เป็น โรค ซึม เศร้า บอก ที่ ทํางาน

   โรคซึมเศร้าไม่ใช่แค่อาการอ่อนแอทางจิตใจ แต่คืออาการป่วยทางร่างกายอย่างหนึ่ง ดังนั้น คนที่ไม่ได้ป่วยย่อมไม่สามารถรู้สึกถึงสิ่งที่ผู้ป่วยรู้สึกได้ร้อยเปอร์เซนต์ ยิ่งถ้าคนใกล้ตัวเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เราจะดูแลพวกเขาอย่างไรให้เข้าใจเขาได้มากที่สุดนี่ คือ คำแนะนำเบื้องต้นว่าอะไรควรทำ และไม่ควรทำ

เป็น โรค ซึม เศร้า บอก ที่ ทํางาน

สิ่งที่ควรทำ
• ชวนผู้ป่วยให้ลุกมาทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นเล่นกีฬาเบาๆ เล่นเกม ทำงานศิลปะ นอกจากจะลดโอกาสที่จะคิดฟุ้งซ่าน และคิดหดหู่แล้ว การเคลื่อนไหวร่างกายยังช่วยหลั่งสารความสุขอย่างเอ็นโดรฟินออกมา
• ฟังด้วยความตั้งใจ และท่าทีที่สบายๆ ไม่คะยั้นคะยอ และไม่ตัดสินใจแทน นั่นเพราะผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักมีความคิดว่าตัวเองเป็นภาระให้คนอื่นอยู่แล้ว ดังนั้น การจะให้ผู้ป่วยพูดคุยระบายความรู้สึก ต้องให้พวกเขารู้สึกก่อนว่ามีคนอยากรับฟัง และไม่กดดัน หรือตัดสินเขา สร้างความไว้วางใจ และบรรยากาศสบายๆ ให้ผู้ป่วยได้เล่าสิ่งที่อยากพูดออกมาเต็มที่ เพราะในบางครั้งเขาอาจมีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง หรืออยากตาย หากว่าคนรอบข้างได้มีโอกาสรับฟัง จะได้สามารถป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที

เป็น โรค ซึม เศร้า บอก ที่ ทํางาน

สิ่งที่ไม่ควรทำ
• อย่าบอกปัด ผู้ป่วยให้ไปเข้าวัดฟังธรรมหรือทำจิตใจให้สงบ โดยไม่อยู่เคียงข้างพวกเขา เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกทันทีว่าไม่มีที่พึ่งพา หรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นที่น่ารำคาญ และยิ่งตีตัวออกห่าง ส่งผลให้เกิดความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ได้
• อย่าทำเป็นไม่ได้ยิน หรือไม่อยากพูดถึงเมื่อผู้ป่วยพูดถึงการอยากตาย หลายๆ คนคิดว่าการเอ่ยหรือพูดคุยถึงเรื่องการฆ่าตัวตายกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจเป็นแนวโน้มให้ผู้ป่วยอยากทำ หรือชี้โพรงให้กระรอก แต่ในความเป็นจริงแล้วหากผู้ป่วยเอ่ยถึงการอยากตาย แล้วคนใกล้ตัวกลับมีท่าทีต่อต้าน หรือทำเป็นไม่สนใจเพื่อให้ผู้ป่วยเลิกคิด หรือมีคำพูดทำนองว่า “อย่าคิดมาก” “อย่าคิดอะไรบ้าๆ” ยิ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่ลงอย่างมากว่าเราไม่รับฟังสิ่งที่เขารู้สึกคับข้องใจ ไม่มีวันจะเข้าใจเขาจริงๆ
• อย่ากดดันและเร่งรัด ถ้าผู้ป่วยยังอาการไม่ดีขึ้น ห้ามพูดหรือทำให้พวกเขารู้สึกว่า “เมื่อไหร่จะหาย” หรือ “หายได้แล้ว” เพราะผู้ป่วยจะยิ่งรู้สึกกดดัน และผิดหวัง หากอาการเพิ่งเริ่มดีขึ้น ความเครียดเหล่านี้จะยิ่งส่งผลให้จิตใจแย่ลง และอาจเป็นหนักกว่าเดิม

คำแนะนำ : ควรเข้าหายินดีช่วยเหลือ พร้อมรับฟังอย่างตั้งใจ เข้าใจ 
 ไปเป็นเพื่อนเมื่อพบจิตแพทย์เสมอ หากผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าบอกไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรืออยากทำร้ายตนเอง อย่าปล่อยให้อยู่คนเดียว

เป็น โรค ซึม เศร้า บอก ที่ ทํางาน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร.1772 ต่อ Let's talk

(เบอร์ตรง Let's Talk) 0-2271-7244

เป็น โรค ซึม เศร้า บอก ที่ ทํางาน

9 วิธีสังเกต เพื่อนร่วมงาน เป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่านะ ? 

โรคซึมเศร้า เป็นหนึ่งในอาการทางจิตเวชที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมในการใช้ชีวิต รวมไปถึงสุขภาพร่างกาย ซึ่งเป็นอาการป่วยที่ต้องได้รับการเฝ้าระวัง และดูแลกันอย่างต่อเนื่อง

อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคนี้สามารถเกิดได้จากสภาวะเครียดสะสม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้มากในวัยทำงาน โดยปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากว่า 1.5 ล้านคน หนึ่งในนั้นอาจเป็นเพื่อนร่วมงานของคุณก็เป็นได้

มาสังเกตอาการของโรคซึมเศร้าของเพื่อนร่วมงาน เพื่อเตรียมรับมือ และเข้าช่วยเหลือเพื่อให้พวกเขาสามารถรักษาตัวจนหายดี และกลับมาเป็นปกติได้อีกครั้ง

เป็น โรค ซึม เศร้า บอก ที่ ทํางาน

โรคซึมเศร้าคืออะไร? ทำไมถึงพบได้มากในวัยทำงาน?

โรคซึมเศร้า อาการป่วยร้ายแรงที่ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ต่อจิตใจ แต่รวมไปถึงชีวิตความเป็นอยู่โดยรวมเกือบทั้งหมด โดยสาเหตุของโรคนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จาก 3 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่

  • กรรมพันธุ์: หากคนในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคซึมเศร้าหรืออาการทางจิต รุ่นลูกรุ่นหลานก็จะสามารถเป็นโรคนี้ได้ง่ายกว่าคนปกติถึง 20% เลยทีเดียว
  • การหลั่งของเคมีในสมอง: กรณีนี้เกิดจากสภาพร่างกายนั้นหลั่งสารที่มีชื่อว่า เซโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephirne) ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดความเครียดออกมามากผิดปกติ ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าในที่สุด
  • สภาพแวดล้อม: สภาพแวดล้อมนั้นนับเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบเป็นอย่างมาก หากอยู่ในที่ที่มีความกดดัน หรือความเครียดสูง ก็มีโอกาสที่จะทำให้คนๆ นั้นเกิดความเครียดสะสมจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้อย่างง่ายดาย อย่างเช่นที่ทำงาน เป็นต้น

ทีนี้เรามาดูกันว่าทำไมโรคซึมเศร้านั้นจึงสามารถพบได้บ่อยในวัยทำงาน โดยสามารถสังเกตได้จากเหตุการณ์เหล่านี้ ซึ่งสามารถพบเห็นได้บ่อยครั้งในที่ทำงาน ซึ่งสามารถทำให้เพื่อนร่วมงาน เป็นโรคซึมเศร้าได้

