ตําบลอ้อมน้อย

รถขนส่งสาธารณะที่ไปยัง74 / 5 หมู่ 4 ถนนเพชรเกษม ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74130

สงสัยมั้ยว่าจะเดินทางไปยัง74 / 5 หมู่ 4 ถนนเพชรเกษม ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74130, ไทยได้อย่างไร? มูวิทสามารถช่วยให้คุณค้นหาเส้นทางที่ดีที่สุดไปยัง74 / 5 หมู่ 4 ถนนเพชรเกษม ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74130 ด้วยคำแนะนำการเดินทางจากป้ายรถที่ใกล้ที่สุดแบบขั้นต่อขั้น

Moovit มีแผนที่ฟรีและเส้นทางแบบถ่ายทอดสดที่ช่วยคุณนำทางไปยังสถานที่ต่างๆ ในเมือง คุณสามารถดูตารางเดินรถ เส้นทาง ตารางเวลา และค้นหาว่าใช้เวลานานเท่าไรที่จะเดินทางไปถึง 74 / 5 หมู่ 4 ถนนเพชรเกษม ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74130 ตามเวลาจริง.

ต้องการหาจุดจอดหรือสถานีที่ใกล้ที่สุดที่จะไป 74 / 5 หมู่ 4 ถนนเพชรเกษม ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74130ใช่ไหม? ลองดูรายการจุดจอดที่ใกล้ที่สุดเหล่านี้เพื่อไปยังจุดหมายปลางทางของคุณสิ: โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล (อ้อมน้อย); ตรงข้ามไทยกาเม็นท์ Srivichai 3 Hospital; โรงพยาบาลสัตว์แชมป์เปี่ยน.

คุณสามารถไป 74 / 5 หมู่ 4 ถนนเพชรเกษม ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74130 โดย รถบัส มีสายรถและเส้นทางที่หยุดตามจุดจอดใกล้เคียง - รถบัส: 539 (ปอ.) (AC), 84 (ปอ.) (AC)

คุณอยากดูว่ามีเส้นทางอื่นที่ช่วยให้คุณไปถึงเร็วขึ้นไหม? Moovit ช่วยคุณค้นหาเส้นทางหรือเวลาอื่นๆ ที่เป็นทางเลือก ขอเส้นทางจากและเส้นทางไปถึง 74 / 5 หมู่ 4 ถนนเพชรเกษม ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74130 อย่างง่ายดายจากแอพ Moovit หรือทางเว็บไซต์.

เราทำให้การเดินทางไป 74 / 5 หมู่ 4 ถนนเพชรเกษม ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74130 ง่ายขึ้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ใช้มากกว่า 930 ล้านราย ซึ่งรวมไปถึงผู้ใช้ใน กระทุ่มแบน จึงเชื่อมั่น Moovit ว่าเป็นแอพที่ดีที่สุดที่ให้ข้อมูลด้านขนส่งสาธารณะ คุณไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดแอพรถประจำทางหรือรถไฟของแต่ละบริษัท Moovit คือแอพขนส่งสาธารณะที่รวมทุกอย่างในหนึ่งเดียว และช่วยคุณค้นหาเวลาของรถบัสหรือรถไฟที่เหมาะสมที่สุดเพื่อคุณ.

สำหรับข้อมูลราคารถบัส, ค่าใช้จ่ายและค่าโดยสารในการเดินทางไปยัง74 / 5 หมู่ 4 ถนนเพชรเกษม ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74130, โปรดเช็คที่แอ็ปมูวิท

“ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาเทศบาลนครตำบลอ้อมน้อย”

ตําบลอ้อมน้อย

              ภาพที่1 แผนที่หมู่บ้านในตำบลอ้อมน้อย

1.ข้อมูลสะท้อนคุณลักษณะตำบล

     “อ้อมน้อย” ตำบลหนึ่งในอำเภอกระทุ่มแบน ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองภาษีเจริญ มีรอยต่อกับจังหวัด นครปฐมและกรุงเทพมหานคร ขึ้นตรงต่อเมืองสมุทรสาคร และในครั้งนั้นอาณาเขตของอำเภอกระทุ่มแบน ครอบคลุมพื้นที่ 7 ตำบล คือ ตำบลกระทุ่มแบน ตำบลปลายคลองกระทุ่มแบน (ปัจจุบันเรียกตำบลแคราย) ตำบล คลองกระทุ่ม (ปัจจุบันเรียกตำบลคลองมะเดื่อ) ตำบลดอนไก่ดี ตำบลท่าเสา ตำบลหนองแขม (ปัจจุบันเรียกตำบลสวนหลวง) และตำบลดำเนินสะดวกต่อมา

ในปีพ.ศ.2445 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” อำเภอกระทุ่มแบน จึงอยู่ในเขตปกครองของจังหวัดสมุทรสาคร ขึ้นตรงต่อมณฑลนครชัยบุรี กระทั่งในปี พ.ศ. 2469 ทางราชการได้มีคำสั่งโอนตำบลดำเนินสะดวกไปขึ้นกับอำเภอบ้านแพ้ว ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ในจังหวัดสมุทรสาคร และได้มีคำสั่งโอนตำบลท่าไม้ ตำบลบางยาง ตำบลซั้ง (หนองนกไข่ ) ตำบลอ้อมน้อย รวม 4 ตำบล ซึ่งอยู่ในความปกครองของอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มาขึ้นกับอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

พ.ศ. 2486 สมัยพลโท หลวงพรหมโยธี ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ยุบรวมจังหวัดสมุทรสาครเข้ากับจังหวัดธนบุรี ซึ่งมีผลให้อำเภอกระทุ่มแบน ขึ้นกับจังหวัดธนบุรีไปด้วย

พ.ศ. 2489 ทางราชการจึงได้ประกาศยกฐานะจังหวัดสมุทรสาครขึ้นใหม่ อำเภอกระทุ่มแบน ได้กลับเข้ามาอยู่ในการปกครองของจังหวัดสมุทรสาครอีกครั้ง “อ้อมน้อย” เป็นพื้นที่ซึ่งเคยได้รับการ ตีตราประทับของ 3 จังหวัด คือ จังหวัดนครปฐม จังหวัดธนบุรี และจังหวัดสมุทรสาคร เพราะเดิมอ้อมน้อย เคยเป็นพื้นที่ภายใต้ความปกครองของจังหวัดนครปฐม และธนบุรีมาก่อน

พ.ศ. 2489 “อ้อมน้อย” ตำบลหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอกระทุ่มแบน จึงได้ถูกโอนให้มาขึ้นอยู่กับจังหวัดสมุทรสาคร จนถึงปัจจุบัน

     1.1.ลักษณะทางกายภาพ

         ที่ตั้งและขนาดพื้นที่

             เทศบาลนครอ้อมน้อย ตั้งอยู่ในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร มีพื้นที่รวมประมาณ30.40 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 19,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.48 ของพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครลักษณะทั่วไปส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน เป็นพื้นที่ที่มีคลองจำนวน 13 คลอง มีสภาพชลประทานที่ค่อนข้างดี โดยมีแม่น้ำท่าจีนเป็นแม่น้ำสายหลัก เทศบาลนครอ้อมน้อย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอกระทุ่มแบน เป็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสมุทรสาคร เป็นระยะทางประมาณ22 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร เป็นระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร เทศบาลนครอ้อมน้อย

มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลไร่ขิงและตำบลกระทุ่มล้ม จังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลอ้อมใหญ่ จังหวัดนครปฐม

ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลสวนหลวงและตำบลท่าไม้ จังหวัดสมุทรสาคร

     ลักษณะภูมิประเทศ

          ลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลนครอ้อมน้อย ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัด สมุทรสาคร มีพื้นที่รวมประมาณ 30.40 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 19,000 ไร่ ลักษณะทั่วไปส่วนใหญ่ เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน เป็นพื้นที่ที่มีคลอง จำนวน 13 สาย มีสภาพชลประทานที่ค่อนข้างดี โดยมีแม่น้ำท่าจีนเป็นแม่น้ำสายหลัก

     ลักษณะภูมิอากาศ

            เทศบาลนครอ้อมน้อย อยู่ในภูมิอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีลักษณะ อากาศแบบฝนเมืองร้อน มีความชื้นในอากาศสูง ทำให้อากาศโดยทั่วไปเย็นและชุ่มชื้น ขณะเดียวกันอากาศ ในฤดูร้อนก็ไม่รุนแรงมากนักเนื่องจากความชื้นจากลมทะเล แบ่งออกเป็น 3 ฤดู   ดังนี้

