ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ

เมืองสมุทรปราการ อังกฤษ

สัทอักษรสากล: [Meūang Sa mut Prā kān]  การออกเสียง:

"เมืองสมุทรปราการ" การใช้

คำแปลอังกฤษ

ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ
มือถือ

  • [Meūang Sa mut Prā kān]
    n. prop.
    Mueang Samut Prakan ; Mueang Samut Prakan District
    ชื่อพ้อง: อ.อำเภอเมืองสมุทรปราการ
  • เม     west
  • เมือง     n. 1. town, city; 2. country. ตัวอย่าง: พรุ่งนี้ผมจะเข้าเมือง I
  • มือ     n. hand(s). ตัวอย่าง: เราผูกมือและเท้าของเขาไว้ We tied his hands and
  • สม     v. to be suitable; to befit, fit, become; to satisfy, fulfill, be
  • สมุทร     n. ocean
  • สมุทรปราการ     n. Samut Prakan
  • มุ     v. concentrate ที่เกี่ยวข้อง: try hard, work hard, make determined
  • ปราก     TM Prague
  • ปราการ     n. fortification ที่เกี่ยวข้อง: rampart, fort, fortress, bulwark,
  • รา     1) n. fungus ที่เกี่ยวข้อง: mold, mould 2) v. cease
  • ราก     n. 1. a root, a tuber, a rhizome; 2. foundation, source, origin; 3.
  • กา     n. 1. a kettle with a spout, baked, glazed, earthenware teapots or hot-
  • การ     n. 1. work, employment, task, act, action, affairs, business, matters;
  • อ.เมืองสมุทรปราการ    [Am phoē Meūang Sa mut Prā kān] n. prop. Mueang Samut Prakan ; Mueang Samut Prakan District ชื่อพ้อง: เมืองสมุทรปราการ; อำเภอเมืองสมุทรปราการ
  • อำเภอเมืองสมุทรปราการ    [Am phoē Meūang Sa mut Prā kān] n. prop. Mueang Samut Prakan ; Mueang Samut Prakan District ชื่อพ้อง: เมืองสมุทรปราการ; อ.เมืองสมุทรปราการ

ประโยค

  • 609 หมู่ 6 ต.แพรกษา อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280
    Call 0-2703-6708-9
  • 609 หมู่ 6 ต.แพรกษา อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280
    Call 0-2703-6708-9
  • 11 สถานีตำรวจภูธรเมืองสมุทรปราการ สมุทรปาการ 0-2389-5541-7
    11 Mueng Samutprakran Provincial Police Station Samutprakarn 0-2389-5541-7
  • ถ.ศรีสมุทร, ปากน้ำ, เมืองสมุทรปราการ, สมุทรปราการ, 10270
    Select Month January 2014 August 2013 July 2013 June 2013 May 2013 April 2013 March 2013 February 2013 January 2013 December 2012 November 2012 October 2012 September 2012 August 2012 July 2012
  • ถ.ศรีสมุทร, ปากน้ำ, เมืองสมุทรปราการ, สมุทรปราการ, 10270
    Select Month January 2014 August 2013 July 2013 June 2013 May 2013 April 2013 March 2013 February 2013 January 2013 December 2012 November 2012 October 2012 September 2012 August 2012 July 2012
  • 530 ม.8 ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280
    Office +66(0) 2-707-8577 _ Fax +66(0) 2-701-4575 _ Mobile +66(0)99-354-6359
  • 530 ม.8 ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280
    Office +66(0) 2-707-8577 _ Fax +66(0) 2-701-4575 _ Mobile +66(0)99-354-6359
  • ที่ตั้ง : ถ.อมรเดช ปากน้ำ เมืองสมุทรปราการ สมุทรปราการ
    Knightsbridge Sky River Ocean Condominium
  • ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ สมุทรปราการ 10270
    Crews Media & Entertainment Co., Ltd
  • 317/3 หมู่ 1 ต.บางปูใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280
    317/3 Moo.1 Bang Pu Mai, Mueang Samut Prakan District,
  • ตัวอย่างการใช้เพิ่มเติม:  1  2  3  4  5

คำอื่น ๆ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อำเภอเมืองสมุทรปราการ

อำเภอ

การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Samut Prakan
ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ

ตลาดสดปากน้ำ

ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ

แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ เน้นอำเภอเมืองสมุทรปราการ

พิกัด: 13°36′2″N 100°35′48″E / 13.60056°N 100.59667°E
ประเทศ
ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ
 
ไทย
จังหวัดสมุทรปราการ
พื้นที่
 • ทั้งหมด190.557 ตร.กม. (73.574 ตร.ไมล์)
ประชากร

 (2564)

 • ทั้งหมด542,881 คน
 • ความหนาแน่น2,848.92 คน/ตร.กม. (7,378.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 10270, 10280 (เฉพาะตำบลท้ายบ้าน ท้ายบ้านใหม่ บางปู บางปูใหม่ แพรกษา แพรกษาใหม่ และบางส่วนของปากน้ำ)
รหัสภูมิศาสตร์1101
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ ถนนสุทธิภิรมย์ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10270

ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เมืองสมุทรปราการ เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับอำเภอพระสมุทรเจดีย์ นอกจากเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดแล้ว อำเภอเมืองสมุทรปราการยังเป็นที่ตั้งของศาลเด็กและเยาวชน ห้องสมุดประชาชน และท่ารถโดยสารประจำทางสายต่าง ๆ รวมทั้งเป็นบริเวณที่จัดงานพระสมุทรเจดีย์ของทุกปี อำเภอนี้เป็นอำเภอที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย

ประวัติศาสตร์[แก้]

  • พ.ศ. ............. ตั้งอำเภอเมืองสมุทรปราการ
  • วันที่ 21 สิงหาคม 2470 โอนพื้นที่ตำบลบางนา ตำบลสำโรงเหนือ ตำบลสำโรงใต้ ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบางหัวเสือ ของอำเภอพระประแดง มาขึ้นกับอำเภอสมุทรปราการ[1]
  • วันที่ 11 ธันวาคม 2478 จัดตั้งเทศบาลเมืองสมุทรปราการ[2]
  • วันที่ 1 มกราคม 2486 จังหวัดสมุทรปราการ ได้ยุบลงเนื่องจากขณะนั้นในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการจึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร และ เปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น อำเภอสมุทรปราการ[3]
  • วันที่ 10 พฤษภาคม 2489 ตั้งจังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง[4]
  • วันที่ 25 กันยายน 2489 อำเภอสมุทรปราการเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น อำเภอเมืองสมุทรปราการ[5]
  • วันที่ 20 กันยายน 2505 ตั้งตำบลบางปูใหม่ แยกออกจากตำบลบางปู[6]
  • วันที่ 2 พฤศจิกายน 2505 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสมุทรปราการ[7]
  • วันที่ 28 มกราคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลสำโรงเหนือในท้องที่บางส่วนของตำบลสำโรงเหนือ และ บางส่วนของตำบลบางเมือง[8]
  • วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2506 โอนพื้นที่หมู่ 1-5 (บางส่วน) ของตำบลบางเมือง หมู่ 4-5 (บางส่วน) และ หมู่ 7 (บางส่วน) ของตำบลบางด้วน หมู่ 1-3 (บางส่วน) หมู่ 4 (ทั้งหมู่) หมู่ 6 (บางส่วน) และ หมู่ 7 (ทั้งหมู่) ของตำบลท้ายบ้าน ให้ไปรวมกับตำบลปากน้ำ เนื่องจากได้ขยายอาณาเขตเทศบาลเมืองสมุทรปราการ[9]
  • วันที่ 2 สิงหาคม 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลบางปูในท้องที่ตำบลบางปู ตำบลบางปูใหม่ และตำบลท้ายบ้าน[10]
  • วันที่ 15 กรกฎาคม 2522 ตั้งตำบลบ้านคลองสวน แยกออกจากตำบลนาเกลือ[11]
  • วันที่ 15 ธันวาคม 2527 แยกพื้นที่ตำบลปากคลองบางปลากด ตำบลในคลองบางปลากด ตำบลแหลมฟ้าผ่า ตำบลนาเกลือ และตำบลบ้านคลองสวน ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ขึ้นกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ[12]
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2529 ตั้งตำบลบางเมืองใหม่ แยกออกจากตำบลบางเมือง[13]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2533 ตั้งตำบลเทพารักษ์ แยกออกจากตำบลสำโรงเหนือ[14]
  • วันที่ 19 กรกฎาคม 2534 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็น อำเภอพระสมุทรเจดีย์[15]
  • วันที่ 12 กรกฎาคม 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลแพรกษาในท้องที่บางส่วนของตำบลแพรกษา[16]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2537 จัดตั้งสุขาภิบาลด่านสำโรงในท้องที่บางส่วนของตำบลสำโรงเหนือ[17] และจัดตั้งสุขาภิบาลบางเมือง ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางเมือง และตำบลสำโรงเหนือ[18]
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2538 ตั้งตำบลท้ายบ้านใหม่ แยกออกจากตำบลท้ายบ้าน[19]
  • วันที่ 21 สิงหาคม 2538 ตั้งตำบลแพรกษาใหม่ แยกออกจากตำบลแพรกษา[20]
  • วันที่ 7 กันยายน 2538 จัดตั้งสุขาภิบาลสำโรงเหนือเป็นเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ[21]
  • วันที่ 24 มีนาคม 2542 ยกฐานะเทศบาลเมืองสมุทรปราการเป็นเทศบาลนครสมุทรปราการ[22]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 จัดตั้งสุขาภิบาลบางเมือง สุขาภิบาลด่านสำโรง สุขาภิบาลบางปู และสุขาภิบาลแพรกษา เป็นเทศบาลตำบลบางเมือง เทศบาลตำบลด่านสำโรง เทศบาลตำบลบางปู และเทศบาลตำบลแพรกษาตามลำดับ

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางนา (กรุงเทพมหานคร) มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ และถนนแบริ่ง (สุขุมวิท 107) เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางพลีและอำเภอบางบ่อ มีคลองหนองกระทุ่ม คลองสำโรง คลองทับนาง คลองกู้พารา คลองบางกระบือ คลองบางเหี้ยน้อย คลองสาม คลองหัวเกลือ คลองชลประทาน คลองด่านน้อย และคลองลึกเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ จรดอ่าวไทย
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอพระประแดง มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางฝ้าย คลองขุด คลองบางนางเกรง​ และถนนทางรถไฟสายเก่าเป็นเส้นแบ่งเขต

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอเมืองสมุทรปราการแบ่งเขตปกครองย่อยออกเป็น 13 ตำบล 95 หมู่บ้าน ได้แก่

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

อำเภอเมืองสมุทรปราการประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลนครสมุทรปราการ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากน้ำทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเมือง เฉพาะหมู่ที่ 4, 6, 8–10 (เขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางเมืองเดิม)
  • เทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแพรกษาใหม่ เฉพาะหมู่ที่ 1–4, 6–7 และบางส่วนของหมู่ที่ 5 (เขตองค์การบริหารส่วนตำบลแพรกษาใหม่เดิม)
  • เทศบาลเมืองแพรกษา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแพรกษา เฉพาะหมู่ที่ 1, 5 และบางส่วนของหมู่ที่ 2, 4, 6, 7 (เขตองค์การบริหารส่วนตำบลแพรกษาเดิม)
  • เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำโรงเหนือ เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 2, 6–9; ตำบลบางเมืองใหม่ เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1 และตำบลเทพารักษ์ เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 4, 9 (นอกเขตเทศบาลตำบลบางเมืองและเขตเทศบาลตำบลเทพารักษ์)
  • เทศบาลตำบลด่านสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำโรงเหนือ เฉพาะหมู่ที่ 3–5, 10 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 2, 6–9
  • เทศบาลตำบลบางเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเมือง เฉพาะหมู่ที่ 1–3, 5, 7; ตำบลบางเมืองใหม่ เฉพาะหมู่ที่ 2–11 และบางส่วนของหมู่ที่ 1 และตำบลเทพารักษ์ เฉพาะหมู่ที่ 3, 5, 7 และบางส่วนของหมู่ที่ 4 (นอกเขตเทศบาลตำบลเทพารักษ์)
  • เทศบาลตำบลแพรกษา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแพรกษา เฉพาะหมู่ที่ 3 และบางส่วนของหมู่ที่ 2, 4, 6, 7 และตำบลแพรกษาใหม่ เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 5 (นอกเขตเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่)
  • เทศบาลตำบลบางปู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ ตำบลบางปู และตำบลท้ายบ้านใหม่ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเทพารักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเทพารักษ์ เฉพาะหมู่ที่ 1, 2, 6, 8 และบางส่วนของหมู่ที่ 9 (เขตองค์การบริหารส่วนตำบลเทพารักษ์เดิม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางโปรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางโปรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางด้วนทั้งตำบล

การศึกษา[แก้]

ในอำเภอเมืองสมุทรปราการมีห้องสมุดประชาชนตั้งอยู่บริเวณตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัด และพิพิธภัณฑ์สวาง พิพิธภัณฑ์นายเรือ มีโรงเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลศึกษา จนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย

โรงเรียนในอำเภอ[แก้]

  • โรงเรียนสุมานัน
  • โรงเรียนบุรารักษ์
  • โรงเรียนสมุทรปราการ
  • โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
  • โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ (เดิมคือ โรงเรียนบางเมืองเขียนผ่องอนุสรณ์)
  • โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ
  • โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา
  • โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล
  • โรงเรียนอู่ทิพย์
  • โรงเรียนศรีวิทยาปากน้ำ
  • โรงเรียนเซนต์ราฟาแอล
  • โรงเรียนพคุณวิทยา
  • โรงเรียนเฉลิมไฉไลวิทยา
  • โรงเรียนหาดอมราอักษรลักษณ์วิทยา
  • โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ
  • โรงเรียนอุ่นอารีวิทยา
  • โรงเรียนสุขเจริญผล
  • โรงเรียนสุขเจริญผลแพรกษา
  • โรงเรียนวัดแพรกษา
  • โรงเรียนวัดตำหรุ
  • โรงเรียนป้วยฮั้ว
  • โรงเรียนทรงสรรพวิทย์
  • โรงเรียนทรงวิทยาเทพารักษ์

อาชีวะศึกษาในอำเภอ[แก้]

  • วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีสมุทรปราการ (ชำนิเทคโนโลยี)
  • วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ

การคมนาคม[แก้]

อำเภอเมืองสมุทรปราการมีถนนสายหลัก ได้แก่

  • ถนนสุขุมวิทตั้งแต่คลองด่านน้อยจนถึงแยกแบริ่ง​(สุดเขตจังหวัดสมุทรปราการ)​
  • ถนนเทพารักษ์ตั้งแต่แยกเทพารักษ์​จนถึงคลองทับนาง
  • ถนนศรีนครินทร์ตั้งแต่​แยกการไฟฟ้า​จนถึงสุดเขตจังหวัด​สมุทรปราการ​
  • ถนนตำหรุ-บางพลีตั้งแต่สิ้นสุด​เขตอำเภอบางพลีจนถึงแยกตำหรุ
  • ถนนสายลวดตั้งแต่​แยกวงเวียน​นาฬิกา​ปากน้ำจนถึงแยกโค้งโพธิ์
  • ถนนปู่เจ้าสมิงพรายตั้งแต่แยกปู่เจ้าสมิงพรายจนถึงแยกรางรถไฟ​เก่า
  • ถนนทางรถไฟสายเก่าตั้งแต่​แยกโค้งเกริก​(สิ้นสุด​ถนนสุขุมวิท)​จนถึงสุดเขตจังหวัด​สมุทรปราการ​
  • ถนนกาญจนาภิเษก (ทางพิเศษบางพลี-สุขสวัสดิ์)ตั้งแต่คลองสำโรงจนถึงคลองบางฝ้าย
  • ถนนท้ายบ้านตั้งแต่วงเวียน​นาฬิกา​ปากน้ำจนถึงป่าชายเลน​
  • ถนนแพรกษาตั้งแต่แยกแพรกษาจนถึง​แยกคลองเก้า

ถนนสายรอง ได้แก่

  • ถนนสุขุมวิท 78 เชื่อมถนนทางรถไฟสายเก่า
  • ถนนแบริ่ง (สุขุมวิท 107) เชื่อมถนนศรีนครินทร์
  • ถนนวัดด่านสำโรง (สุขุมวิท 113) เชื่อมถนนศรีนครินทร์
  • ถนนวัดหนามแดง เชื่อมถนนกิ่งแก้วในเขตอำเภอบางพลี

รถไฟฟ้า

  • รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ (เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561)
  • รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง (กำลังก่อสร้าง)

การคมนาคมทางน้ำ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา มีท่าเรือวิบูลย์ศรีบริการเรือข้ามฟากไปยังอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ส่วนคลองที่สำคัญ ได้แก่ คลองสำโรง คลองบางปิ้ง คลองแพรกษา คลองขุด (เลียบถนนตำหรุ-บางพลี) และคลองชลประทาน (เลียบถนนสุขุมวิท)

อ้างอิง[แก้]

  1. [1]พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แก้ไขเขตจังหวัดพระนคร ธนบุรี พระประแดง สมุทรปราการ และมีนบุรีในมณฑลกรุงเทพ ฯ กับธัญบุรี ในมณฑลอยุธยา
  2. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พุทธศักราช 2478" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ก): 1735–1739. 10 ธันวาคม 2478.
  3. "พระราชกริสดีกาเปลี่ยนชื่ออำเพอบางแห่ง พุทธสักราช 2486" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (3 ก): 103–105. 12 มกราคม 2486.
  4. "พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (29 ก): 315–317. 9 พฤษภาคม 2489.
  5. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอบางแห่ง พ.ศ. 2489" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (63 ก): 486–488. 24 กันยายน 2489.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (90 ง): 2080–2084. 2 ตุลาคม 2505.
  7. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2505" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (พิเศษ 98 ก): 44–47. 1 พฤศจิกายน 2505.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (15 ง): 326–327. 12 กุมภาพันธ์ 2506.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (20 ง): 497–498. 26 กุมภาพันธ์ 2506.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (66 ง): 2116–2119. 17 สิงหาคม 2508.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (128 ง): 2752–2754. 31 กรกฎาคม 2522.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพระสมุทรเจดีย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (1 ง): 31. 1 มกราคม 2528.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (218 ง): 6154–6161. 11 ธันวาคม 2529.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (พิเศษ 174 ง): 17–24. 16 กันยายน 2533.
  15. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอทุ่งตะโก อำเภอพะโต๊ะ อำเภอเขาค้อ อำเภอน้ำหนาว อำเภอวังจันทร์ อำเภอนาด้วง อำเภอเต่างอย อำเภอสิงหนคร อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอลำดวน พ.ศ. 2534" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (107 ง): 29–32. 19 มิถุนายน 2534.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแพรกษา อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 116 ง): 33–24. 23 สิงหาคม 2536.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลด่านสำโรง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (82 ง): 41–42. 13 ตุลาคม 2537.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (82 ง): 43–44. 13 ตุลาคม 2537.
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 173 ง): 87–91. 12 กันยายน 2538.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (90 ง): 27–32. 9 พฤศจิกายน 2538.
  21. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2538" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (32 ก): 10–13. 8 สิงหาคม 2538.
  22. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2542" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (19 ก): 1–5. 23 มีนาคม 2542.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ
    วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อำเภอเมืองสมุทรปราการ