เลข ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ นํา เที่ยว

     สวัสดีคร้าบบบบ....กลับมาพบกับน้องโฟกัสอีกครั้งพร้อมกับข้อมูลดีๆสำหรับนักเดินทาง หลายๆท่านอาจเคยได้ยินข่าวมากมายเกี่ยวกับทัวร์ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นซื้อทัวร์แล้วถูกลอยแพบ้าง ถูกหลอกให้โอนเงินแล้วปิดบริษัทหนีบ้าง วันนี้น้องโฟกัสข้อแนะนำและข้อควรระวังในการเลือกซื้อทัวร์ มาฝากทุกท่านกันครับ

1. ตรวจสอบ เลขที่ใบจดทะเบียนอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่่ยว  โดยใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวนั้น จะมีด้วยกันทั้งหมด 4 ประเภท คือ

- ใบอนุญาตประกอบนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ สำหรับการประกอบธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดที่จดทะเบียนและจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดนั้นๆ โดยเลขทะเบียนจะขึ้นต้นด้วย 13/xxxxx 

- ใบอนุญาตนำเที่ยวในประเทศ (Domestic) สำหรับการประกอบธุรกิจนำเที่ยวภายในประเทศไทย และสำหรับชาวไทยเท่านั้น โดยเลขทะเบียนจะขึ้นต้นด้วย 12/xxxxx

- ใบอนุญาตนำเที่ยวจากต่างประเทศ (Inbound) สำหรับการประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยการนำนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยเลขทะเบียนจะขึ้นต้นด้วย 14/xxxxx

- ใบอนุญาตนำเที่ยวต่างประเทศ (Outbound) สำหรับการประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสามารถให้บริการได้ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเลขทะเบียนจะขึ้นต้นด้วย 11/xxxxx

ใบอนุญาตนี้จะมีอายุแค่ 2 ปีเท่านั้นนับตั้งแต่วันจดทะเบียน ซึ่งทางบริษัททัวร์ทุกบริษัทจะต้องทำการต่อใบอนุญาตกับกรมการท่องเที่ยว โดยทุกท่านสามารถนำเลขใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวของบริษัททัวร์นั้นๆ มาตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ >> http://103.80.100.92:8087/mobiletourguide/info/license/tour

ซึ่งก็จะมีข้อมูลต่างๆ เช่น สถานะการจดทะเบียน ว่าเป็นปกติ หรือ ยกเลิกใบอนุญาต, ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อ E-mail และ website รวมไปถึงยังมีประวัติการจดทะเบียน เรื่องร้องเรียน และรายชื่อคณะกรรมการบริษัท อีกด้วย

2.ตรวจสอบและอ่านรายละเอียดโปรแกรมทัวร์ ให้ละเอียดทุกบรรทัด เนื่องด้วย โปรแกรมท่องเที่ยวในทุกวันนี้ ท่องเที่ยวประเทศเดียวกัน แต่มักจะมีราคาที่แตกต่างกัน ซึ่งน้องโฟกัสก็อยากแนะนำว่า ให้ทุกท่านทำความเข้าใจกับโปรแกรมทัวร์นั้นๆก่อนตัดสินใจซื้อ ว่าแต่ละโปรแกรม ทำไมราคาถึงถูกและแพง มีจุดแตกต่างกันตรงไหน  เช่น ไปเที่ยวกี่วัน ไปไหนบ้าง มีอิสระปล่อยเที่ยวเองหรือไม่ มีอาหารกี่มื้อ นอนโรงแรมระดับกี่ดาว ราคานี้รวมอะไรบ้าง ไม่รวมอะไรบ้าง รวมค่าวีซ่าหรือไม่ ค่าทิปจ่ายเท่าไหร่ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เราควรทำความเข้าใจก่อนการตัดสินใจซื้อทุกครั้ง เพื่อประโยชน์แก่ตัวของท่านเองนะครับ

3.บัญชีธนาคารที่ทางบริษัททัวร์ ให้ทำการโอนจ่ายนั้น เราควรทำการตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า ชื่อบัญชีที่เราจะโอนให้นั้น ควรเป็นชื่อบัญชี บริษัททัวร์นั้นๆ หรือ หากเป็นชื่อบุคคล ก็ควรเป็นชื่อของคณะกรรมการผู้มีอำนาจเท่านั้น ถึงจะปลอดภัย และเมื่อโอนแล้ว เราควรเก็บสลิปหลักฐานไว้ด้วยทุกครั้งนะครับ

4.เมื่อทำการจองและโอนเงินค่าทัวร์แล้ว ควรขอเอกสารยืนยันการจอง ที่ระบุรายละเอียด ชื่อ-นามสกุล ชื่อโปรแกรมที่ทำการจอง พร้อมตรวจสอบความถูกต้องของรายละเอียดเหล่านั้น

เห็นหรือไม่ครับว่า วิธีการในการตรวจสอบนั้น ไม่ได้ยากอย่างที่คิด อาจเป็นเพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปมาก ทำให้เราสามารถตรวจสอบได้ง่ายดายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เพียงแค่คลิ๊กนิ้วก็สามารถตรวจสอบได้แล้ว อย่างไรก็ดีเราไม่ควรมองข้างรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของโปรแกรมทัวร์ที่เราสนใจ สอบถามจากผู้ขายให้ชัดเจนก่อนการตัดสินใจ เพื่อที่ถึงเวลาเที่ยว เราจะได้เที่ยวได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องมานั่งเที่ยวไป กังวลใจไปนะครับ 