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

     ลักษณะของดิน

          ลักษณะดินของตำบลอ้อมน้อย ส่วนใหญ่เป็นดินชุดบางกอก เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ค่อนข้างสูง จัดเป็นดินชั้นหนึ่ง สำหรับปลูกข้าว ถั่วชนิดต่าง ๆ ข้าวโพด ฯลฯ สำหรับพืชไร่อื่น ๆ จะมีปัญหา เกี่ยวกับการระบายน้ำ

     ลักษณะของแหล่งน้ำ

          แหล่งน้ำ แหล่งน้ำในพื้นที่ในเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย มีคลองเชื่อมโยงตลอดภายในพื้นที่ สภาพโดยทั่วไปทุกคลองมีกลิ่น มีสี ตามสภาพน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม แทบไม่สามารถพบสิ่งมีชีวิต ในแหล่งน้ำดังกล่าว และไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภคและบริโภค

    ภาพที่2 แผนที่ตำแหน่งคลอง

 1.2.การปกครอง

       เขตการปกครอง

           เทศบาลนครอ้อมน้อย แบ่งเขตการปกครองเป็น 13 หมู่บ้าน 28 ชุมชน มีประชากรทั้งสิ้น 53,947 คน แยกเป็นชาย 25,659 คน คิดเป็นร้อยละ 47.57 หญิง 28,288 คน คิดเป็นร้อยละ 52.43 จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 48,019 ครัวเรือน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 1,7 74 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร   

       การเลือกตั้ง

               ประกาศราชกิจจานุเบกษา ตั้งเป็นเทศบาลตำบลอ้อมน้อย วันที่ 1 เมษายน 2537

ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลอ้อมน้อย เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2537

                     เลือกตั้งครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2537

                     มีวาระ ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2537 - 23 กรกฎาคม 2541

                     เลือกตั้งครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2541 - 19 กันยายน 2545

ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองอ้อมน้อย เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2545

                    เลือกตั้งครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2545

                   มีวาระ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2545 - 2 พฤศจิกายน 2549

                  เลือกตั้งครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2549

                  มีวาระ ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2549 - 10 พฤศจิกายน 2553

ยกฐานะเป็นเทศบาลนครอ้อมน้อย เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2553

                 เลือกตั้งครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2554

                 มีวาระ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2554 - 19 มีนาคม 2558

                 เลือกตั้งครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558

                 มีวาระ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2558 - ปัจจุบัน (ตามคำสั่ง คสช.1/2557)

1.3. บริบททางเศรษฐกิจ 

       ประชากรที่อยู่ในเขตเทศบาล ประกอบด้วย ประชากรจร ประชากรแฝง และประชากรถิ่น เนื่องจากเขตเทศบาลเป็นเขตอุตสาหกรรม จำนวนประชากรจรที่เข้ามาปฏิบัติงานในเขตเทศบาลจึงมีเป็น จำนวนมาก จำนวนรวมประชากรจรและประชากรแฝงในเขตเทศบาล มีถึงประมาณ 200,000 คน ซึ่งเทศบาลฯ ต้องแบกรับภาระในการบริการในด้านต่างๆ  การขยายตัวและพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในพื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อย ก่อให้เกิด การจ้างแรงงานทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลที่ตามมาคือ มีการอพยพแรงงานและครอบครัวเข้าสู่ พื้นที่เทศบาลเป็นจำนวนมาก

       ชุมชนในตำบลอ้อมน้อยที่มีครัวเรือนมากที่สุดได้แก่ ชุมชนดอนสอง จำนวน3,754ครัวเรือน  รองลงมาชุมชนหมู่บ้านสินสมบูรณ์ จำนวน3,181ครัวเรือน ส่วนชุมชนที่มีครัวเรือนน้อยที่สุดคือ ชุมชนซอยโรงนุ่น จำนวน 41ครัวเรือน

 ช่วงอายุและจำนวนประชากร(ข้อมูลเพื่อวางแผนด้านการจัดการคุณภาพชีวิตสำหรับประชาชนโดยแยกกลุ่มอายุ)

เด็กแรกเกิด – 2 ปี    1,641คน    ส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก

3 – 4 ขวบ                1,291คน    จัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เพียงพอ

5 – 12 ปี                   5,578คน    จัดการศึกษาระดับประถมศึกษา

13 – 15 ปี                 2,263คน     จัดการศึกษาระดับมัธยมตอนต้น

16 – 18 ปี                 2,151คน      จัดการศึกษาระดับมัธยมตอนปลาย

19 – 22 ปี                3,238คน          จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี

23 – 59 ปี                29,877คน        ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ/รายได้   

คนชรา (60 ปีขึ้นไป)   7,638คน       การพัฒนาฟื้นฟูคุณภาพชีวิต การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพสำหรับผู้ยากไร้

ระบบพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

      ระบบพาณิชย์ของตำบลอ้อมน้อยส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง 17 ร้านคือ หจก.พียู29  Formulaพุทธมณฑลสาย5  ร้านรับปักโลโก้ทุกชนิด  Ae2shop  จิรัฏฐ์การปัก   อำนาจอะไหล่แอร์รถยนต์   แสงวณิชแก๊ส 55 ออโต้พาร์ท  บริษัท ที.ไอ.เค.อินเตอร์เทรด จำกัด   A.S.K. Clutch Co.,Ltd.    Heyday Station  เจริญศิลป์ อ้อมน้อย  อ๊อฟ&โอ๋เรซซิ่งช๊อป  สาย 5 บิ๊กไบค์คาร์เซ็นเตอร์  ตุลาการโมบาย รับซ่อมมือถือ  วีซี. คลาสสิค ซาวด์  ร้านสุนพัฒนาการช่าง  7-ELEVEN 11278 สาขาตลาดเจริญสาย5   777 –มินิมาร์ท.  รองลงมา ร้านค้าประเภททั่วไปจำนวน 2 ร้านคือ  ซูเลียนอ้อมน้อย   ร้านสมุทรสาครค้าปลีก-ส่ง 

ด้านกลุ่มอาชีพ

  ในตำบลอ้อมน้อยนั้นเป็นชุมชนเมืองเลยไม่มีกลุ่มอาชีพหรือวิสาหกิจชุมชนใดๆ

     ภาพที่3 แผนที่ตำแหน่งร้านค้า

ระบบอุตสาหกรรม

     ระบบอุตสาหกรรมในตำบลอ้อมน้อย ส่วนใหญ่ประกอบด้วยโรงงานประเภทอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ จำนวน 9 แห่งคือ บริษัทสหศรีอุตสาหกรรม จำกัด  ไทยอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา บจก.  โรงงานอุตสาหกรรมไม้ฝีมือไทย บจก. อุตสาหกรรมผลิตยางไทยสิน  บริษัทอุตสาหกรรมตราอูฐ จำกัด  บริษัท ไอซ์-คูล จำกัด  บริษัทอุตสาหกรรม บางกอกทูลส์ จำกัด  บริษัทไทยเลิศอุตสาหกรรม จำกัด  บริษัทไทยเทปกาว จำกัด  รองลงมาคือโรงงานประเภทอุตสาหกรรมพลาสติกจำนวน 4 แห่งคือ  BIS Pipe Fitting Industry Co., Ltd. บริษัท โพลีลาสติก จำกัด  บริษัท เวิลด์พลาสเเพค จำกัด  Thai Plastic Industries Co., Ltd.   และโรงงานประเภทอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์คือ  บริษัทช.เคมีไทย จำกัด  บริษัทพงศ์พาราโคดันโพลิเมอร์จำกัดสาขาPK  บริษัทอุตสาหกรรมแก๊สเอเซี่ยน(ประเทศไทย)จำกัด  และโรงงานประเภทอุตสาหกรรมสิ่งทอจำนวน 3 แห่งคือ  บริษัทเจริญวัฒนาการทอ จำกัด  บริษัทโรงงานทอผ้าเพชรเกษม (1983) จำกัด บริษัทสุวรรณอุตสาหกรรมปั่นทอ จำกัด    รองลงมาคือโรงงานประเภทอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจำนวน 1 แห่งคือ  บริษัท คอสเมดอินโนเวชั่น จำกัด(โรงงานใหม่) 

   ภาพที่4 แผนที่ตำแหน่งโรงงานอุตสาหกรรม 

สถานที่ท่องเที่ยวชุมชน

      สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวชุมชนของตำบลอ้อมน้อย ส่วนใหญ่ประกอบด้วยวัด 2 แห่ง คือ  วัดอ้อมน้อย  วัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง

    ภาพที่5 แผนที่ตำแหน่งสถานที่ท่องเที่ยว

การไฟฟ้า

     ประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อย อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอ้อมน้อย ซึ่งได้ให้บริการไฟฟ้าแก่ชุมชนภายในเขตเทศบาลนครอ้อมน้อยได้อย่างทั่วถึง และเพียงพอต่อปริมาณความต้องการทั้งในปัจจุบันและเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเทศบาลจัดตั้งงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะเอง ซึ่งในปัจจุบันมีไฟฟ้าสาธารณะกระจายไปทั่วเทศบาล แต่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด

การประปา                                                

      การบริการประปาในเขตเทศบาล อยู่ในความรับผิดชอบของการประปาส่วนภูมิภาคอ้อมน้อยผลิตน้ำ โดยอาศัยน้ำดิบจากบ่อบาดาล สามารถผลิตน้ำประปาได้ประมาณ 4,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวันมีจำนวนผู้ใช้น้ำประมาณ 18,017 ครัวเรือน เฉลี่ยปริมาณน้ำใช้ 507,177 ลิตร/เดือน ในปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างโรงกรองน้ำที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยให้บริการครอบคลุมพื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อยในบางชุมชนบางโรงงานอุตสาหกรรมมีการขุดบ่อบาดาลและสูบน้ำขึ้นมาใช้ซึ่งสามารถใช้ได้อย่างดีแต่เนื่องจากในปัจจุบันมีปัญหาการทรุดตัวของแผ่นดิน จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ให้หันมาใช้บริการของการประปาส่วนภูมิภาคทดแทน

1.4. บริบททางสังคม

      การตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านตำบลอ้อมน้อย เป็นชุมชนเมืองที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำงานโรงงานหรือเรียกว่าชุมชนเมืองอุตสาหกรรม ประชากรส่วนใหญ่นิยมอาศัยอยู่ตามคอนโด อาคารพาณิชย์ ตึกแถว โดยมีวัด จำนวน 3 แห่งเป็นศูนย์กลางที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ จากนั้นยังมีโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ11 แห่ง

  ภาพที่6 แผนที่ตำแหน่งโรงเรียน

     ประชากรส่วนใหญ่อาศัยพื้นที่ตามถนนสายหลักของตำบลอ้อมน้อยและเชื่อมต่อระหว่างอำเภอและพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่

 - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ( ถนนเพชรเกษม ) เชื่อมโยงกับกรุงเทพมหานครและจังหวัด

นครปฐม

- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3091 (ถนนเศรษฐกิจ 1) เริ่มต้นจากแยกถนนเพชรเกษมบริเวณกิโลเมตรที่ 25 ผ่านพื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อย มุ่งสู่ที่ว่าการอำเภอกระทุ่มแบน ตลาดมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร

- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3310 ( ถนนพุทธมณฑลสาย 4 )

- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3414 ( ถนนพุทธมณฑลสาย 5 )

พื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อย ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และบางส่วนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมมีการก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคสาธารณูปการเกิดขึ้นมากมาย จึงทำให้ปริมาณยวดยานขนส่งสินค้าทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กเป็นจำนวนมากที่วิ่งผ่านเทศบาลนครอ้อมน้อย เป็นทางผ่านที่จะไปยังจังหวัดภาคใต้ โดยมีถนนสายสำคัญคือถนนเพชรเกษม หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 มีปริมาณรถยนต์ในแต่ละวันค่อนข้างมาก ปริมาณรถยนต์หนาแน่นในช่วงเช้าและเย็น จุดที่มีการจราจรหนาแน่นช่วงเวลาชั่วโมงเร่งด่วน และช่วงเทศกาลสำคัญหรือที่มีวันหยุดราชการติดต่อกันหลายวัน ได้แก่ แยกสาครเกษม และแยกอ้อมน้อย จุดที่เกิดเหตุบ่อย ได้แก่แยกอ้อมน้อย แยกเพชรเกษม 87 และแยกพงษ์ศิริชัย 1 (ข้อมูลจาก สภ.กระทุ่มแบน)

กลุ่มประชาชนที่ใหญ่ที่สุดของตำบลได้แก่ หมู่ที่5 ชุมชนหมู่บ้านสิวารัตน์ มีประชากรประมาณ  4,524 คน กลุ่มประชาชนที่ที่มีปริมาณเล็กที่สุด ได้แก่  หมู่ที่1 ชุมชนปากคลองอ้อมน้อย มีประชากรประมาณ 504  คน มีสถานบริการด้านสาธารณสุข ได้แก่  ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลอ้อมน้อยมีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์บริการสาธารณสุขจำนวน 5 คน  ศูนย์บริการสาธารณสุขสิวารัตน์ 3(สิวารัตน์คลินิก)มีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์บริการสาธารณสุขจำนวน 5 คน    สถานีอนามัยอ้อมน้อยเจ้าหน้าที่ประจำอนามัยจำนวน  8 คน    สถานีอนามัยสายสี่มีเจ้าหน้าที่ประจำอนามัยจำนวน  12 คน โรงพยาบาลวิชัยเวช 3ไม่สามารถให้ข้อมูลได้เนื่องจากเป็นความลับทางโรงพยาบาล  โรงพยาบาลมหาชัย 2ไม่สามารถให้ข้อมูลได้เนื่องจากเป็นความลับทางโรงพยาบาล

     ภาพที่7 แผนที่ตำแหน่งโรงพยาบาล 

  1.4.บริบททางการศึกษาและวัฒนธรรม     

      ประชากรของตำบลอ้อมน้อย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ98.0  รองลงมานับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 2.0   และมีวัดจำนวน 3 แห่ง สถาบันทางศาสนาคริสต์จำนวน 1 แห่ง ดังนี้

1. วัดอ้อมน้อย ตั้งอยู่ในหมู่4 

2. วัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง ตั้งอยู่ในหมู่12

3.คริสตจักรมหาพรตรีมณฑล ตั้งอยู่ในหมู่12

     ภาพที่8 แผนที่ตำแหน่งวัด

   1.6. บริบททางการเมือง

      เทศบาลนครอ้อมน้อย ได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล ตั้งแต่วันที่ 1พฤษภาคม 2537 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ.2537 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 12 ก ณ วันที่ 1 เมษายน 2537 ต่อมาได้รับการยกฐานะจากเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมืองอ้อมน้อย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองอ้อมน้อย พ.ศ.2545 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2545 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 119 ตอนที่ 93 ก ลงวันที่ 20 กันยายน 2545 และปัจจุบันได้รับการยกฐานะจากเทศบาลเมืองเป็นเทศบาลนครอ้อมน้อย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครอ้อมน้อย พ.ศ.2553เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเทศบาลนครอ้อมน้อย ประกาศ ณ วันที่ 11พฤศจิกายน 2553 ซึ่งปัจจุบันนายกเทศมนตรีคือนายบุญชู นิลถนอม

    2.ข้อมูลสะท้อนคุณลักษณะองค์กร

     เทศบาลนครอ้อมน้อย ตั้งอยู่ที่234 ม.4 ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74130

                             ภาพที่9 สำนักงานเทศบาลนครอ้อมน้อย    

เขตเทศบาลมีเนื้อที่ 30.40 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองไร่ขิงและเขตเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม (อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม)

ทิศตะวันออก ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร

ทิศใต้ ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลสวนหลวงและเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ (อำเภอกระทุ่มแบน)

ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ (อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม)

2.1. ผู้บริหารและคณะทำงาน

ตําบลอ้อมน้อย

           ภาพที่10 โครงสร้างคณะผู้บริหารเทศบาลนครอ้อมน้อย

การบริหารของเทศบาลนครอ้อมน้อย

    การบริหารงานของเทศบาลนครอ้อมน้อย ประกอบด้วย สภาเทศบาล และคณะผู้บริหาร โดยมีรายละเอียดและองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้

สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล จำนวนทั้งสิ้น 24 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง

ของประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี

คณะผู้บริหาร ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี

นายกเทศมนตรี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี

รองนายกเทศมนตรี มาจากการแต่งตั้งของนายกเทศมนตรี

-ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 23 คน

-ฝ่ายบริหาร ได้แก่ นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี จำนวน 4 คนและเลขานุการ จำนวน 1 คน

2.2. วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และยุทศาสตร์องค์กร

      “ เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เกษตรและอาหารปลอดภัย ท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ สังคมเป็นสุข”

พันธกิจ

    พันธกิจและภารกิจหน้าที่แบ่งออกเป็น 7 กอง 1 หน่วย 1 สถานธนานุบาลภายใต้การกำกับดูแลของนายกเทศมนตรีและปลัดเทศบาล ดังนี้

 1. สำนักปลัดเทศบาล มีหัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักปลัดเทศบาล และกำหนดแบ่งเป็นส่วนราชการภายในออกเป็น 3 ฝ่าย

(1) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานธุรการ งานรัฐพิธี งานเลขานุการ

ผู้บริหาร ของเทศบาลนครอ้อมน้อย งานประสานงานหน่วยงานอื่น ที่ไม่มีส่วนราชการใดรับผิดชอบ

(2) ฝ่ายปกครอง มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานทะเบียนราษฎร งานบัตรประจำตัวประชาชนงาน

รักษาความสงบเรียบร้อย งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ของเทศบาลนครอ้อมน้อย

(3) ฝ่ายอำนวยการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานการเจ้าหน้าที่ งานควบคุมเทศพาณิชย์

ของเทศบาลนครอ้อมน้อย

 2. สำนักการศึกษา มีผู้อำนวยการสำนักการศึกษาเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักการศึกษา และกำหนดแบ่งเป็นส่วนราชการภายในออกเป็น 2 ส่วน 7 ฝ่าย 1 หน่วย แลสถานศึกษาใน

สังกัดเทศบาล 9 แห่ง

(1) หน่วยนิเทศก์การศึกษา

(2) ฝ่ายแผนงานและโครงการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานแผนและโครงการ งานระบบ

สารสนเทศ และงานงบประมาณ

(3) ส่วนบริหารการศึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบฝ่ายต่างๆ ดังนี้

 (3.1) ฝ่ายงานการเจ้าหน้าที่

 (3.2) ฝ่ายกิจการโรงเรียน

 (3.3) ฝ่ายวิชาการ

(4) ส่วนส่งเสริมการศึกษา ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบฝ่าย

ต่าง ๆ ดังนี้

 (4.1) ฝ่ายการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย

 (4.2) ฝ่ายส่งเสริมศาสนา ประเพณีศิลปะและวัฒนธรรม

 (4.3) ฝ่ายกิจกรรมเด็กและเยาวชน

(5) วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย

(6) โรงเรียนเทศบาลอ้อมน้อย

(7) โรงเรียนอนุบาลเทศบาลอ้อมน้อย

(8) โรงเรียนอนุบาลเทศบาลอ้อมน้อย 2

(9) โรงเรียนอนุบาลเทศบาลอ้อมน้อย 3

(10) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 (หมู่บ้านพงษ์ศิริชัย)

(11) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 (หมู่บ้านสิวารัตน์)

(12) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 (ชุมชนคลองแค)

(13) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 (ชุมชนอรรคภัทรก้าวหน้า)

3. กองคลัง มีผู้อำนวยการกองคลังเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองคลัง

และกำหนดแบ่งเป็นส่วนราชการภายในออกเป็น 4 ฝ่าย

(1) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานงานธุรการ งานสารบรรณ

(2) ฝ่ายบริหารงานคลัง มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานพัสดุและทรัพย์สิน งานการเงินและบัญชี

(3) ฝ่ายพัฒนารายได้ มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานผลประโยชน์และกิจการพาณิชย์

งานพัฒนารายได้

(4) ฝ่ายแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานแผนที่ภาษีและทะเบียน

ทรัพย์สิน งานบริการข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน

4. กองช่าง มีผู้อำนวยการกองช่างเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองช่าง

และกำหนดแบ่งเป็นส่วนราชการภายในออกเป็น 4 ฝ่าย

(1) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานธุรการ

(2) ฝ่ายแบบแผนและก่อสร้าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานวิศวกรรม งานสถาปัตยกรรม

งานผังเมือง

(3) ฝ่ายการโยธา มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานสาธารณูปโภค งานสวนสาธารณะ งานสถานที่

และไฟฟ้าสาธารณะ งานวิศวกรรมจราจร

 (4) ฝ่ายช่างสุขาภิบาล มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานแบบแผนและก่อสร้าง งานบำรุงรักษา

และซ่อมแซม งานกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล งานควบคุมและตรวจสอบบำบัดน้ำเสีย

5. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้บังคับบัญชา และ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และกำหนดแบ่งเป็นส่วนราชการภายใน ออกเป็น 2 ฝ่าย 1 งาน (1) ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานแผนงานสาธารณสุข งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม งานรักษาความสะอาดงานศูนย์บริการสาธารณสุข (2) ฝ่ายบริการสาธารณ สุขมีหน้าที่ความ รับ ผิดชอบงานเผยแพร่และฝึกอบรม งานส่งเสริมสุขภาพ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ งานสัตวแพทย์ (3) งานธุรการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานธุรการ งานสารบรรณ 6. 6.กองวิชาการและแผนงาน มีผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน เป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการ ปฏิบัติราชการของกองวิชาการและแผนงาน และกำหนดแบ่งเป็นส่วนราชการภายในออกเป็น 3 ฝ่าย 1 งาน (1) ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานวิเคราะห์นโยบายและแผน งานวิจัยและประเมินผล งานจัดทำงบประมาณ (2) ฝ่ายบริการและเผยแพร่วิชาการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานบริการและเผยแพร่วิชาการ (3) ฝ่ายนิติการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานนิติกรรมสัญญา งานรับเรื่องราวร้องทุกข์ (4) งานธุรการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานธุรการ       

 7. กองสวัสดิการสังคม มีผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม เป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการปฏิบัติ

ราชการของกองสวัสดิการสังคม และกำหนดแบ่งเป็นส่วนราชการภายในออกเป็น 2 ฝ่าย 1 งาน

(1) ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานสังคมสงเคราะห์ งานสวัสดิการเด็กและเยาวชน

(2) ฝ่ายพัฒนาชุมชน มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานพัฒนาชุมชน

(3) งานธุรการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานธุรการ งานสารบรรณ

8. หน่วยตรวจสอบภายใน  มีหน้าที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบบัญชี เอกสารการเบิกจ่ายเงิน เอกสารการรับเงินทุกประเภท งานตรวจสอบการเก็บรักษาหลักฐานการบัญชี งานตรวจสอบพัสดุและการเก็บรักษางานตรวจสอบทรัพย์สินและการทำประโยชน์ขากทรัพย์สินของเทศบาลและงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

 9. สถานธนานุบาล มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการรับจำนำทรัพย์สินจากประชาชนทั่วไป เพื่อบรรเทาทุกข์

และส่งเสริมระบบการหมุนเวียนของระบบการเงิน และเป็นการเพิ่มพูนรายได้ของเทศบาล

ยุทศาสตร์ของตำบลอ้อมน้อย

      ยุทธศาสตร์การพัฒนา

        1.พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน เป้าประสงค์จังหวัดสมุทรสาครเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ที่มีสภาพแวดล้อมน่าอยู่อย่าง

       กลยุทธ์

 1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุม ทั่วถึง และได้มาตรฐาน

 2.เร่งรัดฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน 

 3.ยกระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในพื้นที่

         2. ส่งเสริมภาคการผลิต การแปรรูปอาหาร และการบริการสู่ตลาดสากล เป้าประสงค์สินค้าทางการเกษตร การประมง และการบริการ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น และสินค้า อุตสาหกรรมสามารถแข่งขันในตลาดโลกมาตรฐาน สากล ต่างประเทศ

      กลยุทธ์

1.ส่งเสริมภาคการผลิต การแปรรูปอาหาร และภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ให้ได้

2.เพิ่มช่องทางการตลาด การจาหน่ายสินค้า และการบริการ ทั้งในและ

3.ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวและการบริการ 3.4.3 พัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

เป้าประสงค์

ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและชุมชนเข้มแข็ง

      กลยุทธ์

1.การพัฒนาคุณภาพชีวิตและครอบครัวตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

2.เสริมสร้างความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย

3.สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

2.3. รางวัลที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับ

      1.รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติเเก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับผลการคัดเลือกผลงานด้านการสร้างเขตปลอดโรคพิษสุนัขบ้าดีเด่นในระดับจังหวัดสมุทรสาคร