กายภาพบําบัดทางการกีฬา คือ

นักกายภาพบำบัดทางด้านกีฬา


กายภาพบําบัดทางการกีฬา คือ

นักกายภาพบำบัดทางด้านกีฬา ทำหน้าที่ในการรักษาและฟื้นฟูร่างกายให้กับนักกีฬา นอกจากนี้จะต้องวิเคราะห์ท่าทาง การฝึกเพิ่มเติมในส่วนการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กให้กับนักกีฬา ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์การกีฬาโดยที่งานทั้งสองอาชีพมีความเชื่อมโยงกัน โดยการทำงานจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลักดังนี้ 1. ช่วงซ้อมกีฬา จะทำหน้าที่ในการดูแลนักกีฬาก่อนซ้อม ระหว่างซ้อม และหลังซ้อม หากนักกีฬาได้รับบาดเจ็บจะต้องเข้ารักษาอาการบาดเจ็บทันที ซึ่งหากนักกีฬาได้รับบาดเจ็บ เข้ารับการผ่าตัดนักกายภาพบำบัดทางด้านกีฬา จะทำหน้าที่ในการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาสมบูรณ์ 2. ช่วงแข่งกีฬา จะเป็นช่วงที่ต้องทำงานแข่งขันกับเวลา โดยจะต้องเตรียมนักกีฬาให้มีความพร้อม เช่น การพันเทป และในระหว่างแข่งขัน จะต้องจับตาดูนักฬาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากหากนักกีฬาได้รับบาดเจ็บจะต้องดูว่านักกีฬาได้รับบาดเจ็บอย่างไร พิจารณาการลงแข่งขันต่อ การวางแผนแข่งขันครั้งถัดไป และในส่วนของหลังการแข่งขัน จะดูในเรื่องของการยืดกล้ามเนื้อ และการรักษาจากการบาดเจ็บ

          นักกายภาพบำบัดทางด้านกีฬา ไม่เพียงมีความคาดหวังจากตัวนักกีฬา จากทีม ก็จะมีความคาดหวังของแฟนคลับของตัวนักกีฬาที่คาดหวังว่าจะได้เห็นนักกีฬากลับมาลงแข่งอีกครั้ง ซึ่งเป็นความท้าทายในการทำงานอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น

          ในการทำงานในรูปแบบฟรีแลนซ์ จะต้องมีทักษะที่ดีในการจัดการเวลา จัดการกับสภาพร่างกายเพื่อให้พร้อมกับการรับนักกีฬาตามศักยภาพ ในการดูแลทีมชนิดกีฬาที่แตกต่างกัน นักกายภาพบำบัดจะต้องสังเกตการเคลื่อนไหวของร่างกายในแต่ละชนิดกีฬา เพื่อวิเคราะห์ และประเมินการใช้กล้ามเนื้อของนักกีฬา เพื่อช่วยในการรักษาฟื้นฟูสภาพร่างกายได้อย่างตรงจุด ในการได้งาน ส่วนใหญ่จะเป็นการแนะนำต่อกัน

          นักกายภาพบำบัดทางด้านกีฬา มีรายได้เริ่มต้นประมาน 15,000 บาท แต่หากเป็นฟรีแลนซ์รายได้จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับงาน

การเตรียมตัวสู่การประกอบอาชีพ

การเตรียมตัวสู่การเป็นนักกายภาพบำบัดทางด้านกีฬาจะต้องเตรียมตัวในด้านต่าง ๆ ดังนี้
–          ติดตามการรับสมัครจากหน้า Facebook Fanpage จากทีมกีฬาที่เราสนใจสมัคร
–          เตรียม Resume ในส่วนของประสบการณ์
–          เตรียมความรู้พื้นฐานทางด้านกายภาพบำบัด และการวางแผนการรักษา ฟื้นฟู เมื่อนักกีฬาได้รับบาดเจ็บ
–          การเตรียมตัวในการสัมภาษณ์ทางด้านทักษะในการทำงานเป็นทีม
–          การสอบใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด 3 หัวข้อ ดังนี้
1. วิชากฎหมายและจรรยาบรรณและการบริหารงาน
2. วิชาเทคนิคและวิธีการทางกายภาพบำบัด
3. วิชากายภาพบำบัดในโรคและภาวะต่าง ๆ
 

ทักษะและประสบการณ์

– นำประสบการณ์จากการเรียนในการวิเคราะห์ท่าของนักกีฬา สามารถนำมาพัฒนาปรับใช้ในการทำงานได้
– นำความรู้จากการเรียนเรื่องการแปะเทปให้กับนักกีฬามาปรับใช้ในการแข่งขัน
– ทักษะการสื่อสาร เชิงจิตวิทยา เพื่อให้นักกีฬามีกำลังใจในการรักษาและ สามารถกลับมาแข่งขันต่อได้
– ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

การเรียนต่อ

– หากท่านมีความสนใจในการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาในคณะกายภาพบำบัด สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ (Click) https://graduate.mahidol.ac.th/thai/?p=curriculum&id=6801M02G

แหล่งข้อมูลจากมหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานภายนอก

รายการอ้างอิง

We Mahidol. (2021, May 17). นักกายภาพบำบัดทางด้านกีฬา [Video file].  Video posted to https://careers.mahidol.ac.th/ep30-sports-physiotherapist/

อื่น ๆ 

– สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบได้จาก เว็บไซต์สภากายภาพบำบัด https://pt.or.th/PTCouncil/
– สายงาน อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เรียนเฉพาะทางเพื่อเป็นแพทย์สนาม หรือ มุ่นเน้นไปทาง Coaching ในการดูแลนักกีฬารวมถึงการดูแลด้านโภชนาการด้วย

We use cookies on our website to give you the most relevant experience by remembering your preferences and repeat visits. By clicking “Accept All”, you consent to the use of ALL the cookies. However, you may visit "Cookie Settings" to provide a controlled consent.

“กายภาพบำบัด” อีกหนึ่งศาสตร์ดูแลสุขภาพ กับ 5 ท่าบริหารช่วง “Work From Home”#ChangsuekFITandFIRM

โดย ช้างศึก x Play Now Thailand

กายภาพบําบัดทางการกีฬา คือ

หลายคนคงเคยได้ยิน “สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง” ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต ซึ่งการที่เราจะมีสุขภาพดีได้นั้น เราต้องเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ ดูแลเอาใจใส่ร่างกาย ทำจิตใจแจ่มใส นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

แต่คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้ทุกอย่างครบถ้วน ดังนั้นจึงต้องมีศาสตร์อื่นมาเป็นตัวช่วย และหนึ่งในนั้นก็คือ “กายภาพบำบัด” 

เมื่อได้ยินคำว่า “กายภาพบำบัด” หลายคนอาจนึกถึงการฟื้นฟูร่างกายหลังอาการบาดเจ็บเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้ว กายภาพบำบัดเป็นศาสตร์ที่ครอบคลุมการดูแลสุขภาพอีกหลากหลายด้าน

“เจมส์” ภาณุวัฒน์ ชุติโชติลิ่มสกุล นักกายภาพบำบัดประจำสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ขยายความให้ฟังว่า “กายภาพบำบัด” คือ ศาสตร์ที่ให้การดูแล ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู และส่งเสริมสุขภาพด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การรักษาผ่านทางเครื่องมือ และการใช้มือในการรักษา ซึ่งนักกายภาพบำบัดในบ้านเราจะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพกับสภากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย

กายภาพบําบัดทางการกีฬา คือ
“เจมส์” ภาณุวัฒน์ ชุติโชติลิ่มสกุล นักกายภาพบำบัดประจำสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ

เจมส์บอกอีกว่า กายภาพบำบัดในประเทศไทยมีมานานแล้ว แต่ในช่วงหลังๆ เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตามหลัก “กายภาพบำบัด” ไม่ใช่ “การนวด” แต่คือการรักษาและฟื้นฟูอาการบาดเจ็บของร่างกายตามกระบวนการที่ถูกต้อง

อย่างในกรณีที่มีนักกีฬาบาดเจ็บ นักกายภาพจะเข้าประเมินอาการเบื้องต้นว่าสามารถซ้อมได้หรือไม่ หรือจะต้องหยุดการฝึกซ้อมนานแค่ไหน รวมไปถึงขั้นตอนการรักษาฟื้นฟู นักกายภาพบำบัดจะเป็นคนรักษาและกำหนดกระบวนการรักษาให้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง โดยการรักษาจะต้องทำงานแข่งกับเวลาเพื่อให้โค้ชสามารถใช้นักกีฬาได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด

ในการทำกายภาพบำบัดสำหรับนักกีฬากับบุคคลทั่วไปนั้นไม่ค่อยแตกต่างกันมาก แต่ในส่วนของนักกีฬาจะใช้ความเข้มข้นในการรักษาสูง เนื่องจากนักกีฬาจำเป็นต้องใช้ร่างกายในการแข่งขันตลอด 

ขณะที่คนส่วนใหญ่จะพบนักกายภาพบำบัดก็ต่อเมื่อมีอาการเจ็บในร่างกายที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะช่วงนี้หลายคนต้องทำงานที่บ้าน หรือ “Work From Home” เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดอย่างหนักของโรคโควิด-19 ทำให้มีอาการปวดหลังซึ่งถือว่าเป็นโรคฮิตในขณะนี้

กายภาพบําบัดทางการกีฬา คือ

วันนี้ “เจมส์” ภาณุวัฒน์ ชุติโชติลิ่มสกุล นักกายภาพบำบัดประจำสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้แนะนำ 5 ท่าบริหารง่ายๆ ที่ไม่ต้องมีอุปกรณ์ช่วย

1. ประสานมือกัน เหยียดแขนสุดด้านหน้า กระดกข้อมือขึ้นให้เปิด และเหยียดไปด้านหลังให้สุด พร้อมยืดอก ค้างไว้ 15-20 วินาที ทำ 3-4 ครั้ง

2. มือประสานกันเหนือหัว ยืดจนสุดตัว ค้างไว้ 15-20 วินาที ทำ 3-4 ครั้ง 

3. แขนไขว้หลังจับข้อมือไว้ ก้มหน้าลง หลังจากนั้นเอียงคอไปด้านขวาพร้อมดึงมือซ้ายไปด้านขวา ทำสลับกันฝั่งละ 3-4 ครั้ง ค้างไว้ 15-20 วินาที

4. นั่งหลังตรง เอามือทิ้งข้างลำตัว ก้มคอลงเล็กน้อย เอามือซ้ายจับข้างศรีษะด้านขวา ออกแรงดึงศรีษะมาด้านซ้าย ทำสลับกัน 2 ข้าง ข้างละ 3-4 ครั้ง ค้างไว้ 15-20 วินาที

5. นั่งหลังตรง เอามือจับที่หลังส่วนล่าง ดันหลังส่วนล่างพร้อมแอ่นอกไปข้างหน้า ทำค้างไว้ 15-20 วินาที ทำ 3-4 ครั้ง

กายภาพบําบัดทางการกีฬา คือ

เจมส์สรุปทิ้งท้ายถึงประโยชน์ของ “กายภาพบำบัด” นอกจากเป็นการรักษาฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังได้รับบาดเจ็บตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง รวมถึงผู้ที่มีอาการบาดเจ็บสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติที่สุดแล้ว 

“กายภาพบำบัด” ยังสามารถช่วยประเมิน วิเคราะห์ สภาพร่างกาย เพื่อเสริมสร้างและป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตอีกด้วย