กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง จัดเป็นกฎหมายประเภทใด

                ��������Ҵ����ԸվԨ�óҤ����� ��� �����·����Ҵ�������º�Ըա�ô��Թ��ÿ�ͧ��ͧ���Թ��� ��кѧ�Ѻ���㹡óշ���բ�;Ծҷ������Է�ԡѹ㹷ҧ�� �˵ط��Ѵ��������Ҵ����ԸվԨ�óҤ������繡�������Ҫ����оԨ�ó��������Ҥ��óշ����ʧ����������仵���Է�� ���������ö�ѧ�Ѻ�ͧ�� ��ͧ�Ңͤ�����������ͨҡ��ū����˹��§ҹ�ͧ�Ѱ

ประเทศไทยก่อนใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ระบบศาลเป็นระบบศาลเดี่ยว คือ ศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจหน้าที่พิพากษาอรรถคดีความทั้งหมด รวมถึงฝ่ายที่เรียกว่ารัฐ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีชื่อเรียกแตกต่างอย่างไรก็ตาม แต่หากใช้อำนาจรัฐอันเป็นอำนาจสูงสุดตามหลักการแบ่งแยกอำนาจของมงเตสกิเยอ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ที่เป็นอำนาจฝ่ายบริหารซึ่งมีผู้แทนคือรัฐบาลเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจ (อำนาจมหาชน) สูงสุดฝ่ายนี้จากประชาชน ให้ฝ่ายปกครองที่อยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาล โดยจะมีตัวแทนของรัฐบาลที่เรียกว่ารัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ นั้น เป็นผู้บริหารงานของรัฐ และเหตุนี้หน่วยงานของรัฐก็จะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้กับประชาชน เช่น ประชาชนที่ใช้บริการขนส่งมวลชน เป็นต้น

            ฉะนั้นหากประชาชนเหล่านี้ได้รับความเดือดร้อนก็ต้องนำอรรถคดีไปฟ้องต่อศาลยุติธรรม จึงอาจกล่าวได้ว่าศาลยุติธรรมรับพิจารณาพิพากษาทั้งคดีเอกชนและคดีมหาชน และขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษในกรณีเกิดการพิพาทระหว่างประชาชน (เอกชน) กับรัฐ (ผู้ใช้อำนาจมหาชน) ซึ่งอาจทำให้ไม่มีความเป็นธรรมต่อคู่กรณีทั้งสองฝ่ายในการที่ใช้กฎหมายเอกชนมาตัดสินคดีความ ฉะนั้นภายหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีผลบังคับใช้จึงทำให้เกิดศาลปกครองขึ้น ในปี พ.ศ.2542 และได้มีการออกกฎหมายมารองรับการพิจารณาตัดสินคดีความ นั่นก็คือ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 และก่อนหน้านั้นรัฐได้เตรียมความพร้อมที่จะจัดตั้งศาลปกครองขึ้นกล่าวคือ ได้ออกพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 อันแสดงให้เห็นว่าเป็นการเตรียมความพร้อมหรือความเข้าใจในการแบ่งแยกกฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชนอย่างชัดเจน โดยก่อตั้งศาลปกครองขึ้นเพื่อพิจารณาคดีปกครองซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน นับจากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จนกระทั่งถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน ก็ทำให้ประเทศไทยมีระบบศาลเป็นระบบศาลคู่อันเป็นจุดเริ่มต้นของกฎหมายมหาชน ดังนั้นเราควรที่จะรู้ว่าอะไรคือกฎหมายมหาชน

การที่จะรู้ได้ว่าอะไรคือกฎหมายมหาชนนั้น ต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์ และแนวคิดทฤษฎีที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

            1. พิจารณาจากบริบทของเนื้อความ คือ เนื้อความของกฎหมายนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่เสมอภาค เนื่องจากมีอำนาจมหาชนเข้ามาเป็นตัวแปร ถ้ามีอำนาจมหาชนย่อมสื่อถึงอำนาจที่เหนือกว่า ความไม่เสมอภาคนี้จึงเป็นหลักกฎหมายมหาชน ที่จะนำมาพิจารณาว่าอะไรคือกฎหมายมหาชน ที่ว่าเนื้อความมีความไม่เสมอภาคเพราะผู้ที่ใช้อำนาจมหาชนเป็นผู้ที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เมื่อทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมก็ต้องได้รับอำนาจมหาชนมาบังคับปัจเจกบุคคลที่ใช้อำนาจเอกชนเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน

            2. พิจารณาจากคู่กรณีหรือความสัมพันธ์ คือ ต้องมีคู่กรณีอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐ หรือผู้ที่ใช้อำนาจรัฐอันเป็นอำนาจมหาชนเสมอ

            3. พิจารณาจากสถานะลงโทษหรือการบังคับโทษทางกฎหมาย คือ ถ้าโทษทางกฎหมาย มีลักษณะที่การบังคับโทษต้องใช้อำนาจรัฐเข้ามาดำเนินการ เช่น กฎหมายอาญาที่มีโทษปรับและจำคุก เป็นต้น ก็ถือว่าเป็นกฎหมายมหาชน

             4. พิจารณาจากลำดับศักดิ์ของกฎหมาย คือ ถ้าเป็นหน่วยงานของรัฐออกกฎหมาย ไม่ว่าลำดับศักดิ์ระดับพระราชบัญญัติ หรือกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ บทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป ก็ถือว่าเป็นกฎหมายมหาชนเช่นกัน

            ดังนั้น กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐที่อาศัยอำนาจมหาชน ในการก่อนิติสัมพันธ์ขึ้น โดยที่เนื้อหาในการก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์นั้น ต้องมีลักษณะของการใช้อำนาจมหาชนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลที่ว่าด้วยผลประโยชน์ส่วนรวมต้องอยู่เหนือผลประโยชน์ส่วนตน และการลงโทษบังคับให้เกิดผลประโยชน์ส่วนรวมต้องมีกฎหมายบังคับให้อำนาจไว้ และเพื่อที่จะบริหารให้เกิดผลต่อส่วนรวมต้องให้อำนาจรัฐในการที่จะออกกฎหมายบังคับใช้ด้วย

กฎหมายมหาชน หมายถึง กฎหมายที่รัฐเข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นคู่กรณีด้วยกับเอกชน มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดรูปแบบการปกครองรัฐ และควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชนในฐานะที่รัฐจำต้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และผลประโยชน์ของสาธารณะ โดยทั่วไปกฎหมายมหาชนแบ่งได้เป็น 5 ประเภท คือ

1. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กำหนดรูปแบบและการปกครองของรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตย และการกำหนดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้านต่างๆ

2. กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่ขยายความให้ละเอียดจากรัฐธรรมนูญบัญญัติเกี่ยวกับองค์กรของรัฐ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการปฏิบัติการต่างๆ ตามกฎหมาย กำหนดสิทธิของประชาชนในการเกี่ยวพันกับรัฐ

3. กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติครอบคลุมเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของรัฐ ชุมชน และประชาชนโดยส่วนรวม วัตถุประสงค์ของกฎหมายเพื่อที่จะให้ความปลอดภัย สร้างความเป็นระเบียบของรัฐและรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชน

กฎหมายใดที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐกับเอกชนหรือประชาชน

กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายซึ่งกําหนดสถานะ และนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับ เอกชนหรือกับหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง ใน สถานะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐมีอํานาจ เหนือกว่าเอกชน (รัฐอยู่ในฐานะผู้ใช้อํานาจในการ ปกครอง)

กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายประเภทใด

กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงฐานะและอำนาจหน้าที่ของรัฐและพลเมืองของรัฐ หรือความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับรัฐ หรือรัฐกับพลเมือง ได้แก่ กฎหมายอาญา กฎหมาย ปกครอง กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น

กฎหมายพาณิชย์เป็นกฎหมายประเภทใด

หมายถึง กฎหมายเอกชนที่เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่และความสัมพันธ์ของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการค้าหรือธุรกิจ เช่น ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน ค้ำประกัน จำนอง จำนำ ตั๋วเงิน หุ้นส่วนและบริษัท เป็นต้น

ประมวลกฎหมายอาญาจัดอยู่ในกฎหมายประเภทใด

1.1 กฎหมายสารบัญญัติ(Substantive Law) หมายถึง กฎหมายที่กําหนดสิทธิหน้าที่ตลอดจนความรับผิดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ ว่าทางแพ่งหรือทางอาญาแก่บุคคล เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา