การเสด็จประพาสของรัชกาลที่ 5


การเสด็จประพาสของรัชกาลที่ 5

บทความวิจัยเรื่อง  “การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ค.ศ. 1934  (พ.ศ. 2476-2477) 
โดย พรสรรค์ วัฒนางกูร 
ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม 

           การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งราชอาณาจักรสยาม ค.ศ. 1934/พ.ศ. 2476-2477 (นับตามปฏิทินจันทรคติของสยาม) เป็นการเดินทางครั้งสำคัญหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ท่ามกลางช่วงเวลาระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของสถานการณ์ที่ผันผวนทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจในโลก ในเอเชีย ตลอดจนในประเทศสยามเองหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสยามในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ค.ศ. 1934 ได้รับผลกระทบและได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์ร่วมกันของยุโรปและเอเชีย ได้แก่ การค่อยๆ ล่มสลายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในยุโรป อิทธิพลของความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการเผยแผ่อิทธิพลของอุดมการณ์การเมืองใหม่ในโลกยุโรปและเอเชีย ได้แก่ ลัทธิสังคมนิยมมาร์กซิสม์และสังคมนิยมคอมมูนิสต์ และอิทธิพลจากลัทธิเผด็จการชาตินิยมฟาสซิสม์ ปัจจัยทั้งหมดนี้ควรพิจารณาไปพร้อมกันกับสถานการณ์ในยุโรป เอเชีย โดยเฉพาะเหตุการณ์การเมืองของสยามทั้งก่อน การเสด็จประพาสยุโรป และระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประทับในยุโรป ภาพรวมนี้จะช่วยให้เข้าใจเรื่องการเสด็จประพาสยุโรปที่จบลงด้วยการสละราชสมบัติของพระมหากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ได้ดียิ่งขึ้น  

การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ค.ศ. 1934 (16 ครั้ง) ดาวน์โหลด


Share :

การเสด็จประพาสของรัชกาลที่ 5
การเสด็จประพาสของรัชกาลที่ 5


กลับไปหน้าหลัก

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มการเสด็จเยือนต่างประเทศทั้งในทวีปเอเชียและยุโรปทั้งอย่างเป็นทางการและเป็นการส่วนพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศด้วยพระราชประสงค์เช่นเดียวกับพระราชบิดา คือ เสด็จไปเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศกับการเสด็จไปรักษาพระวรกายของพระองค์ มิเพียงแต่เท่านั้นยังทรงขยายเส้นทางไปสู่อินโดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและแคนาดา และทุกครั้งยังมีสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จเคียงคู่เสมอ

ในระยะเวลา 9 ปีแห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2477) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้เสด็จประพาสต่างประเทศรวม 4 ครั้ง ดังนี้

การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 1 ในปีที่ 5 ของการครองราชสมบัติ พ.ศ. 2472 ระหว่างวันที่ 31กรกฎาคม- 11 สิงหาคม พ.ศ.2472 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสิงคโปร์ ชวา และบาหลี ซึ่งขณะนั้นอยู่ในการปกครองของประเทศอังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้เพื่อเจริญทางพระราชไมตรีและทอดพระเนตรภูมิสถานบ้านเมืองและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศเหล่านั้น

การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 2 ในปีที่ 6 ของการครองราชสมบัติ ระหว่าง พ.ศ. 2473 ระหว่างวันที่ 6เมษายน –8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน (เฉพาะส่วนที่เป็นประเทศเวียดนาม และกัมพูชาปัจจุบัน) ซึ่งขณะนั้นอยู่ในการปกครองของประเทศฝรั่งเศส เพื่อเจริญพระราชไมตรีและก้าวข้ามจากความบาดหมางทั้งกับเจ้านายพื้นเมืองเดิมและสร้างสัมพันธภาพที่ดีเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูต

-การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 3 ในปีที่ 7 ของการครองราชสมบัติ ระหว่างวันที่ 6 เมษายน – 28 กันยายน พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดา การเสด็จฯครั้งนี้นอกจากเพื่อกระชับสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศแล้วยังเพื่อรักษาพระเนตรที่สหรัฐอเมริกาด้วย เป็นเวลานานถึง 3 เดือนเต็ม และในพระราชวโรกาสที่เสด็จฯถึงกรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่28 เมษายน พ.ศ. 2474 นั้นเอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์นิวยอร์ค ไทม์ แสดงพระราชประสงค์จะทรงจำกัดพระราชอำนาจของพระองค์ และพระราชทานอำนาจนั้นแก่ราษฎรในการปกครองประเทศในรูปแบบเทศบาลขึ้นก่อนเพื่อเป็นฐานก้าวไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในโอกาสต่อไป

4 ในปีที่ 8-9 ของการครองราชสมบัติ และ ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 แล้ว ทั้งสองพระองค์เสด็จประพาสยุโรป 9 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี (นครรัฐวาติกัน) อังกฤษ เดนมาร์ก เยอรมนี เบลเยี่ยม เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี และสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ และเพื่อทรงรักษาพระเนตรอีกครั้งในประเทศอังกฤษ จนกระทั่งถึงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477ซึ่งเป็นวันสละราชสมบัติ ณ ประเทศอังกฤษ

อาจกล่าวได้ว่าการเสด็จประพาสต่างประเทศ ทั้ง 4 ครั้งในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นไปเพื่อการเจริญสัมพันธไมตรี การทอดพระเนตรความเจริญของต่างประเทศเพื่อนำมาประยุกต์ในการพัฒนาประเทศสยามสืบต่อจากการปฏิรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 อนึ่ง การเสด็จไปรักษาพระสุขภาพ โดยการผ่าตัดพระเนตรครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาในพ.ศ. 2474 และรักษาพระเนตรครั้งที่ 2 และรักษาพระทนต์ในประเทศอังกฤษ พ.ศ.2476

ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของทั้งสองพระองค์ในต่างประเทศสะท้อนให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงเคียงข้างกันทั้งในยามสุขและยามทุกข์ ทั้งการเสด็จประพาสในประเทศ ภูมิภาคต่างๆทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484

รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสที่ใดบ้าง

ในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2440 ในหลวงรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศในยุโรป รวม 13 ประเทศ ประกอบด้วย อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ฮังการี (ภายหลังแยกเป็นประเทศออสเตรียและประเทศฮังการี) รัสเซีย สวีเดน นอร์เวย์ (ปัจจุบันแยกประเทศเป็น 2 ประเทศ คือ สวีเดนและนอร์เวย์) เดนมาร์ก อังกฤษ เบลเยียม เยอรมนี ...

รัชกาลที่5 เสด็จประพาสต่างประเทศ กี่ครั้ง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 ซึ่งทำให้ทรงสามารถสร้างพันธมิตรทางการทูตกับมหาอำนาจตะวันตกและเสริมสร้างความสัมพันธ์กับพระราชวงศ์ในยุโรป นอกจากนี้ ทรงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในประเทศตะวันตกเนื่องจากทรงเป็นพระมหากษัตริย์จากเอเชียพระองค์แรกที่ ...

เหตุใดรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต่างประเทศ

การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการเสด็จพระราชดำเนินไปยังต่างประเทศในทวีปยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสานสัมพันธไมตรีแก่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป เพื่อให้ประเทศที่พระองค์เสด็จประพาสเหล่านั้นมองเห็นว่าประเทศ ...

ข้อใดคือการเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5

การเสด็จประพาสต้นหมายถึงการเสด็จเที่ยวเล่นอย่างสามัญชนธรรมดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะเสด็จฯ ไปยังสถานที่ต่างๆ อย่างที่สามัญชนเดินทางและประสบกับสภาพอย่างที่สามัญชนประสบ พร้อมกันนั้นก็พยายามทำพระองค์ให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมเพื่อไม่ให้ใครจำพระองค์ได้ โดยไม่โปรดให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองจัด ...