ข้อใดเป็นศูนย์ศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภาคเหนือ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่แห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๕ ให้พิจารณาจัดตั้งขึ้นบริเวณป่าขุนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ขอบเขตพื้นที่โครงการประมาณ ๘,๕๐๐ ไร่ โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ทดลอง วิจัย เพื่อหารูปแบบการพัฒนาต่าง ๆ ในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำที่เหมาะสมและเผยแพร่ให้ราษฎรนำไปปฎิบัติต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ซึ่งศูนย์ศึกษากาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จะทำการศึกษาการพัฒนาป่าไม้พื้นที่ต้นน้ำลำธาร ให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลักต้นทางปลายทางเป็นการศึกษาการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรอย่างแท้จริง ผสมกับการศึกษาด้านการเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์และโคนมและด้านเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์ฯ แล้วนำไปใช้ปฎิบัติอย่างได้ผลต่อไป ดังมีพระราชดำริว่าให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทำหน้าที่เสมือน "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต" หรืออีกนัยหนึ่งเป็น "สรุปผลของการพัฒนา" ที่ประชาชนจะเข้าไปเรียนรู้และนำไปปฎิบัติได้

วัตถุประสงค์ของศูนย์

เพื่อจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำหรับภาคเหนือในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำห้วยฮ่องไคร้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ขอบเขตพื้นที่โครงการประมาณ ๘,๕๐๐ ไร่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการอบรม และเผยแพร่การศึกษาให้แก่ส่วนราชการแลเกษตรทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้

๑. เพื่อศึกษาพัฒนาแหล่งน้ำ
๒. เพื่อศึกษาพัฒนาเกี่ยวกับพัฒนาป่า ๓ อย่าง ๓ วิธี
๓. เพื่อศึกษาพัฒนาด้านปศุสัตว์และโคนม
๔. เพื่อศึกษาพัฒนาด้านประมง
๕. เพื่อศึกษาพัฒนาด้านการเกษตรกรรม
๖. เพื่อศึกษาพัฒนาด้านเกษตรอุตสาหกรรม

การดำเนินงานและผลการศึกษาทดลองในด้านต่าง ๆ ของศูนย์ฯ ห้วยฮ่องไคร้ฯ

๑. เพื่อศึกษาพัฒนาแหล่งน้ำ

งานศึกษาพัฒนาแหล่งน้ำ เป็นงานจัดหาน้ำสนับสนุนงานศึกษาและพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของศูนย์ฯ ห้วยฮ่องไคร้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ได้พยายามใช้ประโยชน์จากน้ำที่ไหลลงมาจากยอดเขา ลงสู่ล่างให้ได้ประโยชน์สูงสุดโดยการจัดทำฝายต้นน้ำ (Check Dam) สำหรับเก็บกักน้ำไว้ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของพื้นดินในฤดูแล้งและทำระบบก้างปลา เพื่อกระจายน้ำออกไปเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน เพื่อประโยชน์ในการปลูกป่าและแนวป้องกันไฟป่าเปียก (Wet Fire Break) น้ำที่ไหลมาเบื้องล่างก็จะทำก็จะทำอ่างเก็บน้ำไว้และใช้ประโยชน์จากอ่างเก็ยน้ำสนับสนุนกิจกรรมการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การประมง ซึ่งมีผลการดำเนินงาน โดยสรุปดังนี้

๑.๑ งานเชื่อมโยงระหว่างลุ่มน้ำขนาดเล็ก เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาระบบเชื่อมโยงลุ่มน้ำขนาดใหญ่ต่อไป ได้แก่ งานผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่ลายสู่ลุ่มน้ำของศูนย์ฯ ห้วยฮ่องไคร้ฯ โดยระบบท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๓๐ เมตร ยาว ๗.๔๔ กม.

๑.๒ งานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในกิจกรรมของงานศึกษาและพัฒนาด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องซึ่งปัจจุบัน ได้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแล้วจำนวน ๘ อ่าง ขนาดความจุ ๓,๓๑๒,๕๐๐ ลูกบาศก์เมตร

๑.๓ งานระบบแพร่กระจายน้ำ แบบรอบบริเวณเพื่อสนับสนุนงานป้องกันไฟป่าโดยความชื้นและการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และนิเวศน์วิทยาของป่าไม้ ในเขตพื้นที่พัฒนาป่าไม้ ด้วยระบบชลประทาน ๘๐๐ ไร่

๑.๔ งานระบบส่งน้ำได้แก่ การก่อสร้างระบบส่งน้ำให้แก่พื้นที่ศึกษาและพัฒนาการเกษตร ปศุสัตว์ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,150 ไร่

๑.๕ งานแพร่กระจายน้ำสู่ระบบเพิ่มความชุ่มชื้นจากสันเขาสู่ลำห้วย โดยการสร้างระบบเชื่อมโยงโดยท่อและอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กต่าง ๆ ตามสันเขาปัจจุบันได้ก่อสร้างแล้ว ๘ อ่างขนาดความจุ ๓,๓๑๒,๕๐๐ ลูกบาศก์เมตร

๑.๖ งานชะลอความชุ่มชื้นตามลำห้วยธรรมชาติ โดยสร้างฝายต้นน้ำขนาดเล็กต่างๆ ซึ่งปัจจุบันได้ก่อสร้างแล้ว ทั้งในเขตพื้นที่พัฒนาป่าไม้ด้วยระบบชลประทานและในเขตพื้นที่พัฒนาป่าไม้ด้วยน้ำฝน รวม ๓๐๔ แห่งและจากการศึกษาพบว่า การก่อสร้างฝายต้นน้ำ (Check Dam) เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ ๒ - ๓ ปี จะสามารถเก็บกักน้ำได้ดี เหมือนสภาพฝายถาวร เนื่องจากเศษไม้และใบไม้ไปอุดบริเวณสันฝายทำให้เก็บน้ำได้ดี

๒. งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้

งานศึกษาพัฒนาป่าไม้ เป็นการพยายามหาเทคโนโลยี่ด้านป่าไม้ทีเหมาะสม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนา และฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำลำธารบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งมีผลการดำเดินงานดังนี้

๒.๑ งานป้องกันพื้นที่และงานป้องกันไฟป่า ซึ้งปัจจุบันสามารถป้องกันการบุกรุกป่าและการป้องกันไฟป่า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวิธี (Wet Fire Break) โดยวิธีการก่อสร้างและการกระจายน้ำไปทั่วพื้นที่โดยเหมืองแบบไส้ไก่ หรือเหมืองแม้ว ในเขตพื้นที่พัฒนาป่าไม้ด้วยระบบชลประทาน ๑,๕๑๖ ไร่ นั้นไม่มีไฟไหม้ป่า สภาพป่ามีความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ ดินเปลี่ยนสภาพจากดินร่วนปนทรายมีหินโผล่ เป็นดินที่มีสีดำมีคุณค่าทางอาหารมากขึ้น

๒.๒ งานปลูกและบำรุงป่า ประกอบด้วยงานปลูกป่า ๓ อย่าง ๓ วิธี โดยใช้ไม้ชนิดที่เป็นประโยชน์ ทั้งในการใช้สอย เป็นอาหาร และเป็นเชื้อเพลิง โดยปลูกพันธุ์ไม้เหล่านี้ ให้กระจายพันธุ์ลุกลามจากสันเขาลงมา และใช้พันธุ์ไม้ที่มีเมล็ดซึ่งเมล็ดเหล่านี้จะตกลงจากพื้นที่สูงลงมาสู่ที่ต่ำ และสามารถงอกขึ้นมาได้ตามธรรมชาติการปลูกป่าโดยวิธีกระจายพันธุ์ไปจากแนวสันเขาลงมาด้านล่างนี้ จะทำให้เกิดสภาพป่าที่หนาทึบ และสมบูรณ์ขึ้นได้ซึ่งปัจจุบันได้ปลูกป่าไปแล้ว ๑,๓๐๐ ไร่และบำรุงป่าธรรมชาติโดยวิธีตัดไม้ไร้ค่าบำรุงป่าจำนวน ๑,๐๐๐ ไร่

๒.๓ งานศึกษาป่าไม้ ระบบเกษตรป่าไม้เป็นรูปแบบหนึ่งที่เป็นตัวแทนของการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการพัฒนาป่าไม้ โดยทำการศึกษาเชิงวิเคราะห์ระบบเกษตรป่าไม้ เพื่อรวบรวมรูปแบบเกษตรป่าไม้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาชนบท ในภาคเหนือตอนบนต่อไปในอนาคต ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล ประมาณ ๒๐ เรื่อง เช่น การปลูกพริกไทยในป่าเต็งรัง การปลูกไม้ผลผสมป่าเป็นต้น

๒.๔ งานวิจัยต้นน้ำ ดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการค้นคว้าทางอุตุอุทกวิทยาลุ่มน้ำ การปลูกพืชในระบบเกษตรป่าไม้ การป้องกันการพังทลายของดิน และศึกษาหาอัตราการสูญเสียหน้าดิน

๒.๕ งานเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่า ดำเนินการศึกษาและเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่า

๓. งานศึกษาและพัฒนาที่ดิน

เป็นการสนับสนุนการปฏิบัติของส่วนราชการต่าง ๆ ให้ได้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างถูกต้องตามสมรรถนะของพื้นที่และเหมาะสมกับรูปแบบของกิจกรรมต่างๆ ตามที่ได้วางแผนไว้และศึกษาพัฒนาวิธีการและรูปแบบของการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมกับภูมิประเทศภาคเหนือตอนบน มีผลการดำเนินงานดังนี้

๓.๑ งานศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นการดำเนินงานเพื่อศึกษาหาวิธีการอนุรักษ์ ดินและน้ำที่หมาะสมสำหรับพื้นที่ซึ่งมีความลาดชัน ซึ่งไม่สามารถที่จะนำใช้ประโยชน์ ในการเกษตรกรรมได้ ไม่มีการควบคุมที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเสียก่อน เพื่อศึกษาผลกระทบที่จะเกิดต่อพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการเกษตร อันจะเป็นแนวทางที่จะทำนายผลกระทบของรูปแบบการพัฒนา ที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมในระยะยาว และเพื่อศึกษาหาวิธีการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในทางการเกษตร ให้มีศักยภาพในการผลิตสูงขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ใช้ประโยชน์ที่ดินที่ทวีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งได้ดำเนินการศึกษาทั้งหมด ๔ หัวข้อได้แก่

๑. การศึกษา และทดสอบระบบการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่ลาดเท
๒. การศึกษาความยากง่าย ในการชะล้างพังทลายของดินชุดนี้
๓. การศึกษาระบบการปลูกพืช เพื่อการอนุรักษ์ในพื้นที่เกษตรน้ำฝน
๔. การศึกษาผลกระทบของการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบต่าง ๆ ที่มีต่อสภาพอุทกวิทยาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้

๔. งานศึกษาและทดสอบการปลูกพืช

๔.๑ งานพืชสวนประกอบด้วย

๔.๑.๑ ไม้ผลได้แก่ มะม่วง ลิ้นจี่ มะขามหวาน ลำไย ขนุนและส้มโอ
๔.๑.๒ พืชอุตสาหกรรม ได้แก่ สับปะรด กระทกรก ฝรั่ง ยางพารา มะคาเดเมียและมะม่วงหิมพานต์

๔.๒ งานพืชผัก ได้แก่ ผักตระกูลกะหล่ำ ตระกูลแตง ตระกูลมะเขือ และเห็ดต่างๆ

๔.๓ งานพืชไร่ ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ ทานตะวันและข้าวโพดหวาน

๔.๔ งานข้าว ประกอบด้วย การทดลองปลูกข้าวนาสวน โดยใช้น้ำใต้ดินจากขอบอ่าง (นาน้ำหมาด) นาหว่านน้ำตม นาสวน และข้าวไร่

๕. งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรมแบบประณีต

ดำเนินการโดยยึดหลักการจัดปลูกต้นไม้ยืนต้นประเภทต่าง ๆ สำหรับเป็นอาหาร พืชและรายได้ควบคู่กับพืชล้มลุกที่ใช้เป็นอาหาร ยา รายได้ โดยกำหนดทิศทางของแนวโน้มไม้ยืนต้น เพื่อให้ไม้ล้มลุกในระหว่างแถวไม้ยืนต้นรับแสงแดดเต็มที่เพื่อความสมบูรณ์ของผลิตผล โดยทำการศึกษาการอยู่ร่วมกันของพืชต่าง ๆ โดยพยายามศึกษาโดยยึดไม้พันธุ์ดั้งเดิมที่ชาวบ้านคุ้นเคยอยู่แล้วเป็นหลัก โดยทดลองการปลูกให้อยู่ร่วมกัน เพื่อชาวบ้านจะได้ประโยชน์ในด้านเป็นอาหาร และเป็นรายได้ในแง่การขายผลผลิตและอุตสาหกรรมในครอบครัว โดยทำการทดลองทั้งในพื้นที่ต่าง ๆ กัน ตามสภาพความเป็นจริงและเลือกพันธุ์ไม้หลาย ๆ ชนิด ทั้งพืชที่เก็บไว้ได้นานและพืชระยะสั้น ให้สอดคล้องกับการคมนาคมขนส่งพืชพันธุ์ จากครอบครัวชาวบ้านถึงตลาดผู้บริโภค ซึ่งมีรูปแบบต่างๆ ๕ รูปแบบ ได้แก่

๑. การทำสวนในไร่ ในที่ห่างไกล

๒. การทำสวนในไร่ ในที่ใกล้เมือง

- การทำสวนในไร่แบบน้ำซึมบ่อทราย
- การทำสวนในไร่แบบฝนโปรย

๓. การทำสวนในไร่แบบเกษตรอุตสาหกรรม

๔. การทำสวนในไร่ควบคู่การเลี้ยงสัตว์

๕. หน่วยขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล ระดับหมู่บ้าน

๖. งานศึกษาและพัฒนาปศุสัตว์และโคนม

เป็นการศึกษา วิจัย เกี่ยวกับการเลี้ยงโคนม ในส่วนที่เกี่ยวกับการอยู่รอดของสัตว์ การเจริญเติบโต การผสมพันธุ์และการให้ผลผลิต โดยให้สอดคล้องกันระหว่างพื้นที่กับจำนวนโค นอกจากนี้ยังเสริมด้วยการเสี้ยงสัตว์ปีกและสุกรอีกด้วย ซึ่งให้ทำการศึกษาเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

๖.๑ เรื่องเกี่ยวกับโค

- ศึกษาถึงการเจริญเติบโตของโคนมเพศเมียพันธุ์ผสมโฮสไตน์ หลังหย่านมในช่วงฤดูแล้ง (120 วัน)
- ศึกษาน้ำหนักแรกเกิดของลูกโคพันธุ์ผสมโฮสไตน์ 50 % ในการเลี้ยงดูแบบชาวบ้านและแบบผูกยืนโรง
- ศึกษาในเชิงเปรียบเทียบอายุเฉลี่ยของการให้ลูกตัวแรก ของโคนมพันธุ์ผสมโฮสไตน์ 50 % ในสภาพการเลี้ยงดูที่ต่างกัน
- ศึกษาผลการผลิตการให้นมและระบบการให้นมของโคนมพันธุ์ผสมโฮสไตน์ 50 % ในการให้นมครั้งแรก ระหว่างสภาพการเลี้ยงที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ บสภาพฟามร์มที่เลี้ยงแบบผูกยืนโรง

๖.๒ เรื่องเกี่ยวกับปศุสัตว์อื่นๆ

- ศึกษาเชิงเปรียบเทียบกับความอยู่รอดของไก่พันธุ์ลูกผสม ในสภาพการเลี้ยงแบบ ชาวบ้านพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ
- ศึกษาความเป็นไปได้ของการเลี้ยงสุกรพันธุ์ลูกผสมเหมยชานของเกษตรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ เพื่อเสริมรายได้
- ศึกษาเชิงเปรียบเทียบผลผลิตของพืชอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมเพื่อนำมาเลี้ยงสัตว์ในสภาพพื้นที่ของศูนย์ฯ เพื่อเสริมรายได้