การรักษาดุลยภาพของร่างกาย ม.4 สรุป

           การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ ประกอบด้วย

1. การรักษาดุลยภพของน้ำและแร่ธาตุ อาศัยการทำงานของไตที่มีหน่วยไตทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดและดูดกลับสารที่มีประโยชน์ ซึ่งการควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่ต่าง ๆ ในเลือด จะถูกควบคุมด้วยสมองส่วนไฮโพทาลามัสที่มีผลกระตุ้นหรือยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง

2. การรักษาดุลยภาพของดกรด-เบสในร่างกาย อาศัยการทำงานของปอด โดยการกำจัด CO2 จากการหายใจออก เพื่อลดปริมาณ H+ ในเลือด รวมทั้งการขับ/ดูดกลับสารและไอออนต่าง ๆ ที่หน่วยไต ซึ่งมีผลต่อความเป็นกรด-เบสของเลือด

3.  การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกาย อาศัยการทำงานของระบบหมุนเวียนเลือด ผิวหนัง และกล้ามเนื้อโครงร่าง ซึ่งมีศูนย์ควบคุมอยู่ที่สมองส่วนไฮโพทาลามัสที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปกระตุ้นหรือยับยั้งกระบวนการเมแทบอลิซึมต่าง ๆ

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แบ่งออกเป็น 2 ระบบ ได้แก่

1. ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะมีความสามารถในการป้องกัน ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมได้เพียงระดับหนึ่เท่ากัน ซึ่งแบ่งกลไกการทำงานออกเป็น 3 ระบบ ได้แก่ การป้องการทางกายภาพ เช่น ผิวหนัง เยื่อบุผิว การป้องกันโดยสารเคมี เช่น สารเคมีในต่อมน้ำตา ต่อมน้ำลาย กระเพาะอาหาร และต่อมเหงื่อ และการกลืนกินของเซลล์โดยการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดฟาโกไซต์

2. ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะเป็นกลไกป้องกัน ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่มีความจำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด อาศัยการทำงานของเซลล์เม้ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ 2 ชนิด ได้แก่ เซลล์บีและเซลล์ที ซึ่งเซลล์ทีจะพัฒนาเป็นเซลล์พลาสมาเพื่อสร้างแอนติเจนเข้าทำลายสิ่งแปลกปลอม ส่วนเซลล์ทีทำหน้าที่จดจำและระบุชนิดของเชื้อโรค

หากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ จะก่อให้เกิดภาวะพร่องภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ของร่างกายทำงานผิดปกติ และก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคภูมิแพ้ โรคลูปัส โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

การรักษาดุลยภาพของร่างกาย ม.4 สรุป

สาระสำ�คัญ

มนุษย์จะดำ�รงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติจะต้องรักษาดุลยภาพในร่างกาย การรักษาดุลยภาพของร่างกาย

ได้แก่ การรักษาดุลยภาพของน้ำ�และสารในเลือดโดยการทำ�งานของไต การรักษาดุลยภาพของกรด-เบส

ของเลือดโดยการทำ�งานของไตและปอด การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกายโดยการทำ�งานร่วม

กันของระบบหมุนเวียนเลือด ต่อมเหงื่อ เส้นขนที่ผิวหนัง กล้ามเนื้อโครงร่าง และระบบประสาท

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมทำ�ให้ไม่สามารถรักษาดุลยภาพได้ ร่างกายจะมีกลไก

การต่อต้านหรือทำ�ลายโดยการทำ�งานของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ กลไกการต่อต้าน

หรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำ�เพาะ โดยเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่เนื้อเยื่อในร่างกาย

หรือกำ�จัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายโดยกระบวนการต่าง ๆ สำ�หรับกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลาย

สิ่งแปลกปลอมแบบจำ�เพาะเป็นการทำ�งานโดยเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ คือ เซลล์บี และเซลล์ที

ขณะเดียวกันมนุษย์ยังสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ

ภูมิคุ้มกันรับมาและภูมิคุ้มกันก่อเอง

บางครั้งอาจเกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคภูมิแพ้ ที่เกิดจากภูมิคุ้มกันตอบสนอง

ต่อแอนติเจนบางชนิดรุนแรงเกินไป โรคลูปัสหรือโรคเอสแอลอีที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายมี

ปฏิกิริยาตอบสนองต่อเนื้อเยื่อหรือเซลล์ของตนเอง และโรคเอดส์ที่เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการ

ติดเชื้อ HIV

บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 14 ชั่วโมง

2.1 การรักษาดุลยภาพของน้ำ�และสารในร่างกาย

4.0 ชั่วโมง

2.2 การรักษาดุลยภาพของกรด-เบสของเลือด

2.0 ชั่วโมง

2.3 การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิภายในร่างกาย

2.0 ชั่วโมง

2.4 ระบบภูมิคุ้มกัน

6.0 ชั่วโมง

ความรู้ก่อนเรียน

ระบบขับถ่าย การลำ�เลียงสารในร่างกาย

เวลาที่ใช้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์

24

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

เผยแพร่เมื่อ 23/10/2020 12:13

แก้ไขเมื่อ 30/11/2022 10:43

การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์

ข้อมูล

การรักษาดุลยภาพของร่างกาย ม.4 สรุป

tim_supatson

มัธยมปลาย 1

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ม.4:การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุย์

ถ้าคิดว่าโน้ตนี้มีประโยชน์ ก็กดติดตามผู้เขียนเพื่อรับแจ้งเตือนเมื่อมีโน้ตใหม่ ๆ มาได้เลย!

ความคิดเห็น

การรักษาดุลยภาพของร่างกาย ม.4 สรุป

สมุดโน้ตแนะนำ

คำถามที่เกี่ยวข้องกับโน้ตสรุปนี้