ปวดปัสสาวะบ่อย กระ ปิด กระ ปอย ปัสสาวะไม่สุด

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) เกิดจากเชื้อโรคที่อยู่บริเวณปากช่องคลอด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อโรคมาจากทวารหนักเป็นสาเหตุสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อมีสภาวะที่อำนวย เช่น ความไม่สะอาดกิจกรรมทางเพศสัมพันธ์ โรคเบาหวาน และยังมีโรคในทางเดินปัสสาวะหลายโรคเอื้ออำนวยให้เกิด หรือเกิดร่วมกันกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

 

ปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ 

  • เพศหญิง มีท่อปัสสาวะสั้นมากเมื่อเทียบกับชาย เชื้อโรคที่อยู่บริเวณปากช่องคลอดจึงมีโอกาสคืบคลานเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่าจึงมักพบโรคนี้ในหญิงทุกวัยมากกว่าในชายโดยเฉพาะในหญิงวัยเจริญพันธุ์ในวัยหมดประจำเดือนและในหญิงสูงอายุเยื่อบุทางเดินปัสสาวะจะบางลงและความต้านทานโรคต่ำลง เกิดโรคนี้ได้ง่ายมากขึ้น
  • ในชายอายุ 50-60 ปีขึ้นไปที่มีภาวะต่อมลูกหมากโต เป็นปัจจัยทำให้ชายสูงอายุเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้เท่าเทียมกับผู้หญิงสูงอายุ

ปวดปัสสาวะบ่อย กระ ปิด กระ ปอย ปัสสาวะไม่สุด

อาการเตือนโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

อาการที่สำคัญ คือ ปัสสาวะบ่อย แสบขัด อาจบ่อยมากทุกๆ 1-2 ชั่วโมงหรือกระปริบประปรอย หรืออาจแสบขัดมาก จนไม่อยากถ่ายปัสสาวะแล้วแต่ความรุนแรงของโรค อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น

  • ปัสสาวะไม่ค่อยสุดหรือมีปัสสาวะหยดหรือไหลซึมออกมาอีก
  • ปวดท้องน้อยตอนปัสสาวะสุด อาจปวดมากแบบบิดเกร็งหรืออาจปวดแบบถ่วงๆแบบเป็นๆหายๆหรืออาจรู้สึกปวดตลอดเวลา
  • พอรู้สึกปวดต้องไปรีบถ่าย บางครั้งกลั้นไม่ได้จนมีปัสสาวะเล็ดออกมา
  • ปัสสาวะปวดเบ่งหรือไม่ค่อยออก
  • ปัสสาวะมีเลือดหยดออกมาตอนสุดหรือมีเลือดปนในน้ำปัสสาวะ
  • ปัสสาวะขุ่น
  • ต้องตื่นลุกขึ้นมาปัสสาวะเกิน 2 ครั้งขึ้นไปในคืนหนึ่งๆ

ในกรณีที่กระเพาะปัสสาวะอักเสบเล็กน้อยหรือเป็นแบบเรื้อรัง อาการดังกล่าวข้างต้น อาจมีเพียงเล็กน้อยจนผู้ป่วยไม่ได้สังเกตอาการหรืออาจเคยชินกับอาการเหล่านั้นและถ้าไม่ได้รับการรักษา และปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพชีวิตได้

การตรวจและวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

คนที่มีอาการดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆ อย่าง ถ้าตรวจพบเม็ดเลือดขาวในน้ำปัสสาวะ ก็วินิจฉัยได้เลยว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ การตรวจร่างกายอาจพบว่ากดเจ็บบริเวณท้องน้อย มีไข้ อาจตรวจพบการอักเสบบวมแดงหรือพบแต้มเลือดหรือพบเมือกขุ่นขาวที่ปลายท่อปัสสาวะ อาจจำเป็นต้องตรวจหาต้นเหตุอื่นๆที่เอื้ออำนวยหรือเกิด่วมกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วย

ปวดปัสสาวะบ่อย กระ ปิด กระ ปอย ปัสสาวะไม่สุด

โรคอะไรบ้างที่เอื้ออำนวยหรือเกิดร่วมกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ (ไต กรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ)
  • โรคประสาทกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงานอย่างปกติ
  • โรคกระเพาะปัสสาวะผิดปกติแต่กำเนิดแบบเรื้อรัง
  • โรคกระเพาะปัสสาวะหย่อน
  • โรคมดลูกและกล้ามเนื้ออุ้มเชิงกรานหย่อนยาน
  • โรคกระเพาะปัสสาวะหรือหูรูดกระเพาะปัสสาวะเสื่อม
  • โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกินปกติ
  • โรคเยื่อบุช่องคลอดซูบแห้งในหญิงวัยหมดประจำเดือน
  • โรคมะเร็งในทางเดินปัสสาวะ

ในผู้สูงอายุชายต้องคำนึงถึงโรคสำคัญของต่อมลูกหมาก 3 โรค คือ ต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากอักเสบและมะเร็งต่อมลูกหมาก

การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ให้ยาฆ่าเชื้อโรคที่เหมาะสม ทั้งชนิดยา ขนาดยาและระยะเวลาที่ให้
  • ให้ยารักษาอาการเช่น อาการปวด อาการเจ็บแสบ อาการปัสสาวะลำบาก
  • ให้ดื่มน้ำเสมอๆ วันละ 2-5 ลิตรต่อวัน (24 ชั่วโมง)
  • ให้รักษาอนามัยของร่างกายและอนามัยในกิจกรรมทางเพศ
  • ต้องติดตามตรวจปัสสาวะหลังให้ยารักษา (5-10 วัน)

พบเสมอๆ ที่อาการทุเลาหรือหายไปแล้วแต่การอักเสบยังมีอยู่หรือยังมีต้นเหตุที่เอื้ออำนวย หรือ เกิดร่วมกันอยู่ ซึ่งถ้าไม่คิดตามกำจัดโรค และต้นเหตุให้หายขาดอาจกลับเป็นซ้ำหรือกลายเป็นโรคเรื้อรัง เป็นผลเสียต่อสุขภาพชีวิตในบางรายโรคอาจลุกลามไปที่ไตซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะไตวายได้ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต

ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ พบบ่อยในผู้หญิง เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย จึงทำให้เชื้อโรคเข้าไปในร่างกายได้ง่ายกว่า แต่ในบางรายอาจเกิดจากการกลั้นปัสสาวะบ่อย ระบบโครงสร้างของระบบปัสสาวะผิดปกติ หรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องนิ่ว เป็นต้น

อาการใดบ้างที่บ่งบอกว่า คุณกำลังเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ?

  1. ปวดปัสสาวะบ่อยมากกว่า 10 ครั้งต่อวันแบบกะปริบกะปรอย โดยเฉพาะต้องลุกมาปัสสาวะบ่อยมากขึ้นในเวลากลางคืน
  2. ปัสสาวะแสบขัด
  3. เมื่อปัสสาวะสุด อาจมีเจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะ
  4. ในบางรายอาจมีปัสสาวะปนเลือด

การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำด้วยวิธีใดได้บ้าง?

  1. ซักถามประวัติการเจ็บป่วยและตรวจร่างกายพื้นฐาน
  2. การตรวจปัสสาวะ เพื่อหาการติดเชื้อจากสิ่งแปลกปลอมที่อาจปนอยู่ในน้ำปัสสาวะ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เลือด หรือเม็ดเลือดขาว
  3. หากมีการติดเชื้อ แพทย์อาจส่งน้ำปัสสาวะเพื่อการเพาะเชื้อ
  4. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและเรื้อรัง แพทย์อาจมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ การส่งตรวจชิ้นเนื้อหรือการถ่ายภาพรังสี เป็นต้น

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ รักษาอย่างไรบ้าง?

โดยทั่วไปจะให้รับประทานยาปฏิชีวนะประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะนาน 7-10 วัน

อาการปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะแล้วกระปริดกระปรอยนั้น อาจจะเกิดมาจาก ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ซึ่งพบได้บ่อยในเพศหญิง  เกิดจากการกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ และการที่เพศหญิงมีท่อปัสสาวะสั้น ทำให้เชื้อโรคเข้าไปได้ง่ายอยู่แล้ว สาเหตุอื่นๆเช่น กรวยไตอักเสบ อาจมีไข้สูงหนาวสั่น หรือมีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ที่อาจทำให้ปัสสาวะเป็นเลือดด้วยได้

จากที่กล่าวมา ถ้าปัสสาวะไม่สุดต่อเนื่อง มีปัสสาวะแสบขัด มีเลือดปน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมต่อไป และหากมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจริง ควรได้รับยาฆ่าเชื้อภายใต้การดูแลของแพทย์ให้หายขาด เบื้องต้นดื่มน้ำมากๆ ไม่กลั้นปัสสาวะ งดการมีเพศสัมพันธ์ไปก่อน