบริโภคและใช้ในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือความพอใจสูงสุดแก่ตน

  2. ช่วยให้เกิดสำนึกถึงคุณค่าของทรัพยากรว่าควรใช้ให้เกิดประโยชน์หรืให้มีผลตอบแทนสูงสุด

  3. ช่วยในการคาดคะเนในความต้องวัตถุดิบและปัจจัยการผลิต  ทำให้การดำเนินการผลิตได้ถูกต้องตรงตามความต้องการของผู้บริโภค

  4. สามารถประมาณค่าใช้จ่าย  และกำหนดแผนบริโภคและการออมได้อย่างเหมาะสม

  5. สามารถเข้าใจปัญหาต่าง  ๆ  ทางเศรษฐกิจได้

  6. เข้าใจสภาพปัญหาท้องถิ่น  และที่ตั้งของภูมิประเทศ  ภูมิอากาศที่ตนเองอาศัยอยู่และสามารถแก้ไขปัญหาต่าง  ๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นได้

  7. จัดลำดับความสำคัญของโครงการต่าง ๆ ตามความจำเป็นและความต้องการของประชาชนและประเทศชาติได้

  8. สามารถวางนโยบายทางเศรษฐกิจ  เพื่อการพัฒนาประเทศชาติได้

ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาเศรษฐศาสตร์กับวิชาภูมิเศรษฐศาสตร์

    วิชาเศรษฐศาสตร์มุ่งเน้นการศึกษาด้านกระบวนการของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

    วิชาภูมิเศรษฐศาสตร์มุ่งเน้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

    ปัญหาเศรษฐกิจมูลฐานเกิดจากทรัพยากรของโลกมีอยู่อย่างจำกัด  แต่ความต้องการของมนุษย์มีอยู่อย่างไม่จำกัด

ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์

    หน่วยทางเศรษฐกิจ  หมายถึงหน่วยที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ  เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ  หน่วยเศรษฐกิจส่วนใหญ่ประกอบด้วย  3  หน่วยใหญ่  คือ

  1. ครัวเรือน ( Household ) หมายถึง  หน่วยเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยบุคคลหนึ่งคนตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในหลังคาเดียวกันมีการตัดสินใจร่วมกันในการใช้ทรัพยากร  เพื่อให้เกิดประโยชน์และสวัสดิภาพแก่กลุ่มของตนมากที่สุด  เป้าหมายหลักคือ  การแสวงหาความพอใจสูงสุดของสมาชิกแต่ละคนในครัวเรือน

  2. ธุรกิจ ( Business )  หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่เอาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ มาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปและการบริการและนำไปขายแก่ผู้บริโภคในหน่วยงานอื่น  ๆ หน่วยธุรกิจประกอบด้วยสมาชิกใหญ่ ๆ 2 กลุ่ม คือ  ผู้ผลิต ( Producers ) และ ผู้บริโภค ( Sellers )  เป้าหมายของงานธุรกิจได้แก่  การแสวงหากำไรสูงสุดจากการประกอบการของตน

  3. องค์การรัฐบาล ( Govertment  Ageney ) หมายถึง  หน่วยงานของรัฐและส่วนราชการต่าง ๆ ที่จัดขึ้นเพื่อการค้าเป็นของรัฐบาล  นอกจากนี้ยังได้แก่สถาบันที่รัฐจัดตั้งขึ้น  เพื่อประกอบกิจการต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นหน่วยงานในองค์กรรัฐบาล

            -  เป้าหมาย คือมีหน้าที่สัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น ๆในระบบเศรษฐกิจที่สำคัญ  คือ

  1. เป็นผู้บริโภคและเจ้าของปัจจัยการผลิต

  2. เรียกเก็บภาษีจากหน่วยครัวเรือนและหน่วยธุรกิจ

  3. ให้ความคุ้มครองป้องกันภยันตรายทางเศรษฐกิจ

  4. ตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างสมาชิกในหน่วยเศรษฐกิจต่าง ๆ

บุคคลที่อยู่ในแต่ละหน่วยเศรษฐกิจจะมีหน้าที่แตกต่างกัน  ซึ่งอาจแบ่งเป็น  3  ประเภท  คือ

  1. เป็นผู้บริโภค ( Consumer ) มีหน้าที่เลือกบริโภค  เลือกใช้สินค้า  หรือ  บริการความต้องการหรือความพอใจของตน

  2. เป็นผู้ผลิต ( Producer ) มีหน้าที่นำเอาปัจจัยการผลิตมาใช้ผลิตสินค้าหรือบริการ  เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

  3. เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ( Owner  of  Factor of Production ) มีหน้าที่นำปัจจัยการผลิต  ที่ตนมีมาขายให้แก่ผู้ผลิต  แล้วนำผลตอบแทนที่ได้รับไปซื้อสินค้าหรือบริการ  หรือใช้ปัจจัยการผลิตเองโดยตรง

ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ปัจจุบันมีระบบเศรษฐกิจที่สำคัญอยู่  3  ระบบ คือ

1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม  ( Capitalism ) หรือระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด  หรือระบบเศรษฐกิจเอกชน  มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้คือ

  1. เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน  มีเสรีภาพในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร  ผลิตเพื่อใคร

  2. เอกชนมีสิทธิ์ในสินค้าและบริการที่ผลิตได้โดยรัฐบาลไม่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องหรือควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจใด ๆ 

  3. กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินไป โดยผ่านกลไกของราคา  และมีการแข่งขัน

 2. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม  (  Socialism ) ลักษณะสำคัญคือ

  1. รัฐเข้าเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตควบคุมการผลิในอุตสาหกรรมพื้นฐาน

  2. รัฐเป็นผู้ควบคุมและวางแผนการผลิต

  3. เอกชนมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพและเลือกใช้สิ่งของใด ๆ ได้และอาจมีทรัพย์สินส่วนตัวหรับธุรกิจขนาดย่อม

ระบบเศรษฐกิจแบบนี้แบ่งออกเป็น  2 ประเภท คือ

  1. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม  แบบประชาธิปไตย  คือระบบเศรษฐกิจที่อาศัยกลไกของระบบเสรีนิยม  และรัฐบาลพยายามจัดสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับประชาชน

  2. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม  แบบคอมมิวนิสต์  ลักษณะเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ได้แก่

  •  ปัจจัยการผลิตทุกชนิดเป็นของรัฐบาล

  • เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตที่เป็นของรัฐ

  • เสรีภาพในการเลือกซื้อและบริโภคของประชาชนถูกจำกัดมาก  เนื่องจากต้องซื้อสินค้าและบริการจากสิ่งที่รัฐเป็นผู้ผลิต

  • ผู้บริหารส่วนกลางเป็นผู้วางแผนทั้งหมด  ในเรื่องแผนการผลิต  โดยอาจอาศัยระบบราคาหรือระบบปันผล

  • มุ่งที่จะจัดการเพื่อสวัสดิการของประชาชนทั้งประเทศ

    3.  ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ( Mixed  Ecomomy )  เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างทุนนิยมและแบบสังคมนิยมโดยเลือกเอาส่วนดีของแต่ละมาผสมกัน  สำหรับประเทศไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่โน้มเอียงทางทุนนิยม  คือ  เอกชนมีเสรีในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมาก  รัฐเข้าไปดำเนินการทางเศรษฐกิจที่สำคัญบางอย่างเท่านั้น  เช่น  ไฟฟ้า  น้ำประปา  โทรศัพท์ เป็นต้น

    ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบผสม

  1. เอกชนยังมีสิทธิในทรัพย์สินของตนและเสารีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

  2. การดำเนินการส่วนใหญ่ยังเป็นเอกชน

  3. กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงอาศัยกลไกราคาและการแข่งขัน  แต่รัฐอาจเข้าแทรกแซงในบางเรื่อง เพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภค