มนุษย์ส่วนใหญ่มีไอคิวช่วง 80-100

ความฉลาดที่ว่านี้ มันตอบบยาก เหมือนเรือที่มีเครื่องยนต์แรงขับพุ่งไปได้ด้วยความเร็วสูง ถ้าไม่มีหางเสือบังคับให้ไปในทางที่ถูก เรือต่างๆก็จะชนกันหรือชนเข้ากับหินโสโครก เหมือนกับคนฉลาด ถ้า ฉลาด+มีความดิดสร้างสรรค์+จิตใจดีมีศีลธรรม ก็จะพัฒนาสังคมไปได้แบบก้าวกระโดด ทุกคนร่วมใจกันทำสิ่งใหม่ๆดีๆ

แต่กลับกันเอาคววามฉลาดที่ว่าไปหาผลประโยชน์ใส่ตัว และเมื่อทุกคนฉลาดพอๆกัน การแย่งชิง การทำสงครามทั้งแบบแยบยล และการทำลายล้าง ย่อมจะส่งผลร้ายมากขึ้นไปกว่า คนที่มีปัญญาปกติ

บอกไม่ได้เลยครับ ว่าถ้าคนฉลาดมากๆขึ้นสัก 5 เท่า โลก หรือมนุษย์ชาติอาจสูญพันธ์เร็วขึ้น เราเอาเทคโนโลยีไปทำสงครามกันเอง เอาไปสูบทรัพยากรได้มากขึ้นเร็วขึ้น ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เก่งขึ้น ก็อาจเป็นไปตามเทรนดของโลกปัจจุบัน

แต่กลับกัยถ้าฉลาดแบบมีปัญญา (Wisdom) ไม่ใช่แค่ฉลาดทางสมอง (Intellect) ก็อาจจะมองเห็นถึงปัญญาในอนาคตแล้วระดมความคิดช่วยกันให้ตระหนักถึงภัยอันตราย และร่วมกันแก้ก่อนจะสายเกินไปก็ได้ครับ

คุ้นๆว่า อเมริกา ถอนตัวออกภาคีความร่วมมือการลดโลกร้อน เพราะเหตุผลด้านเศรษฐกิจ ทั้งๆที่ประเทศตัวเองงปล่อยสาร CFC มาทำลายโอโซนมากที่สุดในโลก นี้คือความฉลาดแบบไม่มีปัญญากำกับไงครับ มองสั้นๆ และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเองและพวกพ้องก่อน ไม่คำนึงถึงผลระยะยาว

คำว่า สติปัญญานักจิตวิทยาหลายท่านได้ให้คำจำกัดความดังจะยกตัวอย่างต่อไปนี้
            เดวิด เวคส์เลอร์ (
David Wechsler) ให้คำจำกัดความว่า สติปัญญา คือ ความสามารถในการเรียนรู้ ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ความสามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม ความสามารถในการกระทำของบุคคลที่มีเป้าหมาย และความสามารถที่จะคิดอย่างมีเหตุผล

            จี.ดี.สตอดดาร์ด (
G.D. Stoddard) ให้ความหมายว่า สติปัญญา คือ ความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีความยาก ความซับซ้อน ความเป็นนามธรรม เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าทางสังคม เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ รวมทั้งความสามารถที่จะทำกิจกรรมนั้นๆ โดยประหยัดเวลาและทุนทรัพย์
            เอท.เอท.ก็อดดาร์ด (H.H. Goddard) อธิบายว่า สติปัญญา คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
           
จากคำจำกัดความของคำว่าสติปัญญา สรุปได้ดังนี้
      สติปัญญา คือ ความสามารถในการเรียนรู้
      สติปัญญา คือ ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุมีผลและเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
      สติปัญญา คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม
                เมื่อกล่าวถึง สติปัญญา หรือ ความฉลาดทางปัญญา คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงคำว่า IQ ซึ่งเป็นความคิดดั้งเดิมตั้งแต่ประมาณทศวรรษ 1950  การวัด IQ เป็นการวัดความฉลาด จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ เชาว์ไวไหวพริบ และ ความสามารถใน การแก้ไขปัญหา ด้านตรรกะ ตัวเลข ความจำ ความสามารถทางภาษา ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ ซึ่งมีการ วิพากวิจารณ์ ถึงข้อจำกัดกันมาก  ปัจจุบันพบว่า ความฉลาดของคนไม่ได้แสดงออกมาเพียงแค่นั้น แต่เป็นความฉลาดที่หลากหลายที่เรียกว่า Multiple Intelligence หรือ พหุปัญญา ซึ่ง นักจิตวิทยา ชาวอเมริกา ชื่อ Howard Guardner กล่าวว่า คนเราทุกคน มี ความสามารถทางสมอง หลายด้านด้วยกัน โดยธรรมชาติ แล้วมนุษย์ทุกคนจะมี ความฉลาด 8
ด้าน ซึ่งประกอบด้วยด้านต่าง ๆ ดังนี้
           
1. ความฉลาดด้านภาษา (Linguistic intelligence) คือ ความสามารถด้านภาษา การพูดจาโน้มน้าวผู้อื่น ความสามารถด้านการเขียน ความสามารถด้านบทกวี มีความสามารถในการจำวันเดือนปีและคิดประดิษฐ์คำ
           2. ความฉลาดด้านการคำนวณ (Logical Mathematical Intelligence)
คือความสามารถในการใช้เหตุผล การคำนวณ ความสามารถด้านจำนวนตัวเลข ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ความสามารถในการวิเคราะห์และคิดอย่างเป็นระบบ
          
3. ความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence)
คือความสามารถในการสร้างภาพในสมองความสามารถในการสร้างจินตนาการสร้างภาพต่างๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนตัวอย่างเช่นสถาปนิกสร้างภาพตึก หรือเมืองขึ้นจากภาพจินตนาการ ความสามารถในการอ่านภาพแผนที่ แผนภูมิ ความสามารถในด้านจินตนาการ สร้างสรรค์
          
4. ความฉลาดด้านกายภาพหรือร่างกาย (Bodily kinesthetic Intelligence)
คือความสามารถในการใช้สรีระ ร่างกาย ความสามารถในการเล่นกีฬาที่ใช้สรีระร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ความสามารถในการเต้นรำ การแสดง และรวมถึงความสามารถใน ด้านหัตถกรรม และการใช้เครื่องมือต่าง ๆ การเคลื่อนไหว การสัมผัส และใช้ภาษาท่าทาง
         
5. ความฉลาดด้านดนตรี (Musical Intelligence)
คือความสามารถในด้านคนตรี ความสามารถด้านการร้องเพลง จับระดับเสียงที่มี ความแตกต่างได้ดี สามารถจำทำนอง จังหวะเพลง เสียงดนตรีได้ดี มีความสามารถในการเล่นเครื่องดนตรี
         
6. ความฉลาดด้านทักษะสังคม (Interpersonal Intelligence) คือ ความสามารถในด้านการเข้าสังคม การเป็นมิตรกับคนอื่นได้ง่าย ความสามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นความสามารถในการสื่อสารการจัดการและ ความเป็นผู้นำ ชอบพูดคุยกับผู้อื่นมีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถบริหารความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         7. ความฉลาดด้านบุคคล (Intrapersonal Intelligence) คือความสามารถของบุคคลในการเข้าใจตนเอง มีความมั่นใจในตนเอง เข้าใจถึงศักยภาพของตนเอง สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิตได้อย่างเหมาะสม ชอบการทำงานคนเดียว ใช้เวลาในการคิดใคร่ครวญ และทำตามความสนใจของตนเอง
         8. ความฉลาดด้านธรรมชาติ (Naturalist Intelligence)
คือความสามารถในการมองเห็นความงาม ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในธรรมชาติ รักธรรมชาติ

          จุดมุ่งหมายของการทดสอบสติปัญญา
           1.เพื่อเป็นการวินิจฉัยปัญหา เช่น นักเรียนผู้หนึ่งมีความสามารถทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก นักแนะแนวต้องตั้งสมมติฐานว่า อาจเป็นเพราะสาเหตุเนื่องจากระดับสติปัญญาต่ำ หรือองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ จึงได้มีการทดสอบสติปัญญานักเรียนผู้นั้น ผลจากการทดสอบปรากฏว่าเด็กผู้นั้นมีระดับสติปัญญาปานกลาง ฉะนั้น ในการวินิจฉัยปัญหา จะได้วินิจฉัยหาสาเหตุของปัญหาทางด้านอื่นที่ไม่ใช่ปัญหาทางระดับสติปัญญา
      
 2.
เพื่อทำนายความสำเร็จของบุคคล โดยเฉพาะความสำเร็จทางการเรียน
         มีผู้พัฒนาแบบทดสอบสติปัญญาขึ้นมากมาย แต่จะยกมาเฉพาะที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ แบบทดสอบของบิเนท์ แบบทดสอบของเวคส์เลอร์ และแบบทดสอบสติปัญญาวัฒนธรรมสากล
             แบบทดสอบสติปัญญาของเบเนท์
               บิเนต์ (Alfred Binet) เป็นชาวฝรั่งเศส ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา เขาไม่เห็นด้วยกับแบบทดสอบวัดการรับรู้ การจำแนกการรับรู้ทางประสาทสัมผัส หรือความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ บิเนต์ให้ความสนใจวัดเชาวน์ปัญญาด้วยสิ่งที่ยากกว่านั้น เช่น การให้เหตุผล ความเข้าใจ ความจำและจินตนาการ เป็นต้น
               บิเนต์ได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลฝรั่งเศส ให้เป็นกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ตัวเขาและไซมอน (Theophile Simon) ได้ สร้างแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาขึ้น เพื่อแยกเด็กปัญญาปกติออกจากเด็กปัญญาอ่อน และได้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อปี 1905 แบบทดสอบนี้เรียกว่า Binet – Simon Test แบบนี้มีอยู่ 30 ข้อ เรียงลำดับจากง่ายไป หายาก ตัวอย่างของแบบทดสอบได้แก่ การทดสอบการระลึกได้ถึงสิ่งของในภาพที่เคยได้ดูแล้ว การพูดตามคำบอก จำวัตถุต่าง ๆ ในรูปภาพ เป็นต้น ในปี ค . ศ . 1908 เขาได้ปรับปรุงแบบทดสอบดังกล่าวและจัดพิมพ์ขึ้นมาใหม่
บิเนต์ ได้เสนอแนะความคิดเรื่องอายุสมอง (Mental Age) โดยให้เด็กแต่ละคนทำแบบทดสอบที่เขาสร้างขึ้นมา เด็กที่ผ่านข้อทดสอบทุกข้อหรือยกเว้น 1 ข้อ สำหรับแบบทดสอบที่ใช้สำหรับอายุนั้น ๆ เด็กก็จะมีอายุสมองเท่ากับอายุนั้น เช่น เด็ก 6 ขวบ ทำข้อสอบที่สร้างสำหรับเด็ก 7 ขวบ ได้ทุกข้อหรือยกเว้นเพียง 1 ข้อ เขาก็จะมีอายุสมองเท่ากับ 7 ขวบ  ข้อที่พึงสังเกตก็คือ ในสมัยของบิเนต์ยังไม่มีคำว่า IQ (Intelligence Quotient) แต่ อย่างไรก็ตามการที่เขาได้กำหนดเรื่องอายุสมองขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นคุณอันใหญ่หลวงที่นักจิตวิทยารุ่นหลังได้นำเป็นแนวทางในการ สร้างแบบวัด IQ ขึ้นมา
             ในปี ค . ศ .1911 เขาได้พิมพ์แบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาขึ้นมาใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นแบบทดสอบที่เชื่อถือได้ และมีมาตรฐานมากกว่าแบบทดสอบที่เขาได้จัดทำในครั้งก่อน ในครั้งนี้มีจำนวนข้อทั้งหมด 54 ข้อแบบทดสอบของบิเนต์ได้รับการปรับปรุงอีกครั้งโดย เทอร์แมน และจัดพิมพ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1916 แบบทดสอบชุดนี้มีชื่อว่า “ The Stanford-Binet Test ” และปรับปรุงเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 1937 ,1960 และ 1972 และมีจำนวนข้อถึง 90
ข้อ
             ลักษณะของแบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญา ของ
Stanford – Binet
             แบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาของ Stanford – Binet ที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด เมื่อปี ค . ศ . 1960 นั้น ได้แบ่งปัญหาออกเป็นชุด ๆ ตามระดับอายุ โดยเริ่มจากชุดที่ใช้สำหรับเด็กอายุ 2 ปี ไปถึงวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย (Superior Adult) สำหรับเด็กอายุระหว่าง 2 – 5 ปี นั้น ได้จัดแบบทดสอบเป็นชุด ในช่วงแต่ละ 6 เดือน เช่น แบบทดสอบสำหรับเด็ก อายุ 2 ปี , 3 ปี , 4 ปี เรื่อยไปจนถึงเด็กอายุ 5 ปี สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 5 – 14 ปีนั้น ได้จัดเป็นชุดแบบทดสอบของแต่ละปี เช่น สำหรับเด็กอายุ 6 ปี , 7 ปี , 8 ปี ไปจนถึงอายุ 14 ปี แบบทดสอบสำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 14 ปี จะมี 4 ชุด ประกอบด้วย
                 -  ชุดแรก สำหรับผู้ใหญ่ตอนกลาง (
Adult Average : AA)

                 -  ชุดที่สอง สำหรับผู้ใหญ่ตอนปลายระดับ
1 (SA – 1)
                 -  ชุดที่สาม สำหรับผู้ใหญ่ตอนปลายระดับ
2 (SA – 2)
                 -  ชุดที่สี่ สำหรับผู้ใหญ่ตอนปลายระดับ
3 (SA – 3)

            แบบทดสอบในแต่ระดับอายุ ประกอบด้วยชุดปัญหาย่อย ๆ ระดับละ 6 อย่าง ยกเว้นในระดับผู้ใหญ่ ซึ่งในแต่ละชุดประกอบด้วย ข้อทดสอบย่อย 8 อย่าง ข้อปัญหาย่อยในแต่ละชุดนั้น มีความยากง่ายพอ ๆ กัน และในแต่ละชุดยังมีข้อปัญหาพิเศษ สำหรับใช้ทดสอบแทนเมื่อเกิดกรณีผิดพลาด ซึ่งเรียกว่า Alternate Testซึ่งแบบทดสอบสำหรับใช้ทดแทนนี้ ก็มีความยากง่ายเท่ากับข้อปัญหาย่อยอื่น ๆ ในชุดนั้น
             อุปกรณ์ที่ใช้เป็นชุดปัญหาของแบบทดสอบ
Stanford – Binet นี้ บรรจุในกระเป๋าซึ่งมีตุ๊กตา ของเล่นต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับเด็กเล็ก ๆ ชุดภาพต่าง ๆ แบบฟอร์มบันทึกผลการทดสอบและหนังสือคู่มือสำหรับแบบทดสอบ แบบทดสอบดังกล่าจะใช้วัดความสามารถทางด้านต่าง ๆ ตามลักษณะคำถามย่อยของแบบทดสอบ เช่น ในระดับอายุตอนต้น ๆ มีคำถามอยู่ 2 –3 ชนิด ที่ใช้วัดความสามารถในการทำงานด้วยมือ และการประสานระหว่างมือกับตา เช่น คำถามที่เป็น ฟอร์มบอร์ด (Form Board) ผู้รับการทดสอบจะต้องนำเอาชิ้นส่วนสามชิ้นใส่ลงไปในช่องที่เหมาะสมที่ทำไว้บนบอร์ด การก่อสร้างโดยใช้ไม้ลูกบาศก์สี่เหลี่ยม (Block Building) การร้อยลูกปัด นอกจากนี้ยังมีคำถามที่วัดความสามารถในการจำแนกสิ่งต่าง ๆ ที่มองเห็นได้ เช่น การเปรียบเทียบความยาวของแท่งไม้ การจับคู่รูปทรงเรขาคณิต ในระดับอายุตอนต้น ๆ นี้ มีคำถามหลายข้อที่เกี่ยวกับการใช้ความสามารถในการสังเกต และบอกรายละเอียดสิ่งของต่าง ๆ เช่น เด็กระดับอายุ 2 ปี คำถามจะให้ชี้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จากรูปตุ๊กตาเด็ก และมีของเล่นอื่น ๆ ที่ให้เด็กบอกว่า คืออะไร เช่น เตารีด เก้าอี้ บันได เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้ผู้ถูกทดสอบ ต่อรูปภาพให้สมบูรณ์ หรือชี้ส่วนที่ขาดหายไปของรูปภาพ หรือบอกความเหมือนของสิ่งของสองสิ่ง ลักษณะของคำถามเช่นนี้จะใช้จนถึงระดับอายุสูง ๆ แต่เพิ่มความยากขึ้นตามลำดับ สเติร์น (William Stern) นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ก็ได้เสนอแนะในปี ค . ศ . 1912
ว่า ความเหนือกว่าหรือด้อยกว่าด้านเชาวน์ปัญญาของเด็กจะคำนวณได้จากการหาอายุ สมองด้วยอายุจริงของเขา
           สเติร์นเรียกผลที่ได้ ว่า
“Intelligence Quotient” เรียกชื่อย่อว่า IQ ในภาษาไทยเรียกว่า เกณฑ์ภาคเชาวน์1 ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่แสดงความสามารถทางสมอง กล่าวโดยสรุปสูตรการคำนวณ IQ มีดังนี้

                                                    IQ    = อายุสมองคูน 100 หารด้วยอายุจริง    ตัวอย่าง: เด็กคนหนึ่งมีอายุ 18 ปี ทำแบบทดสอบได้เท่ากับอายุสมอง 16 ปี
                   จงหาค่าของ
IQ ของเด็กคนนี้
         IQ    = อายุสมองคูณ 100 หารด้วยอายุจริง

         IQ =  16 คูณ 100 หาร 18   =   88.9
     ดังนั้น IQ ของเด็กคนนี้จะมีค่าเท่ากับ 88.9
1 เกณฑ์ภาคเชาว์ คือ การจัดระดับเชาว์ปัญญาโดยการเปรียบเทียบให้ทราบว่า บุคคลหนึ่งมีความสามารถอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยสูงหรือต่ำกว่าระดับอายุ เมื่อเทียบกับบุคคลที่อยู่ในระดับอายุเดียวกัน

ระดับไอคิว

ระดับสติปัญญา

การศึกษา การประกอบอาชีพและการปรับตัว

130 ขึ้นไป

ฉลาดมาก

เป็นไอคิวเฉลี่ยของผู้สามารถเรียน ในระดับปริญญาเอก

120-129

ฉลาด

เป็นไอคิวเฉลี่ยของผู้สามารถเรียน ในระดับปริญญาโท

110-119

สูงกว่าปกติหรือค่อนข้างฉลาด

เป็นไอคิวเฉลี่ยของผู้สามารถเรียน ในระดับปริญญาตรี หรือมีโอกาส จบมหาวิทยาลัยได้

90-109

ปกติหรือปานกลาง

เป็นไอคิวเฉลี่ยของประชากรปกติ ส่วนใหญ่มีความสามารถปานกลางเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายได้

80-89

ต่ำกว่าปกติหรือปัญญาทึบ

เชาวน์ปัญญาต่ำที่สามารถรับการ ศึกษาพิเศษสำหรับเด็กเรียนช้าๆ

70-79

ระดับเชาวน์ปัญญาก้ำกึ่ง ระหว่างปัญญาทึบกับปัญญาอ่อน

และประกอบอาชีพประเภทช่างฝีมือได้

50-69

ปัญญาอ่อนเล็กน้อย

มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 7-10 ปี อาจพอรับรู้การศึกษาได้ ในระดับประถมต้น ป .1- ป .4 โดยเรียนอยู่ในชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียน การศึกษาพิเศษเฉพาะ ประกอบอาชีพที่ไม่ต้องความรับผิดชอบสูง หรืองาน ประเภทช่างฝีมือง่ายๆ

35-49

ปัญญาอ่อนปานกลาง

มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็ก อายุ 4-7 อาจอ่านเขียนได้เล็กน้อย แต่เรียนรู้ได้ช้า ไม่สามารถเรียน ในโรงเรียนปกติได้ ควรเรียน ในโรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะ ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสมอาจพอดูแลตนเองในชีวิต ประจำวันได้ และทำงานง่ายๆภายใต้การควบคุมดูแล

20-34

ปัญญาอ่อนมาก

มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 3 ปี เรียนหนังสือไม่ได้ มีความบกพร่องเห็นได้ชัดในพฤติกรรม การปรับตัวและอาจมีพัฒนาการบกพร่องในด้านภาษาการรับรู้ การดำรงชีวิต ต้องอยู่ภายใต้การดูแล เช่นเดียวกับเด็กเล็ก

ต่ำกว่า 20 ลงไป

ปัญญาอ่อน มากที่สุด

มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 1-2 ปี ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ต้องมีผู้ให้การดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด

            แบบทดสอบสติปัญญา ของเวคส์เลอร์

            เวคส์เลอร์ (David Wechsler) ได้สร้างแบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญา สำหรับผู้ใหญ่ขึ้นในปี ค.ศ.1939 ชื่อว่า Wechsler – Bellevue Intelligence Scale ซึ่งประกอบด้วยมาตราวัด 2 มาตรา ได้แก่
            
2.1 มาตราวัดวัดทางภาษา (Verbal Scale)
ประกอบด้วย ข้อสอบย่อย ๆ ที่ผู้ตอบจะต้องมีความสามารถทางภาษา เช่น วัดในด้านความรู้รอบตัว ความเข้าใจ คณิตศาสตร์ คำศัพท์ และอื่น ๆ แบ่งเป็น
              -  แบบทดสอบความรู้ทั่วไป
              -  แบบทดสอบความเข้าใจ
              -  แบบทดสอบเหตุผลทางคณิตศาสตร์
              -  แบบทดสอบความสามารถในการสังเกตความคล้ายคลึง
              -  แบบทดสอบช่วงความจำโดยวิธีทวนตัวเลข
              -  แบบทดสอบคำศัพท์
            
2.2 มาตราวัดทางการกระทำ (Performance Scale) ประกอบด้วยข้อสอบย่อยๆ ให้ผู้ตอบได้กระทำ โดยจัดเรียงเหตุการณ์จัดเรียงรูปบล็อก ประกอบรูปภาพที่ตัดออกจากัน ทั้ง 2
มาตรานี้จะใช้ใช้วัดผู้ทดสอบเพื่อให้คะแนนประกอบกัน แบ่งเป็น
               - แบบทดสอบความเร็วและความถูกต้องในการใช้สัญลักษณ์ตัวเลข
               -  แบบทดสอบการเติมรูปให้สมบูรณ์
               -  แบบทดสอบการจัดบล็อกตามแบบ
               -  แบบทดสอบการเรียงลำดับภาพ
               -  แบบทดสอบการต่อรูปให้เข้าที่
            ในปี ค.ศ.
1955 เขาได้ปรับปรุงแบบทดสอบขึ้นใหม่เรียกว่า Wechsler Adult Intelligence Scale-Revised (WAIS-R) และได้สร้างแบบทดสอบสำหรับวัดเชาวน์ปัญญาของเด็กขึ้นเรียกว่า Wechsler Intelligence Scale for Children-III (WISC-III) ซึ่งใช้วัดเด็กที่มีอายุระหว่าง 5 ถึง 15 ปี  มาตราวัดของเวคสเลอร์ มีความเหมาะสมที่จะวัด IQ ของผู้ใหญ่และบุคคลไม่มีการศึกษา หรือขาดความสามารถทางภาษา เพราะมีทั้ง 2 มาตราวัด คือ มาตราทางภาษาและมาตราทางกรกระทำ ซึ่งแบบทดสอบของสแตนฟอร์ด-บิเนต์ไม่ได้วัดทางด้านการกระทำ

ทำให้แบบวัดของเวคสเลอร์เป็นที่นิยมกันมากในอเมริกาและได้มีผู้พยายามดัดแปลงให้เหมาะสมกับการวัดเชาวน์ปัญญาของคนไทย และถือได้ว่าเป็นแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาแบบหนึ่งที่นำมาใช้กับคนไทยอย่างแพร่หลาย  แบบทดสอบเป็นรายบุคคล ที่นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด แบบทดสอบของเวคสเลอร์ (Wechsler) มีแบบทดสอบ 3 ชุด คือ
     
• Wechsler Adult Intelligence Scale (WAIS) สำหรับวัยผู้ใหญ่ อายุ 16-75
ปี
     
• Wechsler Intelligence Scale for Children (WISC) ใช้สำหรับเด็กอายุระหว่าง 5-15 ปี 11
เดือน
     
• Wechsler Preschool and Primary Scale of Intelligence (WPPSI) ทดสอบเด็กอายุ 4 ปี - 6 ปี 6 เดือน

           แบบทดสอบแบ่งเป็น 2 ชุด คือ แบบทดสอบทางด้านภาษาและแบบทดสอบทางด้านปฏิบัติ คือ

แบบทดสอบทางด้านภาษา ( Verbal Test )

แบบทดสอบทางด้านปฏิบัติ ( Performance Test )

•  ความรู้ทั่วไป จำนวน 29 ข้อ
•  เหตุผลทางคณิตศาสตร์ จำนวน 14 ข้อ
•  ความเข้าใจ จำนวน 14 ข้อ
•  ความสามารถในการจำตัวเลขเรียงลำดับ และย้อนกลับ
•  ความเหมือน มี 13 ข้อ
•  คำศัพท์

•  การเรียงภาพตามเหตุการณ์
•  การต่อแท่งไม้ลูกบาศก์ให้เป็นรูปต่าง ๆ
•  การต่อรูปให้สมบูรณ์
•  การต่อภาพชิ้นส่วนให้เป็นภาพสมบูรณ์
•  การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาลักษณ์และตัวเลข

           แบบทดสอบสติปัญญา วัฒนธรรมสากล
            โปรเกรสซีพ เมตริซีส
  (Progressive Matrices Tests)
    นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ ชื่อ
J.C. Raven ได้สร้างแบบทดสอบที่ไม่ใช้ ค.ศ. 1956 มีชื่อเรียกว่า แบบทดสอบโปรเกรสซีพ เมตริซีส   (Progressive Matrices Tests) สร้างขึ้นเพื่อวัดความสามารถของบุคคลในการหารูปความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรง เรขาคณิต ปัญหาของแบบทดสอบอยู่ในรูปของเมตริกเป็นลวดลายแบบต่างๆ ซึ่งแต่ละข้อมีส่วนที่ขาดหายไป ผู้รับการทดสอบต้องเลือกชิ้นส่วนจากตัวเลือก 6-8 แบบเพียง 1 ชิ้น เพื่อเติมลงไปในส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ เรียงลำดับจากง่ายไปยาก ไม่จำกัดเวลา แบ่งออกเป็น 3 ฉบับคือ

           1. Standard PM ใช้กับผู้ใหญ่
           2. Coloured PM ใช้กับเด็ก
           3. Advance PM ใช้สำหรับผู้ใหญ่ที่ฉลาด

           สิ่งที่มีอิทธิพลต่อเชาวน์ปัญญา
          
เชาวน์ปัญญาเป็นสิ่งที่บุคคลแต่ละคนมีติดตัวมา แต่กำเนิด โดยพันธุกรรมเป็นตัววางพื้นฐานระดับความ สามารถทางเชาวน์ปัญญา และมีผลในการกำหนดระดับเชาวน์ปัญญาของบุคคลและพัฒนาสมบูรณ์ยิ่งขึ้นตามระดับ อายุและสิ่งแวดล้อม   เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนจะมีลักษณะที่สูงต่ำไม่เท่ากันตามความสมบูรณ์ของสมอง และระบบประสาทและสิ่งแวดล้อมที่ช่วยกระตุ้น และส่งเสริมให้บุคคลได้มีโอกาสเรียนรู้ เช่น
           
1. พ่อแม่ที่เอาใจใส่พูดคุยกับลูก ลูกจะเรียนได้ดีและช่วยให้มีเชาวน์ปัญญาดี
           
2. การให้ความรักและความอบอุ่น การยอมรับ การเลี้ยงดูอย่างมีเหตุผล ที่เหมาะสม มีผลต่อสุขภาพจิตดีและมีอิทธิพลต่อเชาวน์ปัญญา เมื่อเด็กได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นมูลฐานดังกล่าวแล้วเขาก็พร้อมที่ จะพัฒนาความสามารถของเขาอย่างเต็มที่
           
3. ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูลูกแบบทนุถนอมปกป้องเหมือนไข่ในหิน จะทำให้พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กช้าลง
           
4. การมีหนังสือดีๆ ให้อ่านตามความเหมาะสมของแต่ละวัยจะช่วยในการพัฒนาเชาวน์ปัญญา
           
5.
การท่องเที่ยว ชมสถานที่น่าสนใจ จะเป็นสิ่งกระตุ้นพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา ในด้านต่างๆ ช่วยให้เด็กรู้จักคิด สังเกต และแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
           
6. อายุ ระดับอายุที่พัฒนาการของเชาวน์ปัญญาถึงขั้นสูงสุดคือระหว่างอายุ 15-25 ปี เชาวน์ปัญญาเมื่อพัฒนาถึงขั้นสูงสุดจะค่อยๆเสื่อมลงตามวัย แต่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป แทบสังเกตไม่ได้ การเสื่อมของเชาวน์ปัญญา ในแต่ละด้านอาจเสื่อมเร็วและช้าไม่เท่ากัน เวคสเลอร์ (Wechsler, 1958 อ้างถึงใน ชัยพร วิชชาวุธ , 2525) พบว่า เชาวน์ปัญญาของคนเราอยู่ในระดับสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 20-30 ปี หลังจากนั้นจะค่อย ๆ เสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ ข้อมูลของเวคสเลอร์เป็นข้อมูลที่ได้จากผู้รับการทดสอบที่มีอายุต่าง ๆ กัน แต่ทดสอบในเวลาเดียวกัน ผู้ที่มีอายุมากกว่าคือผู้ที่เกิดก่อน และผู้ที่มีอายุน้อยกว่าคือผู้ที่เกิดทีหลัง การเปรียบเทียบของเวคสเลอร์ จึงเป็นกเปรียบเทียบภาคตัดขวางที่มีอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน เข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้ที่เกิดก่อนย่อมเสียเปรียบในโอกาสที่จะเรียนรู้เนื่องจากพัฒนาการของ สังคมยังไม่เอื้ออำนวย เช่นเกิดในสมัยที่ยังไม่มีวิทยุหรือทีวี ดังนั้นจึงทำแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาสู้ผู้ที่เกิดทีหลังไม่ได้
           
7. เพศ เพศชายมักมีความสามารถทางด้านการคำนวณ ถนัดทางกลไก การกระทำที่ใช้ไหวพริบ และความรวดเร็วดีกว่าหญิง ส่วนเพศหญิงมักมีความคล่องแคล่วในการใช้มือ งานที่ต้องใช้ฝีมือ ลายละเอียด การใช้ภาษาความสามารถทางภาษา ความจำ
           
8. เชื้อชาติ เด็กลูกผสมมักจะมีเชาวน์ปัญญาสูงกว่าเด็กที่ไม่ใช่ลูกผสมความผิดปกติ ทางสมอง อาจมีผลต่อการเสื่อมลงของเชาวน์ปัญญา ก่อนเวลาอันสมควร เช่นเนื้องอกในสมอง ลมชัก สมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง
            
9. คะแนนทดสอบ I.Q จะมีการแน่นอนเมื่อเด็กโตขึ้น คือ อายุประมาณ 7 ขวบ ระดับ I.Q จะเริ่มคงที่และอายุ 12 ปี ระดับของ I.Q จะคงที่ เมื่อเด็กเข้าสู่ระดับประถมและมัธยม คะแนนการวัด I.Q จะมีความเชื่อถือได้มากขึ้น
          
10. ไอคิววัดเมื่ออายุต่ำกว่า 2 ปี กับไอคิววัดเมื่ออายุ 17-18 ปี   สหสัมพันธ์กันต่ำมาก และตั้งแต่อายุประมาณ 2 ปี เป็นต้นไป ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ค่อย ๆ สูงมากขึ้นเรื่อย ๆ และถึงขั้นสูงมากเมื่ออายุ 5-7 ปี เด็กในช่วงอายุนี้เริ่มย่างเข้าสู่ระยะปฏิบัติการรูปธรรมตามทฤษฎีของเพียเจ ต์ เชาวน์ปัญญาในระยะปฏิบัติการรูปธรรมมีความสัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาในระยะ ปฏิบัติการนามธรรมอยู่ในขั้นสูงมาก
           
11. เชอี (Schaie and Strother, 1968 อ้างถึงใน ชัยพร วิชชาวุธ , 2525) พบว่า เชาวน์ปัญญาด้านต่าง ๆ เสื่อมถอยตั้งแต่อายุประมาณ 20-30 ปี แต่ข้อมูลแบบติดตามระยะยาวหาได้พบการเสื่อมถอยไม่ แต่กลับพบว่าความสามารถทางตัวเลขและภาษาค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นจนถึงอายุ 60 ปี แล้วจึงค่อย ๆ เสื่อมถอย ความสามารถทางเหตุผลค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นจนถึงอายุประมาณ 40-45 ปี แล้วจึงค่อย ๆ เสื่อมถอย ส่วนความสามารถที่เกี่ยวข้องกับความไวและความคล่องแคล่ว จะเริ่มเสื่อมถอยตั้งแต่อายุประมาณ 20-30 ปี จึงเป็นการยืนยันว่าการเสื่อมถอยของเชาวน์ปัญญาเกิดจากความแตกต่างของสิ่งแวดล้อมในสมัยต่างกัน และมิใช่การเสื่อมถอยที่แท้จริง การเสื่อมถอยที่แท้จริงเกิดในวัยแก่ และการเสื่อมถอยนี้เกิดจากสภาพของร่างกายที่ทรุดโทรม โดยเฉพาะใน 2-3 ปีสุดท้ายของชีวิต ( ชัยพร วิชชาวุธ , 2525)