เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์

�ѧ����ʵ�� �Ѱ��ʵ�� ������ͧ ���ɰ��ʵ�� >>

 �ѧ���֡��
(�Ѹ���֡�ҵ͹����)

เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
��Ҿ������ʵ�����Ҿ
เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
�ѡɳл�ҡ���ó�ҧ�����ҵԷ���Ӥѭ��С�û�ͧ�ѹ�ѹ����
เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
�Ը�������ͧ��ͷҧ������ʵ��
เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
�ѭ�ҡ�÷���·�Ѿ�ҡø����ҵ��������Ǵ����
เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
�Ƿҧ��û�ͧ�ѹ��䢻ѭ�ҡ�÷���·�Ѿ�ҡø����ҵ��������Ǵ���� �»�ЪҪ������ ͧ����Ҥ�Ѱ �Ҥ�͡��

�Ը�������ͧ��ͷҧ������ʵ��

����ͧ���෤��������͡���֡��������ʵ��

��š�ؤ�Ѩ�غѹ������仴��¢����Ţ������ ��Т����ŷ���繵���Ţ�ӹǹ�ҡ ෤����ը֧������դ����Ӥѭ ��Ш��դ����Ӥѭ�ҡ��觢���͹Ҥ� ෤����շ���Ӥѭ��ҹ������ʵ�� ��� �к����ʹ��������ʵ������ GIS (Geographic Information System) ����к���˹����˹觾�鹼���š ���� (GPS (Global Positioning System) ����ͧ��ͷ���ͧ�л�Сͺ���¤��������� ������������ (Hard ware) ����բ�Ҵ��ҧ � �����������ͫͿ���� (Software)

1) ����ª��ͧ����ͧ���෤��������͡���֡��������ʵ�� �Ф���¡Ѻ��������ª��ҡἹ�����Ҿ���Ի�������Ἱ���੾������ͧ �� �����ӵͺ��� ��Ҩе�ͧ�Թ�ҧ�ҡ�ش˹����ѧ�ա�ش˹���Ἱ���������зҧ���� ��ж�ҷ�Һ�������Ǣͧö�з�Һ����Ҩ������ҹҹ����

 

��ѧ�ҡ��÷ӧҹ�ͧ�к����ʹ��������ʵ�� ��� ��èѴ��Ǵ����ͧ�����ŵ��������ͧ��÷��й�����������äѴ���͡����� ���ͻѨ��·������Ǣ�ͧ ��èѴ�ӴѺ�����Ӥѭ�ͧ�Ѩ�����С�ë�͹�Ѻ������ ������ҧ�� ��ͧ����Ҿ�鹷���������������Ѻ��û�١���� �����͡�� 3 �дѺ ��� ��������� ��������ҹ��ҧ ������������� �¤Ѵ���͡������ 2 ������ ��� �Թ�����Ҿ���Ի����

2) ���������ͧ���෤��������͡���֡��������ʵ�� ���������ͧ���෤����ը��繵�ͧ������ͧ������������������ �����е�ͧ���Ѻ��ý֡����͹����ŧ��ͻ�Ժѵ�

เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
Ἱ���
เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
�١�š
เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
������
เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
�ٻ���·ҧ�ҡ������Ҿ�ҡ�������
เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
����ͧ���෤��������͡���֡��������ʵ��
เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
���觢��������ʹ�Ȣͧ��

เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์

1. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ คือ วัสดุ อุปกรณ์ ในรูปแบบต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาการสำรวจ การเก็บรวบรวม การบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

ประเภทที่ 1 เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็นสื่อความรู้ทางภูมิศาสตร์ สื่อความรู้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึงวัสดุ อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ให้ความรู้ สำหรับการศึกษาเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ อาจอยู่ในรูปของตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ แบบจำลอง สื่อดิจิทัล เสียง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ตัวอย่างเครื่องมือเหล่านี้ เช่น ตำราเรียนภูมิศาสตร์ เว็บไซต์ที่เผยแพร่ความรู้ทางภูมิศาสตร์ แผนที่ประเภทต่างๆ ลูกโลกจำลอง ภูมิประเทศจำลอง รูปถ่ายทางอากาศ ภาพจากจานดาวเทียม เป็นต้น

ประเภทที่ 2 เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็นสื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ สื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำหน้าที่เพื่อสำรวจ ตรวจวัด บันทึก เก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ตัวอย่างเครื่องมือเหล่านี้ เช่น สมุดจดบันทึก เข็มทิศ เทปวัดระยะทาง กล้องสามมิติ (Stereoscope) เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก หรือจีพีเอส (Global Positioning System : GPS) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือจีไอเอส (Geographic Information System : GIS) ข้อมูลจากการรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing : RS) เป็นต้น

1.1 แผนที่ เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการเรียนวิชาภูมิศาสตร์เป็นอย่างมากเนื่องจากการเรียนวิชานี้ต้องกล่าวถึงสถานที่ที่มีขนาดต่างกัน ทั้งที่เป็นธรรมชาติและสิ่งที่มุนษย์สร้างขึ้น ตลอดจนปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก และสิ่งที่จะสามารถนำมาใช้อธิบายสภาพพื้นที่ สถานที่ได้ดีที่สุด คือ แผนที่

1.) ความหมายของแผนที่ พจนานุกรมศัพท์ทางภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของแผนที่ไว้ว่า “แผนที่ หมายถึง สื่อรูปแบบหนึ่งที่ถ่ายทอดข้อมูลของโลกในรูปกราฟิก โดยการย่อส่วนให้เล็กลงด้วยมาตราส่วนขนาดต่างๆ และเส้นโครงแผนที่แบบต่างๆ ให้เข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์ด้วยการใช้สัญลักษณ์” ดังนั้น จึงกล่าวไว้ว่า แผนที่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงลักษณะของพื้นผิวโลก และสิ่งที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก และสิ่งที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ด้วยการย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลงตามอัตราส่วนที่ต้องการและใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่จริงบนผิวโลก ทั้งนี้จะคงความเหมือนจริงทั้งขนาด รูปร่าง ทิศทาง และตำแหน่งที่ตั้งไว้

2.) ชนิดของแผนที่ แผนที่สามารถแบ่งออกได้หลายชนิดหลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับว่าใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ทั้งนี้โดยทั่วไปนิยมแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

2.1) แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) เป็นแผนที่แสดงข้อมูลรายละเอียดของผิวโลกที่เกี่ยวกับภูมิลักษณ์แบบต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบ แม่น้ำ ทะเล ทะเลสาบ เป็นต้น และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เมือง หมู่บ้าน พื้นที่เกษตรกรรม อ่างเก็บน้ำ ถนน ทางรถไฟ เป็นต้น

แผนที่ภูมิประเทศแสดงความสูงต่ำของผิวโลกด้วยเส้นชั้นความสูง (contour line) และหมุดระดับ (bench mark) จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร แผนที่ภูมิประเทศที่ใช้กันมากมี 2 มาตราส่วน ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนเล็ก คือ มาตราส่วน 1 : 250,000 และแผนที่มาตราส่วนใหญ่ คือ มาตราส่วน 1 : 50,000 เนื่องจากแผนที่ภูมิประเทศทั้งสองมาตราส่วนจัดทำขึ้นจากข้อมูลที่ได้มาจากรูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม จึงได้ข้อมูลที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลกที่ถูกต้องและทันสมัย มีจุดพิกัดภูมิศาสตร์อ้างอิงได้ จึงเป็นแผนที่ที่มีความนิยมใช้ในงานสาขาอื่นๆ เช่น การสร้างถนน การสร้างเขื่อน การสร้างเมืองใหม่ การป้องกันอุทกภัย เป็นต้น

2.2) แผนที่เฉพาะเรื่อง (Thematic Map) เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงข้อมูลหลักเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น แผนที่ประชากร แผนที่อากาศ แผนที่ป่าไม้ แผนที่ท่องเที่ยว แผนที่เหล่านี้จะมีการสำรวจเพิ่มเติมหรือปรับแก้ไขข้อมูลให้ทันสมัยเป็นระยะๆ ไปมาตราส่วนของแผนที่เฉพาะเรื่องมีความหลากหลายตามลักษณะข้อมูลที่ต้องการแสดง แต่ส่วนมากจะเป็นมาตราส่วนเล็ก เช่น มาตราส่วนเล็กกว่า 1 : 1,000,000 1 : 500,000 หรือ 1 : 250,000 เป็นต้น ส่วนแผนที่เฉพาะเรื่องที่มีลักษณะเชิงวิชาการ เช่น แผนที่ชุดดิน แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนที่ธรณีวิทยาและแหล่งแร่ อาจทำเป็นแผนที่มาตราส่วน 1 : 100,000 หรือ 1 : 50,000 แต่พื้นที่เฉพาะเรื่องบางชนิดที่ต้องการแสดงเฉพาะพื้นที่ขนาดเล็ก เช่น ทรัพยากรธรรมชาติในตำบลหรือหมู่บ้านอาจจะมีการจัดทำแผนที่มาตราส่วนใหญ่ได้

เนื่องจากแผนที่เฉพาะเรื่องมีความหลากหลายชนิดมาก จึงได้นำเสนอตัวอย่างเพียงบางชนิด ดังนี้

(1) แผนที่ท่องเที่ยว มีการจัดทำทั้งในระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด โดยเน้นข้อมูลด้านการเดินทาง ได้แก่ ถนน ทางรถไฟ ที่ตั้งจังหวัด อำเภอ สถานที่ ท่องเที่ยว สถานที่พัก ร้านอาหาร แผนที่ท่องเที่ยวมีรูปแบบที่เข้าใจง่าย ดังนั้นจึงมักจัดพิมพ์มาตราส่วนเล็ก เช่น 1 : 1,000,000 หรือ 1 : 2,000,000 หรือเล็กกว่า เป็นต้น

(2) แผนที่แสดงเส้นทางคมนาคม แผนที่นี้จัดทำโดยกรมทางหลวง เพื่อแสดงรายละเอียดของเส้นทางคมนาคม ได้แก่ ถนน ทางรถไฟ สนามบิน เป็นหลัก แผนที่แสดงเส้นทางคมนาคมมีประโยชน์เพื่อใช้กำหนดเส้นทาง ระยะทางโดยประมาณ และการหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีปัญหา เนื่องจากมีข้อมูลไม่มากนัก แผนที่ที่พิมพ์ออกมาจึงมีมาตราส่วนเล็ก เช่น 1 : 1,000,000 หรือเล็กกว่า เป็นต้น

(3) แผนที่ธรณีวิทยา เป็นแผนที่ที่แสดงอายุของหิน หน่วยหิน ชนิดหิน และโครงสร้างทางธรณีวิทยา นอกจากนี้ยังแสดงข้อมูลประกอบอื่นๆ เช่น ทางหลวงสายสำคัญ ที่ตั้งของจังหวัด เป็นต้น โดยข้อมูลประกอบจะแตกต่างกันไปตามมาตราส่วน แผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1 : 1,000,000 1 : 250,000 และ 1 : 50,000 จะมีการนำมาใช้งานมาก ซึ่งแผนที่นี้จัดทำโดยกรมทรัพยากรธรณี

(4) แผนที่การใช้ที่ดิน แผนที่นี้แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเฉพาะด้านการเกษตร มาตราส่วนที่จัดทำ เช่น 1 : 1,000,000 และ 1 : 250,000 และ 1 : 50,000 และเนื่องจากการใช้ประโยชน์ที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงมากและรวดเร็ว แผนที่การใช้ที่ดินจึงต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา ซึ่งเป็นงานที่ละเอียดและต้องใช้เวลามาก แต่ในปัจจุบันมีการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อจัดทำแผนที่การใช้ที่ดินทำให้การทำงานรวดเร็วมากขึ้น แผนที่นี้จัดทำโดยกรมพัฒนาที่ดินหรือสำรักงานเศรษฐกิจการเกษตร

3.) องค์ประกอบแผนที่ แผนที่โดยทั่วไปมีองค์ประกอบที่สำคัญ

เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์

1.2 ลูกโลกจำลอง

ลูกโลกจำลอง เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อจำลองลักษณะของโลกแสดงที่ตั้งอาณาเขตพรมแดนของประเทศต่างๆ และลูกโลกจำลองยังสามารถใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนเกี่ยวกับโลกได้เป็นอย่างดี ลูกโลกจำลองแสดงสิ่งต่อไปนี้

1) รูปทรงของโลก โลกมีรูปทรงกลมคล้ายผลส้ม คือ ตรงบริเวณขั้วโลกทั้งสองยุบราบลงเล็กน้อยและป่องตรงบริเวณศูนย์สูตร โลกมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร ยาว 12,756 กิโลเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ยาว 12,714 กิโลเมตร จึงเห็นได้ว่ารูปร่างของโลกไม่เป็นทรงกลมอย่างแท้จริง บนผิวโลกจะมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ ได้แก่ ทะเล มหาสมุทรต่างๆ มีเนื้อที่รวมกัน 375 ล้านตารางกิโลเมตร และส่วนที่เป็นแผ่นดิน ได้แก่ ทวีปและเกาะต่างๆ มีเนื้อที่รวมกัน 150 ล้านตารางกิโลเมตร เมื่อรวมทั้งพื้นน้ำและแผ่นดินแล้ว โลกจะมีเนื้อที่รวมประมาณ 525 ล้านตารางกิโลเมตร โดยคิดสัดส่วนบริเวณผิวของเปลือกโลกจะเป็นพื้นน้ำ 2 ใน 3 ส่วน และส่วนที่เป็นแผ่นดิน 1 ใน 3 ส่วน

เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์

ดังนั้น การสร้างลูกโลกจำลองจึงต้องเป็นไปตามสัดส่วนของโลก แต่เนื่องจากเมื่อมีการย่อส่วนเป็นลูกโลกจำลองแล้ว จะพบว่าค่าความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร และจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ จะมีค่าไม่ต่างกันมากนัก จึงเห็นได้ว่ารูปโลกจำลองมีลักษณะทรงกลม เพราะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับขนาดจริงของโลก

2) ข้อมูลที่แสดงบนลูกโลกจำลอง ลูกโลกจำลองมีหลายแบบตามวัตถุประสงค์ของการแสดง ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

2.1) ลูกโลกแสดงลักษณะผิวโลก โดยแบ่งผิวโลกออกเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจน คือ ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ ซึ่งได้แก่ น้ำทะเล มหาสมุทรเป็นส่วนใหญ่จะแสดงด้วยสีน้ำเงินอ่อน และส่วนที่เป็นแผ่นดิน ซึ่งได้แก่ รายละเอียดของทวีป ประเทศ ที่ตั้งของเมืองหลวงและเมืองสำคัญ

2.2) ส่วนที่สมมติขึ้น ลูกโลกจำลองจะแสดงเส้นเมริเดียนที่ลากจากขั้วโลกเหนือสู่ขั้วโลกใต้ และเส้นขนานที่ลากรอบโลกขนานกับเส้นศูนย์สูตร เส้นทั้งสองมีไว้เพื่อบอกพิกัดภูมิศาสตร์เป็นค่าของละติจูด และลองจิจูดของตำแหน่งต่างๆ ที่อยู่บนพื้นผิวโลก

1.3 รูปถ่ายทางอากาศ

รูปถ่ายทางอากาศ คือ รูปที่ได้จากการถ่ายทางอากาศ โดยผ่านเลนส์กล้องและฟิล์ม หรือข้อมูลเชิงเลข ซึ่งถ่ายด้วยกล้องที่นำไปในอากาศยาน อันได้แก่ บัลลูน เครื่องบิน เป็นต้น ในสมัยปัจจุบันมีการถ่ายรูปทางอากาศจากยานอวกาศได้ด้วย ปกติการถ่ายรูปทางอากาศจะถ่ายจากเครื่องบินที่มีการวางแผนการบิน และกำหนดมาตราส่วนของแผนที่มาแล้วเป็นอย่างดี กล้องถ่ายรูปทางอากาศคล้ายกับกล้องถ่ายรูปทั่วไปในอดีตแต่มีขนาดใหญ่กว่า เลนส์ยาวกว่า และใช้ฟิล์มขนาดใหญ่ ซึ่งปกติจะมีขนาดประมาณ 24 x 24 เซนติเมตร รูปถ่ายทางอากาศจะให้ข้อมูลที่ค่อนข้างละเอียด นอกจากนี้ รูปถ่ายทางอากาศมีการถ่ายรูปซ้อนทับพื้นที่บนรูปที่ต่อเนื่องกัน จึงสามารถดูเป็นภาพสามมิติ หรือทรวดทรงของผิวโลกได้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในด้านภูมิศาสตร์

1) ประเภทของรูปถ่ายทางอากาศ รูปถ่ายทางอากาศ มี 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะการถ่ายรูปดังนี้

เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์

1.1) รูปถ่ายทางอากาศแนวดิ่ง เป็นรูปถ่ายทางอากาศที่ถ่ายรูปในแนวตั้งฉากกับผิวโลกและไม่เห็นแนวขอบฟ้า

1.2) รูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียง เป็นรูปถ่ายที่เกิดจากการกำหนดแกนของกล้องในลักษณะเฉียง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1) รูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียงสูง ลักษณะรูปถ่ายจะเห็นแนวขอบฟ้าเป็นแนวกว้างใหญ่

2) รูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียงต่ำ เป็นรูปถ่ายทางอากาศที่ไม่ปรากฏเส้นขอบฟ้าในภาพรูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียงสูงและแนวเฉียงต่ำใช้แสดงภาพรวมของพื้นที่แต่มีมาตราส่วนบนรูปถ่ายทางอากาศแตกต่างกัน รูปถ่ายทางอากาศแนวดิ่งมีมาตราส่วนในรูปค่อนข้างคงที่ จึงเป็นที่นิยมนำมาใช้ทำแผนที่

1.4 ภาพจากดาวเทียม

ดาวเทียม คือ วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเลียนแบบดาวบริวารของดาวเคราะห์ เพื่อให้โคจรรอบโลกมีอุปกรณ์สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศและถ่ายทอดข้อมูลนั้นมายังโลก ดาวเทียมที่โคจรรอบโลกใช้เป็นอุปกรณ์โทรคมนาคมด้วย เช่น ถ่ายทอดคลื่นวิทยุและโทรทัศน์ข้ามทวีป หรือใช้ในการบันทึกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นบนแผ่นดินและผืนน้ำ

ข้อมูลจากดาวเทียม เป็นสัญญาณตัวเลขที่ได้รับ ณ สถานีรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดินในประเทศไทยมีสถานีรับสัญญาณดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และมีสถานีรับสัญญาณของกรมอุตุนิยมวิทยากระจายตามภูมิภาคของประเทศ เมื่อสถานีรับสัญญาณภาคพื้นดินได้รับข้อมูลตัวเลขที่ส่งมาแล้ว จึงแปลงตัวเลขออกเป็นภาพอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าภาพจากดาวเทียม ที่นำไปแปลความหมายต่อไปได้ในระบบคอมพิวเตอร์สามารถนำข้อมูลตัวเลขมาวิเคราะห์เชิงสถิติเพื่อจัดกลุ่มข้อมูลใหม่ ซึ่งเป็นการแปลความหมายอีกรูปแบบหนึ่งได้

1) ชนิดของดาวเทียม แบ่งออกได้ดังนี้

1.1) ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยาดาวเทียมบางดวงจะโคจรรอบโลกในอัตราเร็วเท่ากับการหมุนของโลกและอยู่ในแนวตะวันออกตะวันตกเสมอ เช่น ดาวเทียม GMS ดาวเทียม GOES เป็นต้น ซึ่งจะมีการบันทึกข้อมูลภูมิอากาศเกือบตลอดเวลา จึงเป็นประโยชน์มากในการพยากรณ์อากาศและการเตือนภัย

1.2) ดาวเทียมสมุทรศาสตร์ เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลสมุทรศาสตร์ เช่น ดาวเทียม SEASAT จะบันทึกข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์ และดาวเทียม MOS (Marine Observation Satellite) นอกจากจะใช้ในการสำรวจด้านสมุทรศาสตร์แล้ว ยังนำมาใช้ในการสำรวจด้านสมุทรศาสตร์แล้ว ยังนำมาใช้ในการสำรวจบนแผ่นดินแต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เป็นต้น

1.3) ดาวเทียมสำรวจแผ่นดิน เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลของผิวโลก จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ดาวเทียมธีออส THEOS ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย ส่วนดาวเทียม LANDSAT ของสหรัฐอเมริกา ดาวเทียม SPOT ของประเทศฝรั่งเศส ดาวเทียม ERS ของกลุ่มประเทศยุโรป ดาวเทียม RANDARSAT ของประเทศแคนาดา เป็นต้น

เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์

1.4) ดาวเทียมสื่อสาร เป็นดาวเทียมเพื่อการติดต่อสื่อสารและโทรคมนาคม เช่น การรับส่งสัญญาณโทรศัพท์ โทรสาร ข่าวสาร ภาพโทรทัศน์ รายการวิทยุ ข้อมูลข่าวสาร คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมค้างฟ้าที่อยู่คงที่บนฟ้าของประเทศใดประเทศหนึ่งตลอดเวลา โดยหลายประเทศจะมีดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศของตนเอง เช่น ประเทศไทยมีดาวเทียมไทยคม ประเทศญี่ปุ่นมีดาวเทียมซากุระ ประเทศฝรั่งเศสมีดาวเทียมยูริสหรัฐอเมริกามีดาวเทียมเวสดาร์ แคนาดามีดาวเทียมแอนิค เป็นต้น

1.5) ดาวเทียมเพื่อกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก เป็นดาวเทียมที่ใช้ในการสำรวจหาตำแหน่งของวัตถุบนพื้นโลก ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น เป็นเครื่องมือนำร่องยานพาหนะต่างๆ จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง การกำหนดตำแหน่งเพื่อวางแผนก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค การหาตำแหน่งของสถานที่ที่ต้องการเดินทางไปโดยใช้ระยะทางที่สั้นที่สุด เป็นต้น

1.6) ดาวเทียมเพื่อกิจการทหาร เป็นดาวเทียมที่ใช้ในภารกิจของทหาร การถ่ายภาพจากกรรมความลับของข้าศึก การศึกษาแนวพรมแดน การกำหนดเป้าโจมตีทางทหาร ดาวเทียมทหารมักจะเป็นความลับของทุกประเทศ และดาวเทียมทั่วไปก็อาจมีการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเสริมเพื่อใช้งานทางทหาร เช่น การใช้ดาวเทียมสื่อสารในการติดต่อระหว่างกองทัพกับฐานทัพ การใช้ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาในการสำรวจอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติการทางทหารต่างๆ เป็นต้น  

เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์มีอะไรบ้าง

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ แผนที่ ลูกโลก เข็มทิศ ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่

ข้อใดเป็นเครื่องมือสําคัญในการศึกษาภูมิศาสตร์

เครื่องมือภูมิศาสตร์ที่ส าคัญ ได้แก่ แผนที่ ลูกโลก เข็มทิศ รูป ถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม และเครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อ การศึกษา เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงลักษณะที่ตั้งของสิ่งต่างๆที่อยู่บนพื้นผิว โลก โดยการย่อส่วน กับใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆลงในวัสดุพื้นแบนราบ

เทคโนโลยีในข้อใดเกี่ยวข้องกับด้านภูมิศาสตร์

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่มีความสาคัญส าหรับการศึกษาทางด้านภูมิศาสตร์ เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยในการรวบรวม จัดการ วิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้ง ทางด้านการรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing : RS) ระบบดาวเทียมน าทางโลก (Global Navigation Satellite System : GNSS) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( ...

เทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์คืออะไร

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความหมายของค าว่า “ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS” คือ กระบวนการท างานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ก าหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับต าแหน่งเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับต าแหน่งในแผนที่ต าแหน่ง ...