  • ปริมาณงานที่มากจนเกินไป รายได้ไม่สัมพันธ์กับจำนวนงานที่ได้รับ
  • ปริมาณงานที่มากจนเกินไป รายได้ไม่สัมพันธ์กับจำนวนงานที่ได้รับ
  • มีเวลาให้กับตัวเองน้อยลง พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ได้ไปทำอะไรที่ตัวเองชอบ
  • มีแนวคิดที่แตกต่างจากบริษัท แต่ยังอดทนทำงานอยู่ที่เดิมต่อไป
  • ฝืนทำงานที่มีอยู่แม้ว่าจะไม่ใช่สายงานที่ตัวเองชื่นชอบ
  • ต้องทำงานที่ตัวเองไม่ถนัด แต่กลับถูกต่อว่าอยู่บ่อยครั้ง และไม่ได้รับการแนะนำที่ถูกต้อง
  • เข้ากับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ไม่ได้ มีการกลั่นแกล้งกันภายในองค์กร หรือจากลูกค้า
  • สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี เช่น อุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม หัวหน้างาน หรือฝ่ายจัดการละเลยสิ่งต่างๆ ภายในที่ทำงานเกินกว่าที่ควร

เป็น โรค ซึม เศร้า บอก ที่ ทํางาน

9 วิธีสังเกตอาการเมื่อเพื่อนร่วมงาน เป็นโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้านั้นสามารถสังเกตได้จาก 9 อาการด้วยกัน หากเพื่อนร่วมงานของคุณมีพฤติกรรมแบบเดียวกับอาการเหล่านี้ตั้งแต่ 4 - 5 ข้อขึ้นไป ก็สามารถสันนิษฐานได้ว่าเพื่อนร่วมงานของคุณนั้นเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้

โดยอาการทั้ง 9 นั้น มีด้วยกันดังนี้

  1. ประสาทสัมผัสเริ่มช้า ทำสิ่งต่างๆ ได้เชื่องช้าลงอย่างเห็นได้ชัด
  2. มีปัญหาในด้านการนอน ต้องใช้เวลานอนนานกว่าปกติ หรือนอนไม่หลับเลย อาจสังเกตได้จากอาการง่วงซึมระหว่างทำงาน หรือขอบตาที่ดำคล้ำมากขึ้น
  3. โทษตัวเองบ่อย รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า
  4. สมาธิสั้น มีอาการเหม่อลอย และตัดสินใจอะไรได้ช้าลง
  5. ร่างกายอ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ
  6. อารมณ์แปรปรวนง่าย อาจมีอาการหงุดหงิด เศร้า หรือโมโหตลอดทั้งวัน
  7. เบื่อง่าย รู้สึกไม่เอ็นจอยกับสิ่งที่ชอบเหมือนเคย
  8. รู้สึกเบื่ออาหาร หรืออยากอาหารมากเป็นพิเศษ สังเกตได้จากน้ำหนักตัวที่ลดลง หรือเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
  9. ไม่อยากมีชีวิตอยู่ และคิดเรื่องความตายอยู่บ่อยครั้ง

เป็น โรค ซึม เศร้า บอก ที่ ทํางาน

รับมืออย่างไรเมื่อเพื่อนร่วมงาน เป็นโรคซึมเศร้า?

หลายๆ คนคิดว่าวิธีการรับมือกับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าคือ การคอยพูดให้กำลังใจ หรือมอบมุมมองในแง่บวกให้ แล้วพวกเขาจะสามารถหายจากอาการนี้ได้เอง ความจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้น!

วิธีการรับมือกับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าที่ดีที่สุดนั้น ผู้ดูแลจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อารมณ์ที่แปรปรวนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้น เกิดมาจากการทำงานที่ผิดปกติของเคมีในสมอง ซึ่งต้องเข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์เฉพาะทาง

สรุป เพื่อนร่วมงาน เป็นโรคซึมเศร้า

ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะเป็นการประคับประคองไม่ให้อาการของเขาแย่ลง และให้แพทย์ได้ทำหน้าที่รักษาได้อย่างเต็มที่ รับรองว่าเพื่อนร่วมงานของคุณจะต้องมีอาการที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

https://www.cigna.co.th/health-wellness/tip/depressive-disorder-article-2019

https://www.bumrungrad.com/th/conditions/depression#:~:text=สาเหตุของโรคซึมเศร้า,คนใกล้ชิดรอบข้าง

https://www.pobpad.com/ภาวะซึมเศร้า-ปัญหาสุขภา