ก่อนอธิบายรายละเอียดและขั้นตอนการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว ขอเล่าถึงที่มาที่ไป ทำไมถึงต้องมีใบอนุญาตนำเที่ยว ประเทศไทยถือเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เนื่องจากประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม น่าสนใจ และดึงดูด นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์ได้แก่ วัดวา อาราม เมืองเก่า พิพิธภัณฑ์ และอุทยานต่างๆ รวมถึงมาตราการส่งเสริมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวจากรัฐบาล ในการกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5 ที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวมากที่สุด ซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวมีมูลค่ามหาศาล และเติบโตมากขึ้นทุกปี ดังนั้นจึงมีผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากมีความสนใจที่จะประกอบธุรกิจทางด้านนำเที่ยว ซึ่งการประกอบกิจการทางด้านนำเที่ยวนั้น กฎหมายกำหนดไว้ว่า ผู้ประกอบการต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากกรมการท่องเที่ยวเสียก่อน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความคุ้มครองจากการซื้อรายการนำเที่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ซึ่งถ้าผู้ประกอบกิจการธุรกิจนำเที่ยวใด ฝ่าฝืนประกอบธุรกิจโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ทั้งนี้การประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่มีใบอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และ/หรือ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท

การประกอบธุรกิจที่ถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 คือการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวหรือเดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่น โดยจัดให้มีบริการหรือการอำนวยความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ได้แก่ สถานที่พัก อาหาร มัคคุเทศก์ หรือบริการอย่างอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งทั้งนี้ ปัจจุบัน ยังไม่มีกฎกระทรวงเฉพาะสำหรับเรื่องนี้

การยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวในนามบุคคลธรรม หรือนิติบุคคลก็ได้

คุณสมบัติในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวกรณีบุคคลธรรมดา

  1. มีสัญชาติไทย และอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
  2. มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย 
  3. ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรืออยู่ในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์
  4. ต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ 
  5. ต้องไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์ และไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์ แต่ถ้าเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตต้องถูกเพิกถอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวกรณีนิติบุคคล

  1. ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการด้านการนำเที่ยว โดยถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดต้องมีสัญชาติไทย กรณีเป็นบริษัทจำกัด ทุนของบริษัทไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ต้องเป็นของบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย และกรรมการของบริษัทเกินกึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย
  2. มีสำนักงานอยู่ในราชอาณาจักรไทย
  3. กรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
    3.1 มีสัญชาติไทย และอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
    3.2 มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย
    3.3 ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรืออยู่ในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์
    3.4 ต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
    3.5 ต้องไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์ และไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์ แต่ถ้าเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตต้องถูกเพิกถอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

ในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องจัดให้มีการประกันภัยสำหรับอุบัติเหตุ ให้แก่นักท่องเที่ยว มัคคุเทศน์ และผู้นำเที่ยวในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว  โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาทต่อคน และกรณีบาดเจ็บไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาทต่อคน และต้องมีอายุกรมธรรม์ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับแต่วันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

ประเภทการวางเงินประกันธุรกิจนำเที่ยว

โดยกฎกระทรวง ออก ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดจำนวนเงินหลักประกันการประกอบธุรกิจนำเที่ยวไว้ดังนี้ผู้ประกอบการนำเที่ยว ต้องมีการจดทะเบียนและวางเงินประกันกับสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ โดยแยกเป็น 4 ประเภทดังนี้

  1. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ ต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกัน จำนวน 3,000 บาท โดยสามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวได้เฉพาะในจังหวัดที่จดทะเบียนและจังหวัดข้างเคียงที่ระบุไว้ แต่ไม่สามารถขายนำเที่ยวออนไลน์ได้
  2. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ (Domestic) ต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 15,000 บาท โดยสามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ทุกจังหวัด แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเที่ยวไปยังต่างประเทศ  โดยสามารถให้บริการได้ทั้งนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ แต่ไม่สามารถขายนำเที่ยวออนไลน์ได้
  3. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากต่างประเทศ (Inbound) ต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 30,000 บาท โดยการนำนักท่องเที่ยวที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวภายในประเทศไทย สามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ทุกจังหวัด โดยไม่ได้รับอนุญาตให้นำเที่ยวไปยังต่างประเทศ โดยสามารถให้บริการได้ทั้งนักท่องเที่ยวไทยและชาวต่างชาติ และสามารถขายนำเที่ยวออนไลน์ได้
  4. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ (Outbound) ต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 60,000 บาท โดยสามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ  ให้บริการได้ทั้งนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ สามารถขายนำเที่ยวออนไลน์ได้

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

  1. ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องแสดงใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่ระบุไว้ในใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
  2. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวมีอายุ 2 ปี โดยผู้ประกอบการต้องชำระค่าธรรมเนียมในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 2,000 บาท ทั้งแบบบุคคลธรรมดาและแบบบริษัท ค่าธรรมเนียมรักษาสถานภาพใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 1,000 บาท ทุกๆ 2 ปี
  3. ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องยื่นเอกสารหลักฐานการเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กลาง ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงรายการประกอบธุรกิจนำเที่ยวต่างๆ เช่นเปลี่ยนชื่อบุคคลหรือนิติบุคคล เปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงาน เปลี่ยนชื่อสถานประกอบการ เพิ่มหรือยกเลิกสำนักงานสาขา เปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานสาขา เปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทน

การเริ่มต้นประกอบธุรกิจนำเที่ยว

  1. จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หากท่านต้องการประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคลต้องเริ่มจากจดทะเบียนบริษัท หรือ บริษัทจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัทว่า ให้บริการการนำเที่ยว และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ไม่เช่นนั้น จะไม่สามารถนำธุรกิจไปจดทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจท่องเที่ยวได้
  2. จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันการประกอบธุรกิจมักมีการเปิดเว็บไซต์ หรือการทำสื่อบนอินเตอร์เน็ตต่าง ๆ เพื่อเป็นการโปรโมทโพสต์ธุรกิจของตน ดังนั้นหากผู้ประกอบการมีการจำหน่ายโปรแกรมท่องเที่ยวผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ต เช่น มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง จะต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติม
  3. การทำกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยวและไกด์นำเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจทำประกันอุบัติเหตุในระหว่างนำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวและไกด์นำเที่ยวของตน โดยสามารถติดต่อทำกรมธรรม์ดังกล่าวได้กับบริษัทรับทำประกันภัยได้โดยมีเงื่อนไขกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาทต่อคน และกรณีบาดเจ็บไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาทต่อคน และต้องมีอายุกรมธรรม์ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับแต่วันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
  4. การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว เมื่อดำเนินการจดทะเบียนบริษัทโดยระบุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้บริการนำเที่ยวแล้ว จดทะเบียนพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (กรณีมีเว็บไซต์) และทำกรรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยวและไกด์นำเที่ยวเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการต้องยื่นขอใขอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวกับกรมการท่องเที่ยว

ถ้าท่านสนใจในการประกอบธุรกิจนำเที่ยว และต้องการขอใบอนุญาตนำเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ติดต่อเรา กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง เรามีผู้ชำนาญในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ช่วยเหลือคุณในการขอใบอนุญาตให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฏหมาย

ใบอนุญาตนําเที่ยว มีกี่ประเภท กี่ชนิด

ข้อ ๑ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว แบ่งเป็นสี่ประเภท ดังต่อไปนี้ (๑) ประเภทเฉพาะพื้นที่ สําหรับการประกอบธุรกิจนําเที่ยวในจังหวัดหนึ่งจังหวัดใดและจังหวัด ที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดนั้น (๒) ประเภทในประเทศ สําหรับการประกอบธุรกิจนําเที่ยวภายในราชอาณาจักร (๓) ประเภทนําเที่ยวจากต่างประเทศ สําหรับการประกอบธุรกิจนํา ...

ธุรกิจนําเที่ยวมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

1. ความหมายธุรกิจนําเที่ยว ธุรกิจนําเที่ยว (Tour Business) หมายถึง การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัด หรือการให้บริการ หรือการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง สถานที่พัก อาหาร ทัศนาจรและ/หรือมัคคุเทศก์ให้แก่นักท่องเที่ยว โดยธุรกิจนำเที่ยว ประกอบด้วยธุรกิจ 2 ลักษณะ คือ 1) ธุรกิจผลิตรายการนำเที่ยว และ 2) ธุรกิจตัวแทน

บัตรไกด์มีกี่ประเภท

Facebook.
มัคคุเทศก์เฉพาะ (ต่างประเทศ - เฉพาะพื้นที่) บัตรสีชมพู.
มัคคุเทศก์เฉพาะ (ไทย - เฉพาะพื้นที่) บัตรสีฟ้า.
มัคคุเทศก์เฉพาะ (เดินป่า) บัตรสีเขียว.
มัคคุเทศก์เฉพาะ (ศิลปวัฒนธรรม) บัตรสีแดง.
มัคคุเทศก์เฉพาะ (ทางทะเล) บัตรสีส้ม.
มัคคุเทศก์เฉพาะ (ทะเลชายฝั่ง) บัตรสีเหลือง.

ธุรกิจนําเที่ยวมีความสําคัญอย่างไร

1.ประหยัดเวลาในการติดต่อที่พักแรม พาหนะในการเดินทางตลอดจนบัตรชมการแสดงต่าง ๆ โดยบริษัทนำเที่ยวช่วยอำนวยความสะดวกเป็นตัวแทนจัดการให้ 2.ได้รับบริการที่ดีเหมาะสมกับราคาเพราะบริษัทนำเที่ยวติดต่อคุ้นเคยกับผู้ประกอบการด้าน ต่าง ๆ ทำให้สามารถเลือกบริการที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าได้ดีกว่าที่ลูกค้าจะติดต่อด้วยตนเอง