ไม่มีสมาธิในการเรียนออนไลน์ วิธีแก้

ไม่มีสมาธิในการเรียนออนไลน์ วิธีแก้

Show

ไม่มีสมาธิในการเรียนออนไลน์ วิธีแก้

ทำอย่างไรเมื่อลูก "เรียนออนไลน์" และไม่มีสมาธิ? โดย พญ.ชนม์นิภา บุตรวงษ์ แพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเฉพาะทางแม่และเด็กแพทย์รังสิต
►ไม่มีสมาธิในการเรียน
►ขี้เกียจเรียน สนใจเรียนได้แค่ช่วงสั้นๆ ต้องคอยประกบตลอดเวลาเรียน หรือทำการบ้าน หรือมักจะบ่ายเบี่ยงหลีกเลี่ยงไม่ยอมเรียนหนังสือ
►นั่งเหม่อ ใจลอย
►ขี้ลืม
►ทำงานช้า

จนท่านอาจสงสัยว่าเพราะอะไรบุตรหลานจึงไม่มีสมาธิ ไขข้อข้องใจเหล่านี้ได้ ด้วยการพบแพทย์เฉพาะทาง

โรคสมาธิสั้น พบได้ประมาณ 7.2% ของประชากรทั่วโลกโดยบางพื้นที่อาจพบได้มากถึง 8.7 - 15.5% เกิดจากพัฒนาการทางระบบประสาทด้านสมาธิยังทำงานได้น้อยกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ อาการบาดเจ็บที่สมอง การสัมผัสกับสารเคมี เช่น ตะกั่ว การใช้แอลกอฮอล์และยาสูบระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนด การมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าปกติ เป็นต้น

มีลักษณะอาการสำคัญ 3 แบบ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นต่อเนื่องมาตลอด 6 เดือน โดยมักมีอาการทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
1. อาการไม่นิ่ง มักเคลื่อนไหวตลอดเวลา
2. อาการไม่มีสมาธิ คงสมาธิให้จดจ่อได้ไม่นาน
3. อาการหุนหันพลันแล่นมักลงมือทำ โดยไม่ได้คิดไตร่ตรอง

เด็กจะมีอาการดังกล่าวมากกว่าเด็กทั่วไปที่อยู่ในวัยเดียวกันและส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆเช่น ปัญหาในการดูแลชีวิตประจำวันทำให้ไม่เป็นระเบียบ หรือดูเหมือนไม่รู้หน้าที่ ปัญหาการเรียนปัญหา เช่น ทำการบ้านไม่เสร็จ ส่งงานไม่ครบ ปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อน เช่น เล่นแรง รอคอยไม่ได้ทำให้มักกระทบกระทั่งหรือทะเลาะกับเพื่อน

ผู้ปกครองสามารถสังเกตเห็นอาการได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 3-5 ปีเป็นต้นไป แต่ส่วนใหญ่จะได้รับการวินิจฉัยที่ช่วงอายุ 7 ปี ซึ่งการมารับการรักษาตั้งแต่อายุ 3 ปี หรือตั้งแต่สังเกตพบอาการสมาธิสั้น ผลการรักษาจะดี และลดภาวะแทรกซ้อน
เด็กที่มีภาวะโรคสมาธิสั้นมักพบปัญหาอื่นๆร่วมด้วยเช่นปัญหาการเรียนบกพร่อง ปัญหาการสื่อสาร ปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว ปัญหาซึมเศร้าหรือวิตกกังวล

หากเด็กได้รับการรักษา เช่น การปรับพฤติกรรม และการให้ยา จะช่วยให้เด็กมีสมาธิได้ดีขึ้น จัดการชีวิตประจำวันเป็นระบบเรียบร้อยขึ้น มีสมาธิในการเรียน และช่วยให้ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้เหมาะสมขึ้น

การมาพบจิตแพทย์เด็กจะช่วยให้เด็กได้รับการประเมินด้านสมาธิ และปัญหาอื่นๆที่มักพบร่วมด้วย เพื่อได้รับคำแนะนำและช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจเด็ก สามารถช่วยเหลือและปรับพฤติกรรมเด็กได้อย่างเหมาะสม

คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองเพื่อช่วยให้ลูกมีสมาธิเพิ่มขึ้น
1.สร้างกิจวัตรประจำวัน พยายามฝึกหัดให้ลูกทำตามตารางเวลาเดิมเป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนถึงเวลาเข้านอน
จัดวางของต่างๆให้เป็นที่ ส่งเสริมให้ลูกรู้จักเก็บของเข้าที่ทุกครั้งหลังใช้ของเสร็จ เปิดโอกาสให้ลูกช่วยเหลือตัวเองมากขึ้น เพื่อฝึกให้ลูกรู้จักการควบคุมเวลา มีความรับผิดชอบ และลดปัญหาการหลงลืม
2. จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้มีสมาธิ ลดสิ่งรบกวนสมาธิ เช่น ปิดทีวี ลดเสียงรบกวน และจัดเก็บของบนโต๊ะหรือพื้นที่ทำงานให้โล่งเพื่อลดสิ่งรบกวนสมาธิในเวลาที่ลูกทำการบ้าน
3.ใช้คำพูดที่สั้น กระชับและชัดเจนเมื่อต้องการบอกให้ลูกทำอะไร ในงานที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน หรือต้องใช้เวลาทำงานนาน ควรช่วยลูกวางแผน แบ่งงานออกเป็นงานย่อย เพื่อให้ขั้นตอนง่ายและสั้นขึ้น มีการหยุดพักเป็นช่วงๆเวลาที่ลูกเริ่มหมดสมาธิ เพื่อช่วยลดความเครียดได้
4. ใช้คำชมหรือรางวัลเล็กๆน้อยๆที่ลูกชอบเวลาที่ลูกมีความพยายาม ความตั้งใจ หรือความอดทน สามารถใช้รูปภาพ สติ๊กเกอร์ หรือแผนภูมิเพื่อติดตามพฤติกรรมเชิงบวกและช่วยสร้างแรงจูงใจให้ลูกมีความพยายามปรับพฤติกรรมตนเองได้ต่อเนื่อง
5.ลดการทำโทษด้วยการดุด่า ตะโกน หรือตี ใช้การจำกัดสิทธิพิเศษเมื่อลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
6.ค้นหาและสนับสนุนสิ่งที่ลูกทำได้ดี เช่น กีฬา ออกกำลังกาย ศิลปะ ดนตรี หรือการเล่นสันทนาการต่างๆ เป็นการสร้างความภูมิใจในตนเอง เสริมประสบการณ์เชิงบวกสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้อาการสมาธิสั้นไม่แย่ลงได้

สามารถติดต่อนัดหมาย หรือรับคำปรึกษาเพิ่มเติม ได้ที่ โรงพยาบาลเฉพาะทางแม่และเด็กแพทย์รังสิต หรือ ติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-998-9888 ต่อ 3216 , 3217 ได้ในเวลา 08.00-20.00 น.นะคะ

ด้วยความห่วงใย จาก #โรงพยาบาลเฉพาะทางแม่และเด็กแพทย์รังสิต
-----
ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมดีๆ จากกลุ่มโรงพยาบาลแพทย์รังสิตได้ที่
Inbox :

https://bit.ly/2xNaFc1
Line : https://bit.ly/33p9nzw

#patRangsit #โรงพยาบาลแพทย์รังสิต #โรงพยาบาลเฉพาะทางแม่และเด็กแพทย์รังสิต #จิตเวช #เด็ก #วัยรุ่น #Mother #Child #Hospital #สมาธิสั้น #เรียนออนไลน์

แชร์ไปยัง :

ไม่มีสมาธิในการเรียนออนไลน์ วิธีแก้

" patRangsit คุณภาพ มาตรฐานสากล "

ไม่มีสมาธิในการเรียนออนไลน์ วิธีแก้

เรียนออนไลน์ ทำให้เด็กสมาธิสั้น แก้ไขอย่างไรดี? ด้วยสถานการณในปัจจุบันทำให้เราต้องปรับตัวมาใช้ชีวิตแบบ New Normal ไม่เว้นแม้แต่เด็ก ๆ ที่ต้องหันมาเรียนออนไลน์กันเต็มวัน โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ต้องปรับตัวอย่างมาก ปัญหาที่ผู้ปกครองหลายบ้านพบได้แก่ ‘ระหว่างเรียน ลูกอยู่ไม่นิ่งเลย’    ‘การบ้านเยอะขึ้น’ ‘ลูกเบื่อ ไม่อยากเรียน’

เรามี 7 วิธีดี ๆ มาแนะนำสำหรับผู้ปกครองที่กำลังประสบปัญหาเด็กสมาธิสั้น อยู่ไม่นิ่ง เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมของบุตรหลาน ป้องกันไม่ให้เด็กสมาธิสั้น และเรียนออนไลน์ได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

1. ดูแลสภาพจิตใจ

สิ่งสำคัญที่สุดคือสภาพจิตใจของเด็ก เมื่อต้องเรียนออนไลน์ทำให้ไม่ได้เจอเพื่อน หรือออกไปทำกิจกรรมเหมือนปกติ อาจทำให้รู้สึกเหงา เบื่อหน่าย และ    ไม่อยากเรียนออนไลน์ได้ จึงควรหมั่นสำรวจอารมณ์ ระดับความเครียดของบุตรหลาน พูดคุยสอบถามถึงความรู้สึกโดยไม่ตัดสินว่าเขาไม่ตั้งใจเรียน    เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไขอย่างเหมาะสม

ในด้านสภาพจิตใจของผู้ปกครอง หรือคนในบ้านก็มีส่วนสำคัญด้วยเช่นกัน เพราะไม่ใช่เพียงเด็กที่ต้องปรับตัว แต่พ่อแม่ก็ต้องเข้าใจและปรับตัวเพื่อสนับสนุนการเรียนของลูก จนบางครั้งอาจทำให้เกิดความเครียด ดังนั้นควรสำรวจตัวเองและจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้กระทบไปถึงตัวเด็ก

2. จัดตารางเวลาให้เหมาะสม

การบริหารเวลาและการจัดตารางให้เหมาะสมในแต่ละวัน จะช่วยให้การเรียนออนไลน์ที่บ้านมีระบบระเบียบ และเห็นเป้าหมายชัดเจนขึ้น เมื่อสามารถบรรลุเป้าหมายในแต่ละข้อสำเร็จ ร่างกายจะหลั่งสาร Dopamine หรือสารแห่งความสุข ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้มีพลังงานในการทำเป้าหมายในลำดับถัดไปได้

อาจใช้การทำ To do list เพื่อกำหนดสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันเร่วมกับบุตรหลาน โดยพยายามให้ใกล้เคียงกับตอนไปโรงเรียนตามปกติมากที่สุด เมื่อทำไประยะหนึ่งเด็กจะเกิดการเรียนรู้ ถึงเวลาไหนต้องทำอะไร ทำให้มีเวลาเตรียมตัวและมีการจดจ่อกับสิ่งที่ต้องทำมากยิ่งขึ้น

ไม่มีสมาธิในการเรียนออนไลน์ วิธีแก้

3. เปลี่ยนบรรยากาศห้องให้เหมาะกับการเรียน

เพื่อให้การเรียนออนไลน์มีประสิทธิภาพ เด็กมีสมาธิ ควรจัดห้องให้มีแสงสว่างเพียงพอ และจัดบรรยากาศให้มีความสดใส เสริมสร้างจิตนาการ จะช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย พร้อมจะเรียนรู้ สามารถสร้างสรรค์และมีพลังงานมากขึ้นได้

การปล่อยให้เด็กต้องเรียนออนไลน์อยู่ในห้องมืด ๆ ทึม ๆ ทั้งวัน หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวนเยอะ จะทำให้เด็กขาดสมาธิ เกิดความเบื่อหน่าย และส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้

4. จดบันทึก เพื่อทบทวนภายหลัง

เมื่อต้องเรียนออนไลน์ อาจมีจุดที่เด็กหลุดโฟกัส หรือไม่ได้ตั้งใจฟัง เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ การคาดหวังให้เด็กเรียนได้เท่ากับตอนปกติอาจทำให้  เกิดความกดดันและความเครียด ดังนั้นการให้จดบันทึกระหว่างเรียนจะทำให้เด็กจดจ่อกับการเรียน และอาจใช้การอัดหน้าจอ เพื่อกลับมาทบทวนเนื้อหา  ในภายหลังก็จะช่วยให้มีความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น  

โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้ปกครองควรมีการพูดคุยถึงสิ่งที่ได้เรียนไปในแต่ละวัน ช่วยทบทวนบทเรียน และตรวจสอบงานที่ได้รับมอบหมายด้วย

ไม่มีสมาธิในการเรียนออนไลน์ วิธีแก้

5. ให้รางวัล

นอกจากการมีสมาธิจดจ่อแล้ว อีกข้อสำคัญคือทำอย่างไรเด็กถึงจะสนใจการเรียนมากขึ้น เพราะเมื่อเรียนออนไลน์เด็กหลายคนขาดระเบียบวินัย      เพราะคิดว่าไม่มีใครคอยจับตาดูอยู่เหมือนในห้องเรียนปกติ วิธีแก้ไขคือการสร้างระบบรางวัล เช่น เมื่อทำการบ้านวิชานี้เสร็จ สามารถเล่นเกมได้ หรือกำหนดกิจกรรมไว้ เมื่อทำเป้าหมายสำเร็จถึงจะได้ไปทำกิจกรรมนั้น ๆ เป็นอีกวิธีที่จะช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากทำให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางวัลไว้เพื่อรับรางวัล

6. กำหนดเวลาพักให้ถี่ขึ้น แต่ช่วงเวลาสั้นลง

วิธีนี้จะช่วยลดความเครียดให้กับเด็ก ๆ ได้ โดยหากิจกรรมคั่นระหว่างเรียนคล้าย ๆ ตอนพักที่โรงเรียน แต่ควรปรับเปลี่ยนเวลา จากพักครั้งเดียวนาน ๆ มาเป็นพักสั้น ๆ แต่มีความถี่มากขึ้น จะช่วยให้เด็กได้พักสายตาจากหน้าจอ ลุกเดิน เปลี่ยนท่าหรือขยับร่างกาย ทำให้มีความผ่อนคลายและไม่เคร่งเครียดมากจนเกินไป ส่งผลให้โฟกัสกับการเรียนได้ดีขึ้น

7. รับประทานอาหารครบถ้วน มีประโยชน์

เด็กเป็นวัยที่อยู่ในช่วงการเจริญเติบโต ควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน มีประโยชน์ เพราะโภชนาการของอาหารแต่ละมื้อส่งผลต่อประสิทธิภาพใน       การเรียนรู้ ตั้งแต่ทางกาย (อาหารที่ช่วยบำรุงสายตา) , การเรียนรู้ และพฤติกรรมในการเรียน การปล่อยให้มีความหิวมากเกินไปจะทำให้ร่างกาย        หลั่งฮอร์โมนความเครียดหลายชนิด ทำให้ขาดสมาธิในการเรียน

ซึ่งการได้รับอาหารในปริมาณที่พอเหมาะจะทำให้เด็กมีสมาธิในการเรียน และส่งผลดีต่อระบบความจำ รวมไปถึงมีพลังและตื่นตัวในการเรียนรู้

เรียนไม่เข้าใจหรือไม่มีสมาธิบ้างเป็นเรื่องปกติ

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่การเรียนออนไลน์เด็กจะไม่มีสามาธิ หรือเรียนไม่ได้ผลลัพธ์เท่ากับที่เรียนในห้องปกติ การที่ต้องจ้องหน้าจอทั้งวัน การเคลื่อนไหวของภาพ สลับหน้าจอไปมานาน ๆ สามารถส่งผลให้เด็กสมาธิสั้นลงได้ การดุหรือว่ากล่าวด้วยความไม่เข้าใจ อาจส่งผลให้เด็กเกิดความเครียดและไม่มีสมาธิมากกว่าเดิมในส่วนนี้ผู้ปกครองเองต้องทำความเข้าใจ และพยายามซัพพอร์ตบุตรหลาน ช่วยเหลือ แนะนำ เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุป

การเรียนออนไลน์ ไม่ใช่เพียงเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ปกครองเท่านั้น แต่กับตัวเด็กเองก็มีความยากลำบากไม่แพ้กัน ดังนั้นภายในครอบครัวควรเปิดใจ เข้าใจ และหากิจกรรมที่ได้ขยับร่างกายทำ ให้พักห่างจากหน้าจอบ้าง จะช่วยให้มีสมาธิ เรียนรู้ได้ดี และมีความสุขกับการเรียนออนไลน์มากขึ้น

—————————————————————————————————————————